ดื่มน้ำแบบไหน ที่ ร่างกายต้องการ คลิ๊ก !!


[ 27 ธ.ค. 2553 ] - [ 18258 ] LINE it!

 

การดื่มน้ำให้เพียงพอ...ทำได้ง่ายๆ!!

 
 

การดื่มน้ำให้เพียงพอ!!      

 
  ต่อ..ความต้องการของร่างกายนั้น!!!  
 
        อย่า..ไปกำหนดว่าวันนี้ได้ปริมาณของน้ำเพียง ๑๐ แก้ว หรือ ๒๐ แก้วแล้วพอ แต่ให้คำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่แวดล้อมตัวเรา และกิจกรรมที่ตัวเราทำแต่ละวันเป็นเกณฑ์ ตัวอย่าง เช่น สมมุติว่า ตามปกติในแต่ละวัน เราดื่มน้ำ ๑๐ แก้วก็เพียงพอแต่ถ้าวันใดไปยืนกลางแดดนานๆ หรือนั่งที่ร่มแต่ถูกพัดลมเป่าทั้งวัน หรือ ออกกำลังกายทำให้เสียเหงื่อมากๆ อย่างนี้น้ำ ๑๐ แก้วไม่พอแล้ว อาจจะต้องเพิ่มเป็น ๑๔-๑๕ แก้ว เป็นต้น
 
มีวิธีสังเกตง่ายๆ
 
    ก็คือ.. ปัสสาวะมีสีใสเหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป แสดงว่าการดื่มน้ำวันนั้นเพียงพอแน่นอน แต่ถ้าปัสสาวะขุ่นคลั่กเหลืองอ๋อย หรือเป็นสีชาชงแก่ๆ ต้องดื่มน้ำเข้าไปอีกให้มากพอในการดื่มน้ำให้มากพอ ไม่ใช่ตลอดทั้งวันดื่มน้ำเพียง ๒-๓ ครั้ง โดยดื่มครั้งละมากๆ ถึง ๓-๔ แก้ว ถือว่ารวมแล้ววันนั้นก็ได้สิบกว่าแก้ว อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ ลองนึกถึงการรดน้ำต้นไม้ในกระถาง ถ้าตักน้ำมา ๑ ถังแล้วรดครั้งเดียวจนหมดถังผลคือ น้ำส่วนใหญ่ไหลออกนอกกระถาง มาแฉะอยุ่ที่พื้นดินใต้กระถาง แต่ถ้าน้ำ ๑ ถังเท่ากัน ใช้น้ำตักน้ำรดลงไปครั้งละ ๑ ขัน รดไปเป็นระยะ ตลอดทั้งวัน ต้นไม้ในกระถางก็สามารถดูดซึมน้ำได้อย่างเต็มที่ น้ำที่ล้นทิ้นอกกระถางแทบไม่มี น้ำ ๑ ถังเท่ากัน แต่ประโยชน์ที่ต้นไม่ได้รับกับไม่เท่ากัน เราเองก็เช่นนั้น
 
ต้องดื่มน้ำให้เป็น!!
 
        ถ้าดื่มน้ำไม่เป็นคือดื่มน้อยครั้งแต่ครั้งละมากๆ เมื่อไปนั่งสมาธิภาวนาก็เดือดร้อน เพราะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆเดินทางไปทำงานก็เดือดร้อน หรื แม้แต่เวลานอนกลางคืนก็เดือดร้อน เพราะต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆไม่เป็นอันหลับอันนอน คนที่ดื่มน้ำเป็น พอตื่นเช้าขึ้นมา เขาจะรีบดื่มน้ำอุ่น ๒-๓ แก้วทันที เพื่อให้ร่างกายสดชื่นเร็วที่สุด
 
 
        ก่อน...รับประทานอาหารเช้า อาจดื่มน้ำอีกสักแก้ว ครึ่งแก้วก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านั้น เพราะจะทำให้น้ำย่อยที่ออกมาตามเวลาเจือจางมากถึงกับรับประทานอาหารไม่ลงรวมทั้งทำให้ประสิทธิภาพการย่อยอาหารลดลงไปมาก ครั้นหลังรับประทานอาหารเสร็จให้ดื่มน้ำตามไปสัก ๑ แก้วทันที เพราะว่า กระเพาะ และ ลำไส้เริ่มย่อยอาหารแล้ว จำเป็นต้องได้น้ำไปช่วยทำให้อาหารเหลวลง เหมือนกับเวลาโม่แป้งถ้าไม่หยอดน้ำเลย จะฝืดโม่ไม่ค่อยไปแต่พอหยอดน้ำแล้วหมุนโม่คล่องเชียว เพราะฉะนั้น หากเราไม่ดื่มน้ำเข้าไปเลย กระเพาะลำไส้ต้องใช้แรงบีบตัวให้กระเพาะและลำไส้ไปได้เยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าวันไหนรับประทานเนื้อสัตว์มาก เช่น  รับประทานขาหมูเข้าไปถึงหนึ่งขา ขาไก่อีกห้าขา สเต๊กอีกชิ้นเบ้อเล่อ อย่างนี้ต้องดื่มน้ำตามมากอีกพอควร ไม่อย่างนั้นกระเพาะและลำไส้จะออกแรงบีบจนล้า ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยพบว่า ในขบวนการย่อยโปรตีน ต้องใช้น้ำในการทำปฏิกิริยาทางเคมีมากกว่าการย่อยแป้งและไขมันเสียอีก
 
 
 
 
ทำไม !!
   
ไม่รีบดื่มให้ครบ ๒-๓ แก้วตั้งแต่ทีแรก
 
    ทั้งนี้เพราะถ้าดื่มรวดเดียวทีแรก
 
        น้ำย่อยจะจืดจางเกินไป น้ำเพียง ๑ แก้วในขั้นแรก ก็พอที่จะช่วยให้กระเพาะและลำไส้บีบตัวได้ง่ายขึ้นเมื่อน้ำย่อยแทรกเข้าไปในอาหารเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้อาหารจะยังไม่ละเอียด ก็ไม่เป็นไร ถ้าดื่มน้ำตามเข้าไปอีก ๑-๒ แก้วโดยทิ้งระยะเป็น ช่วงๆ กระเพาะและลำไส้ก็จะสามารถบีบตัวย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น จึงทำให้เราไม่ง่วงไม่เพลียสำหรับคนที่ต้องเดินทางออกจากบ้านในตอนเช้า เมื่อรับประทานอาหารเช้าเสร็จก็ดื่มน้ำเพียง ๑ แก้ว ก็พอ ในช่วงเวลา ๑ ชั่วโมงต่อจากนั้น ถ้าไม่กระหายนัก ก็อย่าดื่ม ถ้ารู้สึกกระหายก็แค่จิบน้ำเพียงนิดหน่อยเป็นระยะๆ ถ้าทำได้เช่นนี้ก็จะไม่ลำบากเรื่องการเข้าห้องน้ำระหว่างทาง ครั้นถึงที่หมายแล้ว จะดื่มน้ำอีกกี่แก้วก็แล้วแต่ความพึงพอใจ ไม่กระทบต่อระบบย่อยอาหาร
 ก่อนนอนก็เหมือนกัน ก่อนนอน ๒ ชั่วโมงอย่าดื่มน้ำมากถ้าในระหว่าง ๒ ชั่วโมงนี้ กระหายน้ำก็ดื่มเพียงเล็กน้อย มิฉะนั้นจะต้องลุกเข้าห้องน้ำในตอนดึกอีก
 
 
        ในกรณี...บุคคลที่ไม่สามารถดื่มน้ำได้มากเหมือนบุคคลทั่วไป เช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขั้นร้ายแรง (หัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย) เป็นต้น คนไข้เหล่านี้ ถ้าดื่มน้ำมากๆ อาจจะทำให้เกิดอาการบวม หรืออาการเหนื่อยหอบได้ วิธีการดื่มน้ำอย่างไรให้เพียงพอ คงต้องไปปรึกษาแพทย์เป็นกรณี...พิเศษ
 
 
 
 
      


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
กลิ่นตัวแรง,นิ่ว,กระเพาะปัสสาวะเกร็ง,นั่งสมาธิได้ไม่ดี ผลของการอั้นปัสสาวะ คลิ๊ก!!กลิ่นตัวแรง,นิ่ว,กระเพาะปัสสาวะเกร็ง,นั่งสมาธิได้ไม่ดี ผลของการอั้นปัสสาวะ คลิ๊ก!!

อั้นอุจจาระ..เกิดผลเสียอย่างไร!! คลิ๊กอั้นอุจจาระ..เกิดผลเสียอย่างไร!! คลิ๊ก

สาเหตุทั่วไปโรคท้องผูก ที่เรามองข้าม คลิ๊กสาเหตุทั่วไปโรคท้องผูก ที่เรามองข้าม คลิ๊ก



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี