ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


[ 16 เม.ย. 2557 ] - [ 18360 ] LINE it!

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

 
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือ ?
 
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

     ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส

      สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม

     ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

     ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆเราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย

      การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา

สภาวะโลกร้อน

      สภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์

    ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้นซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก

     ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่าเพื่อใช้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและการทำปศุสัตว์ เป็นต้น โดยการเผาป่าเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้โดยเร็วที่สุด

   ก๊าซมีเทน(CH4) เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต แม้ว่ามีก๊าซมีเทนอยู่ในอากาศเพียง 1.7 ppm แต่ก๊าซมีเทนมีคุณสมบัติของก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือด้วยปริมาตรที่เท่ากัน ก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

      ก๊าซไนตรัจออกไซด์ (N2O) ปกติก๊าซชนิดนี้ในธรรมชาติเกิดจากการย่อยสลายซากสิ่งมีชิวิตโดยแบคทีเรีย แต่ที่มีเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องมาจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกบางชนิด เป็นต้น ก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์/ตารางเมตร นอกจากนั้นเมื่อก๊าซไนตรัสออกไซด์ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตของโลกลดน้อยลง

      ก๊าซโอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ โอโซนไม่ใช่ก๊าซที่มีเสถียรภาพสูง มันมีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์ แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนและโมเลกุลชนิดอื่น (M)ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง แล้วให้ผลผลิตเป็นก๊าซโอโซนออกมา

        ผลกระทบจากสภาวะโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับโลกและระดับ ภูมิภาคทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ดังนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับโลกและระดับภูมิภาคทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ดังนี้

ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง


      หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก 1.4-5.8 องศาเซลเซียสจะส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย และระดับน้ำทะเลเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 14 - 90 เซนติเมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบ ได้แก่ การสูญเสียที่ดินการกัดเซาะและการพังทลายของชายฝั่ง ในส่วนของพื้นที่ที่จะได้รับความเสียหายมากที่สุด คือหมู่เกาะเล็กๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลแคริเบียน รวมถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในพื้นที่ราบลุ่ม เช่น สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 50 ซม.จะมีผลกระทบต่อประชากรโลกประมาณ 92 ล้านคน ตัวอย่างเช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 1 เมตรจะทำให้ประเทศอียิปต์เสียพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ เนเธอร์แลนด์ 6 เปอร์เซ็นต์ บังคลาเทศ 17.5 เปอร์เซ็นต์ และ หมู่เกาะมาฮูโรในเกาะมาร์แชล 80 เปอร์เซ็นต์
 
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

สภาพอากาศรุนแรง

 
      เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น ภัยธรรมชาติต่างๆมีแนวโน้มว่าจะเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า พายุไต้ฝุ่นโซนร้อน น้ำท่วม และการพังทลายของชั้นดินเป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของปรากฎการณ์เหล่านี้ ได้แก่ พายุไซโคลนที่เข้าถล่มรัฐโอริสสา ในประเทศอินเดีย และคร่าชีวิตผู้คนนับหมื่นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 สภาวะคลื่นความร้อน (Heat Wave) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ที่ทำลายพืชผลการเกษตรในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และทำให้มีผู้เสียชีวิต 140 คน รวมทั้งปรากฎการณ์น้ำท่วมใหญ่ในจีน ความแห้งแล้งรุนแรงในซูดาน และเอธิโอเปีย ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2542-43 เป็นต้น

ปะการังฟอกสี

 
      สีสันที่สวยงามของปะการังนั้นมาจากสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กที่พึ่งพาอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของปะการัง หากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน เพียง 2-3 องศาเซลเซียส สาหร่ายนั้นจะตายไป เมื่อปะการังไม่มีอาหาร ปะการังก็จะตายและกลายเป็นสีขาว

      ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ปะการังฟอกสี หรือการเปลี่ยนสีของปะการัง การศึกษาวิจัยที่สถาบันสมุทรศาสตร์แห่งฟลอริด้า (Florida Institute of Oceanography) ระบุว่าเกิดการฟอกสีของปะการังสูงสุดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาในออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น ปานามา ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เคนยา ประเทศในบริเวณทะเลแดง เปอโตริโก จาไมก้า โดยเฉพาะ แนวปะการัง Great Barrier Reef นอกชายฝั่งออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปะการังพันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์

      ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เช่น ภาวะน้ำท่วม และคลื่นร้อนล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้นประมาณ 50-80 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในเขตศูนย์สูตรและเขตร้อน เช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะกระทบกระบวนการผลิตอาหาร สุขอนามัยและก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมาสิ่งเหล่านี้ก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น โรคท้องร่วง โรคขาดอาหาร โรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะลดปริมาณน้ำสำรอง และเพิ่มปริมาณจุลชีพเล็กๆ ในอาหารและน้ำ ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอาหารเป็นพิษผลกระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง โดยจะเกิดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนรุนแรงมากที่สุด เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวน และจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อปริมาณอาหารสำรอง และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นหลัก ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเช่นเดียวกัน

      ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตรในประเทศไทยสัมพันธ์กับปริมาณน้ำ ในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิเฉลี่ยที่พอเหมาะด้วย

วิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อน

      ภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในปัจจุบัน โลกของเราร้อนกว่าที่เคยเป็นมาใน 2 พันปีที่ผ่านมา หากสภาพนี้ยังเกิดขึ้นต่อไป เมื่อทศวรรษนี้สิ้นสุดลง อุณหภูมิของโลกมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงกว่าที่เคยเป็นมาใน 2 ล้านปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเมื่อศตวรรษที่ 20 สิ้นสุดลง สภาพอากาศอาจจะไม่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก แต่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็คือความร้อนนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยกลไกทางธรรมชาติที่ใช้อธิบายความร้อนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างเห็นร่วมกันว่ามนุษยชาติมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ และทางเลือกที่เราเลือกกระทำในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดสภาพภูมิอากาศในอนาคต

เราทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร

       เป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้วที่ผู้คนพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงาน การเผาไหม้เชื้อเพลิงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนออกสู่บรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่สร้างผลกระทบมากกว่า ก็เป็นสาเหตุเช่นกัน รวมถึงการทำลายป่าอย่างมหาศาล

      "ปัจจุบัน ความเข้าใจข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อนนั้นแจ่มชัดเพียงพอแล้วที่จะเป็นเหตุผลสำหรับประเทศต่างๆ ให้ลงมือปฏิบัติทันที"

ความจริงที่เรารู้

      แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างเรื่องเวลา ขอบเขต และ ภูมิภาค ของภาวะโลกร้อน แต่มีการยอมรับร่วมกันเรื่องข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

      • ก๊าซต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศนั้น ก่อให้เกิด "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" ซึ่งกักเก็บความร้อนเอาไว้และรักษาโลกให้อบอุ่นพอที่จะหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิต ดังทีเราทราบกันดี
 
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


      • การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ) ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ออกสู่บรรยากาศเพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าคาร์บอนออกไซต์จะไม่ใช่ตัวการสร้างผลกระทบมากที่สุด แต่ก็เป็นก๊าซมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดมากที่สุด เนื่องถูกปล่อยออกมาปริมาณมาก

     • ปัจจุบันความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศอยู่ในระดับสูงที่สุดใน 150,000 ปี

     • คาดว่าทศวรรษ 1990 เป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนที่สุด

นอกจากนี้ยังได้ยอมรับร่วมกันอย่างกว้างขวางในสิ่งต่อไปนี้

     • ความร้อนที่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง นั่นคือ ราว 1.3 องศาเซลเซียส (2.3 องศาฟาเรนไฮท์) เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนถึงปัจจุบัน การจำกัดความร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส (3.6 ฟาเรนไฮท์) นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

     • ถ้าไม่สามารถควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ภาวะโลกร้อนใน 100 ปี ข้างหน้าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาตั้งแต่กำเนิดอารยธรรมมนุษย์

     • เป็นไปได้สูงมากที่กลไกการตอบโต้ของสภาพภูมิอากาศจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแบบทันทีและไม่สามารถกลับคืนเหมือนเดิม ไม่มีใครรู้ว่าภาวะโลกร้อนจะต้องรุนแรงมากขึ้นเพียงใดจึงจะจุดชนวนให้เกิด "สถานการณ์วันสิ้นโลก" / ขอบคุณข้อมูลจาก greenpeace.org
 
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

40 วิธีลดภาวะโลกร้อน

1. ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า รู้มั๊ยคะว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้านมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 16%

2. หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการ อบผ้าในเครื่องซักผ้า

3. การรีดผ้า ควรรีดครั้งละมาก ๆแทนการัดทีละตัว เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า

4. ปิดแอร์บ้าง แล้วหันมาใช้พัดลมหรือว่าเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น

5. เวลาไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่าเปิดประตูทิ้งไว้ เพราะแอร์จะทำงานหนักมากว่าปกติ

6. ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ นอกจากจะเป็นการได้ออกกำลังกายแล้วยังประหยัดได้เยอะขึ้นรู้มั้ยคะว่าการกดลิฟต์หนึ่งครั้งจะเป็นการเสียค่าไฟถึงครั้งละ 7 บาท

7. ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น โดยเปิดเฉพาะด้วยที่เราจำเป็นต้องใช้จริง ๆ

8. ลดๆ การเล่นเกมลงบ้าง เพราะนอกจากสายตาจะเสียแล้ว ยังเปลืองไฟมาก ๆ อีกด้วย

9. ตู้เย็นสมัยคุณแม่ยังสาว ขายทิ้งไปได้แล้ว เพราะกินไฟมากกว่าตู้เย็นใหม่ถึง 2 เท่า

10. บอกคุณพ่อคุณแม่ให้เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40%

11. ยืดอายุตู้เย็นด้วยการไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น และหลักเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร

12. ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ

13. ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้าแทนการใช้รถส่วนตัว

14. ถ้าไม่ได้ไปไหนไกล ๆ ให้ใช้จักรยาน หรือเดินไปก็ดีนะคะ ได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย

15. ใช้กระดาษแต่ละแผ่นอย่างประหยัดกระดาษรียูทหนังสือพิมพ์ เพราะกระดาษเหล่านั้นมาจากการตัดต้นไม้

16. เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว เอาไปบริจาคบ้างก็ได้ เพราะในบางบริษัทมีการรับ บริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว จะนำไปหลอมมาทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 71%

17. ลดใช้พลาสติก โดยใช้ของที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กระเป๋าผ้า หรือกระติกน้ำ

18. พยายามทานอาหารให้หมด เพราะเศษอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนต่อโลกเพิ่มขึ้น

19. ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนนได้อีกทางด้วยค่ะ

20. พยายามลดเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องอย่าง วัว เพราะมูลของสัตว์เหล่านั้นจะปล่อยก๊าซมีเทน

21 กินผักผลไม้เยอะๆ เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรไม่ปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นตัวเพิ่มความร้อนให้อากาศ

22. กระดาษหนังสือพิมพ์ไม่ใช้แล้ว อย่าทิ้ง สามารถนำมาเช็ดกระจกให้ใสแจ๋วได้

23. ใช้เศษผ้าเช็ดสิ่งสกปรกแทนกระดาษชำระ

24. มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐาน

25. ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา เพราะสินค้าที่ห่อด้วยพลาสติกและโฟมนั้นจะทำให้เกิดขยะจำนวนมากมายมหาศาล

26. ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาล ต่าง ๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด

27. ลดปริมาณการทิ้งขยะลงบ้าง

28. ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น พวกเศษผักและเศษอาหารออกจากขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

29. บอกคุณพ่อคุณแม่ให้ขับรถความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.

30. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

31. ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้อากาศ ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็วเป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี อาจจะลำบากไปหน่อยแต่ก็เก๋ไม่น้อยนะคะ

33. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากห่อของบรรจุภัณฑ์

34. ลดปริมาณขยะโดยใช้หลัก 3R คือ Reuse, Recycle, Reduce

35. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน

36. ทานสเต็กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ ๆ ให้น้อยลงบ้างเพราะอุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18 % สาเหตุหลักก็คือไนตรัสออกไซด์และมีเทนจากมูลวัว

37. มีส่วนร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเผยแพร่ และการลดปัญหาโลกร้อน

38. อยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ตามพระราชดำรัสของในหลวงนะคะ

39. ประหยัดพลังงานเท่าที่จะทำได้ทั้งน้ำ ไฟ น้ำมัน เพื่อให้ลูกหลานของเรามีสิ่งเหล่านี้ใช้กันต่อไปในอนาคต

40. อย่าลืมนำวิธีดี ๆ เหล่านี้ไปบอกต่อเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ
 

วันคุ้มครองโลก


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

ดอกไม้ประจําชาติอาเซียนดอกไม้ประจําชาติอาเซียน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว