การระวังรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบถ


[ 4 ก.พ. 2554 ] - [ 18266 ] LINE it!

">

ภาวะสมดุล

ความรู้เกี่ยวกับการระวังรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบท และวิธีปฏิบัติตนเพื่อรักษาความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย

การระวังรักษา
ภาวะสมดุลของอิริยาบถ
 
การระวังรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบถ
          หมายถึง ในการนั่ง นอน ยืน เดิน วิ่ง ทำงานหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ต้องฝึกตัวเองให้มีสติระวังรักษาแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวแกนปกติของร่างกายอยู่เสมอ ด้วยการยืดแนวกระดูกสันหลังอย่างถูกวิธี
">
">
">

          การรักษาแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวแกนปกติต้องใช้การยืด ไม่ใช้การดัด เพราะการดัดไม่ว่าจะดัดให้โค้งงอไปทางใดทางหนึ่งก็ตาม ย่อมทำให้เกิดการปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด น้ำเหลือง และมีผลทำให้การส่งสัญญาณประสาทบกพร่อง
 
          อนึ่ง ตามปกติร่างกายของเราจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงอยู่ตลอดเวลา กระดูกสันหลังจึงอยู่ในสภาพเสมือนถูกดึงให้ผิดไปจากแนวแกนปกติของร่างกายอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน เราจึงต้องต้านแรงโน้มถ่วง ด้วยการยืดแนวกระดูกสันหลังให้กลับคืนสู่แนวแกนปกติของร่างกายเป็นประจำ และต้องยืดอย่างถูกวิธีอยู่เสมอก็จะทำให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลตลอดเวลา
 
          ก่อนที่จะพูดถึงการทำให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบถนั้น เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลัง ซึ่งอยู่ในแนวแกนปกติเสียก่อน
 
">
โครงสร้างของกระดูกสันหลัง 
 
">
โครงสร้างของกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
1) ส่วนบน ประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนคอ จำนวน 7 ปล้อง
2) ส่วนกลางประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนอก (ส่วนที่มีซี่โครงเกาะ) จำนวน 12 ปล้อง
3) ส่วนล่างประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนเอว จำนวน 5 ปล้อง รวมถึงกระดูกกระเบนเหน็บ และกระดูกก้นกบ ด้วย
 
อิริยาบถสมดุลพื้นฐาน
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
          อิริยาบถสมดุลพื้นฐาน หมายถึง ท่าทางที่ทำให้กระดูกสันหลังแต่ละส่วน ยืดอยู่ในแนวแกนปกติอยู่เสมอ เพื่อรักษาความสมดุลโครงสร้างของร่างกายไว้ให้ได้ตลอดเวลา มีวิธีปฏิบัติดังนี้
ท่าพื้นฐาน ท่าที่ 1 
">
">
1. ยืดตัวขึ้น และดึงหน้าท้องให้แฟบเข้าหากระดูกสันหลังอยู่เสมอ
          เป็นการทำให้กระดูกสันหลังส่วนล่าง ตั้งแต่กระดูกก้นกบ มาจนถึงกระดูกสันหลังส่วนอกท่อนล่างสุด ยืดตรงอยู่ในแนวแกนปกติของร่างกาย เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนล่างนี้ถูกควบคุมด้วยกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อท้อง
 
         เราจึงต้องพยายามยืดตัวขึ้น แล้วก็ดึงหน้าท้องให้แฟบเข้าหากระดูกสันหลังไว้เสมอ และหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกๆ ช้าๆ โดยไม่ทำให้เกิดเสียง เล็งลมหายใจลงไปที่กลางท้อง ให้ทรวงอก ซี่โครง และปอดยืดขยายอย่างเต็มที่ และเมื่อหายใจออก ก็ออกทางจมูกช้าๆ โดยไม่ให้เกิดเสียง การหายใจเช่นนี้จะช่วยให้แนวกระดูกสันหลังถูกยืดอย่างมีประสิทธิภาพ
 
">
">
">
">
ท่าพื้นฐาน ท่าที่ 2
">
">
">
">
">
 
2. ยืดอกขึ้น พร้อมทั้งดึงกระดูกสะบักด้านหลังให้ชิดกันที่บริเวณกลางแนวกระดูกสันหลังเสมอ
          การทำท่านี้กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกสะบักจะบังคับกระดูกสะบักให้เข้าหากัน โดยไม่ต้องยกไหล่ ปล่อยมือทั้งสองลงข้างลำตัว โดยไม่ต้องเกร็ง ท่านี้จะทำให้กระดูกสันหลังส่วนกลางบริเวณส่วนที่เป็นทรวงอกถูกยืดขึ้นได้ตรงที่สุด
 
">
">
">
">
ท่าพื้นฐาน ท่าที่ 3
 
">
">
">
">
">
">
">
">
3. ดึงคางเข้ามาชิดคอ โดยรักษาหน้าให้ตั้งตรง ด้านหลังคอและท้ายทอยยืดตรงขึ้น
          เป็นการทำให้กล้ามเนื้อคอสามารถยืดกระดูกสันหลังส่วนบน ตั้งแต่ฐานกะโหลกศีรษะ ลงมาถึงระดับบ่าให้ตรงกลับเข้าสู่แนวแกนปกติของร่างกายตลอดเวลา

       
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น อิริยาบถสมดุลพื้นฐานทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเรียกใหม่ว่า “ท่าพื้นฐาน” แทนก็ได้ และเพื่อรักษาท่าพื้นฐานเหล่านี้ให้ได้ตลอดเวลา ควรท่องในใจเสมอว่า “ท้องชิดหลัง สะบักชนกัน คางชิดคอ”
  
">
">
">
">
">
 
        เราจำเป็นต้องมีสติระวังตนให้รักษาท่าพื้นฐานไว้เสมอ และฝึกให้เป็นนิสัย ผู้ที่ไม่เคยทำก็มักบอกว่า นั่นเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ แต่หารู้ไม่ว่า คนที่มีสุขภาพดีอยู่เสมอนั้น แนวกระดูกสันหลังของเขายืดตรงอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว ธรรมชาติสอนให้ทำอย่างนั้น
 
        แต่การที่คนส่วนใหญ่ยืดไม่ขึ้น ก็เพราะโครงสร้างของร่างกายขาดความสมดุลนั่นเอง เนื่องจากมีกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ดึงรั้งอยู่แม้เพียงเล็กน้อย ก็ปล่อยตามใจแรงดึงรั้งนั้น โดยไม่ยอมฝืนแรงดึงเลย ครั้นนานไปก็ทำให้ผิดปกติทั่วทั้งร่างกาย
 
        เราจำเป็นต้องรักษาท่าพื้นฐานไว้เสมอ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า จะต้องควบคุมร่างกายให้แข็งทื่อเหมือนหุ่นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากท่ายืดพื้นฐานดังกล่าวยังมีวิธีการสำหรับปรับท่าทางบางท่าให้เหมาะสมได้ เช่น แทนที่จะก้มลงไปหยิบของที่พื้น ก็ใช้วิธีย่อเข่าลงไปหยิบ เมื่อหยิบของได้แล้วก็ยืดตัวขึ้นตรงๆ หรือเวลาจะดูอะไร เราต้องทำให้กระดูกคอของเรายืด ไม่ใช่ยื่นหน้า ยื่นคางออกไป จนกระดูกคอย้ายผิดที่ไปมาก แล้วก็ค้างอยู่อย่างนั้นนานๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหากับเส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง เป็นต้น
 
        
การรักษาท่าพื้นฐานตามหลักการที่กล่าวมานี้ เมื่อทำซ้ำๆ บ่อยๆ จนเป็นนิสัย ก็จะทำให้โครงสร้างของร่างกายเกิดความสมดุลอยู่เสมอ ส่งผลให้ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติตลอดเวลา
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

จาก...หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
อิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ถูกและผิด (1)อิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ถูกและผิด (1)

อิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ถูกและผิด (2)อิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ถูกและผิด (2)

นิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกายนิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกาย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี