เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวสิงคโปร์ ตอนที่ 2


[ 26 มิ.ย. 2557 ] - [ 18294 ] LINE it!

เป็น  อยู่  คือ...วิถีชาวสิงคโปร์  ตอนที่ 2

การบรรเลงเพลงของวงออร์เคสตราจีนแห่งสิงคโปร์

     ผู้คนแต่ละเชื้อชาติที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินสิงคโปร์มีเครื่องดนตรีประจำชาติเป็นของตน  อาทิ  วีนา (Veena)  ของชาวอินเดีย  กู่เจิงของชาวจีน  แต่ดนตรีได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศสิงคโปร์และได้รับจากนานาประเทศ  คือ  การบรรเลงเพลงของวงออร์เคสตราจีนแห่งสิงคโปร์  (Singapore Chinese Orchestra.)  ซึ่งเป็นวงที่รวมเครื่องดนตรีสากลไว้ด้วยกันนับ  30  ชนิด  เช่น  ขลุ่ยผิว  พิณจีนโบราณชนิดต่างๆ ขิมจีน  เป็นต้น

     วงออร์เคสตราจีนแห่งสิงคโปร์ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ. 2539  เปิดการแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศจนโด่งดังภายในเวลาอันรวดเร็ว

 

ตีลูกล้อ

ตีลูกล้อ

     เด็กจากมลายูเป็นผู้นำการละเล่นตีลูกล้อมาในประเทศสิงคโปร์  ลักษณะเหมือนการตีลูกล้อของประเทศไทย  คือใช้ไม้ตีและเลี้ยงล้อจักรยานให้กลิ้งจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงเส้นชัย

 

โบลา  ติน

โบลา  ติน  (Bola Tin)

     “โบลา”  เป็นภาษามลายู  แปลว่า  ลูกบอล  การละเล่นโบลา  ติน  ก็คือการปาลูกบอลไปยังกระป๋องที่ตั้งเรียงต่อกันเป็นรูปพีระมิด  โดยแบ่งผู้เล่นเป็นสองทีม  แล้วผลัดกันปาพีระมิดของอีกฝั่ง  ทีมใดล้มกระป๋องของฝ่ายตรงข้ามได้หมดก่อนเป็นผู้ชนะ

 

แกซิง

แกซิง  (Gasing)

     ชาวมาเลย์เป็นผู้นำการเล่นแกซิงมาเผยแพร่ในสิงคโปร์  วิธีการเล่นคือ  ใช้ก้านเหล็กเลี้ยงลูกกลมๆ  ผู้ที่เลี้ยงลูกได้นานที่สุดคือผู้ชนะ

 

คัปเตะห์

คัปเตะห์  (Capteh)

     การใช้เดาะลูกขนไก่ใครเดาะได้นานที่สุดเป็นผู้ชนะเกืนี้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของจีน

 

คองกัก

คองกัก  (Congkak)

     เป็นการละเล่นอีกชนิดหนึ่งที่มาจากมาเลเซีย  ลักษณะคล้ายหมากขุมของไทย  แบ่งผู้เล่นออกเป็นสิงฝ่าย  โดยต้องคอยเติมหมากในแต่ละหลุมให้ครบเจ็ดตัว

         

 

ตรุษจีน

ตรุษจีน

     เทศกาลใหญ่ประจำปีของชาวสิงคโปร์เชื่อชาติสายจีน  รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุด  2  วัน  แต่งานเฉลิมฉลองมักนานถึง  2  สัปดาห์  โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไซน่าทาวน์  มีทั้งขบวนแห่มังกร  การแสดงดอกไม้ไฟ  ปละการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ

     ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสิงคโปร์เชื้อชาติสายจีนก็คือ  เมื่อถึงคืนก่อนวันตรุษจีนแต่ละครอบครัวจะกลับมากินข้าวเย็นกันพร้อมหน้าพร้อมตา  เมื่ออิ่มแล้วพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะแจกเงิน  (อั่งเปา)  ให้ลูกหลานที่ยังไม่ไดแต่งงาน  เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่  คล้ายกับคนไทยเชื้อสายจีนในบ้านเรา

 

ทีปวาลี

 

ทีปวาลี  (Deepavali)

     เทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู  คำว่า  “ทีปวาลี”  ในภาษาสันสกฤตแปลว่า  แถวแห่งแสงไฟ  ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลนี้บ้านเรือนและถนนในย่านลิตเติ้ลอินเดียก็จะประดับตกแต่งด้วยไฟส่องสว่างตลอดค่ำคืน  ถือเป็นการบูชาพระลักษมี

     ตามตำนานละความเชื่อของชาวฮินดูนั้น  แสงไฟเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี  แสดงถึงชัยชนะเหนือปีศาจร้าย  เทศกาลนี้เป็นวันหยุดราชการของสิงคโปร์  ช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน

 

ฮารี  รายา  ปัวซา

ฮารี  รายา  ปัวซา  (Hari RayaPuasa)

     เทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายมุสลิม  จัดขึ้นในเดือน  10  ของทุกปีตามปฏิทินอิสลาม  โดยที่ช่วงเช้าชาวมุสลิมจะพร้อมใจกันเข้าสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา  จากนั้นก็เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ถนนเกย์แลง  ศูนย์รวมชาวมุสลิมในสิงคโปร์

     เช่นเดียวกับประเพณี  วัฒนธรรม  การละเล่น  และเทศกาลต่างๆของสิงคโปร์ที่เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชากรในประเทศทั้งจีน  มาเลย์  และอินเดีย  อาหารของสิงคโปร์จึงมีให้เลือกมากมายเช่นกัน

 

ข้าวมันไก่สิงคโปร์

ข้าวมันไก่สิงคโปร์

     หลายคนให้อาหารจานนี้เป็นอาหารประจำชาติสิงคโปร์  แต่แท้จริงแล้วข้าวมันไก่เป็นอาหารชาวจีนไหหลำ  ข้าวมันไก่เป็นอาหารของชาวจีนไหหลำ  ข้าวมันไก่หนึ่งชุดประกอบด้วยข้าวมัน  ไก้ต้ม  หรืไก่นั่ง  แตกกวา  น้ำซุป  และน้ำจิ้มที่ทำจากซีอิ๊วดำ  พริก  ประเทียม  และขิงสับ

 

ไช้เท้าก้วย

ไช้เท้าก้วย

     ไช้เท้าก้วย  หรือที่คนไทยเรียกว่า  ขนมผักกาด  คือการนำแป้งข้าวเหนียวผสมหัวไช้เท้าขูดฝอย  แล้วนึ่งจนได้ที่ก่อนจะนำมาผัดกับกระเทียม  ต้นหอม  ไข่  แล้วปรุงรสด้วยซีอิ๊วดำ

 

ปูผัดพริก

ปูผัดพริก

     อาหารขึ้นชื่อของสิงคโปร์อีกจานหนึ่ง  คือปูผัดพริกไทยดำ  บางสูตรปรุงรสด้วยพริกไทยดำ  บางสูตรก็ใช้ไข่แดง  เค็ม  นิยมกินคู่กับหมั่นโถว

 

อะยัมบวค เคลวค

อะยัมบวค เคลวค (Ayam  Buah  keluak)

     อาหารขึ้นชื่อของชาวเพรานากันจากนี้  คือไก่ต้มกับลูกเคลวค  (เมล็ดพืชชนิดหนึ่ง)  จนเปื่อย  พร้อมเครื่องเทศและเครื่องปรุงหลายชนิด  อาทิ  ตะไคร้  กะปิมาเลเซีย  หัวหอม  มะขามเปียก  เป็นต้น  อาหารจานนี้ต้องใช้เวลาในการปรุงไม่ต่ำกว่าครึ่งวัน  และต้องแช่ลูกเคลวคทิ้งไว้ก่อนปรุงสองวัน

 

สะเต๊ะ

สะเต๊ะ

     สะเต๊ะคืออาหารของชาวมาเลย์ทำมาจากเนื้อไก่หรือเนื้อวัวที่หมักเครื่องเทศแล้วย่างบนเตาถ่านจนสุก  เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มรสหวานอมเผ็ด  และเครื่องเคียง  เช่น  แตงกวา  หัวหอม

 

 ทุเรียน

     ทุเรียน คือผลไม้ยอดนิยมของคนสิงคโปร์  แม้ต้องนำเข้าทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม  อย่างไรก็ดี  เพราะทุเรียนมีกลิ่นแรงทำให้สิงคโปร์ต้องออกกฎเข้มงวด  ห้ามนำทุเรียนขึ้นรถขนส่งมวลชนทุกประเภท  รวมทั้งโรงแรมและอาคารสาธารณะต่างๆ ด้วย

     ปัจจุบันชาวสิงคโปร์สวมชุดชาวสากลเป็นหลักเหมือนประเทศไทย  ทว่าในเทศกาลสำคัญต่างๆ  หรือบางชุมชนก็ยังมีคนแต่งกายด้วนชุดประจำชาติที่ตนสืบเชื้อสายมาบ้าง  ทั้งเพรานากัน  อินเดีย  มาเลย์  และจีน  ซึ่งเป็นเชื้อชาติหลักของประชากรในสิงคโปร์

 

เคบายา

เคบายา

     ชุดประจำชาติของชาวเพรานากัน  ผู้หญิงจะใส่ผ้าถุงบาติกและเสื้อแขนยาวสีสดใสฉลุลายดอกไม้  ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชุดเคบายา  ส่วนผู้ช่วยจะสวมเสื้อบาติกและกางเกงหรือโสร่ง

 

บาจูเมลายูและบาจูกูรุง

บาจูเมลายูและบาจูกูรุง

     บาจูเมลายูคือชุดประจำชาติของชายชาวมาเลย์  เป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงยาว  อาจสวมโสร่งทับอีกหนึ่งชั้น ส่วนแขนยาว  ลำตัวยาวสวมคู่กับกระโปรงยาว

 

กูรตะและส่าหรี

กูรตะและส่าหรี

     กูตะและส่าหรีคือชุดประจำชาติของชาวอินเดีย  ผู้ชายจะสวมกูรตะ  (เสื้อแขนยาว  ลำตัวมักยาวถึงเข่า  กับกางเกง  ส่วนผู้หญิงสวมกูตะหรือเสื้อ  แล้วนุ่งส่าหรีทับ  ซึ่งเป็นผ้ายาวราวห้าเมตร  ใช้พันรอบตัวคล้ายผ้าถุง  ปลายผ้าที่เหลือจะตวัดขึ้นพาดไหล่

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น  อยู่  คือ...วิถีชาวสิงคโปร์  ตอนที่  2

 

อาเซียน 10 ประเทศ
สิงคโปร์หนึ่งในประชาคมอาเซียน
ทำเลที่ตั้ง  ประเทศสิงคโปร์
ปกบ้านครองเมือง และ ทำมาค้าขาย ประเทศสิงคโปร์
เป็น  อยู่  คือ...วิถีชาวสิงคโปร์
 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

ปักหมุดจุดหมาย ของประเทศสิงคโปร์ปักหมุดจุดหมาย ของประเทศสิงคโปร์



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว