การทำกายบริหารในท่านอน


[ 11 มี.ค. 2554 ] - [ 18258 ] LINE it!

">
การทำกายบริหารในท่านอน

">

รายละเอียดกายบริหารในท่านอน (การบิดขี้เกียจอย่างมีสติ) 

กายบริหารในท่านอน
(การบิดขี้เกียจอย่างมีสติ)
          ให้บริหารร่างกายในท่านอนนี้ทุกวัน เวลาเข้านอน และก่อนจะลุกจากที่นอน หรือแม้เวลานอนพัก
 
1. กายบริหารท่าที่ 1
          นอนในท่านอนพื้นฐาน (รูปที่ 5-39)
">

">
ท่านอนพื้นฐาน

">
             
          ประสานมือทั้งสองให้อยู่ในระดับลำตัว พลิกฝ่ามือออกด้านนอก (รูปที่ 5-40)
 
">
">
ประสานมือทั้งสองให้อยู่เหนือลำตัว พลิกฝ่ามือออกด้านนอก
">
 
          เหยียดแขนออกจนสุด และวาดขึ้นไปทางด้านบนศีรษะ (รูปที่ 5-41)
 
">
เหยียดแขนออกจนสุด วาดขึ้นไปด้านบนศีรษะ

         
จนกระทั่งอยู่เหนือศีรษะ แนบชิดหูทั้งสอง สูดลมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับเหยียดปลายเท้าและเหยียดแขนออกไปให้มากที่สุดหายใจให้ทรวงอกขยาย ดึงหน้าท้องให้แฟบเข้าหา กระดูกสันหลัง ไม่แอ่นหลัง คางชิดคอ (รูปที่ 5-42)
">
">
">
สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ เหยียดปลายเท้าและแขนออกไปให้มากที่สุด
">
">
 
          หายใจออกช้าๆ พร้อมกับลดมือที่ประสานกันมาแตะไว้เหนือศีรษะ ผ่อนคลาย (รูปที่ 5-43)
">
">
หายใจออกช้าๆ ลดมือที่ประสานกันมาแตะเหนือศีรษะ
">
 
             
ยกมือที่ประสานกันผ่านมาทางด้านหน้าและเหยียดแขนไปทางปลายเท้า ฝ่ามือหันออก เหยียดแขนลงไปให้เต็มที่ พร้อมทั้งสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ และกระดกข้อเท้ากับปลายเท้าขึ้นให้มากที่สุด ขาเหยียดตึง ดึงหน้าท้องให้แฟบเข้าหากระดูกสันหลัง คางชิดคอ (รูปที่ 5-44)
">
">
เหยียดแขนไปทางปลายเท้า ฝ่ามือหันออก เหยียดแขนเต็มที่ หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ
">
            
          หายใจออกช้าๆ ผ่อนคลายทั้งหมด และนำมือที่ประสานกัน วางพักบนหน้าท้อง (รูปที่ 5-45)
">
">
หายใจออกช้าๆ นำมือที่ประสานกันวางพักบนหน้าท้อง
 
              ทำสลับกันไป ประมาณท่าละ 5 ครั้ง
 
2. กายบริหารท่าที่ 2
 
        นอนมือที่ประสานกันวางพักบนหน้าท้อง (รูปที่ 5-46)
">
">
นอนมือที่ประสานกันวางพักบนหน้าท้อง 
">
">
 
           
รักษาท่าพื้นฐาน โดยพยายามให้คางชิดคอ แบะไหล่ไปข้างหลังให้มากที่สุด ดึงหน้าท้องให้แฟบเข้าหากระดูกสันหลัง ขาและเข่าเหยียดตึง หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมหมุนข้อเท้าทั้งสองข้าง โดยกระดกเท้าขึ้นแล้วหมุนออกจากกัน ให้เป็นวงกว้างที่สุด หมุนไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ (รูปที่ 5-(47-52))
">
">
ขาและเข่าเหยียดตึง หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ หมุนข้อเท้าทั้งสองข้าง

           
หายใจออก หยุดหมุน ผ่อนคลาย โดยยังรักษาท่าทางเดิมไว้ (รูปที่ 5-53)
">
">
">
หายใจออก หยุดหมุน รักษาท่าทางเดิมไว้
">
">
 
">
">
">
">
           ทำซ้ำโดยหมุนเท้าไปในทิศทางตรงกันข้าม กระดกเท้าขึ้น แล้วหมุนเข้าหากัน ให้เป็นวงกว้างที่สุด หมุนไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ (รูปที่ 5-(54-59))
 
ทำซ้ำ หมุนเท้าไปในทิศทางตรงกันข้าม กระดกเท้าขึ้น หมุนเข้าหากัน
">
">
">
 
           
ทำสลับกันไปเรื่อยๆ 5-10 รอบ ถ้ากระทำได้ถูกต้อง จะรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ตั้งแต่ส่วนขาไปถึงหลังและท้ายทอย ช่วยทำให้เกิดการจัดกระดูกสันหลังเข้าสู่สมดุล
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
จาก...หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
นิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกายนิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกาย

“คิริมานันทสูตร” -  ตัวอย่างพระสูตรที่ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์“คิริมานันทสูตร” - ตัวอย่างพระสูตรที่ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์

การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธีการสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี