วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม-ข้อคิดรอบตัว


[ 8 ต.ค. 2554 ] - [ 18272 ] LINE it!

น้ำท่วม
 
วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม
 
เราจะรับมือน้ำท่วมอย่างไร !

     เนื่องจากปัจจุบันนี้สภาพอากาศแปรปรวน ...ประกอบกับน้ำบ่าเข้ามามาก จะรับมือกันอย่างไร?...

รับมือน้ำท่วม

เราจะปรับตัวอย่างไรให้อยู่ได้ในยามน้ำท่วม

     คงไม่มีใครอยากอยู่ในสภาพเช่นนี้ แต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องมาเรียนรู้ว่า จะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับธรรมชาติ
 

น้ำท่วมบ้าน

ที่อยู่อาศัย กับ ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
 
.....ในสมัยก่อนนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวไทยคือว่า..อยู่กันแบบ บ้านทรงไทย คือ ใต้ถุนสูง

     น้ำมาเมื่อไร อยู่ข้างบนได้ไม่เดือดร้อน ข้างล่างสูง 3-4 เมตร น้ำมาเมื่อไร ถ้ามีสัตว์เลี้ยงก็ต้อนวัวต้อนควายมาอยู่ที่ดอน แล้วทุกบ้านก็จะมีเรืออยู่ทั้งนั้น ไม่รู้สึกทุกข์ยากอะไร เพราะเมื่อรู้ธรรมชาติแล้วปรับตัวเองให้เข้ากับสภาวะธรรมชาติได้
 

พายเรือยามน้ำท่วม

มีเรือไว้ใช้กันทุกบ้าน ไม่ทุกข์ร้อนยามน้ำท่วม

.....แต่ในยุคปัจจุบันนั้น เราอยู่ในภาวะ ครึ่งๆ กลางๆ กล่าวคือ..มนุษย์ไปปรับธรรมชาติส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเห็นว่ามีตึกสูงๆ มีอาคารสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สร้างติดกับพื้นดิน ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วมมาข้าวของที่อยู่ชั้นล่างถูกน้ำท่วมหมด
 
 

ปัญหาน้ำท่วมกับสิ่งก่อสร้างปัจจุบัน

ที่อยู่อาศัยแบบติดพื้นดิน กับ ปัญหาน้ำท่วมขัง

.....ก็จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดย ทำพนังกั้นน้ำ หาประตูน้ำคอยควบคุม หาเขื่อน มาช่วย เพื่อจะระบายน้ำไป ซึ่งถ้าหากควบคุมได้อยู่หมัด ก็ป้องกันได้ แต่ถ้าเกินการควบคุมเมื่อไรก็อาจเดือดร้อน
 

ร่วมใจกันแก้ปัญหาน้ำท่วม

น้ำท่วม 2554 ที่เกินการควบคุม ก็ต้องหาทางป้องกันไว้
 
     น้ำท่วมปี 2554.....เขื่อนทุกเขื่อนน้ำเต็มเกือบหมด เนื่องจากมีพายุเข้ามาหลายลูก ซึ่งมากกว่าปีก่อนๆ ที่ยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ แต่ปัจจุบันนี้ฝนตกใต้เขื่อนก็มีน้ำทะลักมา ค่อนข้างมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังดีที่ยังไม่มีน้ำทะเลหนุน จึงค่อนข้างระบายได้เร็ว

กรุงเทพยังพอรอดตัว แต่จังหวัดอื่นๆ ที่เหนือขึ้นไปค่อนข้างย่ำแย่จากภาวะน้ำมากเกินไป

...ในสภาวการณ์เช่นนี้ สำคัญคือต้องมี “สติ” ขอให้เรามองโลกในแง่ดีไว้ว่า “ในดีมีเสีย...ในเสียมีดี”...
 
 

ยิ้มสู้น้ำท่วม

ยังคงมีหวังเสมอว่าทุกอย่างต้องดีขึ้น

     ขอให้เราเข้าใจในธรรมชาติหน่อยก็แล้วกัน...จะขอยกตัวอย่างประเทศหนึ่งซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมหนักกว่าเรา (เจตนาให้มองเพื่อสร้างกำลังใจ) เพื่อให้มองภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นั่นคือ...
 

น้ำท่วมในบังกลาเทศ

ชาวบังกลาเทศ ใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางปัญหาน้ำท่วม

     “บังกลาเทศ” ประเทศทางเอเชียใต้ ทางตะวันออกของอินเดีย เป็นพื้นที่ที่ไม่ใหญ่ มีอาณาบริเวณ 140,000 กว่าตารางกิโลเมตร เป็นประเทศเล็กๆ (เล็กกว่าไทยถึง 3 เท่า) แต่มีประชากรถึง 170 ล้านคน
 

ทุ่งนาสีทอง

ในดีมีเสีย..ในเสียมีดี   ทุ่งนาสีทองผลผลิตหลังน้ำท่วม

      ซึ่งวิถีชีวิตของชาวบังกลาเทศคือ ปลูกข้าวเลี้ยงประชากร เนื่องจากพื้นที่ของประเทศดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำคงคากับแม่น้ำพรหมบุตร แต่ก็มีน้ำท่วมทุกปี พายุไซโคลนก็เข้าบ่อย...
 
     ในช่วงที่น้ำท่วมนั่นเอง น้ำก็พาปุ๋ยมาด้วย พื้นที่บริเวณนั้นจึงเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ตลอดทั้งปี..ในเสียก็มีดี หากรู้จักใช้ประโยชน์ของธรรมชาติได้

     ลองนึกดูว่า ถ้าหากไม่มีน้ำท่วมในบังกลาเทศ อยู่อย่างปกติสุข ผลคือประชาชนอยู่อย่างอดอยาก ทุกอย่างมันมีข้อดีข้อเสียในตัวเอง ให้เราเข้าใจและปรับเอาข้อดีมาใช้ ขณะเดียวกันก็ปรับตัวเองให้เข้ากับธรรมชาติได้จะดีทีเดียว

แต่ ณ ตอนนี้ของไทยเราจะทำอย่างไรเพื่อจะรับมือกับ ภาวะน้ำท่วมหนักครั้งนี้ได้ !

...ปัจจุบัน เราได้มีสิ่งปลูกสร้างมาก ซึ่งเป็นการขวางทางน้ำ ประกอบกับเมื่อน้ำบ่ามาก็ท่วมขัง ไม่สามารถไหลได้อย่างคล่องตัว...
    
    แต่ก็ไม่มีอะไรจะสุดโต่งตลอดสาย เราสามารถปรับได้ หากพื้นที่บ้านเราต้องท่วมบ่อยๆ เราก็สามารถปรับสิ่งปลูกสร้างให้เข้ากัน และฤดูการเก็บเกี่ยวก็พยายามทำให้สอดคล้องกัน ก่อนน้ำจะมาให้เกี่ยวข้าวให้เสร็จเรียบร้อยและลงตัวก่อน

     อีกทางหนึ่ง หากจะต้องปรับสภาวธรรมชาติให้เข้ากับเรา หลักการใหญ่มีอยู่ 3 อย่างคือ

1. วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เราจะต้องแก้ปัญหาระยะยาวแบบบูรณาการ เช่นมานั่งศึกษาถึงเส้นทางการไหลผ่านของน้ำ ว่ามาทางไหน แล้วไปทางไหนได้บ้าง เราจะควบคุมทิศทางได้อย่างไร ถ้าหากดูอย่างเป็นระบบ เราจะต้องแก้ปัญหาระยะยาวแบบบูรณาการ
 
2. สื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจว่า มันมีเหตุ มีผลที่มาที่ไปอย่างไร ไม่เช่นนั้นการแก้ปัญหาจะไปกระทบกับคนอีกส่วนหนึ่ง พอจะทำเขื่อนก็มีคนคัดค้าน พอจะขุดคลองระบายน้ำก็มีคนขวาง สุดท้ายทำอะไรไม่ได้เลย ในภาวะเช่นนี้จำเป็นต้องมีการ "เสียสละ" เพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้าง
 
3. ขอความเห็น จากหลายๆ ส่วนงาน โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เช่นผ่านทาง Social เน็ทเวิร์ค (เช่น Facebook) แล้วถ้าหากมีการแชร์ความรู้กันจนกระทั่งตกผลึก สรุปและนำเสนอต่อผู้มีอำนาจช่วยกันขับเคลื่อน เพราะคนเดียวอาจจะคิดได้ไม่หมด เพราะฉะนั้นคนทุกคนมีส่วนในการ “ช่วยกันแก้ปัญหาและรับผิดชอบร่วมกัน” เราจะไม่ผลักภาระให้ใคร

"...ที่สุดแล้ว "เราทุกคน" จะผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้ด้วยดี..."
 
.....ทุ่มเทสติปัญญาแรงกายแรงใจช่วยกันแก้ปัญหา ผลแห่งความพากเพียรพยายามที่เราได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจลงไป

     เจอเรื่องร้ายๆ มา ไม่ต้องไปหวือหวา คร่ำครวญ เศร้าโศกเสียใจ ตั้งใจตั้งหลักของเราเองได้ ในขณะเดียวกันให้หาทางแก้ไขด้วยกำลังกาย กำลังใจ สติปัญญาของทุกๆ คน สุดท้ายก็จะแก้ได้

อย่างเรื่องข้าวในนาที่เสียหายนั้น...จะแก้ไขอย่างไร 

เกี่ยวข้าว

ในเรื่องนี้..พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร  นายทหารนักพัฒนา
 ท่านเคยเจอปัญหาเหล่านี้และหาทางแก้ไขได้ว่า...
 

น้ำจุลินทรีย์ EM

จุลินทรีย์ EM แก้ปัญหาข้าวตายเพราะน้ำท่วม ได้ผลผลิตกลับมา 80%
 
...ข้าวเมื่อน้ำท่วมจะเน่าเสียหมด เมื่อน้ำลดข้าวก็จะเหลือแต่ตอเน่าๆ ให้แก้ปัญหาโดย ให้ตัดตอ ให้ฉีดจุลินทรีย์ EM ลงไป ปรากฏว่าข้าวมันจะค่อยๆ แทงยอดใหม่ขึ้นมา ซึ่งเดิมก็มีรากอยู่แล้ว ไม่ต้องรอถึง 3-4 เดือน แต่จะโตภายใน 1 เดือน เนื่องจากรากมันแข็งแรงอยู่แล้ว...
 
 เราก็จะได้ข้าวกลับมาถึง 80% ของข้าวปกติ นั่นแปลว่ายังดีกว่าต้องเสียหายทั้งหมด...
 
แล้ว..ก็ต้องขยายผลต่อ...
จุลินทรีย์จะหาได้ที่ไหน?
จัดอบรมต่อ วิธีทำจะต้องทำอย่างไร?

หลังจากน้ำลดนี้เราก็เริ่มฟื้นฟูกัน...เมื่อได้ยินอย่างนี้ทุกคนก็จะเริ่มยิ้มออก กันแล้ว
 
 
ฝากข้อคิดสำหรับผู้ที่กำลังประสบอุทกภัยขณะนี้...

ปัญหาทุกปัญหามีทางออกเสมอ...

ให้ถามตัวเองว่า “กลุ้มไปแล้วได้ประโยชน์อะไรไหม” มีแต่ทุกข์ใช่ไหม..

 แล้วเรื่องอะไรจะต้องมาเพิ่มความทุกข์ให้ตัวเอง

รับรู้สภาพความเป็นจริงอย่างมีสติ !
 

     ตั้งโจทย์อย่างเดียวว่า เราจะทำอะไร จะแก้ปัญหาอย่างไร บางเรื่องก็ต้อง “เสียสละ” บ้างเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

     เสียสละ กำลังกาย กำลังใจ เรี่ยวแรง แม้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ  ก็ไม่สำคัญเพียงน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ ให้กัน ในภาวะวิกฤตเช่นนี้เพียงน้ำใจเล็กๆ ก็เป็นเสมือนขุมพลังทรัพย์แห่งกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ให้มวลมนุษยชาติแล้ว เช่น สละพื้นที่ของตัวเองเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นทางไหลผ่านของน้ำเพื่อแก้ปัญหาส่วนรวม...

....ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้คือ ถ้าจะรักษาเมือง ก็ต้องทำเขื่อนล้อมตัวเมือง ถึงคราวน้ำจะเข้าเมื่อก็อพยพชาวบ้านเข้ามาอยู่ในเมืองแล้วก็ให้เขื่อนเป็นกำแพงกั้นน้ำไว้ห้ามเข้าเมือง 

ทิ้งทุกอย่างปล่อยวางทุกสิ่งนิ่งอย่างเดียว

...สถานการณ์ อาจทำให้ใจเราหวั่นไหวบ้าง แต่ ทุกข์สุข จริงๆ อยู่ที่ใจ...
  
...แล้งก็อยู่ได้...หน้าน้ำก็อยู่ได้...ขอให้เรา เข้าใจธรรมชาติ เท่านั้นเอง เราจะพบว่าไม่มีทางตัน ทุกอย่างมีทางออกเสมอ...ต้องผ่านพ้นได้ด้วยดีแน่นอน
 
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอน้ำมาก ยากนาน
ชมวิดีโอน้ำมาก ยากนาน  MP3 ธรรมะน้ำมาก ยากนาน   Download ธรรมะน้ำมาก ยากนาน
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

ข้อคิด รอบตัว
รายการธรรมะข้อคิดรอบตัว โดย พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ได้จับมุมมองแง่คิดข้อคิดดีๆ และวิเคราะห์เจาะลึกด้วยหลักธรรมะของพระพุทธเจ้า
 
 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับวิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
สัตว์เลี้ยง คนเลี้ยงสัตว์เลี้ยง คนเลี้ยง

วันพ่อแห่งชาติ-ประกวดกลอนวันพ่อ เรียงความวันพ่อ รูปวันพ่อ และคลิปวิดีโอวันพ่อวันพ่อแห่งชาติ-ประกวดกลอนวันพ่อ เรียงความวันพ่อ รูปวันพ่อ และคลิปวิดีโอวันพ่อ

หนังสือสมบัติผู้ดี สมบัติที่ดีนี้มาจากไหนหนังสือสมบัติผู้ดี สมบัติที่ดีนี้มาจากไหน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ