ประมวลภาพจันทรุปราคา


[ 21 มิ.ย. 2554 ] - [ 18284 ] LINE it!

ประมวลภาพจันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา เต็มดวง 
จันทรุปราคา เต็มดวง

จันทรุปราคา เต็มดวง
จันทรุปราคา เต็มดวง
 
จันทรุปราคา เต็มดวง
จันทรุปราคา เต็มดวง
 
จันทรุปราคา 
จันทรุปราคา เต็มดวง
 
จันทรุปราคา
จันทรุปราคา เต็มดวง
 
จันทรุปราคา เต็มดวง
จันทรุปราคา เต็มดวง

จันทรุปราคา เต็มดวง
จันทรุปราคา เต็มดวง
 

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554


       จันทรุปราคาเต็มดวง
 
ครั้งแรกในรอบ 4 ปี เวลายาวนานกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง

        6 มิ.ย. ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดเผยว่า ในวันที่ 16 มิ.ย.2554 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี หลังเกิดปรากฏการณ์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 3 มี.ค.2550

       ทั้งนี้ จันทรุปราคาเต็มดวง หรือดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันครั้งนี้ โดยจะเกิดขึ้นใช้เวลายาวนานมาก ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืดของโลกในเวลา 01:22:37 น. ซึ่งดวงจันทร์เข้าสู่ช่วงคราสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02:22:11 น. ถึง 04:03:22 น. เป็นเวลายาวนานถึง  1 ชั่วโมง 40 นาที 52 วินาที และหากนับปรากฏการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจะพบการเกิดจันทรุปราคาครั้งนี้กินเวลานานถึง 3 ชั่วโมง 39 นาที ถือว่านานที่สุด

        อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้ จะได้เห็นดวงจันทร์สีแดงอิฐ อยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา สังเกตการณ์จากจังหวัดเชียงใหม่ หากท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆมากนัก ประกอบกับตำแหน่งที่สังเกตการณ์อยู่ห่างจากตัวเมือง โดยไม่มีแสงไฟรบกวน ก็จะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง และจันทรุปราคาครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2554  ที่ตรงกับวันรัฐธรรมนูญ และเดือนมหามงคลของไทย
 
 
           จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่  ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
  จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์
 
 
          การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจร  มาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลก  บังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวัน  เพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ เช่น “ จันทรุปราคาเต็ม  ดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก จึงทำคนบน  ซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลือง นวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะเห็นดวง  จันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่น  ที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์       ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปใน  เงามืดของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลง  และบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บน  ดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม ผลกระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน
 
 
ดวง  จันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง
 
 
         จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดในเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 (เฝ้ารอสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่คืนวันพุธที่ 15 มิถุนายน) ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 01:23 น. ขณะนั้นที่ประเทศไทยเห็นดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:22 น. ถึง 04:03 น. แต่ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท เห็นเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เพราะแสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดเวลา 05:02 น. เวลานั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 11° พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือทวีปอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
 
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 16 มิถุนายน 2554
 
1.      ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 00:24:34 น.
2.      เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 01:22:55 น.
3.      เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 02:22:29 น.
4.      กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 03:12:36 น.
5.      สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 04:02:42 น.
6.      สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 05:02:15 น.
7.      ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 06:00:44 น.
 
 
สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน
 
         จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 40.2 นาที นานที่สุดนับตั้งแต่จันทรุปราคา 16 กรกฎาคม 2543 ซึ่งยาวนาน 1 ชั่วโมง 46.4 นาที (ครั้งนั้นก็สามารถเห็นได้ในประเทศไทย แต่สภาพท้องฟ้าไม่อำนวย) หลังจากปี 2554 จันทรุปราคาเต็มดวงที่มีระยะเวลามืดเต็มดวงนานเกิน 100 นาที จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ซึ่งสามารถเห็นได้ในประเทศไทยอีกเช่นกัน
 
         ขณะบังเต็มที่เวลา 03:13 น. ศูนย์กลางเงาโลกจะอยู่ค่อนไปทางทิศใต้ของดวงจันทร์ ทำให้คาดหมายได้ว่าพื้นที่ด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าน่าจะสว่างกว่าทิศใต้ นอกจากนี้หากไม่มีเมฆมากนัก ผู้ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง
 
         จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 34 ใน 71 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 130 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1416 - 2678 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 8 ครั้ง บางส่วน 20 ครั้ง เต็มดวง 14 ครั้ง บางส่วน 22 ครั้ง และเงามัว 7 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2029 นาน 1 ชั่วโมง 41.9 นาที (นานกว่าครั้งที่เกิดในปีนี้เพียงไม่ถึง 2 นาที)
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์

ประมวลภาพสวยๆในงานวันวิสาขบูชา จากศูนย์ภาพนิ่งวัดพระธรรมกายประมวลภาพสวยๆในงานวันวิสาขบูชา จากศูนย์ภาพนิ่งวัดพระธรรมกาย

ลดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ด้วยการใช้ถุงผ้า Change The World www.Dmc.tvลดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ด้วยการใช้ถุงผ้า Change The World www.Dmc.tv



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

เรื่องเด่นทันเหตุการณ์