การบริหารความเสี่ยง


[ 20 ม.ค. 2555 ] - [ 18279 ] LINE it!

     ทันโลกทันธรรม
 
 
 
 
ตอน การบริหารความเสี่ยง
 

     ชีวิตมีความเสี่ยง ชีวิตมีความไม่แน่นอน ซึ่งเราจะต้องพบเจอ เพราะฉะนั้นจะดีไม่น้อยเลย ที่เราจะรู้วิธีการจัดการและบริหารความเสี่ยง แต่ว่าเราจะทำอย่างไร?

 
     ความเสี่ยง
  
     ความเสี่ยงก็คือโอกาสที่จะผิดพลาด โอกาสที่จะล้มเหลว มันก็คือความไม่แน่นอนนั่นเอง แต่เป็นความไม่แน่นอนที่มีผลกระทบต่อ ความสำเร็จ มีผลกระทบต่อความล้มเหลว ก็คือว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีโอกาสที่เราจะล้มเหลวได้ นั่นแหละคือความเสี่ยง ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงก็เพื่อลดปัญหา ลดอุปสรรค์ แล้วก็เพิ่มความสำเร็จนั่นเอง
 
 
     ความเสี่ยงด้านขององค์กร  
 
     1. ความเสี่ยงทางด้านงบประมาณ
     2. ความเสี่ยงทางด้านค่าใช้จ่าย
     3. ความเสี่ยงด้านกำหนดการ
     4. ความเสี่ยงด้านเทคนิค
 
     ความเสี่ยง จำแนกได้ 4 ลักษณะ
  
     1. ผลกระทบทางด้านยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการทำงาน
     2. ผลกระทบทางด้านการปฏิบัติการ
     3. ผลกระทบทางด้านนโยบาย
     4. ผลกระทบด้านการเงิน
     5. ผลกระทบด้านปัจจัยภายนอก
 
     ผลกระทบด้านปัจจัยภายใน
  
     1. สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
     2. ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
     3. วัฒนธรรมขององค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
     4. การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
     5. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
 
    
     ผลกระทบด้านกระแสโลกาภิวัตน์
  
      ผลกระทบด้านปัจจัยภายนอก
 
     1. การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
     2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
     3. กระแสโลกาภิวัตน์
     4. การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
     5. กระแสสังคมสิ่งแวดล้อม
     6. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
     7. เสถียรภาพทางการเมือง
 
     ถ้าองค์กรไหนได้บริหารจัดการความเสี่ยงแล้ว จะมีหลักประกันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายขององค์กรได้ดีกว่า เพราะความเสี่ยงหมายถึงว่าเหตุการณ์ที่จะมีสิ่งที่จะเกิด ถ้าไม่เกิด ก็แล้วไป แต่ถ้าเกิดขึ้น องค์กรที่วางแผนไว้ เขาก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายกว่า เพราะว่ามีเหตุมาเท่าไหร่ เขาก็ได้บริหารจัดการลดความเสี่ยงลงไปเรียบร้อย ความเสียหายถ้าเกิดขึ้นก็น้อยลง แต่ถ้าเราบริหารจัดการความเสี่ยง บางครั้งเราก็ป้องกันความเสียหายได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยง เป็นเรื่องส่วนรวม ไม่ใช่ผู้นำองค์กรอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ผู้บริหาร ระดับสูง ระดับล่าง พนักงาน ต้องมาวางแผนร่วมกัน ว่าความเสี่ยงนั้นมีอะไรบ้าง
 
     ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง
  
     1. การกำหนดวัตถุประสงค์
     2. การระบุความเสี่ยง
     3. การประเมินความเสี่ยง
     4. การสร้างแผนการจัดการ
     5. การติดตามสอบทาน
 
    
การวิเคราะห์ความเสี่ยง
 
การวิเคราะห์ความเสี่ยง
  
1.ให้เราถามตัวเองว่า เราหวังอะไร ที่จะทำให้เกิดความบรรลุผลสำเร็จ ของเรา หรือว่าขององค์กรเรา เราตั้งความหวังอะไรไว้ เราต้องการอะไร เราหวังอะไร
2.เรากังวลอะไรบ้าง คือเหตุที่เรากังวลอยู่ลึกๆ อาจจะมีผลกระทบที่ทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เราหวังเอาไว้
3.เราได้เตรียมแผนไว้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีก็เซ็ตแผนขึ้นมา
4.มีช่องโหว่อะไรอีกไหมที่เราจะต้องใส่ใจ ซึ่งเรื่องเล็กน้อยก็อาจนำปัญหามาสู่เรื่องใหญ่โตก็เป็นได้
5.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ปัญหาหรืออุปสรรค์ต่างๆที่มันอาจจะเป็นไปได้ เราจะเอาเรื่องอะไรมาพิจารณาก่อน ต้องจัดลำดับความสำคัญให้ได้
6.ถามตัวเองว่า จำเป็นต้องมีวิธีการ วิธีการอะไรหรือเปล่า ในการจัดการกับรอยโหว่เล็กๆน้อยๆเหล่านั้น
7.ให้เราประเมินให้ได้ว่าแนวโน้ม หรือโอกาสที่จะเล็ดลอดเหล่านั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยได้เท่าไหร่
 
     การพัฒนาทางเลือกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่อเรารู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราต้องมีตัวเลือกให้ดี การพัฒนาทางเลือกไม่ได้หมายความว่าเผื่อเอาไว้ แต่เป็นการเตรียมทรัพยากรทุกอย่างให้พร้อมเลย จึงมีผลที่ว่า ลดความเสี่ยงลง
 
 
     ความเสี่ยงด้านบุคคล 
 
     ความเสี่ยงด้านบุคคล มี 2 อย่าง
  
     1.ความเสี่ยงในการดำรงชีพ
     2.ความเสี่ยงในการพัฒนาชีวิต

 ด้านทางหยาบ หรือทางโลก
 
ด้านทางหยาบ หรือทางโลก คือไม่ประมาท สังเกตว่าใครก็ตาม ตอนนี้รู้สึกว่าชีวิตกำลังลำเค็ญ หรือว่าอยู่ในช่วงที่ต้องต่อสู้ เค้าจะยังไปได้ แต่เมื่อไหร่รู้สึกว่า เฟิร์มแล้ว กำลังสบายๆ รู้สึกว่าทุกอย่าง เหมือนรถวิ่งบนทางราบแล้ว เมื่อนั้น เริ่มเสี่ยง ต่อการปักหัวลง บริษัท บุคคล หรือ ประเทศ ก็เหมือนกัน ประมาทเมื่อไหร่เริ่มเสื่อมเมื่อนั้น
 
 
     ด้านละเอียด หรือ ด้านจิตใจ
 
ด้านละเอียด หรือ ด้านจิตใจ
  
          2.1 บุญและบาป เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทุกอย่างที่เราเองพบ ประสบ มันเกิดจากแรงขับเคลื่อนของบุญบาป  ถ้าบุญยังหล่อเลี้ยงอยู่ เราไม่เป็นไร แต่เมื่อไหร่บาปได้ช่องแล้ว ชีวิตเราเสี่ยง รู้อย่างนี้แล้วอย่าขี้เกียจในการสร้างบุญ ทั้งการ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทำให้สม่ำเสมอ แล้วบาปกรรมอกุศลทั้งหลาย หลีกเลี่ยง อย่าไปสร้าง มันจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับชีวิตของเรา
 
          2.2 เป็นกัลยาณมิตร ชวนคนทำความดี การประกันความเสี่ยงในชีวิตการสร้างบารมี หลักการเดียวกัน ชวนคนทำความดีเยอะๆ บุญตรงนี้จะค้ำตัวเรา คนเราต้องยอมรับนะ ว่ายังไม่หมดกิเลส มันมีขึ้นมีลง บางตอน ศรัทธาดี ก็ทำความดีเต็มที่ บางตอนศรัทธาถอย จะเผลอไปทำบาป ยังมีอยู่นะ ยังไม่แน่นะ ถ้าเราชวนคนทำความดีเยอะๆ อีกหน่อยผู้คนทั้งหลายจะมาช่วยเรา ตอนเราเองกำลังแย่ ศรัทธากำลังตก เผลอไปทำบาปทำไง คนเหล่านี้จะมาห้อมล้อม แล้วก็ดึงเรากลับมาหนทางที่ถูกต้อง ไม่ปล่อยให้เราเองถลำไปทางที่เสื่อม นี้คือการประกันความเสี่ยง ในเส้นทางการสร้างความดี ที่ดีที่สุดเลย  เพราะฉะนั้นทำความดีอย่าทำคนเดียว ให้ชวนกันทำพระพุทธเจ้าถึงฝากไว้เป็นปัจฉิมโอวาทว่า
 
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนเธอทั้งหลาย
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลาย จงทำหน้าที่ให้สำเร็จ
ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
 
ข้อมูลจาก พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
 
รับชมวิดีโอ
 
 

รับชมคลิปวิดีโอการบริหารความเสี่ยง
ชมวิดีโอการบริหารความเสี่ยง  MP3 ธรรมะการบริหารความเสี่ยง   Download ธรรมะการบริหารความเสี่ยง


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ประมวลภาพวันมหัศจรรย์รวมพลคนเปลี่ยนโลก V-Star ครั้งที่ 6ประมวลภาพวันมหัศจรรย์รวมพลคนเปลี่ยนโลก V-Star ครั้งที่ 6

แผนที่ชีวิตแผนที่ชีวิต

ไขว่คว้าหาโลกใหม่ไขว่คว้าหาโลกใหม่



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ