ทำมาค้าขาย และเป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว


[ 24 พ.ค. 2557 ] - [ 18310 ] LINE it!

ทำมาค้าขาย และเป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว 

 

ทำมาค้าขาย  ของประเทศลาว


     อาชีพหลักของชาวลาวคือ  เกษตรกร  รวมถึงประมงและป้าไม้  รองลงมาคือ  งามบริการละงานอุตสาหกรรม  ตามลำดับ

 

 

สินค้าส่งออกที่สำคัญ  ได้แก่

      ไม้ซุง  ไม้แปรรูป  ผลิตภัณฑ์  ไม้  แร่  เศษโลหะ  ถ่านหิน  เสื้อผ้าสำเร็จรูป

 

สินค้านำเข้าที่สำคัญ  ได้แก่

     รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เครื่องอุปโภคบริโภค

 

 

     เงินตราของลาวคือ  กีบ  (Kip)  โดยธนาคารแห่ง สปป.ลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้  มีธนบัตรใบละ  5,  10,  20,  100,  500,  1,000,  2,000,  5,000,  10,000,  20,000  และ100,000  กีบ  (ปัจจุบันธนบัตร 5,  10,  20,  50,  100,  และ  500  กีบไม่นิยมใช้กันแล้ว)  แต่เงินบาทและดอลลาร์สหรัฐก็เป็นสกุลเงินที่ชาวลาวยอมรับและใช้ชำระค่าสินค้าและบริการได้อย่างแพร่หลาย

 

สกุลเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยน  อยู่ที่ประมาณ  250  กีบ ต่อ  1  บาท  (  พ.ศ. 2555)

     นักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมเยือน  ประเทศลาว  จะพบเห็นป้ายรณรงค์  “อยู่เมืองลาวใช้แต่เงินกีบ”  ได้ทั่วไป

ประชากร

     สปป.ลาวมีประชากรประมาณ  6.4  ล้านคน  ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ มาถึง  68  ชาติพันธุ์  มีภาษาพูดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปบ้าง  แต่ก็ใช้ภาษาลาวเป็นภาษากลาง  แบ่งเป็น  3  กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย  ดังนี้

 

ชาวลาวลุ่ม ประเทศลาว

ลาวลุ่ม

     หมายถึงชนชาติลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสุ่ม  ได้แก่  ภูไท,  ไทเหนือ,  ไทดำ,  ไทขาว,  ไท,  ไทแดง,  ไทลื้อ   ฯลฯ  มีประมาณร้อยละ  68  ของประชากรทั้งหมด  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลไท  ประกอบอาชีพทำนา  ทำสวน  และเลี้ยงสัตว์  อาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ

 

ชาวลาวเทิง ประเทศลาว

ลาวเทิง

     หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง  ประกอบด้วย  ขมุ,  ข่า,  แจะ,  ละแนด,  สีดา,  ผู้เทิงไฟ,  เขลา,  ปันลุ,  แซ,  กะแส,  ส่วย,  ตะโอย.  ละแว,  ละเวน,  อาลัก,  กะตาง,  เทิงน้ำ,  เทิงบก,  เทิงโคก,  อินทรี,  ยาเหียน,  กายัก,  ชะนุ,  ตาเลี่ยง,  ละแง  ฯลฯ  มีประมาณร้อยละ  22  ของประชากรลาวทั้งหมด  ใช้ภาษาตระกูลมอญ – เขมร  ส่วยใหญ่มีอาชีพทำไร่  และเลี้ยงสัตว์  อาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศ

 

ชาวลาวสูง  ประเทศลาว

ลาวสูง

     หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง  ประกอบด้วยชนเผ่าม้งและอื่นๆ  เช่น  ม้งลาย,  ม้งขาว,  ม้งดำ,  เย้า,  โซฌล,  ฮ้อ,  รุนี,  มูเซอ,  ผู้น้อย,  กุย,  ก่อ,  แลนแตน,  ฯลฯ  มีประชากรร้อยละ  9  ของประชากร  ใช้ภาษาตระกูลจีน – ทิเบต  มีอาชีพทำไร่  หาของป่าและเลี้ยงสัตว์  โดนเฉพาะสุกรและม้า  อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ

     นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนามและเชื้อสายจีน  รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆที่อาศัยอยู่ในลาวอีกประมาณร้อยละ  1  ของประชากรทั้งหมด

     คำว่า “ไท”  ในภาษาหมายถึง  “คน” หรือ ชาว เช่น   ไทเหนือ  ไทใต้  “ไทเวียงจันทน์  ไทหนองคาย  ได้แก่  ชาวเหนือ  ชาวใต้  ชาวเวียงจันทน์  ชาวหนองคาย  ฯลฯ  ส่วนคำว่า  “ผู้”  เป็นคำศัพท์เก่าแก่ที่มีความหมายเดียวกับ  “ไท”  เชาน  ผู้ลาว  ผู้ลื้อ  ผู้มัง  ผู้เย้า  ได้แก่  คนลาว  คนลื้อ  คนม้ง  คนเย้า  เป็นต้น

 ภาษา ตัวอักษร พยัญชนะ  สระ และตัวเลข ของประเทศลาว

 

      ภาษาประจำชาติได้แก่  ภาษาลาว  โดยใช้ตัวอักษรลาวที่มีพัฒนาการมาจากอักษรไทน้อยหรืออักษรลาวโบราณ  ประกอบด้วยพยัญชนะ  33  รูป  21  เสียง  และสระ  28  รูป  27  เสียง  ระบบการเขียนในภาษาลาวเริ่มจากซ้ายไปขวา  ไม่ค่อยมีความซับซ้อน  จึงเข้าใจได้ง่าย  แม่ว่าภาษาลาวจะเป็นภาษาประจำชาติ  แต่ก็มีการใช้ภาษาไทย  อังกฤษ  และฝรั่งเศสกันอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงธุรกิจการค้า

 

     นับเหมือนคนไทย  แต่จำนวน  20  ออกเสียง  ซาว  ซึ่งเหมือนภาษาถิ่นเหนือของไทย  และตัวเลขพันล้านจะอ่านว่า  ตื้อ  ซึ่งมีความหมายว่าพันล้าน

 

                    

สวัสดีค่ะ/ครับ                                    สบายดี  (เจ้า)

(ถาม) สบายดีหรือเปล่า                      เจ้าสบายดีบ่

(ตอบ) ขอบคุณ ฉันสบายดี                 ขอบใจ ข่อยสบายดี

ฉันชื่อปัด แล้วเธอล่ะ ชื่ออะไร             ขอบซื่อปัด แล้วเจ้าเด้ ซื่อหยัง

(ถาม) คุณอยู่ไหน                              เจ้ายู่ไส

(ตอบ) ฉันอยู่ที่เมืองไทย                    ข่อยอยู่ที่เมืองไท

ลาก่อน                                             สบายดี

 

       

วัดหอพระแก้ว เวียงจันทร์ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

 

    ชาวลาวประมาณร้อยละ  75  นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ  มีส่วนน้อยแถบภูเขาสูง  ร้อยละ  16-17  ที่นับถือผี  ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถิ่น  ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม  ถึงแม้รัฐบาลลาวจะให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา  แต่พุทธศาสนาแบบเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือ  ก็เป็นเสมือนแบบแผนแห่งวัฒนธรรมลาว  ทั้งในด้านภาษา  ศิลปะ  วรรณคดี  รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่

     สถาปัตยกรรมลาวสะท้อนประวัติศาสตร์จากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส  และผสมผสานอิทธิพลจากวัฒนธรรมของสยามหรือไทยและเขมร

สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ

พระธาตุหลวง ประเทศลาว

 

     พระธาตุหลวง  ศาสนสถานที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวลาว  ตั้งอยู่ในนครเวียงจันทน์  ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติดังปรากฏเป็นภาพประธานในตราแผ่นดิน  สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  เป็นเจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดใสล้านช้าง  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  “เจดีย์โลกะจุฬามณี”  องค์พระธาตุสูง  45  เมตร  ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม  อันหมายถึงสัญลักษณ์แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า

 

สถาปัตยกรรมที่ได้รับอกทธิพลจากฝรั่งเศส

หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว ประเทศลาว

 

    หอวัฒนธรรมแห่งชาติ  ตั้งอยู่บนถนนสามเสนไทยแขวงเวียงจันทน์  ตัวอาการเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล  ใช้เป็นสถานที่จัดงานด้านศิลปะการแสดงและงานสำคัญของทางการลาว


ลักษณะบ้านเรือน  ของชาวลาว

     ลักษณะบ้านเรือนของชาวลาวทั้งสามกลุ่มจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน  คือ  สร้างจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น  มีหลังคาแบบจั่วเพื่อระบายอากาศเน้นความเรียบง่ายและเป็นมิตรกับธรรมชาติ

     ส่วนลักษณะบ้านเรือนชาวลาวในเขตเมือง  โดยทั่วไปเป็นอาคารพาณิชย์  มีบ้างที่เป็นอาการเก่าแก่  สร้างด้วยไม้อย่างสมัยเก่า  แต่ทั่งไปเป็นอาคารเรียบง่ายและสอดคล้องกับวิถีชีวิต 

      พระรามชาดก  เป็นวรรณคดีลาว  แต่งแบบ “หนังสือเทศน์”  เมื่อราม  พ.ศ. 2393  ตรงกับรัชกาลที่ 3  แห่งกรุงรัตรนโกสินทร์)  โครงเรื่องหลักตรงกับรามเกียรติ์  ส่วยรายละเอียดในเรื่องก็มีผิดเพี้ยนไปบ้างตามที่ผู้แต่งสร้างสรรค์ขึ้นเอง  จากจินตนาการ  เรื่องเล่า  หรือนิทานท้องถิ่นลาว  ชื่อตัวละครจนถึงภูมิประเทศ  แทนที่จะเป็นของชมพูทวีป  (อินเดีย) ก็กลายเป็นของสองฝั่งโขงแทน  ซึ่งตรงกับลักษณะพิเศษของวรรณคดีลาว  คือ  มีความเป็นท้องถิ่นสูง  เมื่อรับอิทธิพลจากแหล่งอื่นๆ  ก็จะนำมาปรับให้เป็นของท้องถิ่นได้อย่างสนุกสนาน  แนบเนียน  และกลมกลืน

 

      พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่  25  ที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพครั้งแรกนั้น  ได้ให้ตัวละครเอกในวรรณกรรมลาว  คือ  ศิลป์ชัยหรือสินไซ  ซึ่งมีอาวุธคือศรติดตัวมาตั้งเกิดเป็นผู้แผลงศรจุดคบเพลิง

บทความที่เกี่ยวข้องกับทำมาค้าขาย และเป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว

 

อาเซียน 10 ประเทศ

ลาวหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ทำเลที่ตั้ง  ของประเทศลาว

ปกบ้านครองเมือง  ของประเทศลาว



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว