กู้ถนนทะลวงชีพจรหัวใจที่อุดตันของประเทศไทย


[ 4 พ.ย. 2554 ] - [ 18255 ] LINE it!

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
กู้ถนนทะลวงชีพจรหัวใจที่อุดตันของประเทศไทย
 
 
 
 
กู้ถนนทะลวงชีพจรหัวใจที่อุดตันของประเทศไทย
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
 
        ขณะนี้การแก้ไขปัญหาอุทกภัยของชาววัดพระธรรมกาย ร่วมกับชาวอำเภอคลองหลวง และหน่วยงานทางราชการ นอกจากการป้องกันรักษาทำนบคลองระพีพัฒน์ และการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยที่ยังคงทำอย่างเข้มแข็งแล้ว ได้เข้าสู่ระยะฟื้นฟู โดยเพิ่มน้ำหนักให้กับการให้ความร่วมมือกับทางราชการ กู้ถนนเส้นทางสัญจรหลักสายต่างๆ เพราะจังหวัดปทุมธานี โดยเฉพาะอำเภอคลองหลวง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เส้นทางหลักของสายเหนือและอีสาน เช่น ถนนพหลโยธิน, ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันนอก) ล้วนผ่านอำเภอคลองหลวงทั้งสิ้น การที่ถนนพหลโยธินขาออก และถนนวงแหวนตะวันออกมีน้ำท่วมขังจนการสัญจรไปมาไม่สามารถทำได้ ก็เปรียบเหมือนกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นหัวใจของประเทศเกิดอาการเส้นเลือดอุดตัน การเดินทางสัญจรของผู้คน, การขนส่งสินค้า, การลำเลียงความช่วยเหลือต่างๆไปสู่ผู้ประสบอุทกภัย เกิดการสะดุดไปหมด วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมและทางรัฐบาล กู้ถนนสายหลักสายต่างๆให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ดังนี้
 
1. ถนนดอนเมืองโทลเวย์ ขาออกลงถนนพหลโยธิน
 
        เนื่องจากถนนวิภาวดี-รังสิต และถนนพหลโยธิน ช่วงดอนเมือง, รังสิต น้ำท่วมสูงมาก เส้นทางหลักสายเหนือของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ จึงเหลือเพียงเส้นทางเดียว คือ ถนนดอนเมืองโทลเวย์มาลงถนนพหลโยธิน ทางราชการพยายามกู้ให้เส้นทางในช่วงนี้ใช้ได้ โดยใช้หินคลุกเทลงบนช่องรอยต่อของทางลงถนนดอนเมืองโทลเวย์จรดกับถนนพหลโยธิน เพื่อให้พ้นช่วงน้ำท่วมสูง เป็นระยะทางยาวประมาณ 300 เมตร ซึ่งหลังจากลองเปิดทางให้ใช้ดูก็พบว่า รถยนต์พอที่จะวิ่งได้ แต่มีปัญหา คือ บริเวณจุดเชื่อมต่อของทางลงจรดพื้นถนนทางราบ น้ำหนักรถที่กดกระแทกลงทำให้หินคลุกเกิดอาการยวบยาบ วัดพระธรรมกายจึงให้ความร่วมมือกับทางราชการ นำแผ่นเหล็กหนาที่มีความแข็งแข็งแรง วางทับลงบนถนนหินคลุกช่วงนี้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยทำให้เส้นทางตรงจุดนี้มีความแข็งแรงมากขึ้น
 
        ปัญหาถัดมา คือ เส้นทางการจารจรด้านข้างยังมีน้ำท่วมอยู่ เมื่อมีรถขนาดใหญ่วิ่งผ่าน คลื่นน้ำจึงมากระแทกกัดเซาะทางหินคลุกในช่วงนี้ ทางราชการได้พยายามแก้ไข โดยนำแบริเออร์ซึ่งเป็นแท่งปูนซีเมนต์สูง 1.1 เมตร ยาว 3 เมตร ของกรมทางหลวง มาวางเรียงต่อกันเพื่อป้องกันคลื่นน้ำ แต่ก็มีแบริเออร์ไม่เพียงพอ วัดพระธรรมกายจึงสนับสนุนถุงทรายขนาดยักษ์ หรือที่เรียกกันว่า “บิ๊กแบ็ก” ( Big Bag)  นำไปวางเรียงต่อๆกันเพื่อกันคลื่นน้ำ และทางราชการยังได้ใช้ปูนซีเมนต์โรยบนทางหินคลุกอีกชั้นหนึ่ง เมื่อปูนซีเมนต์แข็งตัว เส้นทางในจุดนี้จึงแข็งแรงคล้ายทางคอนกรีต ถือว่าชีพจรหัวใจของประเทศที่อุดตัน ได้ถูกทะลวงผ่านแล้วอีก 1 เส้น ซึ่งทุกอย่างจะเสร็จบริบูรณ์ภายในคืนนี้ (วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2554)
 
2. ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันออก)
 
        วัดพระธรรมกายได้ร่วมกับกระทรวงคมนาคม สร้างเส้นทางพิเศษเชื่อมต่อระหว่างถนนบางขันธ์-คลองหลวง (ช่วงที่เลยคลองสี่ไป) ให้สามารถเลี้ยวขึ้นถนนกาญจนาภิเษกได้โดยตรง หลีกเลี่ยงทางคู่ขนานซึ่งมีน้ำท่วมสูง โดยใช้ท่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.80 เมตร วางบนคูน้ำ เพื่อเปิดทางระบายน้ำ แล้วใช้หินคลุกถมทำถนน บดอัดอย่างแข็งแรง แล้วปิดทับด้วยแผ่นเหล็กหนาเชื่อมติดกันอีกชั้นหนึ่ง ถือว่ามีความแข็งแรงมาก งานคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว จะเสร็จเรียบร้อยพร้อมเปิดใช้งานในคืนนี้ (วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2554) โดยใช้เวลาดำเนินการทั้งหมดเพียง 36 ชั่วโมง เมื่อขึ้นทางมอเตอร์เวย์ (วงแหวนตะวันออก) ถนนแห้งตลอดสาย ไปลงถนนพหลโยธินที่วังน้อย มุ่งสู่สายเหนือ, สายอีสานได้อย่างสบาย ชีพจรหัวใจของประเทศไทยที่ตีบตัน ก็ถูกทะลวงผ่านไปอีก 1 เส้น
 
3. ทางขึ้นถนนต่างระดับที่บางขันธ์ จากถนนพหลโยธินเข้าสู่ถนนบางขันธ์-คลองหลวง
 
         ก่อนหน้านี้ เส้นทางสายนี้มีน้ำท่วมสูง ขณะนี้ได้สร้างคันกั้นน้ำ และสูบน้ำออกเรียบร้อยแล้ว รถยนต์สามารถวิ่งจากเส้นทางการจารจรแนวกลางของถนนพหลโยธิน ลัดเข้าทางต่างระดับได้เลย
 
4. ถนนบางขันธ์-คลองหลวง ช่วงคลองหนึ่งถึงก่อนทางเข้าตลาดไท
 
         ก่อนหน้านี้ เส้นทางสายนี้มีน้ำท่วมสูง ขณะนี้ได้สร้างคันกั้นน้ำ และสูบน้ำออกเรียบร้อยแล้ว รถทุกชนิดสามารถสัญจรไปมาได้
 
5. ถนนสีขาว
 
        ก่อนหน้านี้ เส้นทางสายนี้มีน้ำท่วมสูง ขณะนี้ได้สร้างคันกั้นน้ำ และสูบน้ำออกเรียบร้อยแล้ว รถทุกชนิดสามารถสัญจรไปมาได้
 
        จะเห็นได้ว่า เส้นทางหลักเกือบทุกสายรอบวัดพระธรรมกายเริ่มใช้งานได้ และสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น กฐินในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 รถบัส, รถทัวร์, รถปิคอัพ จากทุกภาคของประเทศ สามารถเดินทางมาวัดพระธรรมกายได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ขอให้หลีกเลี่ยงรถเก๋ง สอบถามเส้นทางได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-831-1000 หรือ 02-831-1234
 
        “กฐินวัดพระธรรมกาย ไม่มีการเลื่อน เพราะการทอดกฐินจะต้องทำในช่วง 1 เดือนหลังออกพรรษาเท่านั้น ตามพระวินัยบรมพุทธานุญาต วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์วันสุดท้ายก่อนหมดเทศกาลกฐิน จึงไม่สามารถเลื่อนได้ และอุทกภัยในครั้งนี้ก็ไม่สามารถขวางการสร้างบารมีของยอดนักสร้างบารมีหัวใจพระโพธิสัตว์ทุกท่านได้”
 
 
รับชมวีดีโอ
เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม-มาวัดพระธรรมกาย


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้แต่งกายเป็นมหาอุบาสิกาวิสาขา กฐินธรรมชัย พ.ศ.2554ผู้แต่งกายเป็นมหาอุบาสิกาวิสาขา กฐินธรรมชัย พ.ศ.2554

กฐินธรรมชัย พ.ศ.2554 ณ วัดพระธรรมกายกฐินธรรมชัย พ.ศ.2554 ณ วัดพระธรรมกาย

มหัศจรรย์วันกฐินธรรมชัยมหัศจรรย์วันกฐินธรรมชัย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน