เอดส์ โรคเอดส์ ความรู้และการป้องกันโรคเอดส์


[ 27 พ.ย. 2556 ] - [ 18276 ] LINE it!

โรคเอดส์


เอดส์ โรคเอดส์ ความรู้และการป้องกันโรคเอดส์
คุณรู้จักโรคเอดส์ดีแค่ไหน...

 


โรคเอดส์

     โรคเอดส์นั้น ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า "เหล้า" น่าจะเป็นเหตุผลอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนเกิดความผิดพลาดขึ้นมาจนติดเอดส์ วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่รองรับผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นจำนวนมาก

     สำหรับประเทศไทยในปี 2556 คาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์สะสมประมาณ 1,166,543 คน ยังมีชีวิตอยู่ 447,640 คน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 8,959 คน ประมาณ ร้อยละ 62 เป้นการติดเชื้อแบบชายรักชาย กลุ่มพนักงานบริการหญิง และกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ผู้ป่วยโรคเอดส์ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-34 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป

   สาเหตุของการติดเชื้ออันดับ 1 ร้อยละ 84.26 จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน รองลงมาร้อยละ 4.36 จากการใช้สารเสพติดแบบฉีด และร้อยละ 3.53 ติดเชื้อจากมารดา โรคเอดส์ไม่ใช่มหันตภัยหน้าใหม่สำหรับโลกในวันนี้ แต่ยังคงคุกคามระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุขัยสั้นกว่าที่ควร และที่สำคัญคือ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ปราการด่านสำคัญที่สุดก็คือ ความไม่ประมาท

โรคเอดส์คืออะไร

     โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อๆ ว่า เชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่างๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด


สายพันธุ์ของ โรคเอดส์

         เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง, เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่นๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

          ในปัจจุบันทั่วโลก พบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์  กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือในโลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น (kapook.com)

 

กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์

     เอดส์ วันเอดส์โลก
1 ธันวาคม วันต้านเอดส์โลก


      WHO จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ทั่วโลก กระทรวงสาธารณสุขปีนี้เร่งนโยบาย 'เอดส์ ลดให้เหลือศูนย์ได้' ภายใต้แนวคิด 3 ต. คือ ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา

โรคเอดส์เกิดขึ้นได้อย่างไร

     โรคเอดส์ เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ.2524 โดยการก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก และอัตราผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศตามรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2533 จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

     กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ระดับชาติสำหรับปี 2531-2534 เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเอดส์ลดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ให้มีการประสานและร่วมมือกันระหว่างองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน แต่สถานการณ์ของโรคกลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เป็นที่เข้าใจกันว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มชายรักร่วมเพศ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน และกลุ่มที่มีความสำส่อนทางเพศ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้ที่ได้รับการบริจาคเลือดหรืออวัยวะที่มีเชื้อโรคเอดส์ ทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และยังกระจายไปยังกลุ่มเยาวชน และผู้หญิงอีกด้วย

     ดังจะเห็นได้จากการรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ทั่วโลกของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ไว้ว่าในปี พ.ศ.2546 ทั่วโลกมีผู้เป็นเอดส์ทั้งสิ้น กว่า 38 ล้านคน โดยในจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเอดส์นี้ เป็นผู้ใหญ่ประมาณ 31 ล้านคน เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อีก 7 ล้านคน ในปีเดียวกันทั่วโลก มีผู้ป่วยโรคเอดส์ตายไปกว่า 3 ล้านคน อีกทั้งข้อมูลขอองยูเอ็นเอดส์ยังระบุอีกว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้หญิง เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี มากขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในเอเชียตะวันออก มีอัตราของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56 รองลงมาคือ ผู้หญิงในยุโรปตะวันออก และเอเชียกลาง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ยังไม่ป่วยเป็นโรคเอดส์) สูงถึง 39.4 ล้านคน เทียบกับเมื่อปี 2545 มีเพียง 36.6 ล้านคน และปี 2546 มีอยู่แค่ 38ล้านคน

     ปัจจุบันทวีปเอเชีย มีอัตราเพิ่มของผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก โดยในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศต้นๆที่ได้รับเชื้อเพิ่ม เฉพาะรัสเซียประเทศเดียว ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ต่ำกว่า 860,000 คน

     ในบรรดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก เกือบ 40 ล้านคน ผู้ติดเชื้อประมาณ 37 ล้านคน มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ในจำนวนนี้เป็น เพศหญิง เกือบครึ่ง โดยเฉพาะผู้หญิงทั่วโลก ที่อยู่ในวัยตั้งแต่ 15-24 ปี กลายเป็นเหยื่อเอดส์รายใหม่ เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 60 และเยาวชนหญิง วัยระหว่าง 15-19 ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ 56 มีรายงานว่า เฉพาะทวีปแอฟริกา แถบทะเลทรายซาฮารา พบการติดเชื้อเอชไอวีในผู้หญิงสูงถึง 13.3 ล้านคน

     ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อ และการป่วยเป็นโรคนี้จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกันและหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ

 

เอดส์ โรคเอดส์

โครงการรณรงค์ให้คนไทยตรวจเอดส์เป็นปกติวิสัย “ตรวจเพื่อก้าวต่อ”

     ปัจจุบันเอดส์กลายเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่รักษาได้ ต้องรับประทานยารักษาไปตลอดชีวิต แม้จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่คนที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาก็สามารถมีอายุยืนยาวได้เหมือนคนทั่วๆไป และไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สามารถเข้าถึงการรักษาได้ เพราะรัฐบาลให้คนไทยทุกคนที่ติดเชื้อรักษาได้ฟรีด้วยเงินของรัฐ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม จึงไม่ต้องกลัวว่าใครจะรู้หรือจะถูกไล่ออกจากงาน เกณฑ์การเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ถูกปรับให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรอให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีป่วยหรือรอให้ภูมิต้านทานลดต่ำลงมากๆ เพราะการเริ่มรักษาเร็วมีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพของตัวเองและต่อสังคมภายนอก ทั้งลดการส่งต่อเชื้อเอชไอวีให้ผู้อื่นและลดการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค

     อุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อความก้าวหน้าในด้านการรักษาโรคเอดส์ คือการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่มารับการรักษาในขณะที่ยังไม่ป่วยหรือในขณะที่ภูมิต้านทานยังดีอยู่ เพราะไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อเนื่องจากไม่เคยไปตรวจ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 20 ของผู้ที่ติดเชื้อไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ ในขณะที่เกือบครึ่งของคนไทยที่ติดเชื้อยังไม่รู้ตัว ดังนั้น การรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มเสี่ยง ไปรับการตรวจเลือดเอชไอวีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันแม้กับสามีหรือภรรยาของตนเอง

     “ตรวจเพื่อก้าวต่อ” เป็นโครงการรณรงค์ให้คนไทยตรวจเอดส์เป็นปกติวิสัย ซึ่งสภากาชาดไทยได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคีเครือข่ายจัดโครงการนี้ขึ้น ซึ่งได้เปิดตัวเป็นทางการโดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และท่านเลขาธิการสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 และจะเป็นโครงการที่ทุกฝ่ายจะร่วมรณรงค์ต่อไปในอีก 4 ปีข้างหน้า อันเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ทั่วโลกที่รู้จักกันมาในระยะหนึ่งแล้ว คือ “Getting to Zero” หรือ “เอดส์ลดลงให้เหลือศูนย์ได้”

     “ตรวจเพื่อก้าวต่อ” เป็นการประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ ในการทำให้ทุกคนก้าวข้ามความไม่รู้ ความกลัว ความไม่ใส่ใจ ความไม่สะดวก และเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่ไปตรวจเอดส์ ได้มองเห็นประโยชน์ของการตรวจเอดส์ว่าเป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น จนกล้าไปตรวจเอดส์สักครั้งหนึ่งในชีวิต และตรวจต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยถ้ามีความจำเป็นหรือมีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนั้น เช่น การมีพฤติกรรมเสี่ยงอีก กล่าวง่ายๆ คือ อยากให้คนไทยมองเห็นว่าการตรวจเอดส์เป็นเรื่องธรรมดา และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งคล้ายกับการตรวจสุขภาพประจำปี ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องลึกลับหรือนิรนามอีกต่อไป หลังจากตรวจแล้ว ชีวิตจะได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตเดี่ยว หรือชีวิตคู่ หรือหากติดเชื้อก็มีสุขภาพที่ดีและอายุยืนยาวเหมือนคนอื่นทั่วไป

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

สาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ไปตรวจเอดส์

     1. ไม่คิดว่ามีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีสามีหรือภรรยาเพียงคนเดียว ตัวเองก็ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นเลยก่อนแต่งงาน แต่เราไม่สามารถมั่นใจว่า “เขา” จะมีคนอื่นก่อนเรา หรือมีคนอื่นนอกจากเราหรือไม่ ดังนั้น จึงควรไปตรวจพร้อมๆ กันสักครั้ง แล้วพูดคุยกัน ถ้าพลั้งเผลอก็บอกไปตามตรง และใส่ถุงยางป้องกันจนกว่าจะไปตรวจใหม่อีกรอบ

     2. ไม่รู้ว่าตรวจไปจะมีประโยชน์อะไร ถ้าจะติดก็ติดไปแล้ว รู้เร็วก็กลุ้มใจเร็วขึ้น สู้ไม่รู้ดีกว่า รอให้มีอาการก่อนค่อยตรวจ ถึงแม้จะมีพฤติกรรมเสี่ยงแต่ก็อาจจะยังไม่ติดเอดส์ ถ้ากล้าไปตรวจ เมื่อตรวจไม่เจอจะได้ป้องกันตัวเองให้ดีขึ้น และถึงแม้จะตรวจเจอ สามีหรือภรรยาก็อาจจะยังไม่ติดเชื้อจึงเป็นโอกาสที่จะป้องกัน และการที่ตรวจเจอขณะที่ยังไม่ป่วย ดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยทำให้ไม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์

     3. กลัวว่าถ้ามีคนรู้ว่าไปตรวจเอดส์ จะถูกมองในแง่ไม่ดี จะกลัวไปทำไมในเมื่อชีวิตเป็นของเรา และการตรวจเอดส์เป็นหน้าที่ของทุกคน

     4. กลัวจะตรวจเจอ เพราะเคยรับรู้ว่า เอดส์ไม่มีทางรักษา เอดส์เป็นแล้วตายอย่างเดียว แต่ปัจจุบันเอดส์รักษาได้ รักษาแล้วไม่ป่วย ไม่เสียชีวิต

      5. กลัวว่าตรวจเจอแล้ว จะมีคนรู้ จะถูกคนรังเกียจ และอาจถูกไล่ออกจากงาน ซึ่งผู้ที่จะรู้ผลการตรวจ มีเราเพียงคนเดียว คนอื่นไม่มีสิทธิ์รู้ การรักษาก็ไม่ต้องให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายเพิ่ม นายจ้างจึงไม่รู้

      6. ไม่รู้ว่าไปตรวจเอดส์ได้ที่ใด สามารถไปตรวจได้ทุกโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องไปที่คลีนิคนิรนาม ของสภากาชาดไทยแห่งเดียว

     7. ไม่รู้ว่ามีสิทธิ์ตรวจฟรี ค่าตรวจจริงๆ แล้วไม่แพง และยังมีสิทธิ์ตรวจฟรีปีละ 2 ครั้ง ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ หรือมีสิทธิประกันสังคมสามารถไปโรงพยาบาลใดก็ได้ เพียงแค่แสดงบัตรประจำตัวประชาชนก็สามารถตรวจฟรีได้ ตัวเลข 13 หลักในบัตรประจำตัวประชาชนที่โรงพยาบาลป้อนข้อมูลเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นรหัสใหม่ทันที ไม่มีใครสามารถย้อนกลับมาดูได้ว่าเป็นใคร ได้รับการปกปิดด้วยวิธีที่ดีที่สุดในโลก

     8. หลายคนที่เคยไปตรวจมาแล้ว ไม่ค่อยอยากจะกลับไปตรวจซ้ำอีก เพราะใช้เวลานานในการรอคิว ในการรับคำปรึกษาก่อนตรวจ และเสียเวลาในการฟังผลเลือด สิ่งที่น่าเบื่อเหล่านี้เป็นเรื่องจริง หลายฝ่ายกำลังปรับปรุงให้สะดวกขึ้น เช่น เพิ่มเจ้าหน้าที่ให้บริการ เพิ่มสถานบริการที่สามารถไปใช้บริการได้มากแห่งขึ้น เพิ่มเวลาให้บริการช่วงเย็น และวันหยุดราชการ และการมีคลินิกเคลื่อนที่ไปให้บริการถึงที่ทำงานหรือในชุมชน พยายามย่นย่อการให้คำปรึกษาแนะนำทั้งก่อนและหลังตรวจ เพราะคนส่วนใหญ่พอมีความรู้อยู่บ้างแล้ว หรือการใช้เอกสารให้อ่าน วีดีโอให้ดู หรือการให้โทรศัพท์คุยทางสายด่วนปรึกษาเอดส์แห่งชาติ 1663 เพื่อทดแทนหรือย่นย่อการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีความพยายามในการนำชุดทดสอบแบบรู้ผลเร็ว (rapid test) มาใช้ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบภายใน 1 ชั่วโมง ล้วนเป็นวิธีการที่ทุกฝ่ายพยายามปรับปรุงบริการให้รวดเร็ว และสะดวกสบายมากขึ้น

     9. หมอไม่ให้คำแนะนำ เป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะคนไข้มักเชื่อฟังหมอ แต่หมอส่วนใหญ่เองก็ยังไม่เห็นความสำคัญของการแนะนำให้คนไข้ตรวจเอดส์เป็นปกติวิสัย เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจและให้ความรู้กับหมอในทุกสาขาวิชาชีพ ว่าการตรวจเอดส์มีประโยชน์อย่างไร และเขามีอิทธิพลมากเพียงใดในการแนะนำคนไข้แต่ละคนของเขาให้เห็นถึงความสำคัญในการตรวจเอดส์

     อาจยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้คนไม่อยากหรือไม่กล้าไปตรวจเอดส์กัน หวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้นถึงประโยชน์ของการตรวจเอดส์ และแก้ความกังวลต่างๆ ได้ ซึ่งความกังวลหลายอย่างก็เป็นเรื่องจริง บางอย่างก็กลัวไปเอง การที่สามารถประเมินระดับความเสี่ยงของตัวเองแบบที่ไม่เข้าข้างตนเองมากไป รวมทั้งสามารถชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี กับข้อเสียของการไปตรวจเอดส์ ถ้าเห็นข้อดีมากกว่า จะได้ก้าวข้ามความกลัว ความไม่รู้ ฯลฯ ตัดสินใจไปตรวจเอดส์โดยสมัครใจสักครั้งหนึ่ง ถ้าท่านทำเช่นนั้นได้ นับได้ว่าท่านได้ประสบความสำเร็จในการตัดสินใจที่สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อชีวิตที่งดงามจะได้ก้าวต่ออย่างมั่นคง

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

การทำสมาธิช่วยชะลออาการของโรคเอดส์ไม่ให้ลุกลาม

     ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า การทำสมาธิช่วยชะลออาการของโรคเอดส์ไม่ให้ลุกลาม โดยเห็นผลได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์
คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิสให้อาสาสมัครผู้ติดเชื้อเอชไอวี 48 คนจากทั้งหมด 67 คนเข้าโครงการลดความเครียดด้วยการทำสมาธิเน้นการฝึกรับรู้ช่วงเวลาปัจจุบันอย่างเปิดกว้างและยอมรับ เลี่ยงการคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีตและการกังวลถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากฝึกนาน 2 เดือนพบว่าอาสาสมัครที่ทำสมาธิบ่อยจะมีจำนวนภูมิคุ้มกันซีดี4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ


     อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่เป็นคนรักเพศเดียวกัน ว่างงานและไม่ได้รับยาต้านไวรัส โครงการฝึกการทำสมาธิประกอบด้วยการเข้าชั้นฝึกครั้งละ 2 ชั่วโมง การดำเนินชีวิตอย่างสันโดษตลอดทั้งวันและการฝึกทำสมาธิที่บ้าน คณะนักวิจัยพบว่า อาสาสมัครตอบสนองอย่างดีและมีความสุขในการร่วมโครงการ เป็นการรักษาแบบเข้ากลุ่มและเสียค่าใช้จ่ายน้อย หากทดลองกับอาสาสมัครกลุ่มใหญ่ขึ้นและได้ผลเช่นเดียวกันก็น่าจะเป็นวิธีที่ได้ผลในการรักษาโรคเอดส์ควบคู่ไปกับการใช้ยาต้านไวรัส

      คณะนักวิจัยสันนิษฐานว่า การทำสมาธิลดความเครียดอาจไปเพิ่มระดับของซีดี4 หรือไปกดไวรัสเอชไอวีไม่ให้เพิ่มจำนวน ดังนั้นการฝึกสมาธิจึงน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยเพราะช่วยลดความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มักจะมีความเครียดมากเป็นพิเศษ.-สำนักข่าวไทย 2008-07-25 11:05:25

การตรวจเอดส์ (HIV)

     การตรวจเชื้อเอชไอวี จะใช้ขั้นตอนการตรวจตามมาตรฐานสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสภาวิชาชีพกำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันมีการเลือกใช้น้ำยาในการตรวจที่ได้รับการพัฒนาให้รู้ผลตรวจรวดเร็วขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการรอคอย ซึ่งน้ำยานี้ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ หากผลตรวจเป็นลบคือไม่ติดเชื้อก็สามารถรายงานผลได้เลย แต่หากผลเป็นบวกหรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อ ก็จะตรวจด้วยน้ำยาตัวที่สองและสาม ซึ่งต่างยี่ห้อกัน ถ้าผลตรวจทั้ง 3 ครั้งตรงกันว่าเป็นบวก ก็จะส่งข้อมูลต่อให้แก่ผู้ให้คำปรึกษา เพื่อขอให้ผู้ป่วยเจาะเลือดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของเลือดจริง ซึ่งผู้ป่วยก็จะมั่นใจว่าการตรวจเลือดทั้ง 2 ครั้งได้ผลตรงกัน และนำไปสู่การรักษาในที่สุด ซึ่งการตรวจทั้งหมดนี้จะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น

การตรวจเอดส์ (HIV) ใช้เวลาไม่นาน      

       การตรวจเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าต้องการรับฟังผลในวันเดียวหรือไม่ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องรู้ผลในวันเดียวก็จะใช้น้ำยาเดิมในการตรวจ ซึ่งทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับกระบวนการของนักเทคนิคการแพทย์ของโรงพยาบาลนั้นๆ รวมถึงบริบทของห้องปฏิบัติการและบุคลากร ซึ่งขณะนี้การตรวจเชื้อเอชไอวีแบบรู้ผลในวันเดียวมีให้บริการแล้วที่สถาบันบำราศนราดูรและโรงพยาบาลต่างจังหวัดหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งมีการเริ่มดำเนินการมานานแล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ไม่ต้องเดินทางไกล เพียงแต่ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ แต่เมื่อ สธ.มีความประสงค์ให้ดำเนินการในเรื่องนี้ ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น เป็นลักษณะของใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่งสภาวิชาชีพก็หนุนผู้ประกอบวิชาชีพให้พัฒนากระบวนการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น
       
       การตรวจเชื้อเอชไอวีโดยใช้น้ำยาแบบ 3G แม้จะตรวจแล้วรู้ผลได้ในวันเดียวแต่ก็ต้องรอระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อคือ 22 วันจึงจะตรวจเจอ เพราะน้ำยา 3G จะตรวจได้แต่เพียงร่องรอยการติดเชื้อหรือแอนติบอดีเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้มีการนำน้ำยา 4G มาใช้ ซึ่งเดิมเป็นน้ำยาที่ใช้ในการตรวจเลือดจากการบริจาคโลหิต ซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อเจอได้ใน 16 วัน หลังจากวันที่รับเชื้อ เพราะน้ำยาตัวนี้สามารถตรวจหาโปรตีนของเชื้อหรือแอนติเจนและแอนติบอดีได้ ล่าสุดกำลังมีการพัฒนาน้ำยาให้สามารถรู้ผลได้ไวขึ้นในครึ่งชั่วโมง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขให้คุณภาพดีขึ้น

นางศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล
นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันบำราศนราดูร

 

เอดส์ โรคที่รักษาไม่หายจริงหรือ?

 

 

 

 

วิบากกรรมอะไรจึงต้องเป็นโรคเอดส์

     คนที่เป็นโรคเอดส์ส่วนใหญ่ เกิดจากกรรมในปัจจุบันที่เจ้าชู้ และเป็นวิบากกรรมกาเมฯทั้งอดีตและปัจจุบันมาส่งผล
ตัวอย่างเคส Study กฎแห่งกรรม เกี่ยวกับโรคเอดส์


    1. คุณแม่มีนิสัยชอบช่วยเหลือญาติพี่น้อง  และส่งเงินให้กับคุณตาและคุณยายเลี้ยงครอบครัวมาตลอด  แต่คุณแม่ชอบใน “กามคุณ” ชอบสนุก , ไม่ชอบทำบุญ   ทำไมท่านจึงเสียชีวิตด้วย “โรคเอดส์” 
อ่านต่อ    

    2. กรรมใดทำให้น้องชายคนที่ 6 ของผม ป่วยเป็นโรคจิตประสาท และเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ครับ อ่านต่อ

    3. วิบากกรรมใด จึงทำให้พี่สาวของสามีตายด้วยโรคเอดส์ เธอตายแล้วไปไหน มีสภาพความเป็นอยู่อย่างไรบ้างคะ อ่านต่อ
   

    4. แม้ทุกคนจะรู้ว่าลูกเป็นเอดส์ แต่เขาก็ยังรักและพอใจจะอยู่กับลูก  เป็นเพราะบุพกรรมใดของลูกที่ได้ทำมา  ลูกเป็นเอดส์จริงอย่างที่หมอบอกมาหรือไม่  ถ้าจริงทำไมไม่ติดไปถึงสามีคนปัจจุบัน   หรือเป็นแต่หายไปแล้ว เพราะบุญอะไรคะ อ่านต่อ

    5. พี่เขย เพื่อนพี่เขยและพี่สาว มีบุพกรรมเกี่ยวข้องกันมาอย่างไรคะ ทำไมพี่สาวต้องได้รับการทารุณจากพี่เขย แล้วทำไมเพื่อนพี่เขยจึงรักพี่สาว ทั้งๆที่รู้ว่าพี่สาวเป็นเอดส์ อ่านต่อ

วิบากกรรมที่ทำให้เป็นเอดส์

 

วิบากกรรมที่พี่สาวของสามีของลูกตายด้วยโรคเอดส์

     วิบากกรรมที่พี่สาวของสามีของลูกตายด้วยโรคเอดส์ คือ วิบากกรรมกาเมฯ รวมกับปาณาติบาต ทั้งในอดีตและปัจจุบันมาส่งผล

      เธอตายแล้วไปยมโลก ขณะนี้รับทัณฑ์ทรมานอยู่ในยมโลกขุมการพนันก่อน แล้วต้องไปในขุมอื่นต่ออีก ให้หมั่นทำบุญไปให้ก็จะพ้นกรรมเร็วขึ้น
     
     ส่วนพี่ชายที่ตายด้วยโรคเอดส์ ตอนตายใหม่ ๆ เจ้าหน้าที่เขาพาไปยมโลก มีทั้งบุญและบาป ได้นึกถึงบุญที่ทำเพียงเล็กน้อยกับบุญที่เคยบวชพระและบุญที่ทำก่อนตายที่ น้องสาวแนะนำ กับกรรมที่ทำเป็นอาจิณกรรมยิงนกตกปลา เที่ยวผู้หญิงจนเป็นโรคเอดส์ พญายมราชจึงพิพากษาให้ไปเกิดเป็นกุมภัณฑ์ ให้มาเป็นเจ้าหน้าที่ในยมโลก โดยใน 1 ปี มาทำงานในยมโลก 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง พี่ชายมีกรรมหนักจะต้องรับเวรเป็นเจ้าหน้าที่ยมโลกถึง 9 เดือนใน 1 ปี ได้พักเพียง 3 เดือน ก่อนตายได้เห็นภาพอะไรต่าง ๆ เห็นเป็นหลวงปู่บ้าง เห็นเป็นสาวกอะไรบ้าง เป็นเพราะบุญบันดาลให้เห็นจากการทำบุญช่วงสุดท้าย จริง ๆ แล้วพี่ชายเคยเห็นภาพหลวงปู่ฯทองคำมาก่อนโดยที่เจ้าของเคสไม่รู้ ส่วนอีกวันหนึ่งที่บอกว่าเห็นสาวกนั่งพนมมือตั้งแต่ตี 3 จนถึง 7 โมงเช้า เพราะเพ้อ เนื่องจากพิษไข้ แต่ก็ดีเป็นฝ่ายกุศลกรรมจึงชลอไม่ให้ไปมหานรก ให้มาเป็นเจ้าหน้าที่ในยมโลกก่อน อ่านต่อ

บทความน่าอ่านเกี่ยวกับโรคเอดส์     

วันเอดส์โลก (World AIDS Day 2013 ) 1 ธันวาคม
วิบากกรรมเกี่ยวกับโรคเลือด

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว