ผู้ชนะความโกรธ


[ 22 ต.ค. 2555 ] - [ 18261 ] LINE it!

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
ณ ป่าประดู่ลาย 
 

 
ผู้ชนะความโกรธ
(พระผู้มีพระภาค ตรัสกับอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ ผู้โกรธ ด่า บริภาษพระองค์)
 
 
 
         ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา
 
อักโกสกสูตร เล่ม 45 หน้า 80


คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
 
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้แม้ถูกขับไล่ ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ

1. ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ
2. เป็นที่เคารพ
3. เป็นผู้ควรสรรเสริญ
4. เป็นผู้ฉลาดพูด
5. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
6. พูดถ้อยคำลึกซึ้ง
7. ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี

ทุติยสขาสูตร เล่ม 37 หน้า 93
 


มิตรที่น่าคบ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงคบมิตรผู้ประกอบด้วยองค์ 7 ประการ คือ
1. มิตรผู้ให้ของที่ให้ได้ยาก
2. รับทำกิจที่ทำได้ยาก
3. อดทนถ้อยคำที่อดใจได้ยาก
4. บอกความลับของตนแก่เพื่อน
5. ปิดความลับของเพื่อน
6. ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
7. https://images.dmc.tv/www/404.jpg

ปฐมสขาสูตร เล่ม 37 หน้า 91
 

ความต่างของผู้ให้กับผู้ตระหนี่

         สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า 2 คน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนที่สองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ อธิปไตย ที่เป็นทิพย์ ผู้ให้เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย ที่เป็นมนุษย์ คนที่ให้เป็นนรรพชิต ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ

1. เมื่อออกปากขอย่อมได้จีสรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
2. เมื่อออกปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
3. เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
4. เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขารคือยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
5. จะอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์ เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย
 
สุมนสูตร เล่ม 36 หน้า 60


 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้ให้คือผู้ชนะผู้ให้คือผู้ชนะ

ทานของสัตบุรุษทานของสัตบุรุษ

ความต้องการของคน 6 ประเภทความต้องการของคน 6 ประเภท



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก