หนีน้ำอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีสติ


[ 2 พ.ย. 2554 ] - [ 18263 ] LINE it!

อพยพอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีสติ
 
ใจเย็นยามอพยพ
 
หลังการประกาศเตือนภัยเราคงจะพอเห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ รอบๆเริ่มมีน้ำเข้ามาบ้างแล้ว
 
หลังการประกาศเตือนภัยเราคงจะพอเห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ รอบๆเริ่มมีน้ำเข้ามาบ้างแล้ว

วิธีการ และข้อควรปฏิบัติต่างๆ ในการอพยพหนีน้ำท่วม 

        หลังการประกาศเตือนภัยเราคงจะพอเห็นได้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ รอบๆ เริ่มมีน้ำเข้ามาบ้างแล้ว บางครอบครัวเริ่มทยอยอพยพออกกันบ้างแล้ว บางครอบครัวก็ยังอยู่กับบ้านตามปกติสำหรับใครที่ยังอยู่กับบ้านต้องพิจารณา 3 สิ่งที่ต้องสังเกต  เช็คระดับน้ำทั้งบ้านเราเองและใกล้เคียง สุขภาพของคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วย คนชรา และดูความพร้อมที่เตรียมไว้หากวันนี้สถานการณ์ของคุณอยู่ในกรณีที่คุณคิดว่าควรอพยพเราจะพาคุณไปเตรียมตัวกัน
 
ไปไหน? นานเท่าไหร่? เอาอะไรไปบ้าง? จะไปอย่างไร?
 
ไปไหน? นานเท่าไหร่? เอาอะไรไปบ้าง? จะไปอย่างไร?
 
        ขั้นตอนการเตรียมตัวอพยพถ้าจะจดจำให้ง่ายก็เหมือนกับการไปเที่ยวเริ่มจากคำว่าไปไหน? นานเท่าไหร่? เอาอะไรไปบ้าง? จะไปอย่างไร?
 
จะอพยพไปที่ไหนไปอยู่บ้านญาติ
 
จะอพยพไปที่ไหนไปอยู่บ้านญาติ
 
ไปไหน? นานเท่าไหร่?
 
        การอพยพส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความหมายของคุณว่าจะอพยพไปที่ไหนไปอยู่บ้านญาติ ไปต่างจังหวัด ไปต่างประเทศ หรือไปที่ศูนย์อพยพ การเตรียมของที่จำเป็นก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณว่างแผนอพยพ 5 วัน 7 วัน 2 อาทิตย์ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่อพยพ พร้อมกับคุณด้วยทั้งนี้ควรเตรียมของทุกอย่างใส่กระเป๋าล่วงหน้าเอาไว้ถ้ารวมเป็นใบเดียวได้ก็จะดีที่สุดเมื่อถึงยามฉุกเฉิน จริงๆ เพียงคุณคว้ากระเป๋าใบนี้คุก็จะสามารถออกจากบ้านได้เลยทันที
 
สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำ อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย หรือ เทียนไข ยาต่างๆ
 
สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำ อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย หรือ เทียนไข ยาต่างๆ
 
เอาอะไรไปบ้าง ?
 
        สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำ อาหารสำเร็จรูป ไฟฉาย หรือ เทียนไข ยาต่างๆ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ของความช่วยเหลือ เสื้อชูชีพ อย่าลืมว่าควรเตรียมแต่พอดีไม่ให้หนักเกินไปจนเป็นภาระ เมื่อเตรียมของเสร็จก็เป็นขั้นตอนการปิดบ้าน

ขั้นตอนการปิดบ้านหนีน้ำท่วม

        ยกของสำคัญขึ้นสูง
        ตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมด
        ปิดแก๊ส
        อุดช่องน้ำ
        จดบันทึกรายการทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อไว้ตรวจสอบให้ครบตอนกลับมาแล้วอย่างลืม
        ล็อกบ้านให้เรียบร้อยค่ะ

        ศูนย์อพยพส่วนใหญ่จะแยกส่วนระหว่างผู้ประสบภัยกับสัตว์เลี้ยง เพื่อควบคุมการจัดการและความสะอาด ดังนั้น เพื่อความสบายใจของคนรักสัตว์ ลองติดต่อหาศูนย์อพยพสัตว์ เพื่อนำสัตว์เลี้ยงของคุณไปฝากไว้ระหว่างช่วงอพยพ 

        ถ่ายภาพบ้านของคุณที่ถูกน้ำท่วมเอาไว้ และควรถ่ายให้เห็นบ้านเลขที่ด้วยสำหรับใช้เป็นหลักฐานการเบิกประกันหรือค่าชดเชยต่างๆ ภายหลัง จดบันทึกหรือพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินต่างๆ ติดตัวไว้ หากจดจำหมายเลขที่สำคัญได้จะดีที่สุด

 
ก่อนออกจากบ้านศึกษาเส้นทางจากบ้านสู่ที่หมายอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลียงเส้นทางที่น้ำท่วม
 
ก่อนออกจากบ้านศึกษาเส้นทางจากบ้านสู่ที่หมายอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลียงเส้นทางที่น้ำท่วม
 
จะไปอย่างไร?
 
        หากคุณตัดสินใจที่จะอพยพ ควรจะทำตั้งแต่น้ำยังไม่มา หรือไม่สูงมาก ออกเดินทางได้สะดวก ถ้าหากน้ำสูงแล้วการอพยพจะเป็นไปได้อยากกว่าที่คุณคิด ก่อนออกจากบ้านศึกษาเส้นทางจากบ้านสู่ที่หมายอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลียงเส้นทางที่น้ำท่วม และควรนัดหมายจุดนัดพบกับสมาชิกทั้งหมดให้พร้อม เผื่อกรณีพัดหลง

        ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ กรณีที่ต้องเดินลุยน้ำ ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในน้ำก่อนทุกครั้ง และหลีกเลียงการเดินใกล้แห่งกำเนิดไฟฟ้าทุกชนิด หากเส้นทางที่คุณอพยพเริ่มมีน้ำมาบ้างไม่ควรเดินตามเส้นทางน้ำไหล เพราะน้ำตื้นก็ทำให้เราเสียหลักได้ การเดินลุยน้ำจะเดินยากกว่าปกติ

        ควรพกขนมประเภทแป้งหรือน้ำตาลเพื่อเพิ่มพลังงาน และควรพกไม้ขนาดยาวเพื่อนำทางป้องกันการตกหลุมที่เรามองไม่เห็น หากพบเจอจระเข้ หรือ งู ในขณะที่เรายังเดินลุยน้ำอย่าตกใจแล้ววิ่ง เพราะยิ่งเป็นอันตราย ให้ยืนเฉยๆ จนกว่าจระเข้จะผ่านไป

        แต่ในกรณีที่จระเข้จะทำร้ายให้ยื่นไม้เข้าปาก เพราะธรรมชาติการกินเหยื่อของจระเข้จะงับ และลากเหยื่อไปกินในน้ำ ระหว่างที่จระเข้งับไม้นั้นให้เราวิ่งไปอย่าระมัดระวัง

        เมื่อถึงที่หมาย ที่นี้เราขอยกตัวอย่างที่ศูนย์อพยพ ล้างมือล้างเท้าให้สะอาดก่อนจะเข้าไปที่หมายของคุณ สิ่งที่ต้องใช้แน่ๆ เพื่อลงทะเบียนเข้าศูนย์อพยพ คือ หลักฐานยืนยันการเป็นตัวตนของคุณ เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง ควรเตรียมมาจากบ้านให้พร้อม
 
คิดถึงส่วนรวมช่วยคนอื่นเท่าที่ช่วยได้ ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยอาสาสมัครที่ดูแลกันและกัน
 
คิดถึงส่วนรวมช่วยคนอื่นเท่าที่ช่วยได้ ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยอาสาสมัครที่ดูแลกันและกัน
 
        ขั้นตอนต่างๆขึ้นอยู่กับศูนย์อพยพ โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อไปอยู่กับผู้ประสบภัยคนอื่นๆไม่ควรเก็บอาหารสดไว้กินข้ามมือเพราะอาหารอาจบูดและเกิดโรคได้ หากพบอาหารบูดไม่เพียงทิ้งอาจแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อระงับการแจกอาหารนั้นให้ผู้อื่น ล้างมือก่อนและหลังรับประท่านอาหาร ปิดปากทุกครั้งที่ไอ หรือจาม คำนึงถึงความสะอาดส่วนรวม ในการรักษาความสะอาดของตัวเองให้ดีที่สุด หากเจ็บป่วย หรือส่งสัยว่าจะมีโรค ให้รีบพบหน่วยแพทย์ทันที่ ป้องกันเชื่อโรคแพร่กระจาย ขอให้คิดอยู่เสมอว่าในศูนย์อพยพไม่ได้มีแต่เราผู้เดียว ยังมีคนอื่นอีกมาก ทั้งผู้ประสบภัยด้วนกัน อาสาสมัคร หรือเจ้าหน้าที่ ถ้าเราคิดถึงแต่ตัวเอง ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยผู้ประสบภัย แต่หากเราคิดถึงส่วนรวมช่วยคนอื่นเท่าที่ช่วยได้ ศูนย์อพยพก็จะเติมไปด้วยอาสาสมัครที่ดูแลกันและกัน ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
 
 
คลิกชมวิดีโอ
ใจเย็นยามอพยพ



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

บิ๊กแบ็ค หรือ  กระสอบทรายยักษ์ต้านน้ำท่วมบิ๊กแบ็ค หรือ กระสอบทรายยักษ์ต้านน้ำท่วม

คู่มือซ่อมบ้านหลังน้ำท่วมคู่มือซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว