ขึ้นชื่อว่า ความพร้อม นั้น ไม่เคยมี


[ 17 ก.ค. 2551 ] - [ 18271 ] LINE it!

The Middle in South Africa
 
กราบเรียนคุณครูไม่ใหญ่ที่เคารพอย่างสูง
 
    การปฏิบัติธรรมในคอร์สสมาธิ The Middle Way ครั้งแรกของทวีปแอฟริกา ระหว่างวันที่ 8-11 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา ได้ให้ข้อสรุปอันมีคุณค่าอย่างยิ่ง เป็นประโยชน์ในการขยายงานสอน “สมาธิ” ให้แก่บุคคลต่างสีผิว ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา และปรัชญาความเชื่อ ซึ่งประเทศเซ้าท์แอฟริกาเป็นดินแดนที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อการสอนสมาธิในสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เพราะผู้คนที่นี่ถูกแวดล้อมไปด้วยความหลากหลาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็น แม้แต่ในกลุ่มคนไทยในเซ้าท์แอฟริกา ทั้งๆที่นับถือพระพุทธศาสนาก็ยังมีความหลากหลายไม่น้อยเช่นกัน
 
    กระผมในนามตัวแทนของทีมงานที่ร่วมกันจัดคอร์สสมาธิ The Middle Way ครั้งแรกในทวีปแอฟริกา กราบขอโอกาสคุณครูไม่ใหญ่ เขียนสรุปประสบการณ์อันมีคุณค่านี้ บอกเล่าแก่ผู้ชม DMC ทุกท่านทั่วโลก
 
    แรงบันดาลใจของการจัดคอร์สสมาธิ  The Middle Way เกิดจากโอวาทของคุณครูไม่ใหญ่ ที่ปรารถนาให้มีการจัด The Middle Way ไปทั่วโลก ภายในเดือนเมษายน พ.ศ.2552 เพื่อให้ชาวโลกได้เข้าถึงประสบการณ์ภายใน ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด ได้เข้าถึงพระธรรมกายที่มีอยู่แล้วภายในตัว
 
    คุณครูไม่ใหญ่ กล่าวอยู่เสมอว่า “ขึ้นชื่อว่า ความพร้อม นั้น ไม่เคยมี ซึ่งคุณครูไม่ใหญ่ ก็ได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้ว...พวกเราเคยบูชาข้าวพระบนพื้นดิน ทอดกฐินบนพื้นทราย และ ชิตังเม กลางสายฝน หลายครั้ง หลายหน ตลอดหลายปี ที่ผ่านมา
 
    ก่อนจัดงาน เราก็พิจารณาความพร้อมตามหลักพุทธวิธี ซึ่งในบรรดาสัปปายะทั้งสี่ ถ้าเรามีความพร้อมสัก 51% เราก็ตัดสินใจเดินหน้าไปหาความพร้อมอีก 49%เอาข้างหน้า ซึ่งในที่สุด เราก็จะพร้อมพอดีๆ ไม่เหลือไม่ขาด หวุดหวิดๆ ทุกครั้งไป แต่ถ้าเราคิดว่า เรายังจัดไม่ได้ เพราะว่าความพร้อมของเรายังไม่ครบ 100% เราก็คงต้องรอความพร้อมตลอดไป งานก็จะไม่เดิน
 
    เราก็ต้องเตรียมความพร้อม 4ด้านด้วยกัน ตามพุทธวิธี  คือ 1.ห้องพัก 2.อาหาร (ซึ่งก็คือแม่ครัว) 3.พี่เลี้ยง (อาสาสมัคร) และ 4.พระอาจารย์
 
    ทั้งหมดนี้ เราไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเอง แต่ศึกษาแบบอย่างจากพนาวัฒน์ หรือภูเรือ ซึ่งคุณครูไม่ใหญ่ได้วางแบบแผนไว้ให้แล้วเป็นอย่างดี อะไรที่ยังไม่มี เราก็ทำให้มันมี อะไรที่ยังไม่พร้อม เราก็ทำให้มันพร้อม ว่าแล้วเราก็ ลุย
 
    ในวันนี้ กระผมจะกล่าวถึงความสำคัญของ “พี่เลี้ยง” ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่ง เป็นผู้ที่อาสามาเป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติธรรมในทุกๆเรื่อง เป็นผู้ที่คอยให้ความ สบายกาย สบายใจ แก่ผู้ที่มาปฏิบัติธรรม จนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เข้าถึงประสบการณ์ภายในกันเกือบทุกคน
 
    พี่เลี้ยงของเราเป็น สัปปายะที่3 มีอยู่ด้วยกัน 4ท่านด้วยกัน เป็นพี่เลี้ยงแบบทั้งวันทั้งคืน จำนวน 2ท่าน คือ พี่เลี้ยงศรันย์พร กับ พี่เลี้ยงสุปรานี  ส่วนพี่เลี้ยงแบบเช้าไปเย็นกลับ มี 2ท่าน คือ พี่เลี้ยงกาญจนา และ พี่เลี้ยงวิไลพร แม้ว่าบางท่านจะมีภารกิจงานบ้าน มีลูก มีสามีที่ต้องดูแล แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการสร้างบารมีแต่อย่างใด
 
    เหนือสิ่งอื่นใด ที่เราอดชื่นชมไม่ได้ คือ พี่เลี้ยงทุกท่านได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าที่สุด บางท่านต้องรีบส่งลูกไปโรงเรียนแล้วมาทำหน้าที่พี่เลี้ยง จากนั้นก็รีบกลับไปรับลูกที่โรงเรียนอีก พี่เลี้ยงทุกท่านจะรีบเคลียร์ภารกิจ แล้วรีบเข้าไปนั่งสมาธิกับผู้มีบุญทั้งหลายในคอร์ส The Middle Way
 
    ผลก็คือ...ผลบุญส่งผลทันตาเห็น พี่เลี้ยงของเรามีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีมาก เช่น ศูนย์กลางกายขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง บ้างก็เห็นพระอยู่ในกลางตัว บ้างก็ถูกศูนย์กลางกายดึงดูดสู่ภายในอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้ทีมงานมั่นใจว่า ภารกิจทางโลกไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างบารมีแต่อย่างใด สามารถทำไปพร้อมๆกันได้ และยังทำได้ดีอีกด้วย
 
    กระผมขอถือโอกาสนี้ เบิกตัว คณะพี่เลี้ยง The Middle Way รุ่นแรกของทวีปแอฟริกา ให้มนุษย์และเทวดา ร่วมอนุโมทนาสาธุการกันสืบไป (สาธุๆๆ) โดยเริ่มจาก...
 
ผลการปฏิบัติธรรม
พี่เลี้ยงกาญจนา รางแรม
(โจฮันแนสเบิร์ก เซ้าท์แอฟริกา)
 
 
    พี่เลี้ยง กาญจนา รางแรม มีคู่ชีวิตเป็นชาวสิงคโปร์ แต่มาทำงานสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 หรืออีก 2ปีข้างหน้า
 
    พี่เลี้ยงกาญจนา เริ่มมานั่งสมาธิกับเราครั้งแรก ตั้งแต่เรายังไม่มีห้องปฏิบัติธรรม เรานั่งสมาธิกันในเต็นท์ ท่ามกลางสายฝน บนสนามเทนนิส เพียงครั้งนั้น ทำให้พี่เลี้ยงกาญจนา มานั่งสมาธิกับเราเกือบทุกอาทิตย์ และได้ไปร่วมจุดมาฆประทีปที่วัดพระธรรมกาย และได้เข้ากราบคุณครูไม่ใหญ่พร้อมกับหมู่คณะจากเซ้าท์แอฟริกา
 
    พี่เลี้ยงกาญจนาจะชอบการบูชาข้าวพระมาก เพราะเธอจะเห็น พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯที่ศูนย์กลางกาย เธอบอกว่า “การนั่งสมาธิขณะบูชาข้าวพระ ศูนย์กลางกายจะสว่างมาก จะได้เห็นพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯอยู่เป็นประจำ” พี่เลี้ยงกาญจนายังเข้าสอบ World-PEC และทีมของเธอ ยังได้รับรางวัลชนะเลิศของเซ้าท์แอฟริกา และเดินทางไปรับโล่รางวัลจากท่านเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงพริทอเรีย
 
 
    ขณะที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ในโครงการ The Middle Way นั้น พี่เลี้ยงกาญจนาจะรีบทำหน้าที่ให้เสร็จโดยไม่ชักช้า เพื่อจะได้สงวนเวลาในการนั่งสมาธิอย่างเต็มที่ ประสบการณ์ของเธอ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในคอร์ส The Middle Way แม้ว่าพี่เลี้ยงจะมีงานหนัก แต่เวลาหลับตา จะมีกายเบามาก น้ำหนักตัวคือศูนย์ ศูนย์กลางกายขยายจากจุดเล็กๆ กว้างออกไปเป็นรัศมี ใหญ่ขึ้นๆ ตลอดเวลา สิ่งที่แปลกก็คือ ศูนย์กลางกายจะเคลื่อนขยายออกไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่จริงๆแล้วใจของเธอยังคงอยู่กับที่ ดูเหมือนเคลื่อนไหว แต่ความจริงคือ ใจหยุดนิ่ง นับเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อเลยว่า มันเป็นความจริง
 
    สำหรับตอนต่อไป จะเป็น ตอนสุดท้าย ของ Series The Middle Way รุ่นแรกของทวีปแอฟริกา จะเน้นเรื่องสัปปายะที่4 คือ ธรรมะเป็นที่สบาย ซึ่งก็คือแนวทางการเทศน์สอน หลักการแนะนำสมาธิให้แก่ผู้เรียนในโครงการ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนพอสมควร ทั้งด้านการใช้ภาษา และการนำใจของนักเรียนจากสภาวะหยาบ ไปสู่สภาวะละเอียดยิ่งๆขึ้นไปทีละน้อย รวมถึงการบริหาร การจัดการ โครงการ The Middle Way ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั่วโลก ตามความเหมาะสม
 
    แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น เอาเป็นว่า วันนี้ เรามาดูภาพทีมงาน “แม่ครัว” และ “คณะพี่เลี้ยง” ผู้มีบุญ ที่ทำให้…สัปปายะที่2 (อาหารเป็นที่สบาย) และ สัปปายะที่3 (บุคคลเป็นที่สบาย) มีความลงตัว อย่างกลมกลืน ทุกคนล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กันและกัน และเราก็จะปิดท้ายด้วย Scoop พิเศษ บอกเล่า ผลการปฏิบัติธรรมของพี่เลี้ยงกาญจนา รางแรม จากวัดพระธรรมกายโจฮันเนสเบิร์ก




Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พี่เลี้ยงจากโจฮันเนสเบิร์กพี่เลี้ยงจากโจฮันเนสเบิร์ก

เหตุที่ทำให้มีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีเหตุที่ทำให้มีผลการปฏิบัติธรรมที่ดี

ประสบการณ์ภายในประสบการณ์ภายใน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ