วิธีการแก้ปัญหาการทำงานกับลูกน้องเจ้าปัญหา


[ 7 เม.ย. 2554 ] - [ 18272 ] LINE it!

การลดปัญหาการทำงานกับลูกน้องเจ้าปัญหา

แก้ใขปัญหาระหว่างลูกน้องกับเจ้านาย

วิธีการแก้ปัญหาการทำงานกับลูกน้องเจ้าปัญหา
 
ลดความขัดแย้งกับลูกน้อง
  
     หากมีปัญหาการรับมือกับบุคคลากรลูกน้องเจ้าปัญหามีวิธีการคือ ต้องมองที่ตนเองก่อนมองที่ผู้บริหารก่อนว่าเกิดความผิดพลาดตรงไหนตัวเราหรือเปล่า แล้วค่อยตัดที่ละปัญหา ต้องดูที่ตนเองก่อนว่า ว่ามีอัตราสูงเกินไปหรือเปล่า เพราะได้รับตำแหน่ง ได้รับอำนาจ อาจเกิดความหลงใหลในอำนาจ เกิดลืมตัวไหม ทำทุกอย่างตามอำเภอใจโดยไม่ฟังใครหรือเปล่า เป็นสิ่งแรกที่ต้องมองย้อนกลับมาดูตัวเราเอง ดูว่ามุมมองของเราเป็นการมองโลกแบบผิดๆ หรือไม่ เป็นการมองทางลบมากไปไหมคือโดยลักษณะการมองของผู้บริหารจะคอยคิดว่าลูกน้องถ้ามีโอกาสก็จะโกงเสมอ ชอบเล่นพวก ชอบนินทาว่าร้ายถ้าผู้บริหารมองแต่มุมนี้ ก็จะเกิดบรรยากาศความหวาดระแวง เกิดการจ้องจับผิดกัน พอถึงเวลาก็จะใช้อำนาจข่มขู่ จึงทำให้คนที่ทำงานอยู่รู้สึกถึงความไม่มั่นคง หรือเบื่อหน่ายไม่อยากจะทำงาน
 
ความขัดแย้ง
 
     ผู้บริหารมีจริยธรรมเพียงพออยู่จริงไหม เวลาที่มีผู้บริหารใหม่ๆเข้ามาลูกน้องก็จะให้การยอมรับได้ในระดับความสามารถที่ยังไม่ถึง เพราะต้องมีการศึกษางาน แต่ถ้าหากว่าไม่มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในใจแล้วในการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งแบบพักพวก หรือไม่มีหนักเกณฑ์ที่แน่นอน เนื่องจากเอาพวกของตัวเองหรือความพึงพอใจส่วนตัวทำให้เกิดการสูญเสียซึ่งขวัญ และกำลังใจ ผู้บริหารเข้าใจศาสตร์ของการบริหารอย่างแท้จริงหรือไม่ สามารถสร้างความน่าเชื่อมั่น และความศรัทธาไดไหม เนื่องจากความศรัทธา และความเชื่อมั่นจะก่อให้เกิดความจงรัก และภักดีสามารถมอบกายมอบใจทุ่มเทให้บริษัทได้ทุกอย่างถ้าหัวหน้าไม่เลือกปฏิบัติ  มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนก็จะนำพาลูกน้องไปในทางที่ถูกต้อง ถ้าเราไม่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ลูกน้องก็จะรู้สึกว่าทำไปก็เท่านั้นเอง จึงไม่เกิดการพัฒนา ขวัญและกำลังใจก็ไปหมด
 
ความขัดแย้ง
 
เมื่อผู้บริหารรู้ปัญหาส่วนของตัวเองแล้วมีวิธีการปรับปรุงดังนี้
 
     ในกรณีที่เราได้รับอำนาจ หน้าที่ให้บริหารส่วนของการพัฒนาตนเองต้องปรับปรุงตนเองด้วย เราไม่ได้มีหน้าที่เพียงปรับปรุงลูกน้องฝ่ายเดียว เพราะทุกอย่างต้องมีการเรียนรู้การปรับปรุง ที่เรียกว่าเป็นแบบขั้นบันได เป็นลักษณะของการเรียนรู้เพิ่มขึ้นไป การสั่งสมความรู้และประสบการณ์ให้มากขึ้น ต้องฝึกดังนี้
 
1.ต้องฝึกสติมีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวตลอดเวลาที่พูด ที่คิด ทำ พูดคิดทำอย่างมีเหตุ มีผล ทำอย่างตรงไปตรงมา เมื่อมีปัญหาต้องแยกให้ออก ว่าอะไรคือเนื้อหาสาระ อะไรคือเรื่องราว หากเราสามารถแยกออกแล้วสามารถตัดเรื่องราวออกไปจะพบว่าอะไรคือ เนื้อหาสาระที่แท้จริง  จึงทำให้สามารถไปสู่การแก้ไขได้ ถ้าเราสนใจแต่เรื่องราวทำให้ผูกต่อโยงกันไปด้วยเหตุและผลที่เป็นอารมณ์ความรู้สึก ในที่สุดแล้วก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้เนื่องจากลืมไปว่า อะไรเป็นเนื้อหาสาระที่แท้จริงเพราะเรามัวแต่ไปขยายเรื่อง เพราะจะเป็นเรื่องของอารมณ์ และความรู้สึก ถ้าผู้บริหารสามารถแยกออกอย่างมีสติรู้เนื้อรู้ตัวตลอดเวลาเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาที่แท้จริง
 
     2.ต้องมีกรอบในการมองโลกในแง่ดี อย่ากังวลว่าหากเรามองโลกในแง่ดี กลัวว่าจะถูกลูกน้องหลอกคือต้องมีการวางกรอบ วางระบบการทำงานที่ดี ตรวจสอบได้ อย่างโปร่งใส ชัดเจนทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่เราจะถูกหลอกได้ ในขณะเดียวกันเราต้องมองโลกในแง่ดี คือคนเรามีเพื่อนหนึ่งร้อยคนยังน้อยไป มีศัตรูเพียง1คนก็ยังมากไปเรา ต้องบริหารให้ลูกน้องเกิดความเคารพรักและศรัทธามากกว่าการที่จะสร้างศัตรู
 
    3.ความสามารถที่จะรักลูกน้องเสมอเหมือนหนึ่งในญาติของเรา จะต้องมีความเมตา ให้เกียรติ มีน้ำใจ รักษาคำพูดมีความยุติธรรม มองทุกอย่างตามความเป็นจริง มีจิตใจที่หนักแน่น ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การสนับสนุนต้องเป็นกลาง และสามารถเป็นที่พึ่งพิงให้กับลูกน้องได้
 
     4.สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้น ให้แก่ลูกน้องได้ หากลูกน้องทำงานไม่สำเร็จ ก็ต้องเข้าไปช่วยเขาทำงานให้สำเร็จ ให้ลุล่วงไปให้ได้ แล้วเอาผลลับงานเป็นหลัก ต้องกำหนดเวลา มีกรอบการทำงาน ไม่เอาเรื่องราวเป็นหลักต้องมีการให้ความรู้ การจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้เพิ่มพูนเกิดทักษะแล้วยังเป็นการประสานความสำพันธ์ที่ดีระหว่างลูกน้อง และเจ้านายด้วย
 
ในกรณีที่ผู้บริหารปรับตัวเองได้แล้วแต่ลูกน้องมีปัญหาจะมีวิธีการแก้ได้อย่างไร 
 
ก่อนอื่นต้องมองออกว่าเวลาที่ลูกน้องมีปัญหาผู้บริหารจะมี 3 ลักษณะด้วยกันคือ
1.ผู้บริหารประเภทที่ไม่สนใจ ใครจะทะเละกันก็ช่างขอให้บริษัทมีกำไรเข้ามาก็พอใจแล้ว
2.ผู้บริหารที่ ถ้าใครมีปัญหาอะไรก็ให้ออก หรือจับย้ายอย่างเดียว
3.ผู้บริหารที่ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นใช้ความพยายามในการไกล่เกลี่ยปัญหา แล้วก็ประสานความสัมพันธุ์ เป็นแบบที่ดีที่สุด และจะต้องตระหนักว่าพนักงานมีความสามารถสูง แต่ขาดทักษะบางอย่าง เช่นทักษะการทำงานเป็นทีม หรือการเข้าสังคม หากเราได้ชี้แนะบางประการ หรือการเปิดโอกาสแล้วชี้ให้เห็นว่าเขาจะต้องแก้จุดไหน ในที่สุดก็จะเป็นกลายเป็นกำลังสำคัญขององค์กรที่ดีได้ในภายภาคหน้า
 
ลูกน้องเจ้าปัญหา
 
     ดังนั้นให้ดูว่าในมุมของลูกน้องว่ามุมมอง และความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของเขา ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อองค์กรอย่างไร และทำให้มีผลเสียต่อตัวเขาอย่างไร แล้วชี้ให้เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับว่าเปลี่ยนแล้วดีอย่างรัย ให้เขามีความเชื่อมั่นว่าเขาสามารถที่จะเปลี่ยนตนเองได้ เราต้องมีความปรารถนาดีอย่างแท้จริงจนเขาสัมผัสได้ ไม่ใช้เพียงแค่ทำไปต่างๆนาๆ เหมือนกับว่าการเล่นละคร
 
 
ลดความขัดแย้ง
 
     บางครั้งในบางเรื่องเราพูดเองไม่ได้ เนื่องจากลูกน้องไม่ฟังเรา ต้องให้บุคคลที่สามบุคคล ที่เขามีความเคารพและศรัทธาเข้าไปคุยแทน เนื่องจากเขาเกิดความเข้าใจกัน เขาจะฟังมากกว่า แล้วจะเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาเราขึ้นมาเอง ในกรณีนี้ถ้ายังไม่ได้ผลควรจะเล่าเป็นเรื่องราวแทนที่จะพูดตรงๆ เนื่องจากเขาจะรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องของเขาโดยตรง แต่เราก็จะสอดแทรกเรื่องที่ต้องการให้เขาปรับเปลี่ยน โดยการใช้เรื่องราวเข้ามาช่วย แล้วชี้จุดแข็งของตัวเขา ให้เขาเห็นจุดดีในตัวเขาเองก่อน เขาจะได้มีกำลังใจ แต่ถ้ายังมีปัญหา ยังโวยวายก็ต้องปล่อยให้เขาพูดบ้าง เพื่อให้เขาได้ระบายให้หมดในที่สุดเขาก็จะคิดได้เอง แล้วเราค่อยเอาเรื่องของหลักการ เรื่องของกฎระเบียบต่างๆมาพูด คือต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายบ้าง เราก็ต้องอดทนฟัง และให้เวลาเขาปรับตัวบ้าง ถ้าสำเร็จแล้ว ก็ต้องให้รางวัล และอาจจะต้องมีการทำโทษ คือการว่ากล่าวตัดเตือนชี้ให้เห็นก่อนเป็นขั้นตอน คือให้ทำเหมือนกับว่าเรามีความบริสุทธิ์ใจที่จะให้เขาปรับปรุงพัฒนาให้โอกาสจริงๆ หากมีการลงโทษโดยปราศจากการตักเตือน สิ่งที่เขาได้รับคือเขาจะรู้สึกสูญเสียคุณสมบัติในตัวเองหลายอย่าง และสุดท้ายเขาจะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ หมดกำลังใจที่จะปรับเปลี่ยนอะไรอีก หรืออาจจะแสดงอาการที่ประชดสังคม คือทำสิ่งเหล่านั้นซ้ำอีก และรุนแรงมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นต้องเปิดโอกาสชี้แจงให้เขา
 
 
มุมมองทางพระพุทธศาสนา
 
พม.ดร.สมชาย
 
     การทำงานกับลูกน้องเจ้าปัญหา เรื่องนี้คิดว่าคนส่วนใหญ่คงเคยเจอ บางที่ก็เป็นลูกน้องเราบ้าง เป็นคนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราบ้าง หรืออาจเป็นคนในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวบ้าง เมื่อเจอคนเจ้าปัญหาเข้าก็จะปวดหัว แล้วจะแก้อย่างไรดี เรามาลองดูวิธีการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์มีวิธีการอย่างไร เวลาที่พระองค์เจอคนเจ้าปัญหา แค่พระภิกษุที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ขนาดมาด้วยความศรัทธา แต่บางคนก็ยังไม่หมดกิเลสจึงติดของเก่ามาด้วย นิสัยเดิมเมื่อสมัยเป็นฆราวาสก็ติดเข้ามาด้วย พระองค์เจอคนมีปัญหาทั้งประเภทปัจเจก คือปัญหาทำโดยตัวเอง อีกประเภทหนึ่งคือทำเป็นทีม เรียกว่ามีกลุ่มมีพวก
 
ขัดแย้งแบบกลุ่ม
 
     ประเภทเดียวที่ขึ้นชื่อมากคือพระอุทายี พระวินัยข้อหนักๆ มีจำนวนมากเกิดจากพระอุทายีองค์เดียว เนื่องจากบวชกันมาตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมอยู่กันมาไม่มีปัญหาเลย พอมีพระอุทายีเข้ามา ก็ก่อเรื่อง พระพุทธเจ้าก็ต้องประชุมสงฆ์ เพื่อถามไถ่แล้วบอกว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ถูก ห้ามทำ ถ้าทำแล้วจะอาบัติ พระอุทายี ได้ฟังพระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่ทำอีก แต่ว่าไปทำผิดข้อใหม่ โดยการหาช่องทำผิด พระพุทธเจ้าก็ต้องมีการประชุมสงฆ์ เพื่อกำหนดพระวินัยขึ้นอีก และท่านก็หาช่องทางเพื่อทำผิดอีกเรื่อยๆ พระอุทายีเรียกว่าเป็นคนหัวดี ฉลาดและเก่ง แต่ว่าชอบออกนอกกฎ ฝีมือประดิษฐ์เป็นเลิศเป็นที่กล่าวขาน แต่ท่านจะมีของแถมตลอด
 
       อีกประเภทหนึ่งคือการทำผิดเป็นกลุ่มขึ้นชื่อว่าฉับพัคคีย์คือพระภิกษุ ที่มีพวก 6 ทั้งหมด 6 รูปทั้งทีมขึ้นชื่อ คือวินัยเบ็ดเตล็ดทั่วไป การสิกขาบทเบ็ดเตล็ดเกิดจากฉับพัคคีย์ ผิดอย่างนี้ พอห้ามก็ผิดอีก พระองค์ทรงใช้วิธีการแก้ปัญหาว่า ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่มีฝีมือ แต่ก็มีปัญหาด้วย คือยากที่จะจัดการปัญหาเด็ดขาด หากแก้คนนี้แล้ว อาจจะกระทบคนอื่นทำให้ขาดความมั่นคงก็จะเกิดปัญหาว่าเจ้านายใจร้าย วิธีการที่พระองค์แก้คือ ถ้ามีปัญหามากท่านไม่ได้ให้สึก เพราะว่าจะสึกหรือไม่สึกอยู่ที่ว่าผิดพระวินัยแค่ไหน หากปาราชิกก็ต้องสึก ว่าตามกติกาที่วางไว้ พระองค์ไม่ได้ถืออารมณ์ตนเอง ทุกอย่างว่าตามกติกาหมด ขนาดคนไปก่อเรื่องขึ้นทำให้เกิดระเบียบข้อนั้นขึ้นมา เป็นภิกษุต้นบัญญัติ  หลังจากที่ได้บัญญัติขึ้นมาแล้ว ใครทำถือว่าผิดพระวินัยในข้อนั้นๆ
ประชุมสงฆ์
 
 
     ทุกอย่างว่าตามกติกาตามระเบียบที่วางไว้ ถ้ายังไม่มีบัญญัติระเบียบยกประโยชน์ให้ สิ่งที่พระองค์มองเห็นคือพระองค์มองเห็นจุดแข็ง จุดดีของเขา เช่นคนที่จะมาบวช มาเพื่อตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรม บรรลุธรรมกำจัดบาปกิเลสออกจากตัวให้หมด เพื่อเข้าพระนิพพาน แม้จะมีปัญหาข้ออื่นก็ค่อยๆ แก้ ถ้าไม่เสียหายมากก็จะให้โอกาส ขนาดพระเทวทัตก่อเรื่องมากมาย กระทบกับตัวพระองค์ พระองค์ก็ทรงรู้ แต่พระองค์ก็ทรงมองเห็นจุดแข็ง จุดดีว่า ถ้าได้มาบวชแล้วตั้งใจปฏิบัติอนาคตพระเทวทัตจะได้เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคต มองจุดแข็งตรงนี้แล้วพยายามให้โอกาสบุคคลผ่อนหนักเป็นเบา ถ้าตัวเรานั้นมีลูกน้องเจ้าปัญหามองข้อเด่นข้อดีเขาให้เยอะๆ หาทางให้เขาเปล่งศักยภาพจุดแข็งเขามาใช้
 
     ข้อเสียก็คือต้องแก้ไขด้วย ตาม หลักการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเกิดเรื่องขึ้นก็จะคนมีมาแจ้งให้ทราบ พระองค์ก็จะใช้วิธีการประชุมสงค์ โดยการประชุมรวมตามจำเลย ตามโจทย์มาด้วย แล้วซักถามว่าจริงหรือไม่ พอได้ความชัดพระองค์ก็จะอธิบายว่าอย่างนี้ไม่ดีอย่างไร จะมีผลเสียอย่างไร แจงโดยละเอียด หลายๆ กรณีพระองค์จึงต้องระลึกชาติเอาเรื่องหนหลังมาเล่าให้ฟังว่า การทำผิดจะไม่ได้ผิดแค่ชาตินี้ แต่จะมีนิสัยที่ผิดข้ามภพข้ามชาติมา ชาติที่แล้วก็ผิดแบบนี้ โดยเล่าให้ฟังอย่างละเอียดคนที่มาประชุมรู้เหตุ รู้ผลที่มาที่ไปอย่างชัดเจน โดยปราศจากข้องสงสัย แล้วพระองค์จึงบัญญัติพระวินัยขึ้น จากนี้ไปภิกษุรูปใดห้ามทำแบบนี้ ถ้าทำแล้วจะต้องอาบัติพระองค์ทรงอธิบายโดยละเอียด โดยมีเหตุมีผลชัดเจน ทั้งหมู่ทั้งคณะยอมรับหมด
 
ประชุมเพื่อลดความขัดแย้ง
 
     เนื่องจากบัญญัติแล้วพระภิกษุทุกรูปก็ต้องปฏิบัติตามนั้น บางกรณีมีเหตุจำเป็นก็เพิ่มระเบียบ โดยการปรับให้เหมาะสมกับสภาวะเป็นระยะๆ ฉะนั้นระเบียบวินัยของพระพุทธเจ้าทุกข้อที่มีมา มีเหตุมีผลชัดเจน ขนาดพระองค์เป็นองค์พระศาสดา เวลาจะทำอะไรไม่ได้ใช้อำนาจเลย และขนาดว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงบัญญัติเลยศีล 227 ข้อ ทุกการกระทำของพระองค์มีเหตุผลรองรับทุกอย่าง แล้วทำให้โปร่งใส แต่ละข้อที่บัญญัติขึ้นมาให้แต่ละคนตรวจสอบตนเอง เนื่องในปัจจุบันถ้าคนทำผิดกฎหมาย ถ้าตำรวจจับไม่ได้ก็ลอยวน แต่ของพระพุทธเจ้าคือถ้าทำผิดเมื่อไรก็อาบัติเมื่อนั้นอาบัติเมื่อทำ ไม่ว่าจะมีใครจับได้หรือไม่ได้ก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแก้ไขก็จะมีอาบัติติดตัวตลอดเวลา จะแก้ไขก็ต่อเมื่อทำผิดระดับไหน ถ้าแก้ไขตามวิธีการที่ถูกต้องก็เท่ากับว่าพ้นอาบัติ เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ วินัยของพระพุทธเจ้าให้จับผิดตัวเอง ไม่ต้องมีหน่วยตรวจสอบ หรือสอดแนม
 
     ทุกคนอาจจะคิดว่าจะดีหรือให้จับผิดตนเองคนที่ทำผิดไม่มีใครรู้ก็สบาย พิสูจน์แล้วว่าดี ตั้งแต่ในอินเดียพุทธศาสนาแผ่ขยายกว้างไปในประเทศศรีลังกา ลาว กัมพูชา พิสูจน์แล้วว่าดี ในประเทศไทยก็ดี ถามว่ามีคนทำผิดแล้วปกปิดไหม ก็มีแต่ก็เป็นส่วนน้อย แต่สุดท้ายคนหมู่มากก็รักษาไว้ได้ เรื่องนี้ทางคอมมิวนิสต์ ยังนำไปใช้ เราคงเคยได้ยินว่าการทวิภาคตนเองใครทำผิดอะไรขอให้วิจารณ์ตนเอง โดยท่ามกลางที่ประชุมเมื่อสารภาพแล้วทุกคนรู้สึกว่าคนนี้ดีนะสารภาพตนเอง เป็นเหมือนการยอมรับผิด และยินดีปรับปรุงแก้ไขทุกคนให้โอกาส เป็นวิธีจำลองแบบของพระพุทธศาสนาที่ใช้กับคณะสงฆ์มาใช้ นี้คือภาพรวมที่พระพุทธเจ้าใช้ในการแก้ปัญหา
 
พระพุทธศาสนา
 
ครั้นมาถึงปัจจุบันนี้ ในชีวิตจริงโดยสรุป ให้ใช้พรหมวิหาร 4  คือ เมตตา กรุณา มุทิตาและ อุเบกขา  
 
1.เมตตา คือปรารถนาให้เขาเป็นสุข คือเราต้องตั้งทัศนะคติทางบวกไว้ก่อนให้มองในเชิงบวกเกิดขึ้นก่อน จะไม่มีการใช้อารมณ์
 
2.กรุณาคือปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ อยากจะช่วยให้เขาพ้นความลำบาก ถ้าเขามีปัญหา ให้ช่วยแก้ไขผ่อนหนักเป็นเบา ยอมรับกันและกัน คนเราหากยอมรับกันเรื่องยากก็จะเป็นเรื่องง่าย
 
3.มุทิตา คือเห็นใครมีข้อดีอย่างไร ให้ชื่นชมสนับสนุน เราเป็นหัวหน้าไม่แย่งผลงานลูกน้อง ให้ชื่นชมท่ามกลางการประชุมยกย่องให้เป็นเลิศในด้านต่างๆ จะได้เป็นแบบอย่างที่ดี มุทิตาจิตเป็นสิ่งสำคัญ
 
4.อุเบกขาคือ เราต้องเป็นคนหนักแน่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์จิตใจที่นิ่งเป็นกลาง สามารถคลี่คลายปัญหาและวินิจฉัยได้ด้วยใจที่เป็นกลาง ทุกอย่างว่าตามกฎระเบียบถึงแม้ว่าคนที่ผิดจะเป็นคนที่เรารักและโปรดปราน ผิดคือว่าตามผิด ถูกก็ว่าตามถูก หรือบางคนอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่มีปัญหา แต่ถึงคราวเขาทำดีมีผลงานก็ต้องว่าตามผลงาน ว่าตามเนื้อผ้าไม่เอาคติมาตัดสินใจว่าชอบหรือไม่ชอบอย่าให้มาบดบังการตัดสินใจ ควรตัดสินใจด้วยความเที่ยงธรรม สม่ำเสมอ มีอุเบกขาจิตอย่างนี้ เราจะมีผู้ยอมรับนับถือ และลูกน้องที่ทำงานด้วย จะเข้าใจชัดเจนตรงกันหมดว่า ทำแบบไหนแล้วจะได้ดี สามารถแยกแยะออกได้ด้วยตนเอง แล้วเราจะนำไปสู่ความสำเร็จได้
 
รับชมวิดีโอรายการทันโลกทันธรรมตอน การทำงานกับลูกน้องเจ้าปัญหา
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ความศักดิ์สิทธิ์พระฉลองชัย ชิตัง เมความศักดิ์สิทธิ์พระฉลองชัย ชิตัง เม

วันครอบครัวไทยวันครอบครัวไทย

8 ขั้นตอนเพื่อหัวใจที่แข็งแรงกับอาหารสุขภาพ8 ขั้นตอนเพื่อหัวใจที่แข็งแรงกับอาหารสุขภาพ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ