อานิสงส์ของการฟังธรรม


[ 27 พ.ย. 2555 ] - [ 18278 ] LINE it!

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก 
 
อานิสงส์ของการฟังธรรม



ธัมมัสสวนสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ

      [202] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน ? คือ

    ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 1
    ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว 1
    ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ 1
    ย่อมทำความเห็นให้ตรง 1
    จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส 1
 
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้แล.
 
จบธัมมัสสวนสูตรที่ 2


                      
จากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย  พุทธศักราช 2525 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่มที่ 36 หน้าที่ 448
 
 
อนุโมทนาทานอันไพเราะที่พระพุทธเจ้า
ตรัสมามอบให้แก่ท่านทั้งหลาย


พรรณนาวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ ๑

     อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้น ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสวยเสร็จ ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว ด้วยดอกไม้และของหอม เป็นต้น อีก ถวายบังคม แล้วอยากจะฟังอนุโมทนาทาน จึงเข้าไปนั่งใกล้ ๆ


     ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงทำอนุโมทนาทานไพเราะอย่างยิ่ง จับใจของอุบาสกเหล่านั้นว่า

           ธรรมดาทาน ท่านกล่าวว่า เป็นต้นเหตุสำคัญของ สุข เป็นต้น ยังกล่าวว่า เป็นที่ตั้งแห่งบันไดทั้งหลายที่ไปสู่พระนิพพาน.

           ทานเป็นเครื่องป้องกันของมนุษย์ ทานเป็นเผ่า พันธุ์ เป็นเครื่องนำหน้า ทานเป็นคติสำคัญของสัตว์ที่ ถึงความทุกข์.

           ทาน ท่านแสดงว่าเป็นนาวา เพราะอรรถว่าเป็น เครื่องช่วยข้ามทุกข์ และทานท่านสรรเสริญว่าเป็น นคร เพราะป้องกันภัย.

           ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นอสรพิษ เพราะอรรถว่า เข้าใกล้ได้ยาก ทานเป็นดังดอกปทุม เพราะมลทิน คือ โลภะ เป็นต้น ฉาบไม่ได้.

           ที่พึ่งพาอาศัยของบุรุษ เสมอด้วยทานไม่มีในโลก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญทาน ด้วยการ ทำตามอัธยาศัย.

           นรชนคนไรเล่า ผู้มีปัญญาในโลกนี้ ผู้ยินดีใน ประโยชน์เกื้อกูล จะไม่พึงให้ทานทั้งหลาย ที่เป็นเหตุ แห่งโลกสวรรค์.

           นรชนคนไรเล่า ได้ยินว่าทานเป็นแดนเกิดสมบัติ ในเทวดาทั้งหลาย จะไม่พึงให้ทานอันให้ถึงซึ่งความสุข ทานเป็นเครื่องยังจิตให้ร่าเริง.

           นรชนบำเพ็ญทานแล้ว ก็เป็นผู้อันเทพอัปสร ห้อมล้อม อภิรมย์ในนันทวัน แหล่งสำเริงสำราญของเทวดาตลอดกาลนาน.

           ผู้ให้ ย่อมได้ปีติอันโอฬาร ย่อมประสบความ เคารพในโลกนี้ ผู้ให้ ย่อมประสบเกียรติเป็นอันมาก ผู้ให้ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไว้วางใจ.

          นรชนนั้นให้ทานแล้ว ย่อมถึงความมั่งคั่งแห่ง โภคะ และมีอายุยืน ย่อมได้ความมีเสียงไพเราะ และ รูปสวย อยู่ในวิมานทั้งหลายที่นกยูงอันน่าชื่นชมนานาชนิดร้องระงม เล่นกับเทวดาทั้งหลายในสวรรค์.

           ทาน เป็นทรัพย์ไม่ทั่วไปแก่ภัยทั้งหลาย คือ โจรภัย อริภัย ราชภัย อุทกภัย และอัคคีภัย ทานนั้น ย่อม ให้สาวกญาณภูมิ ปัจเจกพุทธภูมิ ตลอดถึงพุทธภูมิ.

จากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2525 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ พรรณนาวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ 1 เล่มที่ 73 หน้าที่ 282
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
นรก-สวรรค์นรก-สวรรค์

ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?

เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก