ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าในประเทศไทย


[ 9 พ.ค. 2557 ] - [ 18306 ] LINE it!

ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าในประเทศไทย

 

ทรัพยากรธรรมชาติ  ในประเทศไทย

         ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย  ตั้งแต่หาดทราย  ชายฝั่งทะเล  หมู่เกาะ  ที่ราบลุ่ม  จนถึงยอดเขาสูง  จึงทำให้ประเทศเป็นประเทศที่มีทรัพยากรรมธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย

     ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เหลือเพียงร้อยละ  33.44  (กรมป่าไม้ , 2551)  ของพื้นประเทศ  ซึ่งนโยบายป่าไม้แห่งชาติได้กำหนดแนวทางไว้ว่าควรจะมีพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่าร้อยละ  40  เพราะว่าป่าไม้มีคุณประโยชน์มากมายนั่นเอง

            ลักษณะของป่าไม้ในประเทศไทยมี  2  แบบ  คือ  ป่าไม้ผลัดใบและป่าไม้ไม่ผลัดใบ

 

ป่าไม้ผลัดใบ  (Deciduous  Forest) 

            พบในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน  มีฝนตกเพียงปีละ  4  เดือน  พบทางภาคเหนือเกือบทั่วทั้งภาค  ได้แก่  ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง

 

ป่าเบญจพรรณ  

ป่าเบญจพรรณ  (Mixed  Deciduous  Forest) 

     พบในภาคเหนือ  ภาคกลาง  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ลักษณะของป่าเบญจพรรณ  โดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  ในฤดูแห้งต้นไม้ทั้งหมดจะพาการผลัดใบ  มีพันธุ์ไม้ขึ้นคละกันหลายชนิด  เช่น  ไม้สักแดง  ประดู่  มะโมง  ชิงชัน  ตะแบก  เป็นต้น


ป่าเต็งรัง

ป่าเต็งรัง  (Deciduous  Dipterocarp Forest)

            ป่าชนิดนี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ทั้งที่ราบและที่เขาสูง  ดินมักเป็นเป็นทรายและลูกรังซึ่งมีสีค่อนข้างแดง  ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่ง  พันธุ์ไม้ในป่านี้ได้แก่  เต็งรัง  พะยอม  มะขามป้อม  เป็นต้น

 

ป่าหญ้า

ป่าหญ้า  (Savanna  Forest) 

     เป็นป่าที่เกิดหลังจากป่าชนิดอื่นๆถูกทำลายไปหมด  ดินเสื่อมโทรม  ต้นไม้ไม่อาจเจริญเติบโตต่อไปได้  ป่าหญ้าจึงเข้ามาแทนที่พบได้ทุกภาคในประเทศ  ป่าหญ้าจึงเข้ามาแทนที่ส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา  แฝกหอม  เป็นต้น

 

ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  (Evergreen  Forest)

            เป็นป่าไม้ที่ขึ้นในเขตอากาศร้อนชื้น  มีฝนตกเกือบตลอดปี  มีความชื้นสูง  ได้แก่  ป่าดิบชื้น  ป่าดิบแล้ง  ป่าดิบเขา  ป่าสน  ป่าพรุ  ป่าชายเลน  และป่าชายหาด

 

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้น  (Tropical  Rain  Forest)

            มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ  และมากที่สุดแถบชายฝั่งตะวันออก  ลักษณะทั่วไปมักเป็นป่ารกทึบ  ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด  ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้วงศ์ยาง  ไม้ตะเคียน  เป็นต้น

 

ป่าดิบแล้ง

ป่าดิบแล้ง  (Dry  Evergreen  Forest)

            มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆของประเทศตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา  พันธุ์ไม้ที่สำคัญ  เช่น  ยางแดง  มะค่าโมง  เป็นต้น

 


ป่าดิบเขา

ป่าดิบเขา  (Hill  Evergreen  Forest)

            ส่วนใหญ่อยู่เทือกเขาสูงทางภาคเหนือ  พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ  ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร

 

ป่าสน

ป่าสน  (Coniferous  Forest) 

            กระจายอยู่เป็นหย่อมๆตามภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์  เช่น  สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง  พันธุ์ไม้ที่สำคัญ  คือ  สนสองใบ  สนสามใบ 

 

ป่าพรุ

ป่าพรุ  (Fresh  Water  Swamp  Forest)

            เป็นป่าที่น้ำจืดท่วมขัง  ดินอุ้มน้ำได้ดีมาก  ต้นไม้มักมีรากตากแขนงเหนือผืนดิน  พบมากในภาคกลางและภาคใต้  พันธ์ไม้ที่สำคัญ  ได้แก่  อินทนิล  กันเกรา  หวายน้ำ  จิก  เป็นต้น

 

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน  (Mangrove  Forest)

     เกิดบนดินเลน  ตามริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ๆซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึง  มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น  แต่ละชนิดมีรากค้ำยัน  พันธุ์ไม้ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก  เช่น  โกงกาง  ประสัก  โปรงแสมทะเล  เพลงว่ามีต้นโกงกางขึ้นอยู่มากนั่นเอง

ป่าชายหาด

ป่าชายหาด  (Beach  Forest)

      เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด  ทราย  และ  โขดหิน  ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเลเป็นพืชที่ทนน้ำเค็ม  และมักเป็นลักษณะเป็นพุ่ม  ลำต้นคดงอใบหนาแข็ง  ยกตัวอย่างเช่น  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  เป็นต้น

     ในสมัยก่อนประเทศไทยมีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม  มีสัตว์ที่สวยงานและหายากแต่มาเมื่อเราพัฒนาความเจริญไปสู่ชนบท  ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  ตลอดจนห้วยหนองคลองบึงต่างๆอันเป็นแหล่งหากินของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำไม่มีขีดจำกัด  จำนวนสัตว์ป่าจึงร่อยหรอลงทุกวัน  หลายชนิดสูญพันธุ์ไป  ทางการจึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  ซึ่งกำหนดสัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าสงวนไว้  15  ชนิด  ได้แก่ 


สมเสร็จ

 

แรด

กระซู่ 

กูปรี

  เลียงผา

 

ควายป่า

สมัน  

ละอง

แมวลายหินอ่อน

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

พะยูน

 เก้งหม้อ  

กวางผา

      นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าคุ้มครอง  หมายถึง สัตว์ป่าที่กฎหมายกำหนอให้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครอง  มี  2  ประเทศ  คือ  สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1  ห้ามล่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและห้ามมีไว้ในครอบครอง  เช่น  เหยี่ยว  นกเขา  นกขุนทอง  แมวป่า  ไก่ฟ้า  ชะนี  เป็นต้น 

      แม้ในปัจจุบันนี้จำนวนป่าไม้จะลดน้อยลงไปมากแล้ว  แต่ผืนป่าอนุรักษ์ของไทยหลายแห่งก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุมอยู่  เช่น  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  ฯลฯ  และยังมีอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นพื้นที่ที่สงวนไว้เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่าตลอดจนทิวทัศน์  ธรรมชาติที่สวยงามกว่าร้อยแห่งทั่วประเทศ

    นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีน้ำทะเลที่สวยใส  สะอาด  หาดทรายขาวละเอียดมีสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลและปะการังขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม  ทั้งในฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย  รวมทั้งมีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว