คุณธรรมพื้นฐาน 3


[ 31 ส.ค. 2556 ] - [ 18345 ] LINE it!

คุณธรรมพื้นฐาน 3


คุณธรรมความดีต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีคุณธรรมพื้นฐาน 3 รองรับอย่างมั่นคงแข็งแรงก่อน ได้แก่

1. ความมีวินัย
2. ความอดทน
3. ความเคารพ

1.ความมีวินัย คือความเต็มใจประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหมู่คณะที่กำหนดไว้ดีแล้ว เพื่อกำกับความประพฤติปฏิบัติของสมาชิกให้เป็นระเบียบหรือมาตรฐานเดียวกัน เพราะตระหนักดีว่าการประพฤติปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมเป็นผลให้
 
     1.1 วัตถุ คือ บริเวณ อาคารสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัว ร่างกายสะอาด เป็นระเบียบเสมอ

     1.2 บุคคล เป็นผลให้บุคคล 3 ประเภทเกิดพฤติกรรมที่ดี
 
          - ตัวเราเองมีการกระทำทางกาย คำพูดความคิดที่สะอาดและเป็นระเบียบยิ่งขึ้น คือ มีมารยาท มีศีล มีธรรม บังเกิดตามมา

         - บุคคลภายใน คือมวลสมาชิกย่อมลดการกระทบกระทั่ง ลดการจับผิดกันและกัน เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน ยอมรับนับถือกัน ความสมัครสมานสามัคคีย่อมเกิดขึ้น

         - บุคคลภายนอก คือ มหาชน เมื่อพบเห็นผู้มีวินัย ที่ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใส ไว้ใจ ให้เกียรติมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่บรรยากาศแห่งการศึกษาค้นคว้า การพัฒนาให้เกิดศีลธรรมประจำใจ การสร้างผู้เรียนให้เป็นมิตรแท้ การร่วมใจกันพัฒนาประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยิ่งขึ้นสืบไป


2. ความอดทน คือความอดกลั้น รักษาใจไว้ให้เป็นปกติอยู่ได้ ไม่แสดงอาการทุกข์ร้อน ฉุนเฉียว ไม่พอใจ ไม่แสดงอาการอยากได้ เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัวใดๆ ออกมานอกหน้า

      ผู้มีความอดทนไม่ว่าจะประสบกับความเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งที่เย้ายวนให้รู้สึกพอใจ หลงระเริงหรือที่บีบคั้น กลั่นแกล้งให้รู้สึกคับแค้น ไม่พอใจ ก็ยังยืนหยัดทำความดีต่อไปอย่างไม่ลดละ ประเภทยอมตายถวายชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อผดุงศีลธรรม เพราะตระหนักดีว่า

     2.1 เราทั้งหลายต่างเป็นนักโทษรอประหาร ถูกขังให้เป็นทุกข์ทรมานร่วมกันอยู่ภายในคุกมหึมาคือโลก เพราะเรายังมีกิเลส ยังอยู่ใต้กฎแห่งกรรม
    
     2.2 เราต้องไม่หลงผิดคิดทำอะไรเอาแต่ใจตัว แต่ตั้งใจละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส เพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป และเพื่อให้พ้นจากอำนาจกฎแห่งกรรม พ้นจากการเป็นนักโทษของสังสารวัฏ เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์

     2.3 การที่ใครๆ ล่วงเกินให้เราต้องเดือดร้อน เพราะเขาไม่ได้เป็นตัวชองตัวเอง ถูกกิเลสบังคับให้คิด พูด ทำร้ายๆ ต่อเรา จึงสมควรให้อภัย เราเองก็ต้องระวังตนและอดทนเพิ่มขึ้นด้วย
 


3. ความเคารพ


     3.1 โดยคุณธรรม ความเคารพ หมายถึง ความรู้ชัดความตระหนักคุณความที่มีอยู่จริงในบุคคล เช่น พระภิกษุ ครู มิตรแท้ ฯลฯ ในวัตถุ เช่น พระพุทธรูป พระไตรปิฎก ฯลฯ ในเหตุการณ์ เช่น การทำสมาธิ การฟังโอวาท การต้อนรับผู้ใหญ่ ฯลฯ เพราะสัมผัสได้ถึง ความสะอาด – สว่าง – สงบ เมื่อได้เข้าใกล้หรือมีส่วนร่วมกับบุคคลนั้น วัตถุนั้นและเหตุการณ์นั้นๆ

            1. ชื่อว่าความสะอาด เพราะทำให้ปราศจากหรือลดความโลภ โกรธ หลง ของเราลงได้ คือทำให้ไม่คิดกอบโกยเอาเข้าตัว แต่คิดทะนุถนอมไม่คิดทำลาย ฯลฯ
            2. ชื่อว่าความสว่าง เพราะทำให้เห็นเหตุผลได้ชัดเจนด้วยปัญญา โดยปราศจากโมหะ – อารมณ์ขุ่นเคืองใดๆ
            3. ชื่อว่าความสงบ เพราะทำให้ไม่วุ่นวายใจ แต่เป็นสุขเยือกเย็น ไม่ใช่สนุกตื่นเต้น เป็นสุขเพราะรู้เท่าทันอันประกอบด้วยสติและปัญญา ไม่ใช่เพียงเพลินๆ
 
     3.2 โดยลักษณะการเกิด ผู้มีความเคารพ เมื่อพบบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ใด ย่อมพยายามจับถูก คือตั้งใจค้นหาความดีจากบุคคลและสิ่งนั้นๆ จนกว่าจะพบ เพราะตระหนักดีว่า ความดีเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ใจของตนสะอาด สว่าง สงบยิ่งขึ้นได้
 
     3.3 โดยการแสดงออก ผู้มีความเคารพหากพบว่าใครมีความดีจริง ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็เต็มใจแสดงความยอมรับนับถือด้วยการกราบไหว้ ให้เกียรติ ฯลฯ อย่างเหมาะสม แล้วตั้งใจปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ต่อวัตถุและต่อเหตุการณ์นั้นๆ ในทางที่ถูกที่ควร จึงสามารถซึมซับ รองรับความดีนั้นๆ เอามาได้ ต่อมาความดีเหล่านั้นเอง ก็พัฒนาเป็นคุณธรรม – ศีลธรรมประจำใจของตนในที่สุด

สัญลักษณ์คุณธรรมพื้นฐาน 3

*คัดลอกจาก หนังสือแม่บทการพัฒนานิสัยบัณฑิตมิตรแท้ โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์

ฟังธรรม ฟังธรรมะออน์ไลน์ 24 ชั่วโมงฟังธรรม ฟังธรรมะออน์ไลน์ 24 ชั่วโมง

ประมวลภาพตักบาตร Central World พระ 10,000 รูป ประมวลภาพตักบาตร Central World พระ 10,000 รูป



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

เรื่องเด่นทันเหตุการณ์