การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร


[ 25 พ.ค. 2558 ] - [ 18704 ] LINE it!

การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร


การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร
 

 

การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร
๑. เวลาพระท่านพูด ควรตั้งใจฟังด้วยความเคารพ ไม่ควรขัดจังหวะหรือพูดแทรกขึ้นมาในระหว่างที่ท่านกำลังพูดอยู่
๒. เวลาท่านให้โอวาทหรืออวยพร ควรประนมมือฟังด้วยความเคาพ
๓. เวลารับไตรสรณคมน์ และรับศีล ควรว่าตามด้วยเสียงที่ชัดเจน
๔. เวลาฟังพระสวด เช่น เจริญพุทธมนต์ สวดศพ เป็นต้น ควรประมนมือฟังด้วยความเคารพ ไม่คุยกัน หรือทำอย่างอื่น

ข้อควรระวัง ควรเคารพพระภิกษุหรือสามเณรแม้ท่านจะเพิ่งบวชใหม่ ทั้งการพูด และการกระทำ คือพูดด้วยวาจาไพเราะ สุภาพ มีหางเสียง ไม่พูดล้อเล่น หยอกล้อ หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เคารพ เช่น กอดคอสามเณร

คำศัพท์และคำพูดกับพระภิกษุสามเณร

การสนทนาระหว่าง ฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร

คำขึ้นต้นที่ฆราวาสใช้
"นมัสการ" ใช้กับ พระภิกษุทั่วไป

คำเรียกแทนตนเองที่ฆราวาสใช้
"ผม, กระผม" (สำหรับชาย)/ "ดิฉัน" (สำหรับผู้หญิง) ใช้กับ พระภิกษุทั่วไป

คำเรียกพระภิกษุาสามเณรที่ฆราวาสใช้
"ท่าน" ใช้กับ พระภิกษุสามเณรทั่วไป
"พระคุณเจ้า" ใช้กับ พระภิกษุที่เคารพนับถือ (มักนิยมใช้สำหรับคฤหัสถ์ที่มียศตำแหน่งสูงหรือมีอายุมากกว่าภิกษุที่ตนเรียก หรือใช้ในเวลาทำพิธีสงฆ์)
"สามเณร, เณร" ใช้กับ สามเณร

คำขานรับที่ฆราวาสใช้
"ขอรับ, ครับ" (สำหรับชาย)/ "เจ้าคู่, ค่ะ" (สำหรับผู้หญิง) ใช้กับ พระภิกษุ

ข้องควรระวัง เราไม่ควรเรียกสามเณรว่า "น้องเณร" เนื่องจากเป็นคำที่ใช้เฉพาะพระภิกษุ หรือ สามเณรที่มีอายุมากกว่าเท่านั้น

 
การสนทนาระหว่างพระภิกษุ/สามเณรกับฆราวาส

คำขึ้นต้นที่พระภิกษุ/สามเณรใช้
"เจริญพร" ใช้กับ ญาติโยมทั่วไป

คำเรียกแทนตนเองที่พระภิกษุ/สามเณรใช้
 
"หลวง" (ลำดับญาติตามอายุ เช่น หลวงพ่อ หลวงปู่) ใช้กับ บุคคลที่คุ้นเคย
"อาตมา" ใช้กับ ผู้มีบรรดาศักดิ์ , บุคคลทั่วไป (ถือเป็นคำสุภาพและให้เกียรติคู่สนทนา)
"อาตมภาพ" ใช้กับ ผู้มีบรรดาศักดิ์ระดับสูง รวมถึงพระเจ้าแผ่นดิน นิยมใช้ในภาษาหนังสือและใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา

คำเรียกผู้อื่นที่พระภิกษุ/สามเณรใช้
 
"โยม" ใช้กับ บิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง, บุคคลทั่วไปที่มีอายุมากกว่าตน
"คุณ, เธอ" ใช้กับ บุคคลทั่วไป

คำขานรับที่พระภิกษุ/สามเณรใช้
 
"เจริญพร" ใช้กับ ฆราวาสทั่วไป
"ครับ, ขอรับ" ใช้กับ พระภิกษุด้วยกัน

 
การสนทนาของสามเณรต่อพระภิกษุ

คำเรียกแทนตนเองที่สามเณรใช้
 
"เกล้ากระผม" ใช้กับ พระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า
"ผม, กระผม" ใช้กับ พระภิกษุสามเณรด้วยกันโดยทั่ว ๆ ไป

คำเรียกพระภิกษุที่สามเณรใช้
 
"พระอาจารย์" ใช้กับ พระภิกษุ

ข้อควรปฏิบัติ
 
สามเณรควรประนมมือขณะสนทนากับพระภิกษุ ด้วยความเคารพ

สิ่งที่ควรระวังเมื่อคุยกับญาติโยม
 
ควรสำรวมกาย วาจา ให้เรียบรอย ไม่พูดเล่น หยอกล้อ ทั้งทางคำพูดและการกระทำที่ทำให้ดูสนิทสนมกันจนเกินงามเหมือนตอนเป็นฆราวาส
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับคู่มือนักเรียนเตรียมบวชสามเณร
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมครูของมนุษย์และเทวดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมครูของมนุษย์และเทวดา

ทำไมต้องกราบพระทำไมต้องกราบพระ

ศีล คุ้มครองตนจากบาปและอกุศลศีล คุ้มครองตนจากบาปและอกุศล



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

คู่มือเตรียมบวชสามเณร