วัดป่างิ้ว


[ 9 ก.ย. 2556 ] - [ 18272 ] LINE it!

วัดป่างิ้ว




วัดป่างิ้ว
วัดไทย ในจังหวัดปทุมธานี
เรียบเรียงจากรายการสุไปวัดไปวา ที่ออกอากาศทางช่อง DMC


คราเจ้าตากกู้ชาติไทยได้ลุแล้ว รวมพลแจวหมู่นาวามาถึงนี่

พักทวยหารหุงข้าวทานไม่ช้าที  จากตรงนี้ตะวันรุ่งถึงกรุงธน

จึงเกิดนามพญาเมืองเป็นวัดใต้ อยู่ไม่ไกลวัดนางหยาดย่านแห่งหน

ต่อมาร้างจึงรวมไว้ทั้งใต้บน  เป็นป่างิ้วตามนุสนเล่าสืบมา

 

วัดป่างิ้ว



วัดป่างิ้ว
วัดป่างิ้ว
 
 
      อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีวัดเรียงรายอยู่สองฟากฝั่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยบรรดาชาวมอญที่หนีความวุ่นวายในพม่า  ได้พากันอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ์สมภารพระมหากษัตริย์ไทย ตั้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา วัดป่างิ้วอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา ๗ เส้น เดิมมีคลองเข้ามาสำหรับพระบิณฑบาต เรียกว่า สระโรงเรือ ปัจจุบันทางวัดยังรักษาไว้ เป็นร่องน้ำอยู่ระหว่างหอสวดมนต์กับวิหารหลวงพ่อเกศสมุทร
 
 
วัดป่างิ้ว
วัดมีเนื้อที่ ๙๐ ไร่เศษ
 
 

ประวัติวัดป่างิ้ว


    วัดป่างิ้ว มีประวัติเล่าสืบมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาปราบข้าศึกได้แล้ว  ได้พากองทหารล่องเรือมาจนถึงบ้านงิ้ว แวะหุงอาหารที่วัดแห่งหนึ่งวัดนั้นจึงได้นามว่า วัดพญาเมือง อยู่ทางคลองด้านใต้จากนั้นจึงเคลื่อนพลไปยังธนบุรีวัดป่างิ้วต่อมาได้รวม วัดพญาเมือง ทางคลองด้านใต้และ วัดนางหยาด ทางคลองด้านเหนือเข้าด้วยกันเป็น วัดป่างิ้ว ตามชื่อท้องถิ่นบ้านงิ้วทำให้วัดมีเนื้อที่ ๙๐ ไร่เศษ แยกเป็นส่วนของอาราม ๔๕ ไร่เศษ ถือเป็นวัดไทยวัดเดียวในท้องถิ่นนี้ แม้รูปแบบการก่อสร้างบางอย่างจะละม้ายไปตามความนิยมของท้องถิ่น ซึ่งเป็นชาวมอญเสียส่วนมาก
 

วัดป่างิ้ว
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
 
 
      ศาลารับแขกหรือหอสวดมนต์รูปทรงเป็นแบบทั่วไปในวัดมอญ เป็นอาศรมยกพื้นมีเสาเป็นแถวรับชายคาทั้งสองด้าน มีพระพุทธรูปประธานประดิษฐานอยู่ด้านใน สร้างเป็นห้องกระจกพร้อมพระพุทธรูปสมัยต่างๆที่มีพุทธศิลป์งามน่าชมยิ่งนัก  ด้านข้างของหอสวดมนต์ เป็นที่ตั้งของกุฏิเจ้าอาวาสและพระรูปอื่นๆ หลวงพ่อเกศสมุทรเป็นพระพุทธรูปสำคัญ เป็นที่นับถือของชาวบ้านอย่างมาก ศาลาการเปรียญอยู่ถัดจากวิหารหลวงพ่อเกศสมุทร เป็นอาคารกว้างใหญ่  ในวันพระวันสำคัญทางศาสนาจะมีชาวบ้านทั้งใกล้และไกลมาทำบุญกันเป็นจำนวนมาก


วัดป่างิ้ว
อุโบสถที่ทำการบูรณะใหม่
 
 

อุโบสถวัดป่างิ้ว

 
 
      อุโบสถตั้งอยู่เคียงกันหลังเก่าเป็นอาคารทรงไทยมีขนาดย่อมสร้างเมื่อราวร้อยปีที่แล้ว จึงมีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่อาจใช้ทำสังฆกรรมได้  แต่ทางวัดได้บูรณะไว้ในสภาพที่สวยงามน่าชม มีภาพเขียนสัตว์หิมพานต์ตามประตูหน้าต่าง เช่น กินนร กินรี การเวก นรสิงห์ เป็นต้น อุโบสถหลังใหม่ประดิษฐานตกแต่งลายกำแพงแก้ว งดงามอลังการฝีมือช่างเพชรบุรี แต่งเป็นรูปช้างหัวมังกรทำนองสัตว์หิมพานต์ ใช้กระเบื้องเบญจรงค์ตกแต่งลวดลายประกอบงามแปลกตา
 
 

วัดป่างิ้ว  
อุโบสถเป็นทรงไทยหลังคาซ้อน ๓ ชั้น ลด ๓ ชั้น
 
 
      อุโบสถมีขนาดกว้าง ๓๕ เมตร ยาว ๕๕ เมตร ทรงไทยหลังคาซ้อน ๓ ชั้น ลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้องว่าวอยู่ระหว่างตกแต่งใกล้เสร็จ  หน้าบรรณปั้นรูปพระพุทธรูปถัดลงมาเป็นภาพเทพยดาและสัตว์หิมพานต์ ภายในเขียนภาพพุทธประวัติตอนต่างๆ ฝีมืองดงามประณีต พระประธานเป็นพระพุทธโสธรองค์จำลององค์ใหญ่  ถัดมาเป็นพระพุทธมงคลรัตนศรีสามโคกและหลวงพ่อเกศสมุทรจำลอง  พระครูวิมลกิจจานุกูลเจ้าอาวาสท่านมีนิวาสสถานอยู่ที่บ้านป่างิ้วนี้ ได้ติดตามอดีตท่านเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ยังเด็ก จึงได้สืบสานปณิธานของท่านทำให้วัดป่างิ้วเจริญรุ่งเรืองสืบมา
 
 
 

รับชมวิดีโอ
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วัดของโลก เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมวัดของโลก เพื่อฟื้นฟูศีลธรรม

คำขอบวช แบบอุกาสะคำขอบวช แบบอุกาสะ

คำขอบวช แบบเอสาหังคำขอบวช แบบเอสาหัง



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา