พายุนารี กรมอุตุฯ ชี้ อ่อนกำลังลงแล้ว


[ 12 ต.ค. 2556 ] - [ 18269 ] LINE it!

พายุนารี

พายุนารี (NARI)

หวั่นพายุนารี ทำน้ำท่วม แต่อ่อนกำลังแล้ว

 

พายุนารีหน้าหลักข่าวน้ำท่วม

 

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา 'พายุนารี' ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2556


     พายุดีเปรสชั่นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนแล้ว มีชื่อว่า "นารี " ล่าสุดเมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (12 ต.ค. 56) พายุไต้ฝุ่น "นารี" (NARI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 1,100 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 15.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า จะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ในช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคม 2556 จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชัน ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางกับมีลมแรงได้

 

พายุนารี



     อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนน้อย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลงในระยะนี้



ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 11.00 น.เกี่ยวกับพายุนารี


สบอช. ห่วงพายุนารีพัดเข้าไทย 17 ต.ค.นี้ ทำอีสานฝนตกหนัก

สบ อช.ห่วงพายุนารี มาถึงเวียดนามและเข้าไทยในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ และจะส่งผลให้พื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี และศรีสะเกษ มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ขณะที่กรมอุตุฯ เผย วันนี้ (12 ตุลาคม) พายุนารียังไม่มีผลกระทบต่อไทย

          วานนี้ (11 ตุลาคม 2556) นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการสำนักงานนโยบายบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) เผย สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ดีขึ้น โดยพื้นที่ฝั่งตะวันออกจะเร่งระบายน้ำออกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งบางพวง และ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมอีก 30 เครื่อง คาดว่าจะสามารถระบายน้ำค้างทุ่งได้มากขึ้น และควบคุมสถานการณ์น้ำในภาพรวมได้ ส่วนการดูแลนิคมอุตสาหกรรม ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเช่นกัน มั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรม

          อย่างไรก็ตาม สบอช. ยังมีความเป็นห่วงเรื่องพายุนารี ที่เข้าพัดใกล้ฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ และกำลังมาถึงประเทศเวียดนามและไทยในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่

          ขณะที่เมื่อเวลา 04.00 น. ของเช้าวันนี้ (12 ตุลาคม) กรมอุตุนิยมวิทยา มีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นนารี บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนขึ้นสู่เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ แล้ว และจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันนี้ (12 ตุลาคม) ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย อนึ่ง ขณะนี้พายุไต้ฝุ่นนารียังไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย (เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม)

 

พายุนารีพัดเข้าไทย "อีสาน" เตรียมรับมือฝนตกหนัก



     นาย สุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการสำนักงานนโยบายบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ สบอช. เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ดีขึ้น โดยพื้นที่ฝั่งตะวันออกจะเร่งระบายน้ำออกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 ต.ค. นี้ โดยเฉพาะที่ทุ่งบางพวง และ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมอีก 30 เครื่อง คาดว่าจะสามารถระบายน้ำค้างทุ่งได้มากขึ้น และควบคุมสถานการณ์น้ำในภาพรวมได้
ส่วนการดูแลนิคมอุตสาหกรรม ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเช่นกัน มั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ทาง สบอช. ยังมีความเป็นห่วงพายุนารีที่เข้าพัดใกล้ฝั่งประเทศฟิลิปปินส์และกำลังมาถึง ประเทศเวียดนามและไทยในวันที่ 17 ต.ค. นี้ ส่งผลให้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ มีฝนตกหนักในหลายพื้น

 

 

จับตาพายุ"นารี"จ่อถล่มไทยซ้ำเติมปราจีนฯ-สระแก้ว


     จุฬาฯ ชี้ น้ำท่วมปีนี้ ใกล้เคียงปี 49 เหตุพายุถล่มไทย ฟันธง กรุงเทพฯ ยังไงก็จมซ้ำซาก เพราะระบายไม่ทัน จับตา พายุ “นารี” จ่อเข้าไทย หวั่นซ้ำเติมปราจีนฯ-สระแก้ว

     เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 ต.ค. ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารอัญมณี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มีการจัดเสวนาเรื่อง “สถานการณ์น้ำปี 2556 ตอบปัญหาน้ำจะท่วมกรุงฯหรือไม่?”  โดยมี ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล  หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยาย ท่ามกลางผู้สนใจรับฟังจำนวนหนึ่ง

     ศ.ดร.ธนวัฒ น์ กล่าวว่า  จากการติดตามสถานการณ์เรื่องน้ำท่วมในภาคกลาง  เวลามีน้ำท่วมใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเดือนต.ค. ในอดีตกรุงเทพฯ และภาคกลางที่มีปัญหาน้ำท่วม มักจะเกี่ยวข้องกับพายุ  เช่น ปี  2538 และ 2549  ยกเว้นน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ไม่มีพายุมาเกี่ยวข้อง เพราะมีน้อยมาก และพายุส่วนใหญ่ไปทางตอนเหนือ  แต่ถ้าปีไหนมีพายุเฉียดเข้ามา ปีนั้นค่อนข้างมีปัญหาเกี่ยวกับการระบายน้ำ

     ทั้งนี้ถ้าดูลักษณะที่ทำ ให้เกิดน้ำท่วม พบว่า ปีนี้ลักษณะภูมิอากาศ และพายุ หรือร่องฝน มีความใกล้เคียงกับปี 2549  คือ น่าจะมีพายุช่วงเดือนต.ค. หรือ พ.ย.เข้ามาเฉียดภาคกลาง หรือภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย  1-2 ลูก ซึ่งพายุเหล่านั้นจะสร้างความเสียหาย  นอกจากนี้ช่วงดังกล่าวยังเป็นช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนสูงด้วย

     ศ.ดร.ธนวัฒ น์  กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีรับมือ เราต้องรู้พฤติกรรมของมวลน้ำ โดยปีนี้ ถ้ากทม. และภาคกลางจะเจอน้ำท่วม มีกรณีเดียว คือ ฝนตกหนัก และพายุเฉียดเข้ามา  หากเปรียบเทียบปริมาณน้ำเหนือปีนี้กับปี 2554 พบว่าปีนี้มีน้ำเบาบางกว่า  แต่ในกทม. เมื่อฝนตกนานไม่กี่ชม.ก็ท่วมแล้ว  เพราะระบายไม่ทัน หรือในหลายพื้นที่ เช่น นิคมอุตสาหกรรม น้ำท่วมในนิคมฯ เพราะเกิดจากการระบายน้ำ เพราะฉะนั้น ที่นิคมฯในภาคกลางคิดว่ามีคันกั้นน้ำแล้วปลอดภัยนั้น  ความจริงคือ คันกั้นน้ำป้องกันได้เพียงน้ำเหนือ แต่ไม่ได้ป้องกันในเรื่องของพายุ  หากมีพายุเกิดขึ้นแล้วเฉียดเข้าที่ตั้งนิคม ก็จะเสียหายได้

     ดังนั้น ถ้าจะให้มั่นใจ ต้องดูเส้นทางพายุโซนร้อน ชื่อ “นารี”  หรือพายุนารี กับพายุดีเปรสชั่นอีกลูกที่ยังไม่มีชื่อ  จากแบบจำลองพายุ คาดว่าภายในคืนนี้ หรือ วันที่ 11 ต.ค. พายุนารีจะแปรสภาพเป็นพายุ ระดับ 1 สำหรับเส้นทางนั้น น่าจะเข้ามาทางเวียดนามตอนกลาง  คิดว่าก่อนขึ้นฝั่งพายุดังกล่าว น่าจะอยู่ระดับ 1-2 แต่เมื่อเข้าประเทศไทย คงจะลดลงเหลือพายุโซนร้อน อาจส่งผลกระทบกับพื้นที่ภาคอีสาน  อย่างไรก็ดี พายุอาจเปลี่ยนเส้นทางลงล่าง หรือขึ้นบนก็ได้  ถ้าลงล่าง พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงจะเป็น จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว ที่ถูกน้ำท่วมอยู่  หากไม่เปลี่ยนทิศจะซ้ำเติมพื้นที่ที่ท่วมอยู่  แต่จะท่วมสูงเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่

      ศ.ดร.ธนวัฒน์   กล่าวอีกว่า  ฝากเตือนประชาชนเฝ้าระวัง และคอยติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยาตลอด และเตรียมความพร้อมให้ดี อย่างเพิ่งตื่นตระหนก เนื่องจากต้องดูเส้นทางของพายุนารีก่อน  อย่างไรก็ตามวันที่ 15 ต.ค.นี้ พายุนารีจะขึ้นฝั่งเข้าประเทศเวียดนาม ก่อนจะเข้าประเทศไทย ในวันที่ 19 ต.ค. ช่วงน้ำทะเลหนุนพอดี.




Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์

ประมวลภาพ “ตักบาตรมิตรภาพไทย-ลาว” เนื่องในวันออกพรรษา 2556ประมวลภาพ “ตักบาตรมิตรภาพไทย-ลาว” เนื่องในวันออกพรรษา 2556

พิธีทอดผ้าป่าสร้างอาคารเอนกประสงค์ ณ พุทธอุทยานนานาชาติ อ.โพนพิสัยพิธีทอดผ้าป่าสร้างอาคารเอนกประสงค์ ณ พุทธอุทยานนานาชาติ อ.โพนพิสัย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

เรื่องเด่นทันเหตุการณ์