ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย


[ 8 พ.ค. 2557 ] - [ 18434 ] LINE it!

ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย

 


ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย


            ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  บนคาบสมุทรอินโดจีน  ระหว่างเส้นละติจูดที่  5  องศา  37  ลิปดาเหนือ  กับ  20  องศา  27  ลิปดาเหนือ  และระหว่างเส้นละติจูดที่  97  องศา  22  ลิปดาตะวันออก  กับ  105  องศา  37  ลิปดาตะวันออก  มีพื้นที่  513,115  ตารางกิโลเมตร  รูปร่างคล้ายขวานโบราณ

            ประเทศไทยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและกัมพูชา  ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย  ทิศเหนือติดแบประเทศพม่าและประเทศลาว

:)  เกร็ดความรู้   :)

 แม่น้ำที่กั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวคือ แม่น้ำโขง

                         

 :D  รู้หรือไม่  :D

    ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่  3  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซียและประเทศพม่า

 

ภูมิ ประเทศไทย

 

            ประเทศไทยตั้งอยู่บนเปลือกโลกที่มีความแตกต่างกัน  มีทั้งที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบสูง  ภูเขาสลับกับหุบเขาและพื้นที่ติดทะเล  ซึ่งมีลักษณ์แตกต่างกัน  ดังนี้

 

     1.  พื้นที่ราบลุ่ม

     พบบริเวณตอนกลางของประเทศ 

     เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านหลายสาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำบางปะกง  พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์  ฝนตกชุก  จึงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ  นอกจากนี้ยังเหมาะแก่การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ  บริเวณนี้จึงเป็นชุมชนการค้าและเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศ

 

      2.   พื้นที่ราบสูง

     พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง  ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ  เรียกว่า  แอ่งโคราช  มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน  แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี  สภาพดินเป็นดินปนทราย  ไม่อุ้มน้ำ  ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก  ประชากรในพื้นที่จึงนิยมเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่เป็นส่วนใหญ่   เทือกเขาสำคัญได้แก่  เทือกเขาเพชรบูรณ์  เทือกเขาดงพญาเย็น  เทือกเขาสันกำแพง  และเทือกเขาพนมดงรัก

 

     3.    พื้นที่ภูเขาสูงสลับหุบเขา

     พบบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก

    เทือกเขาและภูเขาทางภาคเหนือเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย  พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ราบดินตะกอนที่มีแม่น้ำไหลพามาทับถม  ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การทำการเกษตร  เทือกเขาที่สำคัญ  คือ  เทือกเขาหลวงพระบาง  เทือกเขาแดนลาว  เทือกเขาธงชัย  และเนื่องจากเป็นบริเวณภูเขาสูง  มีอากาศหนาวเย็น  จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญอีกด้วย

 

     4.    พื้นที่ติดทะเล

   พบบริเวณภาคตะวันออกและชายฝั่งทะเลในภาคใต้

         พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนบน  เทือกเขาสลับที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง  และที่ราบชายฝั่งทะเลทางตอนล่าง  เทือกเขาสำคัญคือ  เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด  มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์  เหมาะสำหรับปลูกผลไม้  มีแม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย  ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะแก่ง  หาดทรายสวยงาม  เกาะที่สำคัญได้แก่  เกาะช้าง  เกาะกูด  และเกาะสีชัง

          พื้นที่ของภาคใต้เป็นพื้นที่ราบสูงบนคาบสมุทรแคบๆ  มีที่ราบอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกเป็นแนวขนานกัน  โดยมีเทือกเขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลางเทือกเขา  สำคัญได้แก่  เทือกเขาสันกาลาคีรี  ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย  เทือกเขาภูเก็ต  และเทือกเขานครศรีธรรมราช  มีแม่น้ำสายสั้นๆ  เช่น  แม่น้ำกระบุรี  แม่น้ำตรัง  แม่น้ำตาปี  แม่น้ำปากพนัง  และแม่น้ำโก-ลก  มีเกาะที่สำคัญทางฝั่งตะวันตก  คือ  เกาะภูเก็ต  ทางฝั่งตะวันออก  คือ  เกาะสมุยและเกาะพะงัน

      ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน  (Tropic Zone)   มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน  พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ภาคใต้ลักษณะภูมิภาคแบบสะวันนา  คือมีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันจัดเจน  มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ  18 – 34  องศาเซลเซียส

พื้นที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม  2  ชนิด  ได้แก่ 

   ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้   พัดไอน้ำและความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย  ทำให้เกิดฤดูฝน

 ลมมรหาสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  พัดพาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาจากทะเลจีนใต้  ทำให้เกิดฤดูหนาว

    จากอิทธิพลของลมมรสุมทั้งสองชนิด  ส่งผลให้ประเทศไทยมี  3  ฤดู  คือ

ฤดูร้อน  (กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม)

     อากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง  โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน  อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  28 – 32 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน  (กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม)

           พายุลมแรง  ฝนตกหนักถึงหนักมาก  โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือ ภาคใต้  และชายฝั่งทะเลของภาคตะวันออก

ฤดูหนาว  (กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์)

           อากาศเย็นและหนาวจัดในภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ  อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26 – 28  องศาเซลเซียส

           ส่วนในภาคใต้  (โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก)  อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงทำใต้ฝนตกชุก  ภาคใต้บ้านเราจึงมี  2  ฤดูกาล  ฤดูร้อนกับฤดูฝน

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว