วัดเกาะพญาเจ่ง


[ 11 มิ.ย. 2556 ] - [ 18286 ] LINE it!

วัดเกาะพญาเจ่ง





วัดเกาะพญาเจ่ง
วัดไทย ในจังหวัดนนทบุรี
  

        พญาเจ่งคุมกองพันร่วมฟันฝ่า     พร้อมเจ้าตาสู้พม่ากลางสมร
    
    พลีเลือดเนื้อกู้เอกราชชาติไทยมอญ    แต่การก่อนหลายร้อยปีที่ผูกพัน

 ครั้นเสร็จศึกสร้างวัดสลัดบาป      แสวงบุญชำราบหทัยใส
 
             สร้างวัดเกาะเกิดกุศลผลอนันต์      โชติชีพพลันเรืองรุ่งเกรืองกรุงไกร
 


วัดเกาะพญาเจ่ง หรือ วัดเกาะบางพูด



วัดเกาะพญาเจ่ง
ผสานศิลปะวัฒนธรรมของชาวมอญ



ประวัติความเป็นมาและผู้สร้างวัดเกาะพญาเจ่ง



      วัดเกาะพญาเจ่งนั้น มอญเป็นชนชาติที่อยู่ร่วมแผ่นดิน ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับคนไทยมาหลายร้อยปีมีความผูกพันทางสายเลือดและทางวัฒนธรรมที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้  จังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ชาวมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมาก  จึงมีวัดมอญเรียงรายอยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งวัดที่ชาวบ้านสร้างเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและวัดที่เจ้านายสร้าง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของผู้คน "วัดเกาะบางพูด"  ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ในยุคสมัยนั้นบุตรหลานของท่านได้เปนเจ้าเมืองนครเขิ่นขัน และฝ่ายสตรีท่านหนึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


วัดเกาะพญาเจ่ง
เป็นอาคารก่ออิฐขนาดใหญ่


     วัดเกาะบางพูด จึงได้รับการบูรณะอย่างงดงามสมศักดิ์ศรีวัดเจ้าพระยา เป็นวัดที่มีอุโบสถขนาดใหญที่สุดในอำเภอปากเกร็ด มีความกว้าง ๑๐ เมตร ๕๐ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เมตร รูปทรงอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถึงปูน หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องมีชั้นรถ ๒ ชั้น เป็นลักษณะหลังคาคลุมรอบอุโบสถ ยกหลังคาด้วยเสานางเรียงสี่เหลี่ยมยกมุม เป็นรูปแบบศิลปกรรมที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าบรรณแบ่งเป็น ๒ ตอนภาพตอนบนแกะเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ  ตอนล่างเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑอยู่ระหว่างช่องหน้าต่าง ๒ บาน  เป็นการผสมผสานรูปแบบอยุธยากับรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซุ้มเรือนแก้วเหนือกรอบประตูและหน้าต่างแกะปูนเป็นแจกันดอกไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์  เป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมตกแต่งงานก่อสร้างในซีกโลกตะวันตกที่ไทยได้รับอิทธิพลเข้ามา
 
 
ภายในอุโบสถวัดเกาะพญาเจ่ง
ประดิษฐานพระประธานสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
 
 

อุโบสถวัดเกาะพญาเจ่ง

 
 
     ลานอุโบสถด้านหน้าตรงมุมกำแพงแก้วมีพระปรางเจดีย์ด้านละองค์ เข้าใจว่าใช้บรรจุอัฏฐิของท่านผู้สร้างและผู้บูรณะพระอารามแห่งนี้  รอบอุโบสถมีซุ้มสีมาทรงโกฎ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ผนังโบสถ์เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังถึงแม้จะลบเลือนไปบ้างแต่ยังคงความงาม  ด้านซ้ายและชวาเป็นภาพเทพชุมนุม แถวบนเป็นภาพพระพุทธองค์อยู่ในซุ้มเรือนแก้วมีภิกษุอยู่ซ้ายขวา แถวถัดลงมาเป็นภาพเทวดาศักดิ์ใหญ่ขั้นได้พัยศ ล่างสุดเป็นภาพเทวดาถือดอกบัว ถัดลงมาจากนั้นเป็นภาพเรื่องราวทศชาติชาดกเป็นอดีตชาติที่สำคัญ ๑๐ ชาติของพระพุทธองค์  ฝีมือการเขียนน่าจะเป็นช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ภาพเขียนที่บานหน้าต่างอุโบสถเป็นภาพเทวดาถือพระขันธ์
 
 
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน 
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน
 
 

ลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปปางปรินิพพาน

 
 
     ในอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ซึ่งมีตำนานเล่าว่าเมื่อกษัตริย์ทั้งหลายได้หอบพระสรีระของพระพุทธองค์ด้วยผ้าขาวและสำลี ๕๐๐ ชั้นแล้ว ได้นำขึ้นจิตกาธานเพื่อถวายพระเพลิงแต่ไม่อาจจุดไฟให้ติดได้  จนกระทั่งพระกัสสปะมหาเถระน้อมกายกราบพระสรีระ  พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้พระมหากัสสปะเห็นพระพุทธบาทยื่นออกมาจากโลงทอง
 
 
อนุสรณ์สถาน "พระนางเรือล่ม" 
อนุสรณ์สถาน "พระนางเรือล่ม"
 
   
     วัดเกาะบางพูด ยังมีอาคารอื่นๆที่บุตรหลานสกุล "คชเสนีย์" ได้สร้างไว้ เช่น วิหาร ศาลาราย และอื่นๆ เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษและได้ขอเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดเกาะพญาเจ่ง" เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗  ถัดจากวัดไปไม่ไกลเป็นอนุสรณ์สถานทรงเจดีย์สร้างเพื่อรำลึกถึงพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์หรือ "พระนางเรือล่ม"  พระอัครมเหสีในพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  เมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน เรือพระที่นั่งลงร่มใกล้กับวัดเกาะแห่งนี้ พระนางและพระโอรส ธิดา ทรงสวรรคตทุกพระองค์ ยังความโทมนัสและอาลัยรักต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก พระองค์จึงทรงสร้างไว้เพื่อรำลึกถึงและประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้   
 
 
รับชมวิดีโอ
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1

สัมโมทนียกถาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เนื่องในวันคุ้มครองโลก 2556สัมโมทนียกถาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เนื่องในวันคุ้มครองโลก 2556



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา