สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ


[ 25 ก.ย. 2553 ] - [ 18293 ] LINE it!

" สัปปุริสธรรม 7  : ธรรมของสัตบุรุษ "
 
        บทธรรมแต่ละหมวด ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์สอนไว้แล้วมีบันทึกในพระไตรปิฎก ล้วนคือ “ขุมทรัพย์ใหญ่ของมวลมนุษยชาติ” ความรู้ทางโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย แต่ความรู้ในพระไตรปิฎกเป็น อกาลิโก คือไม่ขึ้นกับกาล จะยุคไหนสมัยไหนก็ไม่มีเชย 
 
                                                                                                                                                     
        ขณะที่ ไอสไตน์ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในรอบ 100 ปี ที่ผ่านมา เป็นชาวยิวที่ย้ายมาอยู่อเมริกา คือเกิดมาในศาสนาอื่น แต่ต่อมาได้มาสัมผัสกับพระพุทธศาสนา มาศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า ไอสไตน์ก็ตกตะลึงว่า มีคำสอนที่ยอดเยี่ยม และวิเศษอย่างนี้ด้วยหรือ จนเขาได้บันทึกไว้ว่า ศาสนาแห่งอนาคตจะเป็นศาสนาแห่งสากลจักรวาล หรือ “Cosmic Region” สามารถปฏิบัติจนเข้าถึงได้ด้วยตัวเอง สามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องเหตุและผลได้ และศาสนานั่นคือ “พระพุทธศาสนา”
 
        ไอสไตน์ ได้สรุปไว้ว่า คำสอนที่เลิศอย่างนี้ไม่ควรจะเป็นคำสอนของคนทั้งโลกอย่างเดียว ต่อให้มีสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาในจักรวาลอื่น ก็ควรจะนับถือพระพุทธศาสนาด้วย เพราะไม่มีคำสอนใดจะเลิศไปกว่านี้อีกแล้ว
 
        บัดนี้จะได้อธิบายขยายความในหัวข้อธรรมเรื่อง สัปปุริสธรรม 7 ธรรมที่ทำให้คนเป็นสัตบุรุษ คือคนที่เก่ง ดี คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มี 7 ข้อ คือ
 
        1.ธัมมัญญู เป็นผู้รู้จักเหตุ หมายถึง เราเห็นอะไรเกิดขึ้นมา ก็สามารถมองออกว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้คืออะไร
 
        2.อัตถัญญู เป็นผู้รู้จักผล หมายถึง เห็นอะไรก็สามารถบอกได้ว่านี่เป็นสัญญาณว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต จะได้วางแผนการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด
 
        3.อัตตัญญู เป็นผู้รู้จักตน หมายถึงรู้จักตัวเอง รู้จักคุณธรรม ความรู้ ความสามารถของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ว่าเรามีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ไม่หลงไปตามกระแส มีตัวอย่างหนึ่ง คือ บิล เกตส์ เจ้าของ ไมโครซอพท์ เขาสร้างตัวเองจากคนที่ไม่รวย จนเป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกตอนอายุเพียง 39 ปี ที่เขามีทุกวันนี้เพราะ 1. เขามีความศรัทธา มีความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ 2. มีวินัยในตัวเอง ควบคุมตัวเองได้  3. มีความรู้ 4. มีความเสียสละ และ 5. เขามีปัญญา
 

        4.มัตตัญญู เป็นผู้รู้จักประมาณ ประมาณความรู้ความสามารถของตนเองให้ได้ว่าเรามีกำลังแค่ไหนในการจะทำอะไรสักอย่าง เช่น การทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็เยอะ  ถ้าทำไม่ถูกจังหวะโอกาสที่จะล้มเหลวก็มีมาก เพราะฉะนั้นต้องหยั่งสถานการณ์ให้ดี ก้าวแต่ละก้าวอย่างสุขุม ไม่น้อยไปและไม่มากไป เมื่อโอกาสมาถึง ถ้าไม่ทำก็จะผ่านเลยไป จะต้องใช้โอกาสนั้นให้ดีที่สุดเต็มกำลังความสามารถของตน
 
        5. กาลัญญู รู้จักกาล หมายถึง 1. รู้จักแบ่งเวลา เพราะเวลาคือทรัพยากรที่เป็นต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิต ที่ทุกคนมีเท่ากันวันละ 24 ชั่วโมง ใครใช้ได้ดีชีวิตก็จะประสบความสำเร็จ 2. มีจังหวะในการทำเรื่องต่างๆ ได้ดี ทำถูกจังหวะก็จะประสบความสำเร็จ ถ้าทำผิดก็จะล้มเหลว
 
แหล่งที่มาของภาพ : http://gabence.gulife.com/diary/?date=2007-11-17%2000:00:00&page=2
 
        6. ปริสัญญู รู้จักชุมชน คือ เข้าใจคนที่มีความเกี่ยวข้องกับเราทั้งหมด อยู่ที่ไหนก็รู้จักว่าคนรอบข้างเรา ว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร จะได้กลมกลืนกับเขาได้ ถ้าทำธุรกิจก็ต้องเข้าใจลูกค้า เข้าใจคู่แข่ง ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะประสบความสำเร็จในการทำงานทุกอย่าง
 
        7. ปุคคลัญญู รู้จักบุคคล คือรู้จักคนที่เราจะติดต่อด้วยว่าเขามีอัธยาศัยอย่างไร ถ้าเป็นผู้บริหารก็ต้องใช้คนให้ถูกกับงาน ถ้าเป็นผู้น้อยติดต่อกับผู้ใหญ่ก็ต้องรู้จักอัธยาศัยเขา ทำอะไรก็จะได้ถูกใจ ชีวิตก็จะก้าวหน้าประสบความสำเร็จ
 
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.dek-d.com/content/lifestyle/21125/7.htm
 
        ทั้งหมด 7 ข้อนี้ คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล บุคคลใดมี 7 ข้อนี้ ได้ชื่อว่าสัตบุรุษ จะทำการใดๆ ก็จะประสบความสำเร็จ นี่คือหมวดธรรมหมวดหนึ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนเอาไว้
                                                                  
  

บทความเกี่ยวกับสัปปุริสธรรม 7

สัปปุริสธรรม



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1

ทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tvทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tv

ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ