การรักษาศีลได้บุญอย่างไรและถ้าจะรักษาศีลได้ดีต้องฝึกสติอย่างไร


[ 2 ก.ย. 2554 ] - [ 18281 ] LINE it!

หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 

คำถาม: คนที่จะรักษาศีลได้ จะต้องฝึกสติอย่างไรคะ จึงจะไม่เผลอ การรักษาศีลจะได้บุญตรงไหนคะ?

คำตอบ:  สติในความหมายของการปฏิบัติ คือการประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย เป็นเพราะเราสามารถประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกายได้ เราจึงสามารถห้ามใจไม่ให้ไปทำความชั่วต่าง ๆ
 
        ถ้าเวลาใดใจหลุดออกจากศูนย์กลางกาย แสดงว่าสติหย่อนจะทำให้พลั้งเผลอไปทำผิดศีลได้ เพราะฉะนั้นการที่เราห้ามใจไม่ให้ทำความชั่ว นอกจากเป็นการรักษาศีลได้แล้ว ยังเป็นการฝึกสติให้อยู่ในตัวควบคู่กันไปอีกด้วย หมั่นประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไปเถอะ แล้ววันหนึ่งเราจะเข้าใจเอง
 
การรักษาศีลควบคู่กับสติ
การรักษาศีลควบคู่กับสติ
 
        การรักษาศีลจะได้บุญตรงที่ว่า ธรรมชาติของใจเมื่อจรดเข้าศูนย์กลางกายได้เมื่อใด ความสว่างก็เกิดขึ้นในใจ อุปมาเหมือนหัวไม้ขีดไฟ ถ้ามาสีเร็วๆ กับข้างกล่องไม้ขีดเมื่อใด เมื่อนั้นไฟจะติดขึ้นมาทันที เช่นเดียวกับใจ เมื่อจรดกับศูนย์กลางกายได้เมื่อใดความสว่างจะเกิดวูบขึ้นมาภายใน ทำให้เราสามารถห้ามตัวเองไม่ให้ทำความชั่วได้
 
        เราจะเรียกว่าความมีสติก็ได้ บุญเกิดขึ้นตรงความสว่างนั่นแหละ และบุญที่เกิดนี้ก็มีฤทธิ์ที่จะฆ่าความชั่วความมืดภายในทั้งหลายได้อีกด้วย
 
คำถาม: ศีล ๑๐ มีอะไรบ้างคะ ดีกว่าศีล ๘ มากหรือเปล่า ?
 
คำตอบ:  ศีล ๑๐ คือศีลของสามเณร มีข้อเพิ่มจากศีล ๘ ของญาติโยมที่ไปถือศีลอุโบสถกันในวันพระอีก ๒ ข้อ คือศีลของสามเณรใช้ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนาฯ เหมือนกัน คือห้ามกินข้าวเย็น แล้วท่านแบ่งศีลข้อที่ ๗ ออกเป็น ๒ ตอน คือ
 
        ตอนที่ ๑ นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนะ แปลว่าห้ามร้องเพลง ฟังเพลง ดูการละเล่นต่าง ๆ อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์คือที่ทำให้อยากมีคู่ครองนั่นแหละ
 
        ตอนที่ ๒ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ-วิภูสะนัฏฐานา คือแม้แต่ทัดดอกไม้ลูบไล้ของหอม เขียนคิ้วทาปากประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดาก็ห้าม
 
        แล้วศีลข้อที่ ๘ คืออุจจาสะยะนา ห้ามไม่ให้นอนบนฟูกหนา ๆ นิ่ม ๆ ก็กลายเป็นข้อที่ ๙ ของสามเณร
 
สามเณรผู้ถือศีล ๑๐ ข้อ
สามเณรผู้ถือศีล ๑๐ ข้อ
 
        แล้วก็เพิ่มศีลข้อที่ ๑๐ มาให้เป็นการเฉพาะของสามเณร คือชาตะรูปะระชะตะ ปะฎิคคะหะณา ไม่ให้จับเงินจับทอง ซึ่งใช้เป็นสื่อในการซื้อขายสินค้ากันตามกฎหมายของสังคมนั้นๆ
 
        ศีลของสามเณรก็มีอยู่ ๑๐ ข้อด้วยกันอย่างนี้ ถามว่าดีกว่าศีล ๘ มากไหม ตอบว่าดีมากแน่นอน เพราะคนที่ออกจากครอบครัวมาบวชเป็นสามเณร เตรียมจะบวชเป็นพระภิกษุ ก็ควรเอาศีลมาเป็นเกราะป้องกันตัวให้ปลอดภัยจากความฝักใฝ่ในการครองเรือน จะได้ออกบวชได้สำเร็จ
 
        ท่านมีศีลมาก ท่านก็ปลอดภัยจากทุกข์ในทางโลกมากกว่าโยมที่เป็นชาวบ้าน ซึ่งถือศีลน้อยข้อกว่าแน่นอน
 

คำถาม: ผู้ที่บอกว่าถือศีล ๘ เป็นประจำแต่ไม่ถือ ๒ ข้อ และเว้นไม่ถือศีลอาทิตย์ละ ๒ วัน อย่างนี้เรียกว่าเขาถือศีล ๖ ได้ไหม และจะมีทางไปนิพพานได้ไหมคะ ?

 
ทางไปนิพพาน
ทางไปนิพพาน
 
คำตอบ:  มันก็แปลกดีนะ บอกว่าถือศีล ๘ เป็นประจำแต่ไม่ถือ ๒ ข้อ มันก็ไม่ใช่ศีล ๘ ละซิ ทางไปนิพพานน่ะมี แต่หนูจะได้ไปนิพพานหรือเปล่าไม่รู้ เพราะหนูถือศีลไว้ ๖ ข้อ แล้ว ๒ ข้อ ที่ขาดไป ก็ไม่ได้บอกว่าข้อไหนบ้าง ถ้าเป็น ๒ ใน ๕ ข้อแรก ถือว่าศีล ๕ ขาด ชาติหน้านอกจากไม่ถึงนิพพานแล้ว ยังตกนรกด้วยนะหนูนะ
 
        คำว่าศีล ๖ ก็ไม่มีในระบบ ถ้าทำศีลข้อ ๖ หรือ ๗ หรือ ๘ ขาดไปเพียงข้อใดข้อหนึ่ง นอกนั้นอยู่ครบก็เรียกว่ารักษาศีล ๕ ได้ แต่ศีล ๘ เป็นศีลพวง ขาดข้อเดียวก็ถือว่าขาดศีล ๘ ทั้งหมดนะหนูนะ
 
คำถาม: สามเณรถือศีล ๑๐ ซึ่งเพิ่มจากศีล ๘ อีก ๒ ข้อ ขอเรียนถามศีลข้อที่ ๙ และ ๑๐ ว่าเป็นอย่างไรครับ?
คำตอบ:  ศีล ๘ เป็นศีลสำหรับอุบาสก อุบาสิกา พอมาเป็นศีล ๑๐ สำหรับสามเณร ท่านแยกศีลข้อที่ ๗ ที่ว่า “ ห้ามไม่ให้เขียนคิ้วทาปาก ห้ามประดับตกแต่งต่างกายด้วยเพชรนิลจินดา และเอาดอกไม้มาแซมผม” ท่านให้แยกเป็น ๒ ตอน คือ
 
        ตอนต้น “ห้ามไม่ให้ร้องรำทำเพลงและดูการละเล่น” เป็นศีลข้อที่ ๗ ของศีล ๑๐ และตอนปลาย “ห้ามไม่ให้เขียนคิ้วทาปากห้ามไม่ให้ประดับตกแต่งร่างกายด้วยเพชรนิลจินดาและเอาดอกไม้มาทัดหู” เป็นศีลข้อที่ ๘ ของศีล ๑๐
 
        ส่วนศีลข้อที่ ๘ ของศีล ๘ ห้ามไม่ให้นอนที่นอนสูงใหญ่ภายมในมีนุ่นและสำลีนิ่ม ๆ ก็กลายเป็นศีลข้อที่ ๙ ของศีล ๑๐
 
ศีลข้อที่ ๑๐ ก็คือห้ามไม่ให้หยิบทอง จับจ่ายซื้อของอย่างชาวบ้าน
ศีลข้อที่ ๑๐ ก็คือห้ามไม่ให้หยิบเงินทอง จับจ่ายซื้อของอย่างชาวบ้าน
 
        ศีลข้อที่ ๑๐ ก็คือห้ามไม่ให้หยิบเงินทอง จับจ่ายซื้อของอย่างชาวบ้าน
 
        สำหรับศีล ๑๐ นั้น เป็นศีลเฉพาะของสามเณร ส่วนศีล ๘ คือศีลของฆราวาสที่ถือปฏิบัติ เพื่อให้ กาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น โดยเน้นการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ข้องเกี่ยวทางเพศกับใคร ผู้ที่สมาทานศีล ๘ หรือบวชเป็นสามเณรสมาทานศีล ๑๐ ก็เพื่อตีกรอบตัวเองให้สามารถประพฤติธรรม เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่ายขึ้น
 
คำถาม: ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว ละล่วงละเมิดศีล ๕ ได้บ้างไหม หรือไม่ได้เลยครับ?
คำตอบ:  จำไว้ก็แล้วกัน ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ อย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ได้ครบ
 
        คราวนี้พอมีศีล ๕ ครบ และปฏิบัติธรรมจนเห็นธรรมกายในตัวชัดเจนดีแล้ว ถ้าไปทำผิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่งเข้า การรู้การเห็นก็เลือนไป ต้องมาเริ่มต้นรักษาศีล นั่งสมาธิกันใหม่อย่างจริงจังคือเริ่มต้นใหม่นั่นเอง
 
ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ อย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ได้ครบ
ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมกายในตัวได้ อย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ได้ครบ
 
        เพราะฉะนั้น ใครได้เข้าถึงธรรมกายในตัวแล้ว ควรรักษาให้ดีอุปมาเหมือนปลูกต้นไม้ ถ้าเราปลูกขึ้นมา แล้วปล่อยให้มันเฉากว่าจะรดน้ำพรวนดินให้มันฟื้นขึ้นมาได้นั้นยากกว่าปลูกใหม่
 
        ดังนั้นพวกเราจงตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ เพราะศีล ๕ เป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และเป็นพื้นฐานของการสร้างความดีทั้งปวง


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ชาวต่างชาติอยากจะให้ญาติมิตรได้เข้าใจถึงเรื่องทานบารมี ควรจะทำอย่างไร - หลวงพ่อตอบปัญหาชาวต่างชาติอยากจะให้ญาติมิตรได้เข้าใจถึงเรื่องทานบารมี ควรจะทำอย่างไร - หลวงพ่อตอบปัญหา

พระสงฆ์ที่ท่านเดินบิณฑบาตเจ้าค่ะ ท่านจะสามารถสวมรองเท้าได้ หรือไม่เจ้าคะ เพราะว่าในสภาพปัจจุบันนี้พื้นที่บางแห่งไม่เหมาะสมที่จะเดินเท้าเปล่าเจ้า ค่ะ -  หลวงพ่อตอบปัญหาพระสงฆ์ที่ท่านเดินบิณฑบาตเจ้าค่ะ ท่านจะสามารถสวมรองเท้าได้ หรือไม่เจ้าคะ เพราะว่าในสภาพปัจจุบันนี้พื้นที่บางแห่งไม่เหมาะสมที่จะเดินเท้าเปล่าเจ้า ค่ะ - หลวงพ่อตอบปัญหา

ทำไมคนไทยเมืองพุทธถึงกลับมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศทางตะวันตก - หลวงพ่อตอบปัญหาทำไมคนไทยเมืองพุทธถึงกลับมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศทางตะวันตก - หลวงพ่อตอบปัญหา



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

หลวงพ่อตอบปัญหา