เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวเวียดนาม


[ 17 มิ.ย. 2557 ] - [ 18308 ] LINE it!

เป็น  อยู่  คือ  วิถีชาวเวียดนาม

 

ผู้คนบนแผ่นดินเวียดนาม

ผู้คนบนแผ่นดินเวียดนาม

     ประเทศเวียดนามประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติรวม  54  กลุ่ม  มีวิวัฒนาการมาจากการผสมผสานของเผ่าพันธุ์ต่างๆ  จากการรุกรานของจีน  จึงทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆจากเหนือลงสู่ใต้  ซึ่งในบรรดาชนกลุ่มน้อยเหล่านี้  แต่ละชนเผ่าต่างก็มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง

     ประชากรเวียดนามอาศัยอยู่หนาแน่นในที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงและแม่น้ำโขง  นอกจากนั้นก็อาศัยตามที่ราบสูงและภูเขาตั้งแต่ตอนเหนือจรดตอนใต้  ซึ่งกินเนื้อที่เกือบ  2  ใน  3  ของประเทศ  ทั้งนี้ประชากรร้อยละ  25  อาศัยอยู่ในเขตเมือง  ขณะที่ภาคชนบทมีประชากรมากกว่า  60  ล้านคนหรือร้อยละ  75  อย่างไรก็ตาม  ประชากรในเมืองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  อันเนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นของประชากรในชนบทเพื่อทำงานในเมือง

     ชาวเวียดนามโดยทั่วไปเป็นคนตรงเวลา  จึงควรไปถึงที่นัดหมายตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย  หากเป็นเพศเดียวกัน  เมื่อได้พบกันควรทักทายด้วยการจับมือพร้อมกันทั้งสองข้างด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม  เพื่อแสดงถึงมิตรภาพที่จริงใจ  แต่หากเป็นคนต่างเพศ สามารถโค้งศีรษะลงเล็กน้อยแทนการจับมือ  พร้อมกล่าวคำทักทายว่า”ซินจ่าว”  ซึ่งแปลว่าสวัสดี

     ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาติ  เวียด (Viet) หรือ กิงห์  (Kinh)  ร้อยละ  85 – 90  นอกจากนั้นอีกประมาณร้อยละ  10  เป็นชาวจีน  เขมร  ชาวเขา  และชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆรวม  53  ชาติพันธุ์

 

ชาวเวียด  หรือ กิงห์

ชาวเวียด  หรือ กิงห์

      เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนาม  มีจำนวนประชากรราว  66  ล้านคน  อาศัยกระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัด  โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำและศูนย์กลางเมือง  ต้นกำเนิดของชาวเวียดมาจากบริเวณที่ปัจจุบันเป็นเวียดนามเหนือเลยขึ้นไปถึงตอนใต้ของประเทศจีน  โดยบรรพบุรุษของพวกเขาได้อพยพลงมาสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงและผสมกลืนเข้ากับคนพื้นเมือง

 

ชาวจีน 

ชาวจีน 

      มีจำนวนประมาณ  1  ล้านคน  ปัจจุบันได้หันไปถือสัญชาติเวียดนามเป็นส่วนใหญ่  เรียกกันว่า  ชาวฮัว  (Hoa)  เป็นชนกลุ่มน้อยที่สำคัญเพราะส่วนใหญ่มักประกอบธุรกิจการค้า  ตั้งถิ่นฐานรวมกันอยู่ในเจอะเลิ้น  หรือ  โซลอน  (Cho  Lon)  ห่างจากโฮจิมินห์ซิตีเพียง  10  กิโลเมตร  ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญของชาวจีนในเวียดนาม  ชาวฮัวยังคงยึดมั่นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีแบบจีนอย่างเคร่งครัด

 

ชาวเขมร

ชาวเขมร

     มีจำนวนประชากรประมาณ  4  แสนคน  อาศัยอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง  ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร

ส่วน  ชนกลุ่มน้อย  เผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินเวียดนามก็มีอาทิเช่น

 

ชาวเย้า  (Yao)  หรือ ซาว  (Dao) 

     มีจำนวนประชากรประมาณ  6.5  แสนคน  อาศัยบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศจีนและลาว  รวมถึงในบางจังหวัดทางตอนกลางของประเทศ  และบริเวณจังหวัดที่อยู่ตามชายฝั่ง  ภาคเหนือของเวียดนาม  เย้าอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาม้ง – เย้า  มีการใช้ตัวอักษรภาษาจีน  แต่ออกเสียงตามแบบเย้า  เรียกว่า  โนมซาว  (Nom  Dao)

ชาวเหมื่อง  (Muong)

     อาศัยในกลุ่มตระกูลภาษาเวียด – เหมื่อง  เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดอาศัยอยู่ในจังหวัดฮวาบินห์  และเขตเทือกเขาของจังหวัดแทนฮวา  มีจำนวนประชากรมากกว่า  1  ล้านคน  มีอาชีพทำการเกษตรและหาของป่า  นอกจากนี้ยังมีงานหัตถกรรม  เช่น  การทอผ้า  จักสาน  ปั่นไหม

 


ชาวหนุ่ง

ชาวหนุ่ง  (Nung)

     อยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต่ – ไท  มีจำนวนประชากรเกือบ  9  แสนคน  อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดลางเซิน  กาวบั่ง  บักซาง บักนินห์ และเตวียน กวาง  มักสร้างหมู่บ้านบริเวณเชิงเขา  นิยมให้มีพื้นที่ชุ่มน้ำหน้าบ้าน  ส่วนหลังบ้านเป็นสวน  มีอาชีพทำนา  ทำไร่ข้าวโพด  และสวนผลไม้

 


ชาวไต่

ชาวไต่  (Tay)

     อยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต่ – ไท  มีประชากรราว  1.5  ล้านคน  อาศัยอยู่ตามหุบเขาและที่ราบเชิงเขาในจังหวัดกาวบั่ง  ลางเซิน  บักก่าน  และกว่างนินห์  ชาวไต่มีศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่น่าสนใจ  ทั้งบทกลอน  เพลง  การเต้นรำ  และดนตรี  พวกเขานับถือวิญญาณบรรพบุรุษ  จึงมีการตั้งแท่นบูชาไว้กลางบ้านมีอาชีพทำการเกษตร  ทั้งปลูกข้าว  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  และพืชชนิดอื่นๆ

     ภาราชการคือ  ภาษาเวียดนาม  ซึ่งแต่ในการเขียนจะใช้ตัวอักษรที่พัฒนาและดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีนที่เรียกว่า  จื๋อโนม  (Chu  Ngu)  แต่ในปัจจุบันใช้ตัวเขียนเป็นตัวอักษรละตินที่เรีกว่า  กว็อกหงือ  (Guoc  Ngu) 

นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาอังกฤษ  ภาษาจีน  และภาท้องถิ่น  และเนื่องจากเวียดนามเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อน  จึงยังคงมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสอยู่บ้าง

 

Hello                             สวัสดี              ซิน จ่าว         (Xin Chao

Thank you                    ขอบคุณ           กาม เอิน        (Cam On)

I'm sorry/Excuse me     ขอโทษ            ซิน โหลย      (Xin Loi)

Good night                   ราตรีสวัสดิ์       จุ๊บ หงู งอน    (Chuc Ngu Ngon)

Please                         ขอเชิญ, กรุณา   ซิน เหม่ย      (Xin Moi)

Goodbye                     ลาก่อน    ตาม    เบียด            (Tam Biet)

See you later!            ไว้พบกันใหม่       แฮน กัพ ไล    (Hen Gap Lai)

How are you ?             สบายดีไหม       บั๊ก โก แคว คง (Bac Co Khoc Khong)

I'm fine, thank you.      สบายดี ขอบคุณ   กาม เอิน บิงห์ เทือง (Cam On Binh Thuong)

What's your name?    คุณชื่ออะไร         เติน อง ลา จี    (Ten Ong La Chi)

My name is ...             ฉันชื่อ....            โตย เติน ลา     (Toi Ten La)

Beautiful                     สวย                    แดบ หลำ        (Dab Lam)

Taery / Delicious        อร่อยงอน             หล่ำ                (Ngon Lam)


             1            โมต     mot  

             2            ไฮ     hai    

             3            บา     ba     

             4            โบน     bon    

             5            นาม   nam  

             6            เสา    sau    

             7            ไบ่      bay    

             8            ตาม    tam    

             9           จิ๋น    chin   

            10           เหมื่อย     muoi  

          100          โมต  ตรัม     mot tram         

       1,000          โมต  ตรัม      mot nghin            

     10,000          เหมื่อย  งัน     muoi nghin          

   100,000          ตรัม  งัน      mot tram nghin     

1,000,000         โมต  เตรียว     mot trieu    


     เวียดนามไม่มีศาสนาประจำชาติ  รัฐธรรมนูญเวียดนามบัญญัติให้ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา

     ชาวเวียดนามรับเอาลัทธิขงจื๊อและประเพณีการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเวียดนาม  นอกจากนั้นยังนับถือลัทธิเต๋า  ศาสนาพุทธนิกายมหายาน  และเคารพบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อที่สืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณ

     ในปัจจุบันชาวเวียดนามร้อยละ  90  นับถือศาสนาคริสต์  ส่วนอีกร้อยละ  3  นับถือศาสนาและลัทธิความเชื่ออื่นๆ

     ศาสนากาวด่าย  (Cao  Dai)  เกิดจากการนำเอาหลักความเชื่อของทุกศาสนาในเวียดนามมาผสมผสานเข้าด้วยกัน  ทั้งลัทธิขงจื๊อ  ลัทธิเต๋า  พุทธ  อสลาม  และคริสต์  ภายในโบสถ์จะมีแท่นบูชาตั้งลูกกลมเป็นรูปดวงตาที่มีรัศมีของดวงอาทิตย์ล้อมรอบ

ระบบการศึกษาของเวียดนามแบ่งเป็น  5  ลักษณะ  คือ

1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา

2. การศึกษาระดับสามัญ  (5 – 4 – 3)

ระดับประถมศึกษา  เป็นการศึกษาภาคบังคับ  หลักสูตร  5  ปี

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  หลักสูตร  3  ปี

3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ  มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา  แบ่งเป็น  2  ระดับ  คือ  อนุปริญญาและระดับปริญญา

5. การศึกษาต่อเนื่อง  สำหรับคนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

     การศึกษาสามัญ  (Geneal  Education)  ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับรวมทั้งหมด  12  ปีของเวียดนามนั้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตวิญญาณความเป็นสังคมนิยมแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่  ให้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ  และให้มีความสามารถในด้านอาชีพ

     นับตั้งแต่อดีตที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนมาก  นอกจากนี้ยังผสมผสานความหลากหลายของชนเผ่าต่างๆ  และในสมัยที่ฝรั่งเศสซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของสิ่งก่อสร้าง  เช่น  ตึกที่อยู่อาศัยแบบทันสมัย  และวัฒนธรรมด้านอาหาร  เช่น  การกินขนมปังบาแกตต์  การใช้ไวน์ในการปรุงอาหาร  เป็นต้น

ศิลปะการแสดงพื้นเมือง

ระบำหมวก

     เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคเหนือของเวียดนาม  มีลักษณะท่าทางการรำที่อ่อนซ้อยสวยงาม

การร้องเพลงกวานโฮ

     กวานโฮ  (Quan  Ho)  เป็นเพลงพื้นเมืองประเทศหนึ่งของเวียดนาม  มีการร้องประชันโต้ไปมาโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบของผู้ร้อง  คล้ายกับการร้องลำตัดของไทย

 

หุ่นกระกอบน้ำ

     การเชิดหุ่นกระบอกน้ำของเวียดนามมรเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นและเป็นการละเล่นที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก  ผู้เชิดหุ่นจะยืนอยู่หลังฉากในน้ำที่สูงถึงระดับเอว  และควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นกระบอกด้วยไม่ไผ่ลำยาว  โดยมีวงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงประกอบ  เนื้อเรื่องส่วนใหญ่บอกเล่าถึงขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วิถีชีวิตพื้นบ้านตามชนบทของชาวเวียดนามที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ  รวมถึงตำนานที่สำคัญของเวียดนาม  เช่น  ตำนานทะเลสาบคืนดาบ  และถึงแม้ว่าการแสดงหุ่นกระกอบน้ำไม่มีการพากย์ด้วยภาษาอื่น  แต่ท่าทางของหุ่นก็ทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวได้

            การแสดงหุ่นกระบอกน้ำ  มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  จากการที่บริเวณนี้มีน้ำท่วมทุกปี  จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจ  ในการคิดค้นการละเล่นขึ้นมาเพื่อสร้างความบันเทิงระหว่างที่น้ำท่วมเป็นเวลานาน  การแสดงหุ่นกระบอกน้ำได้หายสาบสูญไป  200 – 300  ปี  ก่อนจะมีการรื้อฟื้นนามมานี้  และยังได้นำไปจัดแสดงในยุโรปและอเมริกาอีกด้วย

ดนตรีพื้นเมือง

     ดนตรีพื้นเมืองของเวียดนามมีหลากปลายประเภทและใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ กัน  ในขณะเดียวกัน  เครื่องดนตรีก็มีความหลากหลายตามการค้นคิดประดิษฐ์ของชนเผ่าต่างๆ ในแต่ละยุคสมัย  ปัจจุบันชาวเวียดนามยังคงรักษาเครื่องดนตรีดั้งเดิมไว้ได้  ตัวอย่างเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่น่าสนใจของเวียดนาม  เช่น

 

ระนาดไม้ไผ่และฆ้องโลหะ

ระนาดไม้ไผ่และฆ้องโลหะ

     เป็นเครื่องตนตรีของชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันตกของประเทศ

แคน

แคน

     เป็นเครื่องดนตรีโบราณอีกชิ้นหนึ่งที่ปรากฏในหลายชนเผ่าของเวียดนามตั้งแต่ประมาณ  2,000  ปีก่อน  เครื่องดนตรีชนิดนี้แพร่หลายไปในถิ่นต่างๆได้ง่าย  เพราะนำติดตัวไปด้วยได้

พิณสายเดี่ยว

พิณสายเดี่ยว

     เป็นเครื่องดนตรีของชาวเผ่าเวียดหรือชาวฮานอยโบราณ

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น  อยู่  คือ  วิถีชาวเวียดนาม

 

อาเซียน 10 ประเทศ
เวียดนามหนึ่งในประชาคมอาเซียน
ทำเลที่ตั้ง ประเทศเวียดนาม
ปกบ้านครองเมือง  ประเทศเวียดนาม
ทำมาค้าขาย  ประเทศเวียดนาม



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว