มหันตภัยโซเชียลมีเดีย


[ 18 ก.ย. 2558 ] - [ 18272 ] LINE it!

มหันตภัยโซเชียลมีเดีย

แสดงธรรมโดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
จากรายการทันโลกทันธรรม
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
 
      โซเชียลมีเดียถือว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเเละทรงพลังมากที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ เพราะว่าสามารถเข้าถึงคนจำนวนมาก กว้างขวาง เเละรวดเร็วที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เเต่ในดีก็มีเสีย เพราะมีภัยร้ายหลายๆ ภัยที่มาพร้อมกับโซเชียลมีเดีย
 
คำถาม ความหมายของ social media กับ Social Network เเตกต่างกันอย่างไร?
     
     social media คือ สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น บทความที่คนเขียนขึ้นมา ภาพ วีดีโอที่คนอัพโหลดขึ้นไป
 
     Social Network คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเครือข่ายที่คนมารวมตัวกัน สามารถในการส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น facebook twitter เป็นต้น
 
    Social Network ที่คนนิยมใช้มากที่สุดในตอนนี้ คือ facebook ก่อตั้งเมื่อ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 มีจำนวนผู้ใช้ 1,150 ล้านคน จำนวนคนกด Like/วัน 4,500 ล้านครั้ง จำนวนภาพการอัพโหลดภาพ 350 ล้านภาพ/ต่อวัน จำนวนการอัพโหลดภาพทั้งหมด 240,000 ล้านภาพอันดับที่ 2 คือ twitter ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.2007 มีสมาชิกทั้งหมด 677 ล้านคน ผู้ใช้งานประจำ 306 ล้านคน อันดับที่ 3 คือ instagram ก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 มีสมาชิกทั้งหมด 357 ล้านคน ผู้ใช้งานประจำ 167 ล้านคน
 
     สถิติการใช้งาน Social Network ของคนไทย อันดับ 1 คือ Facebook มีผู้ใช้งาน 28 ล้านคน ในกรุงเทพ 20 ล้านคน อันดับ 2 คือ Twitter มีจำนวนผู้ใช้งาน 4.5 ล้านคน อันดับ 3 คือ instagram มีผู้ใช้งาน 1.7 ล้านคน
 
     กลุ่มผู้ใช้งาน Social Network ที่ใช้งานมากที่สุด คือ อายุระหว่าง 16-24 ปี รองลงมาคือ อายุระหว่าง 25-34 ปี อันดับสาม คือ อายุระหว่าง 35-44 ปี
 
     กลุ่มคนอายุระหว่าง 16-24 ปี มักใช้  social media ในการติดตามข่าวสาร ข้อมูลบันเทิงติดต่อเพื่อนๆ  กลุ่มคนอายุระหว่าง 25-34 ปี ใช้งาน  social media ในการเผยเเพร่เรื่องราวในการทำงานของตน อัพเดตสเตตัสของตนใหเพื่อนๆได้ทราบ กลุ่มคนอายุระหว่าง 35-44 ปี ใช้งาน social media ต้องการเผยเเพร่ผลงานเเละติดตามข่าวสารไปพร้อมๆกัน
 

มหันตภัยโซเชียลมีเดีย

คำถาม ทำไมคนถึงใช้ social media เเละ social Network กันมากขนาดนี้  ทำไมเป็นที่นิยม

     ทฤษฏีการสื่อสารประกอบด้วย
 
     1.ผู้ส่งสาร (Source & Sender)
     2.ข้อมูลข่าวสาร (Message)
     3.ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
    4.ผู้รับสาร (Receiver)
 
     ในปัจจุบันการส่งสาร มีการส่งสารได้ง่ายขึ้น เพราะว่ามี social media มีช่องในการส่งสารให้คนสามารถสื่อสารกันมากขึ้น ก็เลยทำให้มีการสื่อสารกันมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน เเละเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมาก เช่น  ดาราสมัยก่อนถ้าจะเเถลงข่าวก็จะต้องไปขอเวลาผู้จัดการ เพื่อไปหาเวลาจากช่องโทรทัศน์ เเต่ในปัจจุบันถ้าต้องการเเถลงข่าวก็อัพเดตสเตตัสตนเองลงใน instagram หรือว่า social media ได้เลย 
 
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย

คำถาม คำกล่าวที่ว่า social media ทรงพลังมากกว่าที่คิด เรื่องราวเป็นอย่างไร?

     ตัวอย่างเมื่อปี 2553 เกิดการเปลี่ยนเเปลงทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศตูนิเซีย มีการปฏิวัติดอกมะลิ มีผลจากการเผยเเผ่ข้อมูลผ่านช่องทาง social media 
 
     ความเป็นมาในการปฏิวัติดอกมะลิ เริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งการปฏิวัติครั้งนี้นำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีซึ่งครองราชย์มายาวนานในประเทศตูนีเชีย เกิดจากชายคนหนึ่งชื่อ Mohamed Bouazizi บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งตกงานและต้องหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวอีก 8 คน ด้วยการเข็นรถขายผักในเมืองซิด บูซิด (Sid Bouzid) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งในประเทศตูนิเซีย ต่อมานาย Mohamed Bouazizi ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงคนหนึ่งจับและยึดรถขายผักไป เนื่องจากเขาไม่มีใบอนุญาตทำการค้า เขาจึงให้เงินจำนวน 10 ดินาร์ เพื่อไถ่รถคืน แต่กลับถูกตำรวจคนนั้นตบหน้า ถ่มน้ำลายใส่หน้า และยังด่าทอบิดาของเขา นาย Mohamed จึงตัดสินใจไปร้องเรียนต่อองค์การบริหารระดับจังหวัด แต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดสนใจ มิหนำซ้ำเขายังได้รับการปฎิบัติกลับมาราวกับเป็นคนไร้ค่า ทำให้นาย Mohamed ไม่พอใจที่เขาถูกกระทำเช่นนั้น เขาจึงใช้สเปรย์สีฉีดเขียนรำพันความคับแค้นใจและด่าตำรวจกับเจ้าหน้าที่รัฐตามที่สาธารณะ ก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองเสียชีวิตเพื่อเป็นการประท้วงเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 
     เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงในเมืองที่เกิดเหตุ และมีการส่งข่าวสารผ่านสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ YouTube ไปทั่วประเทศ จนเกิดการชุมนุมใหญ่ นำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ซึ่งอยู่ในอำนาจมานาน 23 ปี ออกจากตำแหน่ง และในที่สุดก็ต้องขอลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในที่สุดก็เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลของตูนีเซีย พลังของ social media สามารถเปลี่ยนเเปลงการปกครองของประเทศได้เลย

     ตัวอย่างต่อมา อาจารย์ที่สอนในโรงเรียน ประเทศอังกฤษ อาจารย์ผู้นี้ได้โพสต์ข้อความลงใน Facebook ตำหรชนินักเรียนในห้องเรียนหนึ่งว่าเเย่กว่านักเรียนอีกห้องเรียนหนึ่ง ผู้คนไปอ่านข้อความใน Facebook เลยเกิดความไม่พอใจ ในที่สุดอาจารย์ผู้นี้ก็โดนไล่ออกในฐานะที่ทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง ถ้าเป็นการพูดลอยๆ บ่นกันเองกับเพื่อนๆอาจไม่โดนทำโทษ เเต่เมื่อเธอพูดไปใน social media ทำให้คนได้รับข้อมูลข่าวสารกันมาก จึงตำหนิในการเเสดงความคิดเห็นของเธอออกมา ถือว่าเป็นภัยอย่างหนึ่ง

     social media เป็นสถานที่ที่คนเผยเเพร่ข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ต้องระวังนิดหนึ่ง บางครั้งข้อมูลข่าวสารอาจไม่เป็นความจริง มีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อคนจำนวนมากมายที่โพสต์เรื่งอราวต่างๆเพื่อเอาผลประโยชน์จากผู้อื่น ต้องระวังภัยตัวนี้ด้วย
 
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
 
     โรคภัยต่างๆที่เกิดกับคนใช้ social media
 
      มีอยู่ 5 โรค ที่จะพูดถึง
     
     โรคที่ 1 คือ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) พบว่าการใช้เฟซบุ๊กมากเกินไปอาจจะเป็นการบั่นทอนความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตของเเต่ละคน เพราะว่าเมื่อเราเข้าไปดูเฟซบุ๊กของเพื่อนๆ เพื่อนๆอาจมีกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจ เช่น ไปเที่ยว อัพสเตตัสว่า ได้รับโปรโมชั่น  ได้รับตำเเหน่งงานที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราก็อาจตัดท้อตัวเองว่า ชีวิตของเรายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร หรือว่าเราไม่ได้ไปปาร์ตี้ ไปสนุกกับเพื่อนๆ เราก็อาจจะเกิดอาการซึมเศร้าได้เมื่อเห็นคนอื่นใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
 
     โรคที่ 2 คือ ละเมอแชท (Sleep-Texting) เป็นอาการติดการส่ง Message ก็คือการที่หลายๆคนส่ง Message กันเป็นประจำ เป็นนิสัย เวลานอนเเล้วเมื่อมีสัญญาณเตือน Message เข้ามาก็จะเกิดการตอบสนองโดยอัตโนมัติ ลุกขึ้นมาทั้งๆที่กึ่งหลับกึ่งตื่นไปตอบ Message นั้น ซึ่งบางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเขียนอะไรไปบ้าง จากการศึกษาพบว่าบางคนตื่นมา 2-3 ครั้งต่อคืน เพื่อมาส่ง Message พอตื่นมาตอนเช้าก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองส่งอะไรไป ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ทำให้พักผ่อนไม่เต็มที่ ซึ่งจะนำมาสู่ความซึมเศร้าในที่สุด
 
     โรคที่ 3 คือ โรควุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters) ถ้าคนที่ใช้ Facebook หรือคอมพิวเตอร์นานๆ จะทำให้เราเพ่งมองหรือใช้ตาเป็นเวลานานๆ ทำให้ไม่ได้พัก จะทำให้วุ้นในตาสามารถเสื่อมได้ อาการเริ่มเเรก คือเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายกับหยากไย่ จะทำให้เกิดการปวดตา ทำให้สายตาผิดปกติได้มากที่สุด ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรควุ้นในตาเสื่อมเเล้วมากกว่า 14 ล้านคน ปกติโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ ปัจจุบันวัยรุ่นหรือวัยทำงานก็เป็นโรคนี้เเล้ว เพราะใช้ตากันมากเกินไป
 
     โรคที่ 4 คือ โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) เกิดจากการที่เราก้มลงมองหน้าจอหรือจ้อง Smart Phone – Tablet เป็นเวลานานมากเกินไป ทำให้เกิดมายึดของเส้นใย Elastic Fibers บนใบหน้าทำให้เเก้มบริเวณกรามย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณปากก็จะตกไปทางคาง การก้มหน้ามอง   Smart Phone – Tablet เป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการเกร็งบริเวณคอ เเละเพิ่มเเรงกดดันบริเวณเเก้ม ทำให้เกิดอาการดังกล่าว อาการนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อถ่ายภาพตัวเอง จะเห็นการหย่อยคล้อยบนใบหน้าของตัวเอง
 
     โรคที่ 5 คือ โนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำว่า “No-Mobile-Phone Phobia” แปลตรงตัวได้ว่า “โรคกลัวไม่มีมือถือใช้” โรคนี้จะเป็นโรคจิตเวชประเภชหนึ่ง สำหรับคนที่เกิดอาการกลัวว่าจะไม่มีมือถือใช้ เช่น บางครั้งมือถืออาจจะเเบตหมด ไม่มีสัญญาณ เเต่อาการกลัวนี้เป็นอาการทางกายภาพ ซึ่งค่อนข้างรุนเเรง เช่น มีอาการตัวสั่น หายใจไม่สะดวก หรือคลื่นใส้ สำหรับบางคนที่ตกกังวลว่าไม่มีมือถือใช่เผื่อเพื่อนจะโทรมาหา จะติดต่อไม่ได้ อันนี้ไม่นับว่าเป็นโรคโนโมโฟเบีย อาการจะเกิดกับคนที่ติดมือถือมากๆ พอมีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็จะหยิบมือถือมาเช็ค หรือว่าโพสต์รูปอยู่เป้นประจำ หรือคอยเช็คว่ามีคนมากดไลค์กี่คน เข้าไปเช็คสเตตัสบ่อยๆ อันนี้เริ่มเป็นสัญญาณเเล้วว่าเราจะเป็นโรคโนโมโฟเบียได้ ในปัจจุบันพบว่ามีคนเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย วัยรุ่นกับวัยทำงานจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ ในไทยครึ่งหนึ่งของเยาวชนจะติดมือถือ ชอบเล่น Line หรือ Facebook มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ถ้ามีอาการรุนเเรงเเนะนำให้ปรึกษาเเพทย์
 
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
 
     อาการที่ติด social media นับว่าเป็นอาการที่เกิดทางใจทั้งนั้น เหมือนกับว่าบังคับใจตัวเองไม่ได้ ก็เลยหักห้ามใจที่จะใช้ไม่ได้ ทำให้ติดมัน เพราะฉะนั้นเราต้องไปฟังเรื่องทางใจจากพระอาจารย์ พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กันเลย

     โบราณบอกสิ่งใดมีคุณอนันต์สิ่งนั้นมักจะมีโทษมหันต์ โลกของเราขณะนี้ เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมาก สภาวะเเวดล้อมเเละสังคมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อ สัก 20 ปีที่เเล้ว คำว่า  social media คนยังเเทบไม่ใช่ใจอะไรเลย คำๆนี้มาฮิตจริงก็ตอนเมื่อเกิดสื่อ social หลายๆอย่างเกิดขึ้นมา ทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างกว้างขวางเเล้วในขณะเดียวกันนั้นพออินเทอร์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ก็ทำให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมา ถัดมาก็เกิดสื่อทางสังคม อย่างเช่น Facebook Twitter instagram สื่อเหล่านี้ทำให้คนมีการติดต่อ สัมพันธ์กันอย่างมากมาย ใครที่เข้าใจถึงความสำคัญของ  social media เเล้วสื่อที่เชื่อมโยงกันเป็นเน็ตเวิร์คเหล่านี้เเล้วเอามาใช้ คนนั้นจะประสบความสำเร็จเหนือกว่าคนอื่น ไม่ว่าทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม 
 
     มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
 
     ยกตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ถือว่าเป็นประธานาธิบดีที่มีผิวดำคนเเรกของอเมริกา ปกติคนอเมริกันส่วนใหญ่ มีความรู้สึกว่า คนผิวขาวเหนือกว่าผิวดำ เพราะคนผิวดำในอดีตอยู่ในสถานะที่เป็นทาส เเล้วในขณะที่คนผิวดำมีอยู่ในอเมริกาเพียงเเค่ 12 % เท่านั้น ส่วนคนผิวขาวมีอยู่ถึง 80 กว่าเปอร์เซ็น ทำไม บารัค โอบามาจึงชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนเเรกของสหรัฐอเมริกาได้ ในวัยเพียงเเค่ 47 ปีเท่านั้นเอง
 
     อาวุธสำคัญของ  บารัค โอบามา ก็คือ การใช้ social Network ซึ่งตอนนั้น Facebook ซึ่งเกิดขึ้นมาได้เเค่ 3 ปี มีสมาชิกอยู่เพียงเเค่ไม่กี่ร้อยล้าน เเต่เเม้กระนั้น โอบามา เห็นก่อนเพื่อนเลยว่า  Facebook สำคัญมาก social Network สำคัญมาก จึงทุ่มเทตรงนี้ก่อนนักการเมืองคนอื่น นักการเมืองรุ่นอื่นมีคนรุ่นเก่ายังตามไม่ทันนึกว่าสื่อสำคัญจะได้ออกทีวี ได้เขียนข่าว ออกหนังสือพิมพ์ โอบามา นั้นให้ความสำคัญกับ social Network สร้างเพจตัวเองขึ้นมาเเล้วดก็ทุ่มเทให้มีสมาชิกเยอะๆกลายเป็นว่าตรงนี้ เพจของ โอบามา เป็นช่องทางการสื่อสารของ โอบามา ที่สำคัญมากๆ ไม่ต้องรอหนังสือพิมพ์สัมภาษณ์ ตัวเองสามารถกระจายข่าวสารด้วยตัวเองไปถึงสมาชิก 10 ล้านคนได้ เเล้วเขาก็บอกต่อไป 10 ล้านคนของ โอบามา ก็เป็นหัวคะเเนน โดยไม่ต้องจ้าง ไม่เสียค่าจ้าง เเล้วก็สามารถรับข้อมูลจาก โอบามา โดยตรงได้ ถ้าปกติหัวคะเเนนกว่าจะไปถึงผู้นำสูงสุดต้องผ่านคนหลายๆคน หลายๆทอด อาจทำให้ข้อมูลผิดเพี้ยนได้ เเต่โอบามาสามารถส่งข่าวสารทอดเดียวกระจายไปทั่วทั้ง 10 ล้านคนเเล้วก็บอกต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นหลายๆ 100 ล้านคน เป็นฐานเสียงให้กับโอบามาได้เป็นอย่างดีเยิ่ยม  เเล้วก็ยังเป็นฐานในการระดมทุนด้วย คือกฏหมายอเมริกาค่อนข้างเข้มงวด บริษัทหรือเศรษฐีอยู่ๆจะมาบริจาคใหกับนักการเมือง สิบล้าน ร้อยล้านไม่ได้ เพราะเขาห้าม เเต่ละคนมีลิมิตห้ามบริจาคเกินเท่าไหร่ 
 
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
 
     ดังนั้นเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้งต้องมาจากประชาชนฐานเสียงมากๆ เพราะเเต่ละคนช่วยได้เเค่คนละจำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง พอ โอบามา มีสมาชิเพจเป็นสิบสิบล้านคน เขาขอให้ทุกคนช่วยบริจาค ทุกคนช่วยคนละหน่อย โอบามา มีเงินในการหาเสียงไม่เเพ้ ผูสมัครรับเลือกตั้งคนอื่นๆที่เป็นเศรษฐีใหญ่เลย หรือคนที่มีฐานการเมืองที่มั่นคงมาก่อน สู้ได้สบายมาก เเล้วสุดท้ายก็ชนะการเลือตั้งเป็นประธานาธิบดีของอเมริกาได้สำเร็จ เพราโอบามาสำเร็จนักการเมืองประเทศอื่นๆก็ได้เห็นตัวอย่างเเล้ว จึงได้มีการตั้งเพจของนักการเมืองกันอย่างมากมาย ซึ่งใครที่ขยับตัวก่อน คนนั้นก็ได้เปรียบ โดยเฉพาะเมืองหลวงที่คนใช้ Fecebook ใช้ social Network กันเยอะๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter instagram หรือว่าหัวเมืองใหญ่ๆ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้จะเเผ่หลายในเมืองหลวงเเละหัวเมืองใหญ่เเล้วก็ค่อยๆกระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ
 
     ดังนั้นผลการเลือกตั้งในเมืองใหญ่ ในหัวเมือง ในภูมิภาคก็จะได้เปรียบสำหรับผู้ที่ทุ่มเทเรื่อง social Network มากมันหมายถึงอนาคตของประเทศเลยว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้ปกครองของประเทศ นี้คืออิทธิพลของ social Network เเล้วในขณะเดียวกันทางด้านเศรษฐกิจ บริษัทไหนใช้ช่องทางการสื่อสาร social Network เป็นภาพลักษณ์บรษัทดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เเต่ถ้าเกิดใช้ไม่เป็นเเล้วยังไม่ตระหนักถึงอานุภาพของมันเพียงพอ ไปพลาดนิดเดียวข่าวจะกระจายไปอย่างรวดเร็ว บางทีบริษัทที่มีเครือข่ายไปทั่วทั้งโลก เขาอาจมีปัญหาในประเทศเล็กๆมีประชากรอยู่เพียงนิดเดียว เเต่พอปัญหาว่าบริษัทนี้ไม่รับผิดชอบ ข่าวพวกนี้ก้จะกระจายไปทั่วดลกทำให้ยอดขายตกไปทั่วโลกเลย กระทบกระเทือนถึงภาพลักษณ์ในบริษัทอย่างรุนเเรง ถ้าเป็นสมัยก่อน เเค่ไปปิดข่าวในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ได้ ข่าวก็จบ ตัดกระเเสได้ เดี๋ยวนี้ปิดไม่ได้มันจะกระจายไปสู่ social Network กระจายไปสู่คนต่อคน ไปทั่วโลกดังนั้นสิ่งใดมีคุณอนันต์สิ่งนั้นมีโทษมหันต์ เเม้นักการเมืองเหมือนกันไปพูดอะไรพลาดนิดเดียว เเสดงอาการกิริยาพลาด เกรี้ยวกราด เเสดงอาการโกธร เเสดงอาการที่ไม่เหมาะสมถ้ามีใครบันทึกอากับกิริยาถ้อยคำ ที่พูดไว้ได้เเล้วกระจายออกไป
 
     เมื่อนั้นเองยิ่งเป็นนักการเมืองที่ดังเท่าไหร่ พวกนี้จะยิ่งไปเร็วเท่านั้น คนเห็นก็ส่งต่อๆ อนาคตดับวูบเลย เขาอาจดีมาตลอดเเค่เพลอสตินิดเดียว ดับวูบเลย เพราะฉะนั้นถึงบอกว่า social media มีคุณอนันต์เเต่ก็มีโทษมหันต์ เป็นมหันตภัยเลย เราจึงต้องตระหนักเเละรู้เท่าทัน เเม้ว่าเรายังไม่ได้เป็นบุคคล ที่มีชื่อเสียง เป็นนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่  หรือเป็นนักธุรกิจ เจ้าของกิจการใหญ่ก็ตามเเม้เราเป็นบุคคลธรรมดา social media ก็มีผลต่อชีวิตเราอย่างมากมายมหาศาล เพราะมันให้โอกาสเราในการเข้าถึงเเหล่งข้อมูลอย่างไร้ขีดจำกัด โอกาสที่เราจะปฏิสัมพันธ์กับคนทั้งที่รู้จักเเละไม่รู้จัก จึงมีการหลอกลวงกันใน social media เยอะมากๆ เพราะไม่เห็นหน้าเห็นตากัน เรามีโอกาสในการกระจายข้อมูลของเราไปถึงคนจำนวนมาก
 
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
มหันตภัยโซเชียลมีเดีย
 
     เเต่ในขณะเดียวกัน กระจายไปเยอะก็ไม่รู้ใครเป็นใคร มีทั้งคนดี มีทั้งคนร้าย ถ้าเป็นสังคมจริงๆ เห็นหน้าเห็นตากันก็ยังจะดูโหงวเฮ้งออก เเต่ใน social Network มันได้เห็นเเต่ภาพที่เขาโพสต์ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นภาพของใคร ซึ่งข้อความที่เขาพิมพ์จะประดับประดอยให้สวยงามก็ได้ มันไม่เหมือนเจอคนจริงๆ เราต้องระวัง เเล้วในขณะเดียวกันเมื่อเรามีชีวิต มีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์เยอะ สิ่งเหล่านี้มันจะดูดพาเราไปโดยไม่รู้ตัว ใครที่ไม่รู้จักที่จะมีวินัยคุมตัวเอง เราต้องรู้จักเลือกด้วยว่า ข้อมูลอะไรเป็นประโยชน์กับเรา ไม่ใช่ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างเดียว เพราะข้อมูลที่น่าสนใจนั้นมีมาก เวลาเรามีไม่พอ เราต้องการหาข้อมูลอะไรมาใช้ในการศึกษา มาใช้ในการทำงาน ดิ่งตรงเข้าไปเเล้วก็เอามา อย่าไปเเวะสองข้างทาง  พอเห็นอะไรน่าสนใจก็เเวะ ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็จะถูกดูดไปกับข้อมูลที่ไร้สาระ ทำให้เสียเวลา สุขภาพก็เสีย สายตาก็เสีย เวลาก็เสีย ความสัมพันธ์คนรอบตัวก็เสีย เสียหมดเลย เพราะฉะนั้นสิ่งใดมีคุณอนันต์สิ่งนั้นมีโทษมหันต์  เพราะฉะนั้นโดยสรุป ในยุคของ  social media ที่ผู้คนเชื่อมโยงกันด้วยเน็ตเวิร์ค
 
     หลักปฏิบัติก็มีอยู่ว่า ขอให้มีวินัยในตนเอง ที่สำคัญคือ วินัยในเรื่องเวลา  เวลาที่เราจะหาข้อมูล ช่วงไหน เมื่อไหร่ ถ้าข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ก็เข้าไปหาเเต่อย่าเเวะข้างทาง ในขณะเดียวกัน ถ้าต้องการดูข้อมูลที่น่าสนใจเป็นการพักผ่อนก็สามารถทำได้ เเต่ต้องคุมเวลาให้อยู่ ตรงนี้เป็นตัวป้องกันภัยของ social Network ที่ดี ถ้าทำได้อย่างนี้สารพัดเรื่องที่เป็นภัยใน social Network ไม่ว่าจะเป็นการทำลายสุขภาพ สายตาเสีย กล้ามเนื้อหลังมีปัญหา เป็นต้น มันจะหายไปโดยปริยาย เพราะเรามีขอบเขตที่เหมาะสมในการใช้ social media เเล้วเราก็จะเอาประโยชน์ของ social media มาใช้ได้อย่างเต็มที่
 

รับชมคลิปวิดีโอมหันตภัยโซเชียลมีเดีย
ชมวิดีโอมหันตภัยโซเชียลมีเดีย   Download ธรรมะมหันตภัยโซเชียลมีเดีย





Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
อานิสงส์ถวายทานบ่อยๆอานิสงส์ถวายทานบ่อยๆ

จับเสือมือเปล่าจับเสือมือเปล่า

ต้นบัญญัติมารยาทไทย ตอนที่ ๒ บ่อเกิดของมารยาทไทย หมวดที่ ๑ สารูปต้นบัญญัติมารยาทไทย ตอนที่ ๒ บ่อเกิดของมารยาทไทย หมวดที่ ๑ สารูป



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ