42 ปี วันธรรมชัย ข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม


[ 1 ก.ย. 2554 ] - [ 18264 ] LINE it!

42 ปี วันธรรมชัย
 
จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
 
วันธรรมชัยก็เป็นวันที่หลวงพ่อบวชได้เกิดใหม่ในเพศสมณะ
 
พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
 
“วันธรรมชัยก็เป็นวันที่หลวงพ่อบวชได้เกิดใหม่ในเพศสมณะ แล้วเราก็สมมุติเรียกกันว่า วันธรรมชัย ซึ่งไม่ได้ตั้งเอง ใครตั้งก็ไม่ทราบเหมือนกันตั้งว่า วันธรรมชัย”
 
        วันธรรมชัย ที่ลูกศิษย์รวมใจกันตั้งขึ้น เป็นวันที่ “หลวงพ่อธัมมชโย” หรือ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 
 
        วัดปากน้ำนี้ เรียนได้ทั้งเห็น เส้นทางการสร้างบุญบารมีของท่าน เริ่มจากในวัยเยาว์ ท่านเป็นคนรักการอ่าน และสนใจในพระพุทธศาสนา วันหนึ่งท่านได้ พบหนังสือชื่อ “ธรรมกาย” ซึ่งเขียนจากบทเทศนาของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลาวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ มีข้อความว่า “ถ้าจะเดินให้ถูกต้องร่องรอยของพระศาสนา ต้องปฏิบัติให้ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น” ข้อความดังกล่าว ยิ่งทำให้ท่านมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะได้ศึกษาธรรมปฏิบัติที่วัดปากน้ำ
 
        ต่อมา เมื่อสอบเข้ามหาวิทยาเกษตรศาสตร์ได้ท่านจึงได้เดินทางมาวัดปากน้ำ และพบกับอาจารย์ที่ท่านตั้งใจจะมาเรียนสมาธิด้วย โดยท่านเรียกอาจารย์จองท่านด้วยความรักและเคารพเหมือนญาติผู้ใหญ่ว่า “คุณยาย” (“คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง” ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย)
 
        หลายปีผ่านไป ท่านได้ฝึกสมาธิจนกระทั่งเซี่ยวชานชำนาญ สมดังใจที่ตนเองปรารถนาไว้ ได้รู้และได้เห็นธรรมะตามคำสอนพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า และได้รู้ว่า สมาธิเท่านั้นที่ทำให้มวลมนุษยชาติพ้นจากทุกข์ภัยในสังสารวัฏ และเข้าถึงถึงบรมสุข คือ พระนิพพาน
 
ตั้งใจบวชตลอดชีวิต
 
ท่านจึงได้ขออนุญาตจากคุณยายอาจารย์ฯ เพื่อบวชและศึกษาธรรมะให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งคุณยายก็อนุญาตโดยให้ไปเรียนให้จบปริญญาตรีก่อน ต่อมาในวันคล้ายวันเกินของคุณยายอาจารย์ฯ ในปี พ.ศ. 2511 ท่านจึงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานขอประพฤติพรหมจรรย์ไปตลอดชีวิต เป็นของขวัญวันเกิดแด่คุณยายอาจารย์ฯ ซึ่งถือเป็นของขัวญอันล้ำค่ายิ่ง
 
เมื่อเรียนจบปริญญาตรีและ ท่านได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมี พระเทพสรเวที เป็นพระอุปัชฌาย์ (ปัจจุบันเป็นที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์)
 
หลังจากบวชแล้วท่านได้ศึกษาธรรมปฏิบัติและได้ช่วยคุณยายอาจารย์ฯ สอนสมาธิไปด้วย กระทั่งมีคนมาเรียนสมาธิมากขึ้นเรื่อยๆ จนล้น จึงได้ย้ายมาสร้างวัดแห่งใหม่ ซึ่งก็คือ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี ในปัจจุบัน
 
คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง
 
คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง
 
สร้างเอาไว้ใช้ ไม่ได้สร้างเอาไว้โชว์
 
ท่านได้กล่าวถึงการสร้างวัดและศาสนสถานต่างๆ ไว้ว่า ตั้งใจสร้างเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
 
“...ก็จะไม่สร้างอะไรตอนนั้นคิดอยู่แค่นั้น ต่อมาก็นั่งกันเต็ม “อาคารดาวดึงส์” เป็นเรือนไม้ อาทิตย์ถัดมาก็ล้นอีก แล้วก็ไปนั่งกลางแดด ...ก็สร้าง “ศาลาจาตุมหาราชิกา” จุได้ 500 คน ..คราวนี้มาเป็นพันคน ก็ยังมีคนไปนั่งกลางแดดอีก ..ต้องมาสร้างสภาจาก (สภาธรรมกายสากล หลังคาจาก) กะว่าคราวนี้จุหมื่นคน เลิกแล้วไม่สร้างแล้ว สร้างเสร็จปีพุทธศักราช 2528 ...ปรากฏว่าคนมา 30,000 คน ไปเช่าเต็นท์มากางอีกรอบๆ (สภาธรรมกายสากลหลังใหม่)...ที่โดนคำถามว่า ทำไมสร้างใหญ่ ก็คนมาเยอะ สร้างแล้วใช้ทุกวันนะ ก็สร้างเอวไว้ใช้ ไม่ได้สร้างเอาไว้โชว์ ใช้ฝึกอบรมศีลธรรมให้กับทุกๆ คน ...เราจะเห็นได้วัดขยายด้านข้างออกไป มันขัดใจเลยไปสร้างที่ลานธรรม มหาธรรมกายเจดีย์ จุได้ 1 ล้านคน”
 
อัธยาศัยชอบเงียบๆ สันโดษ
 
ด้านการบำเพ็ญสมณธรรม หลวงพ่อธัมมชโยท่านเห็นคุณค่าและความสำคัญของการบวชพระมาก ได้กล่าวถึงการบวชได้บางตอนว่า
 
“การบวชเป็นพระไม่ใช้ของง่าย หาใช้ครองผ้าการสาวพัสตร์แล้วจะเป็นพระได้ จะต้องปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์ซึ่งมีศีล 227 ข้อ ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย...การบวชนั้นถ้าจะให้ได้บุญกุศล ควรจะเป็นที่พึ่งของพระศาสนาได้ด้วย ไม่ใช้บวชมาเพื่อพึ่งพระศาสนาอย่างเดียว”
 
“ถ้าคิดปลีกวิเวก มันง่ายมากเลย เพราะเป็นอัธยาศัยที่แท้จริงของหลวงพ่อ คือ ชอบอยู่เงียบๆ ลำพังๆ ชอบสับโดษ พอสร้างวัดก็กะว่า เอาแค่นี้พอ มีกุฏิอยู่ 21 หลัง กระจัดกระจายกันไป เพราะจะปลีกวิเวก ก็มีพระแค่นั้น แล้วคิดว่า ใครมาวัดคนหนึ่งก็จะขวนเขานั่งธรรมะคนหนึ่ง ใครมาสองคนก็จะชวนนั่งธรรมะสองคนไม่มีมานั่งเราก็จะนั่งเอง ก็จะนั่งเอง ก็คิดแค่นี้ไม่ได้คิดอะไร”
 
จากหนังสื่อพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
 
จากหนังสื่อพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
 
สร้างบารมีตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
การบวชเป็นพระของท่าน เป็นต้นบุญต้นแบบให้กับคนรุ่นต่อมา ได้ปฏิบัติตามเพื่อมาศึกษา และปฏิบัติคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและชาวโลก สมดังมโนปณิธานที่ได้บันทึกไว้หลังภาพถ่ายของท่านว่า
 
“ถ่ายเมื่ออายุได้ 26 ปีเศษ เพิ่งบวชได้ 1 พรรษา บนกองน้ำตาของมาราดา บิดา ผู้รารถนาให้ใช้ชีวิตอย่างชาวโลกทั้งหลาย อภัยเถิดสุดบูชาของลูก การเกิดมาในภพนี้ ก็เพื่อจะสร้างบารมีเยี่ยงบรมโพธิสัตว์ อย่างเดี่ยวเท่านั้น”
 
และเมื่อท่านไปปฏิบัติธรรมที่ผาดำ จ.เชียงใหม่ มีบันทึกที่เขียนขึ้นมาสั้นๆ ว่า
 
“ทวยเทพผู้สถิต ณ ผาดาเอย ข้าผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ จะขอปักธงรบ อหิงสาปรโมธัมโม ขึ้น ณ ที่นี้ ในดวงใจข้า เหมือขุนเขาอันเป็นสิริ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งจอมไท
 
ข้าประกาศให้ทราบว่า
 
ข้าจะขออุทิศชีวิตนี้ พลีเพื่อพระศาสนาจะบ่มบารมีให้แก่รอบเพื่อยกตนและสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ตราบใดที่สรรพสัตว์ทั้งหลายยังเข้าสู่พระนิพาพานไม่หมดข้าจะขออยู่เยื่องนี้ เพื่อย่ำธรรมเภรี โปรดสัตว์โลกต่อไปและจะขอเข้าพระนิพพานเป็นคนสุดท้าย..ธมมฺชโย ภิกขุ” นี้คือ สิ่งสะท้องเป้าหมายชีวิตทั้งหมดของหลวงพ่อธัมมชโย
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ธุดงค์ธรรมชัย 6 จังหวัด 365 กม. รับปี 2555ธุดงค์ธรรมชัย 6 จังหวัด 365 กม. รับปี 2555

ข่าวพระพุทธศาสนา จากหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 กันยายนข่าวพระพุทธศาสนา จากหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 กันยายน

DMC ปีที่ 10 สถานีโทรทัศน์เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลก จากหนังสือธงธรรมDMC ปีที่ 10 สถานีโทรทัศน์เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลก จากหนังสือธงธรรม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ข่าวพระพุทธศาสนา