เมื่อต้องสอน ผู้มองต่างมุม


[ 15 มิ.ย. 2554 ] - [ 18270 ] LINE it!

 
 
เมื่อต้องสอน  ผู้มองต่างมุม
 
 
มองต่างมุม
  
 
มองต่างมุม  
 
 
          เมื่ออยู่ในสถานะที่แตกต่าง  ความคิดความเข้าใจย่อมแตกต่าง  ดังเช่น  บางคนไม่เข้าใจว่า  ทำไมต้องให้ทาน  เสียทรัพย์เปล่าๆ  ทำไมต้องเข้าวัด  เสียเวลา  ทำไมต้องไปบวชลำบากเปล่าๆ  เรามีข้าวกิน  มีบ้านอยู่  ทำไมต้องไปขอเขากินและเพราะความไม่เข้าใจ  จึงไม่สนใจไยดี  หรือหนักขึ้นเป็นต่อว่า  เสียดสี  เหน็บแนม  หรืออาจหนักขึ้นเป็น  ต่อต้านก่อม็อบ  ทำลายล้าง  พระพุทธองค์ทรงสอนให้เข้าใจธรรมชาติที่แตกต่างนี้  และวิธีที่จะแก้ไขความไม่เข้าใจเป็นลำดับ  จนเขามายืนอยู่ในสถานะเดียวกันกับเรา คือ  เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ  มุ่งมั่นในการประพฤติธรรม จาก ทันตภูมิสูตร ดังนี้
 
        สามเณรอจิรวตะ  อัคคิเวสสนะ  กราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เล่าถึงการตอบปัญหาเรื่องการมีจิตเป็นเอกัคคตา(หยุดนิ่งเป็นหนึ่ง) แก่พระราชกุมารชยเสนะ  พระพุทธองค์จึงตรัสแนะนำว่า
 
         “อัคคิเวสสนะ  พระราชกุมารจะเข้าใจความในภาษิตของเธอได้อย่างไร  จิตเตกัคคตาที่เธอกล่าวนั้น  เขารู้  เขาเห็น  เขาบรรลุ  เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ (ประพฤติพรหมจรรย์)  แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม  ยังบริโภคกามถูกกามวิตกกิน  ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา  ยังขวนขวายในการแสวงหากาม  จักทรงรู้  หรือจักทรงเห็น  หรือจักทรงทำให้แจ้งจิตเตกัคคตาได้นั่น  ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯลฯ
 
 
 
 
ภูเขาใหญ่
 
ภูเขาใหญ่
 
 
          อัคคิเวสสนะ  เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือนิคม  สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว  จูงมือกันเข้าไปยังที่ตั้งภูเขา  ครั้นแล้วสหายคนหนึ่งยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง  อีกคนหนึ่งขึ้นไปช้างบนภูเขา
 
          สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง  เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้นว่า  “แน่ะเพื่อน  ท่านยืนบนภูเขานั้น  มองเห็นอะไรบ้าง”  สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขาตอบว่า  “เพื่อนเอ๋ย  เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน  ป่าไม้ ภูมิภาค  และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์”  สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า  “แน่ะเพื่อน  ข้อที่ท่านยืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน  ป่าไม้  ภูมิภาค  และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์นั่น  เป็นไปไม่ได้หรอก”
 
          สหายที่ยืนบนภูเขา  จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่างแล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น  ให้พักเหนื่อยครู่หนึ่งแล้ว  เอ่ยถามสหายนั้นว่า  “แน่ะเพื่อน  เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว  ท่านเห็นอะไรบ้าง”  สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า “เพื่อนเอ๋ย  เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน  ป่าไม้  ภูมิภาค  และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์”
 
          สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า  “แน่ะเพื่อน  เราเพิ่งได้ยินท่านกล่าวว่า  สิ่งที่เราเห็น  เป็นไปไม่ได้หรอก”
 
          สหายคนขึ้นไปทีหลังก็พูดว่า “เราก็เพิ่งคำที่ท่านกล่าว  ว่าเป็นจริงอย่างนี้เอง”
 
         สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า  “สหายเอ๋ย  ความเป็นจริง  เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้  จึงไม่แลเห็นสิ่งที่ควรเห็น”  นี้  ฉันใด
 
         อัคคิเวสสนะ  ฉันนั้นเหมือนกันแล  พระราชกุมารชยเสนะถูกกองอวิชชาใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้  บังไว้  ปิดไว้  คลุมไว้แล้ว  พระราชกุมารชยเสนะนั้นและยังอยู่ท่ามกลางกาม  ยังบริโภคกาม  ถูกกามวิตกกิน  ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา  ยังขวนขวายในการแสวงหากามจักทรงรู้  หรือทรงเห็น  หรือทรงทำให้แจ้งซึ่งธรรม  ที่เขารู้  เขาเห็น  เขาบรรลุ  เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ  นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
 
 
 
ฝึกช้างทรง
 
ฝึกช้างทรง
 
 
          จากนั้นจึงทรงแนะนำต่อว่า  การสอนธรรมะ  ฝึกคนนั้น  ควรทำอย่างการฝึกช้างทรง  คือ  เริ่มจากจับช้างป่ามา  แล้วผูกไว้กับช้างหลวงที่ฝึกดีแล้ว  ต่อมาให้ช้างหลวงจูงออกมาจากป่า  แล้วฝึกให้คุ้นกับบ้านด้วยการล่ามไว้กับเสาใหญ่  พูดด้วยคำไพเราะ  เมื่อช้างเริ่มรับฟัง  ก็เพิ่มอาหาร  คือ  หญ้าและน้ำเป็นรางวัล  หลังจากนั้นจึงฝึกให้ทำตามคำสั่งควาญช้างให้รุก  ให้ถอย  ให้ยืน  ให้หยุด  และขั้นสุดท้าย คือ ฝึกเป็นช้างทรงในสงครามด้วยการผูกโล่ใหญ่ที่งวงช้าง  ให้บุรุษถือหอกนั่งบนคอและบุรุษถือหอกหลายคนยืนล้อมรอบ  ควาญช้างถือของ้าวยืนอยู่ข้างหน้า
 
          จากนั้น  ฝึกช้างให้หยุดนิ่งไม่ขยับอวัยวะใดๆ  ท่ามกลางเสียงและอาวุธ  เป็นช้างหลวงทนต่อการประหาร  ด้วยหอกดาบ  ลูกศร  และเครื่องประหารของศัตรูอื่น  ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่  บัณเฑาะว์  สังข์  และกลองเล็ก  กำจัดข้อบกพร่องทุกอย่างได้  หมดพยศ  เมื่อนั้นจึงนับเป็นช้างทรงที่สมควรแก่พระราชา  เป็นสมบัติคู่บารมีของพระราชา
 
          ด้วยอุปไมยนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ก็ทรงฝึกคนไปตามลำดับด้วยการแสดงธรรม  จนเกิดความเลื่อมใส  ทำให้เขาเห็นอานิสงส์แห่งการบรรพชา  เมื่อเขาออกบวชก็ทรงฝึกให้ละกามคุณ ๕  ด้วยการสำรวมในพระปาฏิโมกข์  สำรวมอินทรีย์  เจริญภาวนา  ละนิวรณ์ในพระปาฎิโมกข์  สำรวมอินทรีย์  เจริญภาวนา  ละนิวรณ์ทั้ง ๕  เจริญสติปัฎฐาน ๔  ไปตามลำดับ  จนบรรลุวิชชา ๓  มีปุพเพนิวาสานุสติปัฏฐาน ๔  ไปตามลำดับ  จนบรรลุวิชชา ๓  มีปุพเพนิวาสานุสติญาณ  จุตูปปาตญาณ  และอาสวักขยญาณ  กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น  บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
 
 
 
ยืนอยู่จุดเดียวกัน
 
ยืนอยู่จุดเดียวกัน
 
 
          วิธีแก้ไขความเข้าใจผิด  ความเห็นที่แตกต่าง  พระพุทธองค์สอนด้วยวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุด คือ เหตุที่เขาไม่เข้าใจ  เพราะว่า  เขาไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนั้น  ไม่เคยมาอยู่ในจุดเดียวกับเรา  แต่คิดจะให้เขามีความเข้าใจ  ความเห็นเหมือนกันกับเรา  เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
 
         ดังนั้น  วิธีแก้ไขที่ลัด  และตรงประเด็นที่สุด  ก็คือนำเขาให้มาอยู่ตรงจุดที่เรายืนอยู่  เมื่ออยู่บนยอดเขาเช่นเดียวกันแล้วก็ย่อมเห็นเหมือนกัน  จะชี้ชวนดูความสวยงามของต้นไม้  ทิวเขาก็เข้าใจกันและกัน  แต่การทำเช่นนั้น  ก็ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่หักโหมประหนึ่งหักด้ามพร้าด้วยเข่า  ดังเช่น  การฝึกช้างจากช้างป่า  จนกลายเป็นช้างทรงที่ออกศึกสงคราม  คู่บารมีพระราชาได้
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  109 - 113
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
คนรวยที่แท้จริงคนรวยที่แท้จริง

เกิดในโลก  แต่ไม่ติดในโลกเกิดในโลก แต่ไม่ติดในโลก

หากเดินทางผิด  แม้เก่งเท่าไหร่ก็ไม่ถึงเป้าหมายหากเดินทางผิด แม้เก่งเท่าไหร่ก็ไม่ถึงเป้าหมาย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก