ศึกษาหลักฐานพุทธศิลป์...ย้อนแดนดินถิ่นอารยธรรม


[ 8 ต.ค. 2558 ] - [ 18278 ] LINE it!

ศึกษาหลักฐานพุทธศิลป์...ย้อนแดนดินถิ่นอารยธรรม

 เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๕๘

 

     ณ ริมฝั่งแม่น้ำภีมะ ห่างจากหมู่บ้าน Sannati ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓ กิโลเมตร ในเขตรัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย องค์การสำรวจโบราณคดีอินเดีย หรือ ASI (Archaeological Survey of India) ได้ขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีกนคนหลฺลิ (Kanaganahalli) ที่เชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาสมัยราชวงศ์ศาตวาหนะ Dr. Christian Luczanits นักประวัติศาสตร์ศิลป์ ระบุว่ามีอายุในช่วงราว ๑๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราชถึงคริสต์ศักราชที่ ๓๐๐ ถือเป็นหลักฐานโบราณสถานที่สำคัญอย่างยิ่งแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนายุคต้นในประเทศอินเดีย การขุดค้นพบคลังจารึกที่พระมหาสถูปเผยให้เห็นประติมากรรมอันงดงาม แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนายุคต้นในประเทศอินเดีย เป็นหลักฐานใหม่ที่กระตุ้นนักวิชาการสาขาวิชาบาลีและพุทธศาสนศึกษาให้กลับมาทบทวนทฤษฎีต่าง ๆ ที่เคยเชื่อถือกันมานาน
 

     และเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ที่ผ่านมาโครงการพระไตรปิฎกฉบับวิชาการได้มีโอกาสต้อนรับ Prof. Oskar von Hinüber ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีและปรากฤต ที่ให้เกียรติเดินทางมาบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Buddhist Text and Images New Evidence from Kanaganahalli” (คัมภีร์พระพุทธศาสนาและพระพุทธรูป : หลักฐานใหม่จากกนคนหลฺลิ) ณ ห้อง SPD18 สภาธรรมกายสากล
 

     Prof. Oskar von Hinüber กล่าวถึงภาพรวมการค้นคว้าอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เราจะเข้าใจเรื่องราวของหลักฐานใหม่ที่ค้นพบได้นั้น ต้องโยงกลับไปที่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียยุคโบราณก่อน เราจะเห็นได้ว่าอินเดียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองมาหลายร้อยปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปอิทธิพลทั้งจากภายนอกและภายในทำให้พระพุทธศาสนาสูญหายไปจากแดนกำเนิด แต่สิ่งที่ยังหลงเหลือ คือ ศาสนสถานและศาสนวัตถุที่บอกเล่าเรื่องความรุ่งเรืองแห่งพระธรรมคำสอนในอดีตได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หลักฐานบางชิ้นก็อยู่ในสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะสามารถนำมาศึกษาได้ บางชิ้นอยู่ในสภาพชำรุดเพียงบางส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญพยายามนำมาปะติดปะต่อถอดความ ในกรณีเช่นนี้มีหลายครั้งที่การถอดความในครั้งแรกอาจมีเนื้อความที่ดูเหมือนถูกต้อง แต่ต่อมาเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยนำหลักฐานจากแหล่งอื่นมาเทียบเคียงจึงได้เนื้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์ในภายหลัง จึงเห็นได้ว่าสิ่งที่เคยมีการศึกษามาแล้วควรนำมาศึกษาซ้ำอีกเพื่อความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น แต่หลักฐานบางแหล่งก็ถูกเก็บรักษาอย่างดีจึงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และสามารถบอกเล่าเรื่องราวในตัวเองได้อย่างกระจ่างชัด อาทิเช่น ภาพสลักหินจากสถูปภารหุตซึ่งอยู่ค่อนไปทางทิศเหนือของอินเดีย
 
จารึก Kesanapalli มีอักษร ๒-๓ ตัวที่คลุมเครือ
ทำให้การตีความในครั้งแรกยังคลาดเคลื่อน ต่อมาเมื่อนักวิชาการ
มาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลังจึงได้ข้อความที่ครบถ้วนสมบูรณ์

ภาพสลักหินจากสถูปภารหุต แสดงเรื่องราว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างพระเชตวันมหาวิหารถวายแด่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้านล่างปรากฏอักษรพราหมีจารึกอย่างชัดเจนว่า “เชตวน อานาธปิฑโก เทติ โกฎีสํถเตน เกตา” ภาพนี้มีเนื้อหาครบถ้วนและอยู่ในสภาพที่ชัดเจนสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นเรื่องราวใน พระพุทธศาสนาที่รู้จักกันอย่างดี การตีความจึงทำได้ง่าย
ภาพสลักหินจากสถูปภารหุต แสดงเรื่องราว
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างพระเชตวันมหาวิหารถวายแด่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้านล่างปรากฏอักษรพราหมีจารึกอย่างชัดเจนว่า “เชตวน อานาธปิฑโก เทติ
โกฎีสํถเตน เกตา” ภาพนี้มีเนื้อหาครบถ้วนและอยู่ในสภาพที่ชัดเจนสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นเรื่
องราวใน
พระพุทธศาสนาที่รู้จักกันอย่างดี การตีความจึงทำได้ง่าย

     สำหรับมหาสถูปอายุเก่าแก่กว่า ๒,๐๐๐ ปี ที่ค้นพบแถบหมู่บ้านกนคนหลฺลินั้น ปรากฏเรื่องราวพุทธประวัติชาดกและพระพุทธรูปมากมาย แม้สภาพบางส่วนจะเป็นซากปรักหักพัง แต่การค้นพบจารึกอักษรพราหมีและส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมและศิลปะ ณ แหล่งโบราณคดีนี้ก็มีนัยสำคัญที่เปิดโลกทัศน์การค้นคว้าวิจัยภาษาศาสตร์ โบราณคดี และสะท้อนรูปแบบการเมืองเศรษฐกิจ กรอบวัฒนธรรม รวมทั้งความคิดของผู้คนในยุคพระพุทธศาสนาตอนต้นที่แสดงออกเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ณ ที่แห่งนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ มีประเด็นใหม่ ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเองก็ยังหาข้อสรุปชี้ชัดไม่ได้ เพียงลงความเห็นและความเป็นไปได้อ้างอิงตามหลักวิชาการไว้เพื่อการศึกษาต่อในอนาคต อาทิเช่น

     บนปุผคหนิปรากฏจารึกอ่านได้ว่า “มนิกา รส มหามริตโนสภาริยส สปุตกส สทุหุตกส สชามาตุกส ทาน เจติยปุผคหนิ” ภาพบน คือจารึก Kesanapalli มีอักษร ๒-๓ ตัวที่คลุมเครือทำให้การตีความในครั้งแรกยังคลาดเคลื่อน ต่อมาเมื่อนักวิชาการมาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลังจึงได้ข้อความที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในขณะที่ ภาพขวา เป็นภาพสลักหินจากสถูปภารหุต แสดงเรื่องราวท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างพระเชตวันมหาวิหารถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้านล่างปรากฏอักษรพราหมีจารึกอย่างชัดเจนว่า “เชตวน อานาธปิฑโก เทติโกฎีสํถเตน เกตา” ภาพนี้มีเนื้อหาครบถ้วนและอยู่ในสภาพที่ชัดเจนสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่รู้จักกันอย่างดี การตีความจึงทำได้ง่ายองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระมหาสถูปจารึกคำว่า ปุผคหนิ (Puphagahani) กลายเป็นคำนิยามใหม่ทางโบราณคดี ซึ่งยังไม่สามารถระบุชี้ชัดว่า “ปุผคหนิ” นั้นหมายถึงอะไร มีความสำคัญอย่างไรในด้านสถาปัตยกรรม แม้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจะนำไปเทียบเคียงกับคำว่า “ปุปฺผาธาน” ในคัมภีร์มหาวังสะ ก็ยังตีความออกได้เป็นสองนัย คือหมายถึงดอกไม้ที่ใช้ประดับตกแต่ง หรือภาชนะสำหรับใส่ดอกไม้บูชา ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด
 
บนปุผคหนิปรากฏจารึกอ่านได้ว่า “มนิกา รส มหามริตโน
สภาริยส สปุตกส สทุหุตกส
สชามาตุกส ทาน เจติยปุผคหนิ”


     เมื่อสันนิษฐานจากขนาดของพระสถูปแล้วคาดว่าน่าจะมีประมาณ ๑๐๐ ปุผคหนิ แต่ยังไม่สามารถสรุปจำนวนที่แน่นอนได้ แม้จะพบจารึกบนปุผคหนิที่มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ทสหิ, วิสยิ และปนาส ซึ่งแปลว่า ๑๐, ๒๐ และ ๕๐ ตามลำดับ แต่ไม่มีข้อมูลอธิบายความหมาย

     จุดที่น่าสนใจคือข้อความจารึกที่พบ ณ มหาสถูปแห่งนี้ระบุรายละเอียดผู้บริจาคและจุดประสงค์ของการถวายสิ่งก่อสร้างอยู่ด้วย ทำให้ทราบว่านอกจากผู้บริจาคเป็นชาวเมืองในเขตศาตวาหนะแล้ว ยังปรากฏรายนามผู้มีจิตศรัทธาจากเมืองอมราวดีด้วย จึงน่าคิดวิเคราะห์ว่าเหตุใดจึงมีผู้เลื่อมใสจากเมืองอมราวดีมาร่วมสร้างมหาสถูปแห่งกนคนหลฺลิด้วย ทั้งที่เมืองของตัวเลขเหล่านี้อย่างชัดเจน จึงตีความได้แตกต่างกันออกไป บ้างสันนิษฐานว่าอาจหมายถึงจำนวนเงินที่ผู้บริจาคถวาย บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเลขลำดับบอกตำแหน่งของปุผคหนิ ทุก ๆ ช่วง ๑๐ ปุผคหนิก็เป็นได้อมราวดีมีสถูปใหญ่อยู่แล้ว ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า มหาสถูปที่สร้างในเวลานั้นต้องมีความสำคัญไม่น้อย พุทธศาสนิกชนไม่ว่าอยู่แห่งหนตำบลใดจึงต่างเดินทางมายังหมู่บ้านกนคนหลฺลิเพื่อร่วมก่อสร้าง ด้วยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ครั้งหนึ่งในชีวิตได้มีส่วนในการสถาปนามหาสถูปที่มีความสำคัญเช่นนี้
 
 
 
 

     การบรรยายของ Prof. Oskar von Hinüber ตลอด ๒ ชั่วโมง ครอบคลุมประเด็นอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ โบราณคดี และด้านอื่น ๆ แต่นอกเหนือจากความร้ทู างวิชาการแล้ว ทำให้เกิดความตระหนักว่า มหาสถูปที่ครั้งหนึ่งเคยตระหง่านตระการตา คลาคล่ำไปด้วยพุทธศาสนิกชน มาบัดนี้หลงเหลือเพียงซากแห่งความทรงจำในอดีตที่เคยรุ่งเรือง รอเวลาให้คนรุ่นหลังย้อนกลับไปศึกษาเพื่อกระตุ้นเตือนให้หันมามองดูว่า สิ่งที่เราทำอย่างเต็มที่ในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะกลายเป็นภาพสะท้อนอดีตให้คนรุ่นหลังมาศึกษาต่อไปด้วยความชื่นชม

*ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Dr. Christian Luczanits ที่เอื้อเฟื้อให้ใช้เพื่อการศึกษา
http://www.luczanits.net/gallery3/index.php/docu/Kanganhalli



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

ปวารณา มีความหมายว่าอย่างไรปวารณา มีความหมายว่าอย่างไร

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว