ตอแห่งวัฏฏะ


[ 3 ม.ค. 2556 ] - [ 18274 ] LINE it!

ตอแห่งวัฏฏะ
 
 
 
     การตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นทางมาแห่งมหากุศล ยิ่งถ้าเรานำ ใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายภายใน เราจะเข้าถึงแหล่งแห่ง บุญกุศลที่แท้จริง เป็นท่อธารบุญที่หลั่งไหลมาจากอายตนนิพพาน ใจเราจะแช่อิ่มอยู่ในบุญ เหมือนอยู่ ในอู่แห่งทะเลบุญ โดยเฉพาะเมื่อใจอยู่กับบุญตลอดเวลา อย่างไรก็ดี การมาบังเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก ยิ่งนัก ใครที่เกิดมาแล้ว ตั้งใจสั่งสมบุญบารมีทุกลมหายใจ ชีวิตของผู้นั้นจะเป็นชีวิตที่มีคุณค่า เป็น ชีวิตที่มุ่งตรงไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตที่สมบูรณ์ คือ การเข้าสู่อายตน นิพพาน
 
มีวาระพระบาลีใน เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า
 
“นาหํ ภิกฺขเว อญฺํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ
ยํ เอวํ มหาสาวชฺชํ ยถยิทํ ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฐิ
มิจฺฉาทิฏฐิปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ
 
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมแม้สักอย่างหนึ่งที่จะมีโทษมาก เหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”
 
     มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด ความเห็นที่ไม่ตรงกับ ความเป็นจริง เช่น เห็นว่าแม้ผู้ใดทำบาป บาปนั้นก็ไม่ส่งผลแต่อย่างใด เป็นของสูญเปล่า บุญบาปไม่มี หรือมีความเห็นว่า เหตุหรือปัจจัยที่ทำให้สัตว์เศร้าหมองหรือผ่องใสนั้นก็ไม่มีเช่นกัน สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีการประกอบเหตุ ไม่มีปัจจัย จะบริสุทธิ์ก็บริสุทธิ์เอง จะเศร้าหมองก็เศร้าหมองเอง โดยไม่ต้องทำ สิ่งใด บางพวกมีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดมา ต่างมีชีวิตเพียงแค่ชาติเดียว ตายไปแล้วสูญ ไม่ต้องเกิดอีก ความเห็นเช่นนี้ พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ
 
     ความเห็นผิดนี้ มีโทษมากยิ่งกว่าอนันตริยกรรม ซึ่ง หากผู้ใดไปพลั้งเผลอทำอนันตริยกรรม จะห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตายไปแล้วต้องตกอเวจีมหานรก ทุกข์ทรมานแสนสาหัส อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท คือ ทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน ทั้ง ๕ อย่างนี้จัดเป็นครุกรรมหรือกรรมหนัก ท่านกล่าวว่าทำ ให้สัตว์ผู้กระทำตกนรกอเวจีนานถึง ๑ กัป ฉะนั้นอนันต ริยกรรมยังมีกำหนดเวลารับโทษ จุดสิ้นสุดยังมีปรากฏ คือเมื่อชดใช้กรรมหมดก็ยังมีโอกาสกลับมา เกิดเป็นมนุษย์สั่งสมบารมีได้อีก แต่มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากกว่านั้นอีก คือ ไม่สามารถกำหนดระยะ เวลาการชดใช้กรรมได้ว่า จะสิ้นสุดเมื่อใด เมื่อละโลกไปแล้ว โลกันตนรกจะดึงดูดไป ทันที
 
     มิจฉาทิฏฐินั้นชื่อว่า เป็นตอของวัฏฏะ ตอขวางทางสวรรค์และมรรคผลนิพพาน บุคคลหรือเหล่าสัตว์ที่ประกอบด้วยมิจฉา ทิฏฐินี้ จะไม่มีโอกาสสร้างบารมี คือปิดสวรรค์ ปิดมรรคผลนิพพาน แม้ในเวลากัปพินาศไป เมื่อ สรรพสัตว์ผู้มีบุญต่างไปบังเกิดในพรหมโลก ในสถานที่ไฟ ลม น้ำ ทำลายไม่ถึง บุคคลผู้ประกอบด้วย นิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ก็ยังคงอยู่ในโลกันตนรก ชีวิตของนิยตมิจฉาทิฏฐินี้น่าสงสารมาก แม้พระสัมมา สัมพุทธเจ้าจะเป็นร้อยพระองค์ หรือเป็นพันพระองค์ ก็ไม่สามารถทำให้เขาบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้
 
     จุดกำเนิดของนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ ประเภทนี้ มีที่มาจากบุคคล ๓ คน แต่พวกเราอาจแปลกใจที่บุคคลทั้ง ๓ นั้น ทำไมจึงมีความเห็นที่แปลกๆ เช่นนั้นได้ บุคคลทั้ง ๓ คือ ปู รณกัสสปะ มักขลิโคสาล และอชิตเกสกัมพล
 
     * ปูรณ กัสสปะ แต่เดิมเกิดเป็นทาสของเศรษฐีท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นตระกูลที่ร่ำรวยมาก มี ทาสบริวารมากมาย ก่อนที่เขาจะเกิดนั้น ท่านเศรษฐีมีทาสสำหรับใช้สอยอยู่แล้วถึง ๙๘ คน ซึ่งใน สมัยนั้นถือกันว่า ถ้าทาสคนใดเกิดมาเป็นคนที่ ๙๙ ทาสผู้นั้นจะได้สิทธิพิเศษกว่าคนอื่น เพราะได้ชื่อ ว่า มงคลทาส ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อให้ว่าปูรณะ แปลว่านายเต็มผู้เป็นมงคลทาส การงานในบ้านเขาจะ ทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาบังคับ
 
     เมื่อปูรณกัสสปะ เกิดมาประสบโชคเช่นนี้ จึงกลายเป็นหนุ่มเจ้าสำราญประจำบ้าน มีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าทาสคน อื่น เสมือนลูกคนหนึ่งในครอบครัวเศรษฐี อยากจะเที่ยวจะเล่นก็ตามแต่ใจตน ไม่มีใครว่ากล่าวควบ คุมได้ เขาประพฤติเช่นนี้มาตลอด จนเกิดความเบื่อหน่ายในการเป็นนกน้อยในกรงทองของเศรษฐี อยากจะออกไปท่องเที่ยวโลกกว้าง เปิดหูเปิดตา จึงหลบหนีออกจากบ้านเศรษฐี พร้อมทรัพย์สมบัติที่ จำเป็นติดตัวไปด้วย
 
     วันหนึ่ง โชคร้ายถูก ดักปล้นระหว่างทาง โจรปล้นเอาทรัพย์ไปหมด แม้กระทั่งผ้านุ่งและผ้าห่ม เขาจึงเดินโซซัดโซเซเข้า ไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เพื่อขออาหารประทังชีวิต ชาวบ้านเห็นเข้ากลับเข้าใจผิดคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ มักน้อยสันโดษ แม้แต่ผ้านุ่งท่านก็ไม่นุ่งให้เป็นกังวล ท่านคงเป็นพระอรหันต์ที่พวกเราแสวงหาอย่าง แน่นอน จึงเชิญชวนกันมาอุปัฏฐากบำรุงผู้ที่ตนเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ ต่างชักชวนกันเอาอาหาร อันประณีตมาให้ปูรณะ ทำให้ปูรณะสำคัญผิดคิดว่า ตัวเราคงเป็นพระอรหันต์จริงๆ ยิ่งกว่านั้น ยังมี คนมาศรัทธาเลื่อมใสเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ถึงกับขอบวชกับตนถึง ๕๐๐ คน
 
     ปูรณกัสสปะสั่งสอนลูกศิษย์ว่า แม้ผู้ใดทำบาปก็ไม่ถือว่า เป็นบาป หรือแม้ใช้ให้ผู้อื่นทำบาปก็ไม่บาปอีกเช่นกัน นี้คือจุดกำเนิดของนิยตมิจฉาทิฏฐิประการแรก ที่เรียกว่า อกิริยทิฏฐิ
 
     ส่วนอีกเจ้าลัทธิหนึ่ง เกิดเป็นทาสเช่นกัน เขาคลอดจากครรภ์มารดาที่โรงเลี้ยงโคซึ่งเป็นทาสีในตระกูลหนึ่ง ชาวเมืองจึงพา กันเรียกเขาว่า โคสาล เมื่อนายโคสาลเติบโตเป็นหนุ่ม โชคไม่ดีเหมือนปูรณกัสสปะ เพราะต้องทำงาน หนักทั้งวันตามแต่เจ้านายจะสั่ง จะเกี่ยงงอนเกี่ยงงานก็ไม่ได้ ทำให้นายโคสาลเหน็ดเหนื่อยแสน สาหัส  วันหนึ่ง เจ้านายใช้ให้แบกไหน้ำมันเดินไปข้างหน้า ส่วนตัวเจ้านายเดินตามหลังมา จนกระทั่งถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทางลื่นเฉอะแฉะมาก นายบอกกับโคสาลว่า “มา ขลิ มา ขลิ” ซึ่งแปลว่า ระวังจะลื่นล้มนะ
 
     เจ้านายพูดไม่ทัน ขาดคำ นายโคสาลก็ลื่นหัวคะมำลงไป ไหน้ำมันที่แบกมาแตกกระจาย ครั้นหันมามองข้างหลัง เห็น นายกำลังเงื้อไม้จะลงโทษ จึงตัดสินใจวิ่งหนี เจ้านายก็วิ่งไล่ตามไปติดๆ เมื่อใกล้จะถึงตัว เจ้านายรีบ คว้าเสื้อของเขาไว้ แต่เขาสะบัดตัวอย่างแรงจนเสื้อผ้าหลุดลุ่ยวิ่งหนีสุดชีวิต เข้าไปหลบซ่อนอยู่ในป่า แต่สู้ความหิวไม่ไหว ต้องออกมาขออาหารกิน ชาวบ้านเห็นเข้าพากันลือไป ทำนองเดียวกับปูรณกัส สปะว่า นี่เป็นพระอรหันต์ จึงเอาข้าวปลาอาหารมาให้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เขาจึงไม่ยอมนุ่งเสื้อ ผ้าอีก และสั่งสอนลูกศิษย์ว่า สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มี ปัจจัย จะเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์ก็เป็นเอง ไม่เกี่ยวกับสิ่งใดทั้งนั้น ความเห็นเช่นนี้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ที่ชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ เจ้าของลัทธิชื่อว่า มักขลิโคสาล เพราะเพี้ยนมาจากคำว่า มา ขลิ ซึ่งแปลว่าระวัง จะลื่นล้ม จึงกลายมาเป็นมักขลิ ร่วมกับชื่อเดิมจึงกลายเป็นมักขลิโคสาล
 
     ส่วนลัทธิที่ ๓ เป็น มิจฉาทิฏฐิขั้นสุดโต่ง บุคคลผู้นี้เดิมเป็นคนธรรมดา ชื่ออชิตะ ออกบวชเป็นเดียรถีย์ นักบวชนอกพระ พุทธศาสนา มีความปรารถนาจะให้ผู้อื่นมาเคารพเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของตน แม้จะมีคนเอาผ้าดี ราคาแพงๆ มาให้ก็ไม่สนใจ กลับนุ่งห่มแต่ผ้าที่ทอด้วยเส้นผมของมนุษย์ นี่ก็แปลกอีกแบบหนึ่งไม่มี ใครเขาทำกัน ผู้คนจึงเข้าใจผิดคิดว่า นายอชิตผู้นี้เป็นพระอรหันต์ จึงตั้งชื่อว่า อชิตเกสกัมพล ศาสดาจารย์ผู้นุ่งห่มผ้าที่ทอด้วยเส้นผม มนุษย์  แนวคำสอนของอชิตเกสกัมพลมีว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลแห่งการทำ ชั่วการทำดีไม่มี โลกนี้โลกหน้าไม่มี บิดามารดาไม่มีคุณ สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี สัตว์ทั้งหลายตายแล้วย่อม ขาดสูญ เขาสั่งสอนลูกศิษย์ผิดๆ เช่นนี้ เป็นความเห็นผิดที่อันตรายมาก มิจฉาทิฏฐิ เช่นนี้เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และนิยตมิจฉาทิฏฐินี้เป็นมิจฉาทิฏฐิดิ่ง ใครมีความเชื่อเช่นนี้ ถือว่าเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล จะมีโลกันตนรกเป็นที่ไปสถานเดียวเท่านั้น
 
     ดังนั้น ผู้ไม่รู้ที่ไป หลงเชื่อผู้ไม่รู้ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง มีโอกาสผิดพลาดไปทั้งชีวิต เพราะความเห็นผิดนี้เป็นตอขวาง ทางสวรรค์ และมรรคผลนิพพาน พวกเราทุกคนต้องไม่ประมาทในชีวิต หากชีวิตที่เกิดมาที่มีความ เห็นถูก เกิดมาเพื่อสร้างบารมีเช่นนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่สุดแล้ว ขอให้ทุกคนรักษาไว้ให้ดี ด้วยการทำใจ ให้บริสุทธิ์หยุดนิ่ง สัมมาทิฏฐิก็จะบังเกิดขึ้นในใจของเราตลอดเวลา เราจะได้ไปสู่จุดหมายปลายทาง ของชีวิตอย่างถูกต้อง และปลอดภัยกันทุกคน

 
พระธรรมเทศนาโดย: พระเทพญาณมหามุนี
 
นามเดิม พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 
* มก. เล่ม ๑๑ หน้า ๓๕๒
 
 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้นำแห่งสันติภาพผู้นำแห่งสันติภาพ

อย่าขอสิ่งที่ไม่ควรขออย่าขอสิ่งที่ไม่ควรขอ

ศรัทธาพาพ้นทุกข์ศรัทธาพาพ้นทุกข์



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ธรรมะเพื่อประชาชน