การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี


[ 5 มี.ค. 2554 ] - [ 18263 ] LINE it!

">
การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี
">

การสร้างนิสัยที่ดีตามพุทธวิธีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

">
การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เหล่าภิกษุกลางธรรมสภา
 
">
          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้บทฝึกสำหรับการสร้างนิสัยดีไว้บทหนึ่ง คือ ให้พิจารณาโดยแยบคาย ก่อนบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 9 ดังนี้
 
 
          ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่ก่อให้เกิดความละอาย
 
">
          ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ความเมามัน ตลอดจนเพื่อประดับ ตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบากทางกาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อีกทั้งระงับเวทนาเก่า คือ ความหิว และไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น ย่อมทำให้ดำรงชีวิตด้วยความไม่มีโทษ และอยู่โดยผาสุก
 
          ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งเพื่อบรรเทาอันตรายจาก ดิน ฟ้า อากาศ ตลอดจนเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา
 
          ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อ
">
">
">
">
">
">
บำบัดทุกขเวทนาอันเกิดจากการเจ็บป่วย และเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน
 
">
           จากบทพิจารณาปัจจัย 4 นี้ จะเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องที่เราทุกชีวิตต้องคิด พูด และทำ ในชีวิตประจำวันมาเป็นบทฝึกนิสัย ด้วยการสั่งสอนให้เป็นผู้รู้จักมีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไร เหมาะสมหรือไม่อย่างไร รู้จักพิจารณาหาเหตุผล จนมองทะลุว่า วัตถุประสงค์หลักในการใช้สิ่งของต่างๆ เหล่านั้น เพื่ออะไร ทำไมจึงต้องใช้ แล้วจึงค่อยใช้สิ่งของเหล่านั้น
 
           
เมื่อได้พิจารณาเตือนตนอยู่ทุกๆ วัน นิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจตัว ตลอดจนความมักง่ายต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลง ทำให้รู้สึกยินยอมใช้สอยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ทั้งไม่คิดแสวงหาในทางที่ผิดในทางที่ไม่สมควร คราใดที่เกิดความปรารถนาสิ่งใด เมื่อไม่ได้ก็ไม่กระวนกระวายใจ หรือได้แล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพันและมองเห็นโทษของความรู้สึกนึกคิดเช่นนั้น พร้อมกันนั้นก็เกิดปัญญา คิดสลัดตนออกจากกองทุกข์ กิเลสในตัวจึงค่อยๆ ลดลง นิสัยดีๆ ก็บังเกิดขึ้นแทน และเป็นอุปการะต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม หมดกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 _____________________
">
9 สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 66 หน้า 609 ,
 
จาก...หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี

">
">


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
นิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกายนิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกาย

“คิริมานันทสูตร” -  ตัวอย่างพระสูตรที่ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์“คิริมานันทสูตร” - ตัวอย่างพระสูตรที่ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์

นิสัย คืออะไรนิสัย คืออะไร



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี