พระพุทธศาสนากับปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ตอนที่ 2


[ 31 พ.ค. 2557 ] - [ 18276 ] LINE it!

 

 
พระพุทธศาสนากับปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ตอนที่ 2

จากรายการนานาเทศนาที่ออกอากาศทางช่อง DMC
 
     
 
   จากตอนที่แล้ว เราก็ได้ทราบกันแล้วว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดจากอะไร และมีอะไรบ้างนะคะ เป็นต้นว่ามลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางดิน และอุณหภูมิ มีสาเหตุมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคทรัพยากร และการมองปัญหาแบบแยกส่วน เหล่านี้ เราเรียกว่าเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงคืออะไร แนวทางแก้ไข และการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมตามวิธีพุทธจะต้องทำอย่างไร วันนี้พระอาจารย์ พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ท่านได้เมตตานำเรื่องราวของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขโดยอาศัยหลักพุทธวิธีในหัวข้อธรรมที่มีชื่อว่า พระพุทธศาสนากับปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติธรรมชาติซึ่งในวันนี้เราจะนำเสนอเป็นตอนที่ 2  เนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้นเราไปติดตามชมพร้อมกันเลยค่ะ

       พระอาจารย์ : คน สิ่งแวดล้อม ทุกอย่างมันต้องอิงอาศัยกันหมด ยังชอบคำๆ นี้เพราะว่ามันตรงนี้ เคยได้ยินไหมเอ่ย "เสือพีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินดี" เห็นไหม เสือกับป่าก็พึ่งพาอาศัยกัน ดินกับหญ้าก็พึ่งพาอาศัยกัน
 
     นี่คือแนวคิดในพระพุทธศาสนาทุกอย่างมีการพึ่งพาอาศัยกัน แต่ของตะวันตกที่มีปัญหาเยอะตอนนี้รู้ไหม เพราะอะไร นักวิชาการตะวันตกเองเขามาโจมตี Plato บอกมันเกิดจาก Plato นี่แหละ ที่เป็นนักปราชญ์ชาวกรีก ในยุคก่อน อริสโตเติล เป็นคนใช้คำว่า academy ถ้ามีคำว่า academy ให้รู้เลยว่ารากมาจากมนุษย์เท่านั้น มนุษย์คือตัวแทนของพระเจ้ามาครอบครองสิ่งเหล่านี้ แล้วฝรั่งก็เอาแนวคิดของ Plato มาใช้ในการที่ว่าต้องควบคุมธรรมชาติ ต้องใช้ ต้องทำลาย ต้องอะไรทุกอย่าง แต่พระพุทธศาสนาไม่ได้คิดอย่างนั้น มองว่าทุกอย่างต้องมีการพึ่งพาอาศัย อิงอาศัยกัน ฝรั่งคิดแบบนั้นในช่วงที่คนยังน้อยๆ ไม่มีปัญหา แต่พอคนเยอะขึ้น เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น จนถึงปัจจุบันมันไม่รอดแล้ว เขารู้แล้วว่าแนวคิดอย่างเก่าไม่รอด แล้วให้เรารู้เลยนะว่า คนส่วนใหญ่ในโลกจะมองว่า ไหน Forbes บอกว่าปีนี้คนไหนรวยที่สุดในโลก  Bill Gates ยังได้แชมป์อยู่ไหม Carlos Slim  จากแม็กซิโก แซงหรือยัง มีใครเชือดกลับหรือเปล่า Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook เข้าตลาดแล้วจะรวยกี่ตังค์  ใครจะเป็นเศรษฐีอันดับเท่าไหร่ บริษัทไหนใหญ่ที่สุดในโลก จะสนใจสิ่งเหล่านี้ แต่เงินทองก็หมุนไปหมุนมา
 
     แต่คนที่เป็นระดับควีนฉลาดจริงๆ เขาจะรู้ว่าคนเหล่านี้ บริษัทเหล่านี้ยังเป็นระดับผิว แต่ที่ขับเคลื่อนโลกอยู่คือแนวความคิด อย่างแกนความคิดเก่าของ Plato ที่เป็นรากฐานรองรับอยู่ มันเริ่มไปไม่รอด คิดอย่างนี้ต่อไปโลกเจ๊ง ต้องหาแนวความคิดใหม่มารองรับความเจริญเติบโตของโลกมาเป็นฐานความคิด แล้วเขาก็หันซ้ายหันขวามาพบว่า มีอยู่แล้วสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้ แนวคิดอย่างนี้โลกของเรารอดอยู่ได้ มันต้องมีแนวความคิดอย่างนี้ก่อน พอแนวความคิดอย่างนี้มันจะส่งผลต่อพฤติกรรมและการแสดงออก การคิดค้นคว้าการทำผลิตภัณฑ์ทุกอย่าง มันจะมีรากฐานมาจากแนวความคิดที่เป็นแกนรองรับ คนสนใจในส่วนแกนความคิดตรงนี้ที่รองรับ มีไม่มาก แต่เป็นระดับ คลีน และโลกจริงๆ แต่สิ่งที่คนเหล่านี้ขับเคลื่อน คือตัวขับเคลื่อนทิศทางของโลกที่แท้จริง มันเป็นอย่างนั้น เรามาดูสิ เราคุ้นๆ อยู่แล้ว ถามว่า กัป ทำลาย เราก็รู้ เหตุจริงๆ เกิดจากอะไร เกิดจากกิเลสมนุษย์ ขนาดกัป ก็คือโลกของเราแล้วก็คลุมไปถึงสวรรค์ด้วยนะ ถึงชั้นพรหมด้วยนะ ถึงคราวกัปจะทำลายลงด้วยเหตุ 3 เหตุทั้ง 3 อย่างนั้นก็ล้วนแล้วแต่มาจากกิเลสมนุษย์ทั้งสิ้น คือ
 

     1. ถ้ายุคใดมนุษย์มีโทสะมาก โทสะท่วมโลก ก็จะเหนี่ยวนำจนกระทั่งเกิดไฟประลัยกัลป์ล้างโลก
 
     2. ยุคใดมนุษย์มีราคะมากก็เกิดน้ำประลัยกัลป์ล้างโลก ถ้าไฟประลัยกัลป์ล้างโลก สวรรค์ 6 ชั้น หมดเรียบเลยนะ แถมขนาดชั้นพรหม ยังโดนไปอีก 3 ชั้น เผาไหม้จนถึงชั้นพรหม 3 ชั้น ถ้าเกิดเป็นน้ำประลัยกัลป์ แรงกว่าไฟ แต่บางคนก็บอก น้ำเย็นๆ น่ารักออก เป็นอย่างไง เจอน้องน้ำปีที่แล้ว  มันน่ากลัวจริงๆ นะ ไฟไหม้ยังสู้ไม่ได้ น้ำมันมาเรื่อยๆ เอื่อยๆ แต่มันไปทั่วเลย น้ำประลัยกัลป์ ล้างพรหมไป 6 ชั้น ถึงชั้นอาภัสราพรหม ไฟไป 3 ชั้น ถึงแค่ชั้นมหาพรหมาเท่านั้น แต่น้ำไปถึงชั้น อาภัสราพรหมชั้น 6 เพราะยุคที่มนุษย์มีราคะ ท่วมโลก

      3. แต่ยุคไหนที่มนุษย์มีโมหะท่วมโลก เกิดลมประลัยกัลป์ล้างโลก พรหมหมดไป 9 ชั้น ถึง เวหัปผลาพรหม พหรมชั้นที่ 9 หมดเลย น่ากลัวมาก บางคนบอก ลมเย็นๆ มันไม่น่าจะขนาดไฟ หรือขนาดน้ำนะ จะต้องไปเจอตอนเจอพายุจะรู้ว่า เอาเรื่องนะ ลุยมา เมื่อตอนกี่วันก่อนเป็นไงเอ่ย คอนเทรนเนอร์วางอยู่บนพื้นยังล้มเลย คอนเทรนเนอร์หนักๆ นี่นะ หน้าตัดรับน้ำหนักไม่มากเท่าไหร่ ลมมันโป๊มาที คอนเทรนเนอร์ตีลังกากลิ้งโค่โล่ ตู้คอนเทรนเนอร์นี่นะ ขนาดนั้น เอาเรื่อง ลมน่ากลัว ทำไมเครื่องบินลอยอยู่บนอากาศได้ เพราะปีกใช่ไหม จะเป็นเครื่องบินใบพัดก็ตาม เครื่องบินเจ็ทก็ตาม หลักการเดียวกัน ที่ลอยอยู่บนอากาศได้ ไม่ว่าจะเป็นปีกที่หมุนหรือว่าเจ็ทที่พ่นออกมาก็ตาม เป็นเพียงทำให้เครื่องบินมีพลังขับเคลื่อนพุ่งไปข้างหน้าเท่านั้นเอง แต่ตัวที่ทำให้เครื่องบินลอยอยู่บนฟ้าได้ก็เป็นเพราะว่าปีกของมัน ข้างบนมันจะโค้งๆ อย่างนี้ใช่ไหม ข้างล่างจะเรียบๆ
 
    เพราะฉะนั้นทำให้พื้นที่หน้าตัดข้างล่างน้อย ข้างบนมันโค้งขึ้นมา พื้นที่หน้าตัดจะมากกว่าถูกไหม แล้วแรงกดอากาศ ในระดับน้ำทะเลมีค่าเท่ากับ 14.7 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว 1 ตารางนิ้ว เล็กๆ แรงกดอากาศมีน้ำหนัก 14.7 ปอนด์ หมายถึงว่า ถ้าข้างบนเป็นสูญญากาศและข้างล่างเป็นอากาศปกติ ระดับน้ำทะเล แค่ 1 ตารางนิ้ว 10.57 เราจะกดไม่ให้ฝานี้มันดูดตัวอากาศดันขึ้นมา เราต้องออกแรง 14.7 ปอนด์ คือประมาณ 6-7 กิโล กดเอาไว้ ถ้าเราหนักประมาณราวๆ สัก 60-70 กิโล ถ้าข้างล่างเป็นอากาศแล้วเราอยู่ในสุญญากาศ เราเหยียบอยู่ แค่พื้นที่ 10 ตารางนิ้ว เท่านั้นเอง เราโดนบีบเด้งขึ้นไปแล้ว 10 ตารางนิ้วเท่าไหร่เอ่ย แค่ฝ่ามือเรา น้ำหนักตัวเรา 60 กิโล ยังกดไม่อยู่เลยนะ ถ้าเกิดพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร โดยเฉลี่ยก็ประมาณราวสัก 1,600 ตารางนิ้ว ก็คือจะมีแรงกดของอากาศ ประมาณ ราวๆ 10 ตัน แค่ตารางเมตรเดียว 10 ล้อ ลอยแล้วนะ ถ้าเจอขนาดห้องนี้เข้าไปประมาณสัก 200 ตารางเมตร แรงกดประมาณ 2 พันตันเป็นไง เด้งดึ๋งเลย  เครื่องบินลอยได้เพราะว่าแรงกดอากาศข้างล่างมันดันขึ้น แล้วยิ่งเครื่องบินวิ่งไปเร็วเท่าไหร่ก็ตาม ในอากาศก็จะทำให้ตัวปริมาณอากาศที่มันผ่านข้างบนข้างล่างยิ่งมากเท่านั้น แรงดันให้มันลอยขึ้นก็ยิ่งมากขึ้น ยิ่งบินเร็วในเวลา 1 หน่วย เช่น 1 วินาที ปริมาณของอากาศที่วิ่งผ่านข้างบนกับผ่านข้างล่าง มันก็จะยิ่งเยอะ แรงที่มันดันก็ยิ่งสูง นี่ก็เป็นหลักการลอยตัวของเครื่องบิน เรากลับมาเรื่องลม ลมเวลาพัดมันแรงมากๆ นะ อย่าไปแปลกใจว่าภูเขาทั้งลูก ถ้าลมแรงๆ มันสามารถพัดเอาภูเขาทั้งลูกลอยอยู่บนฟ้าได้เลย จริงๆ ไม่น่าแปลกใช่ไหม ทำไมลมประลัยกัลป์ถึงสามารถทำลายได้ถึงชั้นพรหม แรงยิ่งกว่าไฟยิ่งกว่าน้ำอีก แต่ทั้งหมดก็มาจากกิเลสมนุษย์นี่แหละ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำลายโลก ไม่ใช่จากไหน กิเลสมนุษย์
 
เรามาดูว่าหลักพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทำอย่างไง แบ่งเป็น  2 ระดับ ใหญ่

      1. ระดับทัศนคติ คือ ให้มองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อกันเป็นลูกโซ่ ถ้าเราทำอย่างนี้มันจะเกิดผลอย่างนี้ขึ้นมาเป็นลูกโซ่ แล้วสุดท้ายจะเป็นอย่างไง เรามองเห็น อันนี้เห็นหลัก อิทัปปัจจยตา เนื้อหามีว่า เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี หลักอิทัปปัจจยตา อันนี้เป็นหลักพื้นฐานอันหนึ่งของพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ก็อยู่ในหลัก อิทัปปัจจยตา เพราะสมุทัยมี ทุกข์จึงเกิด สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะตัณหามี ทุกข์จึงมี ถ้าตัณหาไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี เพราะมรรคมี นิโรธจึงมี หรือว่า ปฏิจจสมุปบาท ก็ยิ่งชัดเลย อวิชชาทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทำให้เกิดนามรูป นามรูปทำให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนา เวทนาทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดภพ ภพทำให้เกิดชาติ ชาติทำให้เกิดชรามรณะ โสกปริเทวะ
 
   เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี พระพุทธศาสนาจะสอนให้ดูทุกอย่างเป็นองค์รวม มองทุกอย่างเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่เสมอ ตรงนี้จะเป็นตัวช่วยเชื่อมโยงความรู้ของคนในยุคปัจจุบัน ให้สมบูรณ์จากความรู้ที่แยกส่วน แล้วพอเห็นความรู้ที่สมบูรณ์ เห็นความเชื่อมโยมปัญหาแล้ว ปัญหาอะไรเกิดขึ้นมาปั๊บ มันเพราะอะไรอย่างไง สามารถโยงไปถึงจุดไหนก็ได้นะ เหมือนอย่างว่าเราดูปัญหานี้เกิดเพราะอะไร ทำไมถึงเกิดหมอกควัน เกิดคนเผาป่า จากบ้านเราบ้าง จากเพื่อนบ้านใกล้เคียงบ้าง จากพม่าก็มีมาผสม ทำไมเขาถึงเผาป่า เขาจะเอาเห็ด เพราะว่าเผาป่าเสร็จเรียบร้อย พอฝนตกจะเกิดเห็ดขึ้นมาจะได้เก็บเห็ดขาย แต่ถ้าเกิดมีคนเลี้ยงวัวเยอะ เผาป่าหญ้าขึ้นเขียวๆ จะได้เอาวัวไปกินหญ้า แต่เผาป่าไปพันไร่ จะเอาหญ้าไปให้วัวกินอยู่ 10 - 20 ตัว แล้วทำไมต้องทำอย่างนั้น เพราะเขายังไม่รู้ว่าทำไปแล้วทำให้เกิดผลเสียอย่างไร คือเราจะสาวย้อนเท่าไหร่ไปตามความลึก จะโยงไปอีก 10 - 20 ชั้น จากการพัฒนาของโลกที่ไม่สมดุล ทางตะวันตกประเทศที่พัฒนาแล้ว บางอย่างเอาเปรียบเกินไป ประเทศที่ยังด้อยพัฒนา บางอย่างไม่เปิดกว้างรับพอ กติกายังไม่ค่อยดี มันอยู่ที่ว่าลงไปขนาดไหน เวลาใครมาพูดปัญหาเรื่องนี้สาวถึงสาเหตุ เราจะเห็นว่าปัญหาเรื่องโลกร้อน คนพูดอะไรเยอะแยะมากมายไปหมด ถ้าเราไม่ได้ดูแบบองค์รวมมันจะปวดหัว จนกระทั่งปวดหัว บางทีขี้เกียจฟัง คนนี้ก็ว่าอย่างนี้ ฟังๆ ก็รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง อีกคนว่าอย่างนั้นอีกแล้ว อีกคนว่าอย่างนั้นอีกแล้ว มันไม่เห็นจะเหมือนกัน ตกลงว่าอะไรกันแน่ สุดท้ายเลิกฟังไม่สนใจ รู้สึกเวียนหัว
 
 
     แต่ถ้าเกิดเราเห็นภาพรวม ที่เขาพูดมันเรื่องเดียวกัน อยู่ที่ว่าเขาจะพูดถึงปัญหาลึกไปถึงกี่ชั้นเท่านั้นเอง ถ้าเข้าใจอย่างนี้เราเห็นต้นไม้ทั้งต้น จะไปฟังใครอ่านบทความไหนเราก็จะเกิดความเข้าใจกระจ่างมากขึ้น เพราะเราเห็นภาพรวม เรารู้ว่าความรู้ที่เราหยิบมาตอนนี้ ได้รับมาจะไปแปะไว้ตรงไหน อีกอันก็มาแปะตรงนี้ต่อจิกซอล ไปเรื่อยๆ ความรู้เราก็สมบูรณ์ขึ้นๆ แต่ถ้าเกิดเราไม่เห็นทั้งต้นไม้ทั้งต้น รับความรู้มาแล้วก็เป็นความรู้ที่ลอยเท้งเต้งเป็นชิ้นส่วนอันหนึ่ง ไม่รู้จะเอาไว้ตรงไหน สักพักเดียวอันนี้มันก็จะลอยตามน้ำไป เราจะถูกลืมไปเพราะว่ามันไม่รู้จะไปฝากตรงไหนดี ทำให้มันไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้เก่า อีกอันก็มาลอยเท้งเต้งไปอีกเรื่อง เดี๋ยวก็แว๊บหายไปอีกแล้ว สุดท้ายเราก็จำอะไรไม่ค่อยได้ มีแต่ความรู้ข้อมูลท่วมเข้ามาๆ
 
      แต่ถ้าเกิดว่าเราเห็นภาพรวม ความรู้ที่เรามีแต่ละเรื่องจะถูกมาเชื่อมโยงความรู้เก่า ย่อยแล้วก็ประสานๆ องค์ความรู้ในใจของเราในตัวของเรา จะใหญ่ขึ้นๆ มากขึ้น หลากหลายขึ้น ยิ่งรับข้อมูลที่น่าสนใจมาก็จะทำให้องค์ความรู้ในตัวเราสมบูรณ์ขึ้น แล้วเราจะสามารถแยกแยะ เลือกรับความรู้ที่ถูกต้องด้วย ความรู้ไหนผิด ความรู้ไหนไม่ถูกต้อง ข้อมูลเพี้ยน เราไม่เอา เราสามารถกลั่นกรองได้ เพราะมันถูกประสานกับของเรา ประสานแล้วไม่เข้ากัน แสดงว่ามีปัญหาต้องมีการรีเช็คแล้ว หรือว่าเลือกรับว่าความรู้ไหนน่าสนใจ บางอย่าง เรื่องนี้ไม่น่าสนใจ มาก่อนเดี๋ยวนี้มันน่าสนใจนะ ก็เหมือนกับเรามีการแตกก้านใหม่ขึ้นมา อีก 1 ก้าน รองรับความรู้ในเรื่องนี้ ทีหลังมีความรู้อื่นเข้ามาสมทบๆ อยู่ในก้านนี้แล้วนะ ค่อยๆ เพาะก้านนั้นก้านนี้ขึ้นมา จากเดิมเรื่องเดิมก็ค่อยๆขยายเรื่องราวต่างๆ ออกไป ถ้าเข้าใจและจำอย่างนี้จะไม่ลืม รับข้อมูลอย่างนี้รับแล้วคุ้ม แต่ถ้าเกิดเป็นข้อมูลที่ลอยๆ อยู่ชิ้นเดียว ลืมง่าย แล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้เท่าไหร่

     2.
ระดับพฤติกรรม อันนี้หลักอันหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ หลัก “กุลจิรัฏฐิติธรรม” 4 แปลว่า ธรรมที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่ง อยู่ได้นาน จริงๆ หลวงพี่ว่าพวกเราเคยผ่านหูผ่านตามาทั้งนั้น

     1. ของหายให้หา สิ่งแวดล้อมใดที่มันเสียไปแล้ว ก็ช่วยกันกู้กลับมา
     2. ของเสียให้ซ่อม
     3. รู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอย
    4. ตั้งคนที่มีศีลมีธรรมเป็นหัวหน้าตระกูล หัวหน้าครอบครัว เป็นหัวหน้าประเทศ หัวหน้าเมือง หัวหน้าอบต. หัวหน้าอบจ. เป็นสส. ก็คือเลือกคนที่มีศีลมีธรรม เป็นผู้นำของหมู่ชนนั้นๆ นั่นเอง
    
      ของหายให้หา ของเสียให้ซ่อม รู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอย และตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นหัวหน้า เหล่านี้เรียกว่าเป็นหลัก กุลจิรัฏฐิติธรรม ธรรมที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งอยู่ได้นานค่ะ เมื่อสิ่งแวดล้อมใด ที่สูญเสียระบบนิเวศน์ไปแล้วก็ให้ช่วยกันกู้กลับมา ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า การรักษาคุณภาพน้ำ ใช้พลังงานทดแทน และรู้จักประมาณในการบริโภค กินใช้สอยอย่างพอดี

     ปัญหาสิ่งแวดล้อมคือปัญหาของสังคมโลก หากผู้คนได้รับรู้และมองเห็นปัญหาในภาพรวมได้แล้วล่ะก็ สังคมย่อมจะมีการปรับตัว ผู้นำ หรือคนที่จะมาทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมก็จะปรับตัวไปด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทิศทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมก็จะสามารถทำได้อย่างถูกจุด และมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
 
รับชมวิดีโอ

 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1

ทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tvทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tv

ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ