พระพุทธศาสนาในบังคลาเทศ


[ 3 พ.ค. 2550 ] - [ 18280 ] LINE it!

ประวัติพระพุทธศาสนาในบังคลาเทศ
 
 
    บังคลาเทศ เดิมเรียกว่า “เบงกอล” เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสองสายคือ คงคา และ พรหมบุตร ทางตอนเหนือของอินเดีย บังคลาเทศเคยเป็นอู่แห่งพระพุทธศาสนา มีหลักฐานว่า พระพุทธองค์เสด็จมาประกาศพระพุทธศาสนา และเทศน์โปรดพระสาวกในดินแดนนี้ด้วยพระองค์เอง และยังพบหลักฐานเกี่ยวกับวัด, พระพุทธรูป, พระบรมสารีริกธาตุ, จารึกบนศิลา และแผ่นทองแดง ตามพื้นที่ต่างๆในดินแดนนี้ด้วย
 
    ราวพุทธศตวรรษที่2 ยุคพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในดินแดนแถบนี้ และมีบันทึกจากหลวงจีนอีก 3ยุค คือ (หลวงจีนฟาเหียน พุทธศตวรรษที่10 พระถังซำจั๋ง กลางพุทธศตวรรษที่12 และหลวงจีนอี้จิง ปลายพุทธศตวรรษที่12 ที่กล่าวไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเทศน์โปรดพระสาวกที่ เมืองปุนดรา บาร์ดัน (Pundra-Bardhan) เมืองสมทัตตะ (Samatatta) และอีกหลายแห่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตบังคลาเทศ
 
    นอกจากนั้นหลวงจีนฟาเหียนได้บันทึกด้วยว่า ที่เมืองหลวง มีพระภิกษุ 2,000รูปมีวัด 30วัด และที่ เมืองทัมราลิพตะ มีวัด 22วัด ส่วนบันทึกของพระถังซำจั๋งกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่ บาซู วิหาร ซึ่งอยู่ชานเมือง ปุนดรา บาร์ดัน  
 
 
    ปลายพุทธศตวรรษที่12 มีหลวงจีนได้เดินทางมาที่ เมืองสมทัตตะ และบันทึกว่า มีพระสงฆ์ 4,000รูป จำพรรษาในเมืองนี้ มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า ราชาราชภัตตะ บูชาพระรัตนตรัยและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีวัดสำคัญเป็นสถานที่ศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น ซัลบานา บานาคา สตูปา วิหาร และ บัณฑิตวิหาร ที่ เมืองจิตตะกอง โดยบัณฑิตวิหารนั้น นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นวัดที่มีพระและพระภิกษุต่างชาติพำนักอยู่จำนวนมาก โดยหลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ถูกทำลายลงแล้ว สถาบันแห่งนี้ก็เจริญรุ่งเรืองอยู่ 300ปี  ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่า ยังคงถูกฝังอยู่ใต้เทือกเขาที่เมืองจิตตะกอง บางแหล่งก็สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง ภูเขารังมหล กับ มัสยิด จุมมา นอกจากบันทึกของนักบวชแล้ว ก็ยังมีบันทึกชาวจีนโบราณ ที่เดินทางมาในดินแดนแถบนี้ บอกว่าพบเห็นวัดวาอารามนับ 100แห่ง
 
 
    พุทธศตวรรษที่11 และ 15 มีการค้นพบจารึกบนทองแดง และแผ่นหิน ที่มีอายุในช่วงนั้น อยู่ในหลายๆเมืองเช่น เมืองพาฮาพูร (อ่านว่า พา-ฮา-พู-ระ) และ มาฮัสตันกอล โดยกล่าวถึงเรื่องราวการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ และ คุปตะ   
 
    พุทธศตวรรษที่ 15-18 พบจารึก ตำนาน และบทกวี ที่ เมืองซาลิมพูร (อ่านว่า ซา-ลิม-พู-ระ) และ บาเราทัน ในจิตตะกอง กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนบังคลาเทศโบราณ และ เผยแผ่ไปยังทิเบตด้วย
 
 
    พุทธสถานที่เป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนานับตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่12 จนถึงพุทธศตวรรษที่17 คือ สมพูร (อ่านว่า สะ-มะ-พู-ระ) มหาวิหาร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของบังคลาเทศ มีเนื้อที่ทั้งหมด 27เอเคอร์ เป็นพุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2528   
 
 
    ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 มีข่าวการค้นพบวัดพุทธมีอายุย้อนหลังไปถึง 1,700ปี ที่ วิหาร แดพ ทางตอนเหนือของบังคลาเทศ หากวัดระยะของสถานที่ที่ขุดพบจากตะวันออกไปตะวันตก จะได้ 250เมตร วัดระยะจากเหนือลงใต้ จะได้ 220เมตร มีความสูง 2เมตร
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ชาวพุทธในยุคปัจจุบันของบังคลาเทศชาวพุทธในยุคปัจจุบันของบังคลาเทศ

การหยัดสู้ของชาวพุทธในบังคลาเทศการหยัดสู้ของชาวพุทธในบังคลาเทศ

สามเณรแก้วแห่งบังคลาเทศสามเณรแก้วแห่งบังคลาเทศ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน