คำถามยอดฮิตเรื่องน้ำท่วม ที่คุณสามารถตอบได้ด้วยตัวเอง ง่ายๆ


[ 28 ต.ค. 2554 ] - [ 18284 ] LINE it!

รู้ สู้! Flood


3 คำถามยอดฮิตในสภาวะน้ำท่วม
"บ้านเราน้ำจะท่วมไหม ท่วมสูงเท่าไหร่ และท่วมนานแค่ไหน"

     ตอนที่ 2 ประเมินสถานการณ์คร่าวๆ ด้วยตัวเอง สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้หลายๆ คนสงสัยว่าจะเอาตัวรอดได้ไหม  เมื่อพยายามค้นหาคำตอบก็พบว่า มีข้อมูลมากมายจนจับต้นชนปลายไม่ถูก ปัญหาคือ เราไม่รู้ว่าข้อมูลไหนบ้างที่จำเป็นต่อการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม


รับข้อมูลข่าวน้ำท่วม

    
ข้อมูลหลายอย่างอาจฟังดูยากในช่วงแรก แต่ถ้าเราค่อยๆ ทำความรู้จักมัน ความไม่่รู้และความกังวลจะค่อยๆ หายไป วันนี้เราจะตอบ 3 คำถามสำคัญ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถประเมินสถานการณ์น้ำท่วมอย่างคร่าวๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอคำตอบจากใคร เพื่อที่คุณจะได้เตรียมพร้อม และหลีกเลี่ยงการเป็นผู้ประสบภัยแม้ในยามน้ำท่วม


กังวลน้ำท่วมบ้าน


คำถามที่ 1  บ้านเราจะท่วมไหม ?


     คำถามแรกซึ่งกวนใจตลอดวัน กลางวันไม่เป็นอันทำงาน กลางคืนก็นอนหลับไม่ลง อย่างแรกที่คุณจำเป็นต้องรู้คือ

จุดยุทธศาตร์บ้านเพื่อพิชิตน้ำท่วม

     จุดยุทธศาสตร์ของตัวเอง รู้จักเขตที่บ้านคุณอยู่ ดูว่าอยู่จุดไหนของแผนที่ รวมถึงจดจำเขตใกล้เคียง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลได้เวลาฟังข่าวตามสื่อต่างๆ

ทิศทางการระบายน้ำ

      ต้องรู้ทิศทางการระบายน้ำออกสู่ทะเล ว่าผ่านใกล้บ้านคุณหรือไม่ ? รู้จักจุดเสี่ยงที่สำคัญ ณ ขณะนั้น เช่น ระยะห่างบ้านคุณกับคันกั้นน้ำที่กำลังกั้นมวลน้ำอยู่ รู้จักคลองสายหลักใกล้บ้าน เพราะคลองเป็นเส้นทางหลักที่น้ำจะใช้เดินทางมา  เพราะบ้านที่อยู่ใกล้คลองมีความเสี่ยงที่จะมีน้ำท่วมเป็นอันดับแรกๆ  เป็นต้น

รับข่าวน้ำท่วมอย่างผู้รู้

     ถ้าเรารู้จักเขตบ้านตัวเองมากขึ้น เมื่อเราฟังรายงานข่าว เราจะไม่สับสนกับข้อมูลข่าวที่เกินความจำเป็น ทำให้ประเมินความเสี่ยงได้ด้วยตัวเองคร่าวๆ เพื่อเตรียมรับมือต่อไป


คำถามที่ 2  ถ้าท่วม จะท่วมสูงเท่าไหร่ ?

น้ำจะท่วมบ้านสูงแค่ไหน

     เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าภูมิประเทศของแต่ละจังหวัด ไม่ได้ราบเรียบเท่ากันทั้งหมด  และมีความสูงต่ำไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ สมมุติรัฐบาลประกาศว่า น้ำจะท่วมเขตเสลดเป็ด 1 เมตร บ้าน A บ้าน B อยู่ในเขตเดียวกัน ความสูงของบ้านไม่เท่ากัน อาจเกิดความสับสนได้ว่า 1 เมตรของบ้านใคร


ระดับน้ำทะเลปานกลาง

     นั่นเป็นเหตุให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์น้ำ เป็นระดับน้ำที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อที่แต่ละบ้านจะได้ประเมินสถานการณ์บ้านของตัวเองได้อย่างใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

 
ความสูงจากระดับน้ำทะเลของแต่ละบ้านไม่เท่ากัน

     อย่าเพิ่งกุมหัวว่าศัพท์เทคนิคเหล่านี้ยากเกินเข้าใจ เพียงแค่เราเช็คความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางของบ้านเราเอาไว้ เราก็สามารถคิดกันได้ง่ายๆ  ด้วยการนำเอาตัวเลขที่รัฐบาลประกาศว่า น้ำจะท่วมสูงเท่าไหร่ ลบออกด้วย ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางของเขตบ้าน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ปริมาณน้ำที่จะท่วมจริงๆ


ปริมาณน้ำที่จะท่วมจริง

     สมมุติรัฐบาลประกาศว่า น้ำจะท่วม 2 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถ้าเขตบ้านของคุณสูง 1.7 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในความเป็นจริงแล้ว จะท่วมประมาณ 30 เซนติเมตร ดังนั้น เมื่อได้ยินว่า น้ำท่วม 2 เมตร ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมิดหลังคาบ้าน เพราะที่จริงมันแค่ประมาณครึ่งแข้งเท่านั้นเอง


คำถามที่ 3  ถ้าท่วม จะท่วมนานแค่ไหน ?


น้ำจะท่วมนานแค่ไหน

     คำถามนี้ดูจะตอบยากที่สุด เพราะขึ้นอยู๋กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ถึงอย่างไรก็สามารถประเมินคร่าวๆ ได้ สิ่งที่คุณต้องศึกษาคือ สภาพโดยรอบของเขตบ้านคุณ ตามธรรมชาติแล้ว น้ำจะไหลจากเหนือลงสู่ใต้ เพื่อระบายออกอ่าวไทย แต่บางพื้นที่ไม่เป็นเช่นนั้น เช่น เขต A อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1 เมตร น้ำจะไหลจากเขต A ลงใต้ไปยัง เขต B สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2 เมตร เราเรียกลักษณะของเขต A ว่าเป็นพื้นที่แอ่งกะทะ ซึ่งมี ผลให้การระบายน้ำ เป็นไปได้ยากกว่า


ความสูงของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน

    เขต C ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1 เมตรเท่ากัน แต่เขต D ซึ่งอยู่ทางใต้ของเขต C สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางแค่ 0.8 เมตร น้ำจะสามารถระบายผ่านได้ดีกว่า แต่ก็ยังไม่ใช่ทุกกรณีที่จะเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการระบายน้ำเป็นอีกปัจจัย


 เส้นทางการระบายน้ำ

     เส้นทางการระบายน้ำสามารถชี้วัดความยาวนานของน้ำท่วมได้ พื้นที่ซึ่งใกล้จุดระบายน้ำหลัก น้ำจะท่วมยาวนานกว่าพื้นที่ที่เป็นทางผ่าน  คิดง่ายๆ ว่า น้ำจากรอบด้านจะต้องไหลผ่านมาในเขตบ้านเรา นั่นแปลว่าตราบใดที่น้ำยังระบายไม่หมด เราจะยังเป็นพื้นที่รับน้ำสุดท้ายก่อนที่น้ำจะพ้นเราไป


ไม่มีใครรู้จักบ้านคุณดี เท่าตัวคุณเอง

     เราได้รวบรวมลิงค์ที่จำเป็นไว้ให้ลองศึกษาและนำไปปรับใช้กัน ไม่มีใครรู้จักบ้านคุณดี เท่าตัวคุณเอง 


เตรียมตัวรับมือเมื่อน้ำท่วมบ้าน

    
เมื่อเราประเมินสถานการณ์น้ำท่วมด้วยตัวคุณเองได้แล้ว ในตอนหน้า สำหรับใครที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยง มาลงรายละเอียดกันว่า จะเริ่มต้นรับมือน้ำท่วมได้อย่างไร



 คลิปน้ำท่วม 3 คำถามยอดฮิต
บ้านเราจะท่วมไหม ? ถ้าท่วม จะท่วมสูงเท่าไหร่ ? และ ถ้าท่วม จะท่วมนานแค่ไหน ?


 
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 
รวม Link ประกอบคลิป รู้สู้ flood ep.2 : 3 คำถามยอดฮิต

- แผนที่เช็คจุดน้ำท่วม http://203.150.230.27/FloodMap/
- แผนที่วัดระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางของพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จากกรุงเทพธุรกิจ

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20111022/415291/เปิดแผนที่ศปภ.!กทม.เขตไหนสูง-ต่ำเช็คสภาพระดับน้ำท่วม.html#picture

- แผนที่วัดระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางของพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จากกรมแผนที่ทหาร
http://thinkofliving.com/2011/10/17/แผนที่กรุงเทพมหานคร/

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

กลุ่ม "รู้ สู้! flood" คือ กลุ่มอาสาสมัครทำสื่อวิดีโอสร้างสรรค์ ในรูปแบบ Infographic เข้าใจง่าย ไม่ชวนให้งงเอ๋อ
เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นซึ่งประชาชนควรรู้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะน้ำท่วมอย่างมีสติและเข้าใจ



ลิงค์บทความรู้สู้น้ำท่วม
(รู้ สู้! Flood) ทั้งหมด


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

ควรทำอย่างไรเมื่อได้รับการเตือนภัยน้ำท่วมจากหน่วยงานควรทำอย่างไรเมื่อได้รับการเตือนภัยน้ำท่วมจากหน่วยงาน

คู่มือน้ำสะอาดฉุกเฉินทำง่ายๆด้วยตัวคุณเองคู่มือน้ำสะอาดฉุกเฉินทำง่ายๆด้วยตัวคุณเอง



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว