เตรียมตัวให้ชัวร์อย่างไรโดยไม่ต้องกลัวน้ำ


[ 30 ต.ค. 2554 ] - [ 18269 ] LINE it!

รู้ สู้ flood ep.3 : เตรียมตัวก่อนน้ำมาถึง

เตรียมให้ชัวร์ไม่ต้องกลัวน้ำ

 
        ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ว่าน้ำจะท่วมบ้านเราหรือไม่ สิ่งหนึ่งที่เราพอทำได้คือ การเตรียมบ้านของเราให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ แม้ในยามที่ภัยมา เราก็ยังดูแลตัวเองได้ และไม่ตกเป็นผู้ประสบภัย อย่าเพิ่งคิดว่าการเตรียมบ้านเพื่อรับมือน้ำท่วมเป็นเรื่องยุ่งยาก เพียงตั้งสติ และค่อยๆ ตรวจสอบบ้านของคุณตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้
 
1. ตรวจสอบรอบบ้าน ด้วยการดูว่า สถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันในพื้นที่บ้านของคุณเป็นอย่างไรบ้าง หมั่นติดตามสถานการณ์น้ำท่วมโดยรวม เพื่อประเมินสถานการณ์ ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมรอบบริเวณบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่น้ำท่วม
 
ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมและหน่วยงานช่วยเหลือที่สำคัญ
ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมและหน่วยงานช่วยเหลือที่สำคัญ
 
        ที่สำคัญที่สุด ควรตรวจสอบหน่วยงานช่วยเหลือที่สำคัญหรือศูนย์อพยพที่อยู่ใกล้เคียง ควรรู้เส้นทางหรือเก็บหมายเลขโทรศัพท์ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในยามฉุกเฉินที่ต้องการความช่วยเหลือ
 
2. จัดการสินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การป้องกันน้ำเข้า และ การจัดการกับข้าวของต่างๆ สำหรับการป้องกันน้ำเข้า
 
ปิดประตูหน้าต่างที่อยู่ต่ำและจัดการใช้ซิลิโคนอุดรอยต่อทุกอย่างที่อยู่ต่ำให้สนิท
ปิดประตูหน้าต่างที่อยู่ต่ำและจัดการใช้ซิลิโคนอุดรอยต่อทุกอย่างที่อยู่ต่ำให้สนิท
 
        อันดับแรกคือ การปิดประตูหน้าต่างที่อยู่ต่ำ จากนั้นจัดการกับรอยต่อที่อยู่ตามจุดต่างๆ เช่น รอยต่อประตู รอยต่ออิฐ รอยร้าว รอยต่อรอบสายไฟ หรือสายโทรศัพท์ รวมถึงปลั๊กไฟและสวิชท์ จัดการใช้ซิลิโคนอุดรอยต่อทุกอย่างที่อยู่ต่ำให้สนิท
 
น้ำอาจดันมาจากด้านล่าง ที่เป็นท่อน้ำทิ้ง อ่างล้างหน้า และโถสุขภัณฑ์ รวมถึงสนามหญ้ารอบบ้าน
น้ำอาจดันมาจากด้านล่าง ที่เป็นท่อน้ำทิ้ง อ่างล้างหน้า และโถสุขภัณฑ์ รวมถึงสนามหญ้ารอบบ้าน
 
        อย่ามัวแต่สนใจน้ำด้านบนจนลืมอุดน้ำที่อาจดันมาจากด้านล่าง ทั้งจากท่อน้ำทิ้ง อ่างล้างหน้า และโถสุขภัณฑ์ รวมถึงสนามหญ้าในบริเวณบ้านเอง ก็มีจุดที่น้ำจะดันซึมผ่านดินเข้ามาได้
 
        สิ่งที่ควรคำนึงในการปิดบ้าน ไม่ใช่แค่น้ำ เพราะช่องว่างเหนือน้ำขึ้นมา อาจเป็นจุดที่มีสัตว์มีพิษหรืออันตรายอื่นๆ เข้ามาได้ ควรปิดหรือเฝ้าระวังให้ดี เมื่อป้องกันน้ำเข้าแล้ว จึงหันมาจัดการกับข้าวของต่างๆ บ้านที่มีสัตว์เลี้ยงควรอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงลดภาระที่ต้องดูแล
 
หาวิธีจัดการกับทรัพย์สินทั้งขนาดเล็กและใหญ่ให้เรียบร้อย
หาวิธีจัดการกับทรัพย์สินทั้งขนาดเล็กและใหญ่ให้เรียบร้อย
 
        ทรัพย์สินขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ควรขนย้ายขึ้นชั้นบนเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะเอกสารสำคัญทั้งหลายควรหุ้มวัสดุกันน้ำให้ดีและรวบรวมไว้ที่เดียวกัน หากเป็นทรัพย์สินขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ที่ไม่สะดวกต่อการขนย้าย จัดการหาทางป้องกันให้เรียบร้อย และที่สำคัญที่สุด ควรปิดแก๊สและตัดวงจรไฟฟ้า เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หากมีการแยกเบรกเกอร์กับชั้นบน สามารถตัดวงจรแต่ชั้นล่างได้
 
จอดรถยนต์ในที่สูง แต่หากหาที่จอดไม่ได้ ให้ศึกษาวิธีการคลุมรถส่วนล่าง เพื่อปกป้องเครื่องยนตร์
จอดรถยนต์ในที่สูง แต่หากหาที่จอดไม่ได้ ให้ศึกษาวิธีการคลุมรถส่วนล่าง เพื่อปกป้องเครื่องยนตร์
 
        ส่วนทรัพย์สินขนาดใหญ่อย่างรถยนต์ ควรหาทางจอดในที่สูงเพื่อหนีน้ำ แต่หากหาที่จอดไม่ได้ ให้ลองศึกษาวิธีการคลุมรถส่วนล่าง เพื่อปกป้องเครื่องยนตร์ดู
 
3. เตรียมอยู่กับน้ำ เพื่อให้เราสบายใจว่ายังอยู่ได้แม้ภัยมา โดยเน้นที่การเตรียมพร้อมแต่พอดี เพราะปริมาณของที่มากเกินไป แทนที่จะกลายเป็นสิ่งช่วยเหลือ อาจกลายเป็นภาระแทนได้ ก่อนที่จะเตรียมสิ่งของ ควรดูแลเรื่องคนก่อนเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะ เด็ก ผู้ป่วย คนชรา ควรอพยพไปยังจุดปลอดภัยให้เร็วที่สุด
 
นับจำนวนคนในครอบครัวของเรา เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างสมเหตุสมผล
นับจำนวนคนในครอบครัวของเรา เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างสมเหตุสมผล
 
        เมื่อคนพร้อมแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการจัดชุดยังชีพของเราเอง โดยเริ่มจากนับจำนวนคนในครอบครัวของเรา เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างสมเหตุสมผล ประกอบด้วย น้ำ เพื่อตัดความกังวลน้ำดื่มขาดตลาด เราควรมองหาซื้อเครื่องกรองน้ำไว้เป็นของตัวเอง เตรียมภาชนะไว้รองดื่มน้ำ รวมถึงสารทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
 
ควรเลือกอาหารสำเร็จรูปที่ไม่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยปรุง
ควรเลือกอาหารสำเร็จรูปที่ไม่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยปรุง
 
        อาหารสำเร็จรูป จะช่วยให้เราอยู่ในภาวะฉุกเฉินได้นานขึ้น ควรเลือกอาหารสำเร็จรูปที่ไม่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยปรุง ของจำพวกอาหารแช่แข็ง อาจอุ่นกินไม่ได้หากไฟโดนตัด และควรเตรียมที่เปิดกระป๋องหรือเตาแก๊สพกพาเล็กๆ ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ส่วนพวกของมีคมต่างๆ ให้หาที่เก็บให้มิดชิด ป้องกันอันตรายยามน้ำมา และควรมีถุงดำเตรียมไว้ด้วย เตรียมอุปกรณ์จำเป็นหากไม่มีไฟฟ้าใช้ เช่น ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย เทียนไข ไฟแช็ค
 
ควรเตรียมยาต่างๆ เอาไว้ ศึกษาวิธีการทำส้วมฉุกเฉิน และควรมีอุปกรณ์เพื่อขอความช่วยเหลือ
ควรเตรียมยาต่างๆ เอาไว้ ศึกษาวิธีการทำส้วมฉุกเฉิน และควรมีอุปกรณ์เพื่อขอความช่วยเหลือ
 
        การเตรียมยา ควรเตรียมตั้งแต่ยาทั่วไป ยาสำหรับโรคประจำตัว ยาสำหรับแมลงสัตว์กัดต่อย รวมถึงยากันยุง เพราะน้ำท่วมจะทำให้ยุงชุมเป็นพิเศษ และควรเตรียมความพร้อมเรื่องการขับถ่าย โดยศึกษาวิธีการทำส้วมฉุกเฉินเอาไว้ด้วย เตรียมอุปกรณ์เพื่อการสื่อสารฉุกฉิน เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์สำรอง หรือเครื่องรับวิทยุพกพา และควรมีอุปกรณ์เพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น เสื้อชูชีพ หรือนกหวีด
 
ตรวจสอบรอบบ้าน จัดการสินทรัพย์ เตรียมอยู่กับน้ำ
ตรวจสอบรอบบ้าน จัดการสินทรัพย์ เตรียมอยู่กับน้ำ
 
        แม้สิ่งที่เราต้องดูแลในภาวะน้ำท่วมจะเยอะ แต่หากคิดให้ดีๆ แล้ว ทุกสิ่งก็ล้วนคิดมาจากชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น ตรวจสอบรอบบ้าน จัดการสินทรัพย์ เตรียมอยู่กับน้ำ หากคุณตั้งสติ และค่อยๆ คิดตาม 3 ขั้นตอนนี้ การรับมือน้ำท่วมก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป



ชมวิดีโอ "เตรียมตัวก่อน น้ำมาถึง"
จากรู้ สู้ Flood ตอนที่ 3 เตรียมให้ชัวร์ ไม่ต้องกลัวน้ำ




Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

แบบไหนดีกว่า ในสถานการณ์น้ำท่วมแบบไหนดีกว่า ในสถานการณ์น้ำท่วม

เตรียมใจสู้ พร้อมอยู่กับน้ำเตรียมใจสู้ พร้อมอยู่กับน้ำ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว