วัดพุทธโจฮันเนสเบิร์ก


[ 6 พ.ย. 2550 ] - [ 18268 ] LINE it!

โชโชโลซ่า
ตอน
วัดพุทธโจฮันเนสเบิร์ก
บุญสถานของชุมชนแอฟริกา
 
 
    ศูนย์ปฏิบัติธรรมโจฮันเนสเบิร์ก มีตำนานจากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ครบขวบปีพอดี พระอาจารย์ยุคบุกเบิกเล่าให้ฟังว่า วันแรกที่เดินทางมาถึง ท่านก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ชะตากรรมจะเป็นอย่างไร จะนอนที่ไหน เมื่อมาถึงแล้วจะไปทำอะไรต่อ แล้วตอนที่บินมานั้น มีมาแค่ตั๋วเครื่องบิน ซึ่งระบุวันมา แต่ไม่ระบุวันกลับ (ตั๋วเครื่องบินไปไม่กลับ)
 
    ต่อมา คนไทยที่โจเบิร์ก (โจฮันเนสเบิร์ก) เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ ก็เคยมีพระสงฆ์บินมาแล้ว 2-3ชุด คาดว่ามาเพื่อสำรวจ “ความเป็นไปได้” คือว่า มา Survey ว่า “ถ้าจะมาสร้างวัดที่เซ้าท์แอฟริกา มันพอจะไหวมั้ย” ผลก็คือ...ท่านก็ไม่ได้กลับมาที่โจเบิร์กอีกเลย หายไปกับสายลมและแสงแดด
 
    ก็มีแต่คณะของพวกเรา แม้วันแรกที่มาถึง ไม่รู้จะไปนอนที่ไหน แต่เราก็จะอยู่ และเราก็จะไม่หนีและเราก็จะไม่ย้าย แล้วในที่สุด เราก็ได้บ้านของคนไทยใจบุญ ให้ได้หลับนอน ก่อนที่จะหาช่องทางสร้างวัดกันต่อไป
 
    เราก็เดินหน้าต่อไป จนได้บ้านหลังเล็กๆ มาทำเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมโจฮันเนสเบิร์ก  ถือว่านอกจาก “ที่นอน” แล้ว เราก็มี “ที่ทำงาน” ซึ่งก็คือ งานสอนสมาธิให้แก่ทุกคน ไม่เลือกผิวพรรณวรรณะ ศาสนาและความเชื่อใดๆ แล้วเราก็ได้เจ้าภาพภัตตาหาร ครบ 7วัน ตลอดสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า เราสามารถอยู่ทำงานพระศาสนาในประเทศเซ้าท์แอฟริกาได้แล้ว
 
    ทำให้นึกถึง คุณยายอาจารย์ทองสุข สำแดงปั้น  ที่ไปโตเอาดาบหน้า ตลอดทางที่จาริกไป ก็เกิดดวงปัญญาในการทำงานพระศาสนา ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
    ถ้ามีใครมาถามว่า “คิดถึงคุณครูไม่ใหญ่มั้ย” เราก็คิดในใจว่า “ไม่น่ามาถาม คิดถึงสิครับ” (มั่นใจว่า พระอาจารย์ทุกศูนย์ทั่วโลก ก็คิดถึงคุณครูไม่ใหญ่เหมือนกัน) แต่ว่า หน้าที่สำคัญกว่า เพราะว่าถ้าไม่มีพ่อ ก็จะไม่มีวันนี้ ก็เพราะครูไม่ใหญ่ มีความคิดอยู่ตลอดเวลาว่า อยากให้โลกมีสันติภาพ ท่านให้เอาแผนที่โลกมา แล้วเอาเข็มไปปักว่า เราจะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ไหนบ้าง
 
    เมื่ออยู่ๆไปก็พบว่า พุทธพจน์ที่ว่า “ความเป็นอยู่ของสัตว์ อันสัตว์ได้โดยยาก” นั้น เป็นสัจธรรมอย่างแท้จริง เราเห็นผู้คนที่นี่ “ปากกัด ตีนถีบ” เหมือนกับยีราฟ แกว่งเท้าไปเตะสิงโต เพื่อความอยู่รอด
 
    แต่สิ่งที่น่ากลัว ไม่ใช่เสือ ไม่ใช่สิงโต ไม่ใช่ยุง (ยุงร้ายกว่าเสือ) ไม่ใช่โรคอีโบล่า หรือว่าโรคอะไรๆ หรือบางคนไปเหมาเอาว่า คนดำน่ากลัว จริงๆแล้ว เป็นคำกล่าวที่เกินจริง เพราะคนดี มีทุกสีผิว คนไม่ดี ก็มีทุกสีผิวเช่นกัน
 
 
 
 
 
 
    Big5 ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ (แบงก์ 10, 20, 50, 100 & 200) แต่เรากลับพบว่า Big3 น่ากลัวกว่า Big3 ที่ว่าก็คือ...
 
1.โลภ
2.โกรธ
3.หลง
    สามอันนี้ Big จริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อบายมุข” 
 
    Big3 น่ากลัวกว่า Big5 เพราะว่าสิงโตอยู่ในป่า นานๆอาจจะเจอ แต่ว่า อบายมุข เช่นสุรา การพนัน (กาสิโน) มันเป็นของรอบตัว บางคนเหมือนโดนสะกดจิต ต้องไปเป็นประจำ
 
    การที่เราตีตั๋วเครื่องบินมาแอฟริกา แล้วตีตั๋วไปไม่กลับ ทำให้เราพบขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่  เราพบว่า แท้ที่จริง คนไทยเขาก็รอเราอยู่  ผู้มีบุญเขารอเนื้อนาบุญ เหมือนข้าวคอยฝน การสร้างวัดจึงเกิดขึ้น แล้วเราก็ช่วยกันหาที่สร้างวัด หาทุนทรัพย์ หาบุคลากร องค์ประกอบของวัด ก็ก่อรูปก่อร่างขึ้นมา อย่างน่าอัศจรรย์ และขุมทรัพย์ที่ว่านี้ ก็เชื่อมต่อไปยังฝรั่งผิวขาว และชนพื้นเมืองผิวดำ  บุคลากรของศูนย์ปฏิบัติธรรม จึงมีความหลากหลายอย่างลงตัว
 
    ทั้งนี้ทั้งนั้น เกิดจากความเชื่อมั่นในมโนปณิธานของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ที่จะสร้างสันติภาพโลกให้เกิดขึ้น และสันติภาพภายนอก เริ่มจากสันติสุขภายใน ด้วยสมาธิ และเมื่อถึงวันนั้น ชุมชนทวีปแอฟริกา ก็ขอเดินเคียงข้างไปกับภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก ในการสร้างสันติภาพโลกด้วย Meditation
 
    สิ่งที่เกิดขึ้นที่โจฮันเนสเบิร์ก  คือ ความอัศจรรย์ของใจ  คือ ใจที่เชื่อมั่นในคุณครูไม่ใหญ่ ทำให้เราไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรค ทำให้เราสามารถมองข้าม และก้าวข้าม อุปสรรคได้อย่างสง่างาม
 
    และสกู๊ปพิเศษ โชโชโลซ่า ที่เรากำลังจะได้รับชมนี้  คือ เรื่องราวตลอดหนึ่งขวบปี ของศูนย์ปฏิบัติธรรมโจฮันเนสเบิร์ก นับตั้งแต่วันแรกของตำนาน จนกระทั่งล่าสุด คุณครูไม่ใหญ่เมตตาตั้งชื่อวัดของเราว่า “วัดพุทธโจฮันเนสเบิร์ก” เพื่อให้เป็นบุญสถานของชุมชนแอฟริกาอย่างแท้จริง



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พระพุทธศาสนาในประเทศพม่าพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

จดหมายจากชาวเชียงตุงจดหมายจากชาวเชียงตุง

เทศกาลออกพรรษาที่เชียงตุงเทศกาลออกพรรษาที่เชียงตุง



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน