เครื่องจองจำ


[ 13 ต.ค. 2555 ] - [ 18263 ] LINE it!

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
ณ ป่าประดู่ลาย
 
 
คนดี
 

     นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด จะชื่อว่าเป็นคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่ ส่วนผู้ใดตัดโทสชาต มีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้รากขาด ผู้นั้นให้รากขาด ผู้นั้นมีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่าคนดี
 
เรื่อง ภิกษุมากรูป เล่ม 43 หน้า 80

สมณะ

     ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะเพระาศีรษะโล้น ผู้ประกอบด้วยความอยากและความโลภ จะเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วยผู้ใด ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบโดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่วว่า "เป็นสมณะ" เพราะยังบาปให้สงบแล้ว
 
เรื่องภิกษุชื่ออหัตถกะ เล่ม 43 หน้า 83


ทานนั้น ปราชญ์สรรเสริญโดยมากอย่างแน่นอน
แต่บทแห่งธรรม ก็ยังประเสริฐกว่าทาน
เพราะว่าสัตบุรุษผู้มีปัญญาทั้งหลายในครั้งก่อน
หรือก่อนกว่านั้นอีก เจริญสมถวิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระนิพพาน
 
ขุททกนิกาย ชาดก

เครื่องจองจำ

     เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้และเกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากกล่าวเครื่องจองจำนั้นว่าเป็นของมั่งคงไม่ ความกำหนัดใดของชนทั้งหลายผู้กำหนัดยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและตุ้มหุทั้งหลาย และความเยื่ยใยในบุตร และในภรรยาทั้งหลายใด นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง มีปกติเหนี่ยวลง อันหย่อน (แต่) เปลื้องได้โดยยากนักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั่นแล้ว เป็นผู้ไม่มีไยดี ละกามสุขแล้วบวช
 
เรื่อง เรือนจำ เล่ม 43 หน้า 296

 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
กระแสตัณหากระแสตัณหา

บุรพกรรมของพระพุทธองค์ # 1บุรพกรรมของพระพุทธองค์ # 1

บุรพกรรมของพระพุทธองค์ # 2บุรพกรรมของพระพุทธองค์ # 2



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก