Positive Thinking


[ 27 พ.ค. 2554 ] - [ 18265 ] LINE it!

 
 
Positive  Thinking
 
 
 
คิดดี  มีสุข  ย่อมเป็นกำไรชีวิต
    
คิดดี  มีสุข  ย่อมเป็นกำไรชีวิต 
 
 
          โลกที่เราอยู่ก็ดำเนินไปอย่างที่เคยเป็น  ลมยังคงพัดฝนยังคงตก  ดวงอาทิตย์ยังคงเคลื่อนไป  แต่ทำไมบางคนมีความสุข เพราะลมที่พัด เพราะฝนที่กำลังตก เพราะแสงแดดที่ส่อง แต่บางคนกลับมีความทุกข์ในสิ่งเดียวกันนั้น
 
          คิดดี  มีสุข  ย่อมเป็นกำไรชีวิต  อย่างน้อยก็ก่อให้เกิดอารมณ์ที่แช่มชื่น  เบิกบาน  มีความหวัง  มีพลังในการสู้ชีวิตต่อไปแต่หากว่า  ความคิดนั้นนำไปสู่การสร้างความดี  สร้างบุญบารมีเพิ่มขึ้น  หรือน้อมใจไปสู่การสร้างความดีได้อีกด้วย  นั่นย่อมเป็น Positive Thinking ทีเดียว  ดังเช่น ความคิดอันเป็นเหตุบังเกิดขึ้นของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  ดังนี้
 
          ครั้งนั้น  พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง  มีพระราชอุทยานอยู่ในที่ใกล้พระนคร  พระองค์เสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่  เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน  เสด็จลงจากพระยานในระหว่างหนทางด้วยพระราชดำริว่า “เราจะไปล้างหน้าที่ท่าน้ำ”
 
          ในอุทยานนั้น  นางราชสีห์ตกลูกราชสีห์แล้วไปหากินราชบุรุษเห็นลูกราชสีห์นั้นแล้ว  ทูลว่า ”ลูกราชสีห์ พระเจ้าข้า”  พระราชาทรงพระราชดำริว่า “ได้ยินว่า  ราชสีห์ไม่กลัวใคร”  จึงตรัสสั่งให้ตีกลอง  เพื่อทดลองลูกราชสีห์นั้น  ลูกราชสีห์ฟังเสียงนั้น  ก็นอนตามเดิม  พระราชาตรัสสั่งให้ตีกลองถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ ลูกราชสีห์ก็ชูศรีษะขึ้น  แลดูบริษัททั้งหมด  แล้วนอนเหมือนเดิม
 
          ขณะนั้น  พระราชาตรัสว่า “พวกเราควรไปก่อนที่แม่ราชสีห์นั้นจะกลับมา”  เมื่อจะเสด็จไป  ทรงพระราชดำริว่า
 
          “ลูกราชสีห์  แม้เพิ่งเกิดในวันนี้  ก็ไม่สะดุ้ง  ไม่กลัว  เมื่อไรหรอ  เราพึงตัดความสะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิ  แล้วไม่พึงสะดุ้ง  ไม่พึงกลัว
 
           ขณะที่พระองค์ทรงยึดอารมณ์นั้น  เสด็จไปทอดพระเนตรเห็น  พวกชาวประมงกำลังจับปลา  แล้วคลี่ตาข่ายตากไว้บนกิ่งไม้  ทรงเห็นลมพัด  ไม่ติดข่ายทั้งหลาย  ทรงยึดนิมิตแม้นั้นอีกว่า
 
          “เมื่อไหร่หนอ  เราจะสามารถทำลายข่ายคือตัณหาทิฏฐิและข่ายคือโมหะไป  ไม่ติดขัด  เหมือนลมพัดไม่ติดข่ายเช่นนั้น
 
          ต่อมา  พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน  ประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีที่มีแผ่นศิลา  ทรงเห็นดอกปทุมทั้งหลายที่ต้องลมแล้ว  โอนเอนไปถูกน้ำ  เมื่อปราศจากลม  ก็กลับตั้งอยู่ตามเดิมอีก  ไม่เปียกน้ำ  จึงทรงถือนิมิตแม้นั้นว่า
 
         “เมื่อไรหนอ  แม้เราเกิดแล้วในโลก  เราไม่พึงติดในโลกดำรงอยู่  เหมือนปทุมเหล่านี้  เกิดในน้ำ  ไม่เปียกน้ำดำรงอยู่  ฉะนั้น
 
 
 
ดอกปทุมทั้งหลายที่ต้องลมแล้วโอนเอนไปถูกน้ำ
 
ดอกปทุมทั้งหลายที่ต้องลมแล้วโอนเอนไปถูกน้ำ
 
 
          พระราชานั้นทรงพระราชดำริบ่อยๆ ว่า  เราไม่พึงสะดุ้ง  ไม่พึงติด  ไม่พึงเปียก  เหมือนราชสีห์ ลม และปทุม  ฉะนั้น  แล้วทรงสละราชสมบัติออกผนวช  เจริญวิปัสสนาอยู่  ก็ทรงทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว  ตรัสอุทานคาถานี้ว่า
 
 
สีโหว  สทฺเทสุ  อสนฺตสนฺโต
วาโตว  ชาลมฺหิ  อสชํชมาโน
ปทุมํ ว โตเยน  อลิมฺปมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
 
 
          บุคคลไม่สะดุ้งในธรรม  มีความเที่ยง เป็นต้น  เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในธรรม  มีความเที่ยง  เป็นต้น  เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง
 
         ไม่ข้องอยู่ในธรรม  มีขันธ์และอายตนะ เป็นต้น  เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย
 
         ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ  เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ
 
         พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น
 
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  33 - 35
 
 
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
เพียงรักษาจิตเท่านั้นเพียงรักษาจิตเท่านั้น

แข่งบุญแข่งบารมีแข่งบุญแข่งบารมี

วิธีชนะคนพาลวิธีชนะคนพาล



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก