นิโครธมิคชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกคบ


[ 26 ก.ย. 2554 ] - [ 18283 ] LINE it!

ชาดก 500 ชาติ

นิโครธมิคชาดก-ว่าด้วยการเลือกคบ

นิโครธมิคาชาดก "เป็นเรื่องของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะซึ่งทั้งสองตัวต้องปกครองฝูงกวาง และแต่ละตัวก็มีวิธีการปกครองที่แตกต่างกันซึ่งผลที่ออกมาก็นำมาซึ่งเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น"

นางกวางท้องแก่ขอความเมตตาขอชีวิต ลูกในท้องของตนต่อพญากวางสาขะ
 
นางกวางท้องแก่ขอความเมตตาขอชีวิตลูกในท้องของตนต่อพญากวางสาขะ
 
    ในความไพศาลแห่งแผ่นดินมคธนั้น มหานครราชคฤห์คือดินแดนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในพุทธกาลครั้งหนึ่งมหาอำนาจผู้ยึดครองชมพูทวีปไว้ 1 ใน 4 ส่วนแห่งนี้ได้ปรากฎเหตุอธิกรณ์ครั้งใหญ่ คือการพิจารณาความภิกษุณีตั้งครรภ์ที่เดินเท้ามาขอความเป็นธรรมถึงวิหารเชตะวัน
 
มหานครราชคฤห์ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา
 
มหานครราชคฤห์ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา
 
    ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระอุปบาลีผู้เป็นเลิศทางวินัย ฝ่ายฆราวาสคือพระเจ้าปเสนทิโกศล มหาอุบาสิกาวิสาขา อานาถบิณฑิกเศรษฐีและคนสำคัญสูงสุดในขณะนั้นอีกมากมาย ภิกษุณีสำคัญรูปนี้ต่อมาคือมารดาของพระเถระผู้เป็นธรรมถึกเอกแห่งพุทธกาล นามกัสสปะเถระนั้นเอง
 
ภิกษุณีนางหนึ่งผู้ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการพิจารณาความ ครั้งใหญ่ในพระเชตวันมหาวิหาร
 
ภิกษุณีนางหนึ่งผู้ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการพิจารณาความครั้งใหญ่ในพระเชตวันมหาวิหาร
 
    เธอกำเนิดในตระกูลใหญ่เป็นธิดาคนเดียวของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ เป็นสตรีงามพร้อมทั้งเรือนสาม น้ำสี่และใฝ่ในบุญกุศลเป็นอย่างยิ่ง กุลธิดาผู้นี้ใฝ่ในบุญบารมีถึงขั้นขออนุญาตบวชเป็นภิกษุณีและอ้อนวอนบิดาอยู่มิได้ว่างเว้น แต่ถึงแม้จะอ้อนวอนสักกี่ครั้ง บิดาก็ยังไม่ปลงใจให้บวช
 
ธิดาเศรษฐีสตรีผู้งามพร้อมแต่เธอมีความรักในการออกบวชยิ่งนัก
 
ธิดาเศรษฐีสตรีผู้งามพร้อมแต่เธอมีความรักในการออกบวชยิ่งนัก
 
ธิดาเศรษฐี "ผู้ซึ่งมีความเพียบพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติและคุณสมบัติ แต่เธอก็มิได้พึงพอใจกับสิ่งเหล่านี้ เธอกลับแสวงหาความสุขที่แท้จริง คือการออกบวชนั้นเอง"
  
    “เราสร้างบารมีสั่งสมบุญโดยไม่บวชก็ได้นี่จ๊ะลูก ต่อไปเจ้าก็ต้องออกเรือนมีลูกมีหลานรักษาตระกูลของเราน่ะ” กุลสตรีดีพร้อมย่อมเชื่อฟังบุพการี การบวชในพระพุทธศาสนาจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแทนกลับกลายเป็นงานวิวาห์กับบุตรชายเศรษฐีฐานะพอกันที่ทางบุพการีได้จัดหาให้
 
ธิดาเศรษฐีอ้อนวอนบิดาเพื่อต้องการออกบวช มิได้ว่างเว้นทุกครั้งที่มีโอกาส
 
ธิดาเศรษฐีอ้อนวอนบิดาเพื่อต้องการออกบวชมิได้ว่างเว้นทุกครั้งที่มีโอกาส
 
    “เฮอะๆๆ ดีใจจริงๆ เลยในที่สุดบุตรสาวเราก็จะได้ออกเรือนกับคนที่เราไว้วางใจได้ ดีใจจริงๆ ที่ได้ทำหน้าที่พ่ออย่างสมบูรณ์แบบ” โชคดีที่กุลบุตรผู้เป็นสามีนั้นก็เป็นกัลยาณธรรมใฝ่ใจคบหาผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอันดี นับเป็นโชคดีในเบื้องต้น เมื่อแต่งงานออกเรือนไปแล้ว
 
ธิดาเศรษฐีจำยอมต้องแต่งงานกับชายหนุ่มที่บิดาจัดหาให้
 
ธิดาเศรษฐีจำยอมต้องแต่งงานกับชายหนุ่มที่บิดาจัดหาให้
 
    สามีผู้นี้ก็ดูแลรักใคร่นางเป็นอย่างดี เมื่อแต่งงานแล้วกุลธิดาผู้นี้ยังยึดมั่นประพฤติตนอยู่ในหลักธรรม แม้จะมีงานนักขัตฤกษ์ซึ่งผู้คนพากันแต่งกายประชันกันเพื่อร่วมงาน แม้นางจะพรั่งพร้อมไปด้วยเพชรนิลจินดา แต่ก็กลับแต่งกายธรรมดาไร้เครื่องประดับใดๆ  “อันร่างกายของคนเรานี้
 
ธิดาเศรษฐีแม้รูปสวยรวยทรัพย์แต่เธอก็ไม่เคย จะโอ้อวดในความงามเพียบพร้อมของเธอ
 
ธิดาเศรษฐีแม้รูปสวยรวยทรัพย์แต่เธอก็ไม่เคยจะโอ้อวดในความงามเพียบพร้อมของเธอ
  
    ทั่วทั้งร่างล้วนสกปรกอีกทั้งยังมีทางไหลออกของสิ่งปฏิกูลทั้ง 9 ทวาร ไม่น่าพิสมัยเลย” “พี่เห็นด้วยกับน้องหญิงแม้เราจะมีทรัพย์สินมาก แต่มันก็เป็นเพียงทรัพย์สมบัติภายนอกเท่านั้น คุณธรรมในใจย่อมสำคัญและมีคุณค่ามากกว่า” ต่อมาไม่นานเมื่อทั้งสองตั้งใจศึกษาและประพฤติธรรม
 
สามีของธิดาเศรษฐีอนุญาตให้เธอออกบวช เป็นภิกษุณีตามที่เธอต้องการ
 
สามีของธิดาเศรษฐีอนุญาตให้เธอออกบวชเป็นภิกษุณีตามที่เธอต้องการ
 
    สามีก็อนุญาตให้นางบวชในพุทธศาสนาได้ “น้องดีใจจริงๆ ที่ท่านพี่เข้าใจน้อง ขอบคุณมากคะ คราวนี้น้องก็คงได้ปฏิบัติธรรมอย่างที่ได้ตั้งใจไว้ซะที” ผู้เป็นสามีเมื่อตัดสินใจได้ดังนี้ ก็จัดการหาเครื่องบวชเครื่องไทยธรรมจนครบถ้วนแล้วพากันไปบวชในสำนักภิกษุณีของพระเทวทัต
 
ธิดาเศรษฐีออกบวชเป็นภิกษุณีในสำนักของพระเทวทัต
 
ธิดาเศรษฐีออกบวชเป็นภิกษุณีในสำนักของพระเทวทัต
 
ภิกษุณี "ธิดาเศรษฐีได้ออกบวชเป็นภิกษุณีตามที่ใจเธอปรารถนาในสำนักของพระเทวทัต โดยการอนุญาตของสามี"
 
    เพราะขณะนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังพระเชตวันเมืองสาวัตถีเสียแล้ว “ขอให้ภิกษุณีได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุอย่างที่ตั้งใจเถิด” พระเทวทัตนั้นแยกเอาหมู่สงฆ์ของพระพุทธองค์มาตั้งอารามใหม่ เมื่อมีสาวกมาเข้าด้วยก็ยินดี “ดีๆๆ เจ้าจงมาปฏิบัติธรรมกับเราเถิด”
 
ภิกษุณีตั้งครรภ์และท้องโตขึ้นทุกวัน จนไม่สามารถปกปิดได้อีกต่อไป
 
ภิกษุณีตั้งครรภ์และท้องโตขึ้นทุกวันจนไม่สามารถปกปิดได้อีกต่อไป
 
    นางภิกษุณียินดีเป็นที่สุด ท่านปฏิบัติตนอยู่ในวินัยอันเข้มงวดของพระเทวทัตโดยไม่บกพร่อง แต่อนิจจาภิกษุณีเกิดมีครรภ์นับวันก็ยิ่งโตขึ้นปกปิดไว้ไม่ไหว “จะทำอย่างไรดี เราคงไม่สามารถปกปิดเรื่องนี้  ได้อีกต่อไปแล้ว” การตั้งครรภ์ในที่นี้ เป็นการตั้งครรภ์มาก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณี
 
ภิกษุณีและเพื่อนพากันเดินไปยังมหาวิหาร เชตวันเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
 
ภิกษุณีและเพื่อนพากันเดินไปยังมหาวิหารเชตวันเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
 
    ท่านได้ขออุทรณ์ไปตามจริง แต่ก็หาได้รับความยุติธรรมจากพระเทวทัต “อย่างไรเสียท่านก็มีความผิด ตั้งครรภ์อย่างนี้จะสามารถประพฤติธรรมต่อไปได้อย่างไร” พระเทวทัตตั้งอธิการสอบสวนและตัดสินให้จับสึกพ้นจากสภาพภิกษุณีอย่างไร้เมตตาตามอกุศลกรรมเก่า แต่ภิกษุณีท่านนี้หายอมไม่
 
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้อุปการะและเลี้ยงดูเด็ก น้อยผู้เป็นบุตรชายของภิกษุณี
 
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้อุปการะและเลี้ยงดูเด็กน้อยผู้เป็นบุตรชายของภิกษุณี
 
    “สึก ยังไงท่านก็ต้องสึก” “ดิฉันมาบวชเป็นภิกษุณีไม่ใช่เพื่อพระเทวทัต หากแต่บวชถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ดิฉันไม่ยอมสึกเด็ดขาด” จากนั้นภิกษุนีก็เริ่มเดินทางจากคยาสีสะของพระเทวทัตมุ่งหน้ายังวิหารเชตวันนครสาวัตถีอันห่างไกลราว 45 โยชน์ หรือ720 กิโลเมตร
 
เด็กน้อยบุตรชายภิกษุณีได้ตัดสินใจออกบวชเป็นสามเณร
 
เด็กน้อยบุตรชายภิกษุณีได้ตัดสินใจออกบวชเป็นสามเณร
 
    เพื่อขอกราบพระบาทต่อพระพุทธเจ้า โดยมีเพื่อนภิกษุณีที่เห็นใจและรักความเป็นธรรมติดตามไปดูแลจำนวนหนึ่ง ด้วยเหตุดังนี้ พุทธกาลบัดนั้นจึงเกิดการอธิกรณ์ให้ความเป็นธรรมแก่ภิกษุณีขึ้น พระพุทธองค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณให้พระอุบาลี และอุบาสก อุบาสิการ่วมกันตัดสิน
 
พระอรหันต์กัสสปะได้ออกเดินทางจาริกเข้าสู่ป่าและไม่มีผู้ใดพบเห็นท่านอีกเลย
 
พระอรหันต์กัสสปะพร้อมบริขารธุดงค์ได้เดินทางจาริกเข้าสู่ป่าและไม่มีผู้ใดพบเห็นท่านอีกเลย
 
พระอรหันต์ "พระกัสสปะ บุตรชายของภิกษุณี ผู้มีความเพียรจนแตกฉานสัจธรรมเป็นที่เลื่องลือในนามของพระธรรมกถึกแห่งเชตวัน ท่านได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์พระองค์หนึ่ง"
 
    ผลก็คือ ท่านภิกษุณีมิได้กระทำผิดวินัยสงฆ์แต่ประการใด คณะกรรมการจึงอนุญาตให้ท่านพักและคลอดบุตรในสำนักภิกษุณีของพระเชตะวันได้ และเมื่อครบกำหนดกุมารน่ารักก็คลอดออกมา “ลูกเอ๋ย แม่จะเลี้ยงดูเจ้าจนเติบใหญ่ได้อย่างไรในธรณีสงฆ์อย่างนี้” แต่ความวิตกกังวลของแม่ผู้เป็นภิกษุณีก็หมดไป
 
ภิกษุณีวิตกกังวลในการหายตัวไป ของพระอรหันต์กัสสปะเป็นยิ่งนัก
 
ภิกษุณีวิตกกังวลในการหายตัวไปของพระอรหันต์กัสสปะเป็นยิ่งนัก
 
    เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลประธานสอบฝ่ายฆราวาสได้ยื่นพระหัตถ์เข้าโอบอุ้ม “เราจะเรียกเธอว่า กัสสปะกุมาร กุมารแห่งพระราชวัง ฮ่ะๆๆ ฮ่า คงชอบละซี” กุมารนั้นพอรู้เดียงสาทราบที่มาแห่งตน ก็เกิดเบื่อหน่ายชีวิตผู้ครองเรือน จึงขอทูลบวชเป็นสามเณรในสำนักพระพุทธองค์
 
พระอรหันต์กัสสปะเพิกเฉยต่อเสียงของโยมมารดาเหตุเพราะ ไม่ต้องการให้มารดามีบาปข้อวิวรณ์
 
พระอรหันต์กัสสปะเพิกเฉยต่อเสียงของโยมมารดาเหตุเพราะไม่ต้องการให้มารดามีบาปข้อวิวรณ์
 
    “เราขอตั้งกุศลจิตว่า ตั้งแต่นี้จะไม่ยอมสึกจากร่มกาสาวพัสตร์จนวันตาย” ฤดูกาลผ่านพ้นไปเณรน้อยก็เจริญวัยเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และได้รับพระอนุญาตให้อุปสมบท ภิกษุกัสสปะได้บำเพ็ญความเพียรจนแตกฉานในสัจธรรมเลื่องลือในนามของพระธรรมกถึกเอกแห่งมหาวิหาร
 
ภิกษุณีเดินตามพระอรหันต์กัสสปะไม่ทัน และได้ล้มลงด้วยความอ่อนล้า
 
ภิกษุณีเดินตามพระอรหันต์กัสสปะไม่ทันและได้ล้มลงด้วยความอ่อนล้า
 
    คือเทศอธิบายได้ลุ่มลึกเข้าใจง่าย อีกไม่นานต่อมา ก็สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง พระกัสสปะได้นำบริขารแก่การธุดงค์ออกจาริกสู่ป่าเข้าในเวลาไม่นานต่อมาและหายเงียบไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ภิกษุณีผู้เป็นแม่ไม่เป็นอันบำเพ็ญเพียร
 
ภิกษุณีสงบใจลงได้หลังจากที่พระอรหันต์ กัสสปะได้พูดเตือนสติท่าน
 
ภิกษุณีสงบใจลงได้หลังจากที่พระอรหันต์กัสสปะได้พูดเตือนสติท่าน
 
    เฝ้าคิดและติดตามข่าวพระบุตรชายมิได้ว่างเว้น “ป่านนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง หัวอกของแม่ช่างร้อนรุ่มเหลือเกิน” วันหนึ่งภิกษุณีได้เห็นพระกัสสปะขณะออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ จึงร้องเรียกอย่างดีใจ “พระกัสสปะ รอโยมแม่ก่อน” พระอรหันต์ทราบด้วยญาณสมาธิแล้วแต่ทำเป็นเพิกเฉย
 
ภิกษุณีตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมเลิก ห่วงหาอาวรณ์ในตัวพระอรหันต์กัสสปะ
 
ภิกษุณีตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมเลิกห่วงหาอาวรณ์ในตัวพระอรหันต์กัสสปะ
 
    เพราะไม่อยากให้มารดามีบาปขอวิวรณ์ห่วงหาอาลัย ด้วยฤทธิ์พระอรหันต์ทำให้นางภิกษุณีวิ่งตามไม่ทันจนอ่อนล้าสิ้นแรงล้มลง โยมแม่ตามท่านไม่ไหวแล้ว กัสสปะเอ๋ย หยุดก่อนเถิด” ภาวจิตของมารดานั้น พระอรหันต์รู้ว่ากล่าววาจาดีด้วยย่อมไม่เป็นผล กตเวทิตาของท่านมากนัก
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่า นิโครธมิคชาดก แก่เหล่าภิกษุสงฆ์
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่า นิโครธมิคชาดก แก่เหล่าภิกษุสงฆ์
 
นิโครธมิคชาดก "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่านิโครธมิคชาดกแก่เหล่าภิกษุสงฆ์ ณ ธรรมสภา"
 
    จึงข่มอาลัยตอบให้สติว่า “เวลาผ่านมานานแล้ว ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดอาลัยทางโลกไม่ขาดเช่นนี้” วาทะนั้นคืนสติแม่ภิกษุณีโดยพลัน เพราะมีกุศลบุญสั่งสมไว้ไม่น้อย ภิกษุณีเมื่อตัดใจได้ ก็ตั้งใจกลับไปประพฤติปฏิบัติธรรมตามความมุ่งมั่นแต่เดิมต่อไป ไม่นานนักก็บรรลุเข้าถึงกายแห่งธรรมเป็นพระอรหันต์ในราตรีหนึ่ง
 
พญากวางสาขะผู้ปกครองฝูงกวางด้วยความเข้มงวด และเคร่งครัดในกฏเกณฑ์ที่วางไว้
 
พญากวางสาขะผู้ปกครองฝูงกวางด้วยความเข้มงวดและเคร่งครัดในกฏเกณฑ์ที่วางไว้
 
    ภิกษุทั้งหลายเมื่อทราบความดังนี้ก็ยินดีและสรรเสริญในพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ที่ทรงอุปถัมภ์มารดาและและบุตรทั้งสอง พร้อมกันก็สาปแช่งพระเทวทัตกันอื้ออึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสดับแล้วก็ทรงระลึกชาติของมารดาและภิกษุผู้เป็นบุตรด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณ
 
พญากวางนิโครธะผู้ปกครองฝูงกวางด้วยหลักธรรมและเสียสละ
 
พญากวางนิโครธะผู้ปกครองฝูงกวางด้วยหลักธรรมและเสียสละ
  
    “ภิกษุทั้งหลายในอดีตชาติผ่านมา เราก็เป็นที่พึ่งแห่งเขาทั้งสองมาแล้ว” ภิกษุในสงฆ์สภาขออาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องแห่งอดีตนั้นจึงทรงแสดงธรรมเทศนาเป็นชาดก นิโครธมิคชาดก ดังนี้ ในอดีตกาลนานมา ณ ป่าใหญ่รอบนครพาราณสียังมีพญากวางสองตัวแยกฝูงกันปกครองบริวารเป็นสองฝูง
 
ฝูงกวางของพญาสาขะดำรงอยู่กันด้วย ความวิตกกังวลเกรงว่าจะถูกลงโทษ
 
ฝูงกวางของพญาสาขะดำรงอยู่กันด้วยความวิตกกังวลเกรงว่าจะถูกลงโทษ
  
     กวางชื่อพญาสาขะตัวสีแดงปกครองบริวารอย่างเข้มงวด ส่วนพญานิโครธนั้นมีสีเหลืองปกครองบริวารด้วยหลักธรรมและเสียสละ ฝูงกวางทั้งสองตั้งอยู่ไม่ไกลจากกันมากนัก ฝูงกวางของพญาสาขะ มักตื่นกลัวต่อความผิดและการลงโทษจากผู้นำฝูงเป็นยิ่งนัก
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดเนื้อกวาง และต้องล่าด้วยตัวพระองค์เองเท่านั้น
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดเนื้อกวางและต้องล่าด้วยตัวพระองค์เองเท่านั้น
 
    “วันนี้กวางฝูงเราตัวหนึ่งเกิดไม่ได้ตั้งใจ ทำผิดกฎฝูงเข้า ได้ยินมาว่ารับโทษเกือบตายเชียว” “เอ้ย น่ากลัวจัง เราจะโดนเข้าสักวันไหมเนี่ย” ต่างจากบริวารพญากวางทองนิโครธะ ซึ่งใช้ชีวิตอย่างมีความสุข “ถึงแม้เจ้าจะทำผิด เมื่อสำนึกแล้วก็ไม่เป็นไรหรอก พวกเราอภัยให้”
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดการเสวยเนื้อกวาง มิทรงเบื่อเลยแม้เวลาจะล่วงเลยเป็นแรมปี
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดการเสวยเนื้อกวางมิทรงเบื่อเลยแม้เวลาจะล่วงเลยเป็นแรมปี
 
    กวางทั้งสองฝูงแม้ไม่ยุ่งเกี่ยวเคยช่วยอะไรกันเลยแต่กาลอันวิบัติครั้งนั้นก็คืบคลานมาหาโดยหลบเลี่ยงความวินาศไม่ได้ทั้งสองฝูง เหตุร้ายครั้งนั้นเกิดเพราะพระราชาพรหมทัต เกิดโปรดการเสวยเนื้อกวางป่าขึ้นมาเป็นชีวิตจิตใจและทรงโอชารสกับเนื้อกวางที่ทรงยิงศรที่ฆ่าได้ด้วยพระองค์เองเท่านั้น
 
พระเจ้าพรหมทัตให้ทหารสร้างพลับพลาชายป่า เพื่อความสะดวกในการล่ากวาง
 
พระเจ้าพรหมทัตให้ทหารสร้างพลับพลาชายป่าเพื่อความสะดวกในการล่ากวาง
 
     “เนื้อกวางจะอร่อย มันก็ต้องล่าด้วยตัวเองเท่านั้น หึๆ ฮ่าๆ เสร็จเราแน่เจ้ากวางทั้งหลาย” จากเดือนเลื่อนขึ้นเป็นหลายปีที่พระเจ้าพรหมทัตทรงออกประพาสป่ายิงกวาง สร้างความเดือดร้อนให้กวางป่าทั้งสองฝูงเป็นอย่างมาก “ข้าแต่มหาราชา ข้าพระองค์เห็นว่าการที่พระองค์ออกเสด็จประพาสป่าและล่าสัตว์เป็นเวลานานๆ
 
นางกวางขอร้องพญาสาขะให้นางคลอดลูกก่อน หลังจากนั้นก็พร้อมที่จะตายตามสัญญา
 
นางกวางขอร้องพญาสาขะให้นางคลอดลูกก่อนหลังจากนั้นก็พร้อมที่จะตายตามสัญญา
 
    จะทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของพระองค์เป็นอย่างยิ่งนะ พระเจ้าค่ะ” “นั่นนะซิ เราก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน มันเมื่อยไปหมดทั้งตัวเลย อืม..เราคิดออกแล้วว่าจะทำอย่างไร” พระราชาทรงสั่งให้ทหารสร้างพลับพลาชายป่า แล้วต้อนกวางมาให้ยิงแทนการออกไปล่ากวางในป่า ซึ่งพระองค์ให้ยกเว้นชีวิต
 
นางกวางผิดหวังจากพญาสาขะและได้มาขอร้อง ให้พญากวางนิโครธะช่วยเหลือนางแทน
 
นางกวางผิดหวังจากพญาสาขะและได้มาขอร้องให้พญากวางนิโครธะช่วยเหลือนางแทน
 
พญากวางนิโครธะ "พญากวางนิโครธะผู้ปกครองบริวารกวางด้วยหลักธรรมและด้วยความเสียสละ จึงทำให้กวางที่ได้รับความเดือดร้อนจากฝูงอื่นต้องหนีซมซานมาเพื่อขอความช่วยเหลือและเรียกร้องความเป็นธรรม"
 
    พญากวางแดงและพญากวางทองหัวหน้าของทั้งสองฝูงไว้ “น่าจะเปลี่ยนมาล่าอย่างนี้ตั้งนานแล้วนะเราสบายกว่ากันเยอะเลย” การเปลี่ยนรูปแบบการล่าสัตว์ของพระเจ้าพรหมทัตในครั้งนี้ส่งผลให้เหล่าฝูงกวางหวาดผวาไม่เป็นอันหากิน หัวหน้าฝูงทั้งสองเห็นดังนั้น จึงหันมาตกลงกัน โดยผลัดกันส่งบริวารมาสังเวยชีวิตวันละตัว
 
พญากวางนิโครธะได้เสียสละชีวิตของตนเอง ยอมตายแทนนางกวางท้องแก่
 
พญากวางนิโครธะได้เสียสละชีวิตของตนเองยอมตายแทนนางกวางท้องแก่
 
    ส่วนที่เหลือจะได้ไม่ต้องสะดุ้งผวากลัวอีกต่อไป รอแต่ถึงคราวของตนเท่านั้น คราวหนึ่งเป็นเวรสละชีวิตของนางกวางที่กำลังมีท้องแก่ในฝูงพญาสาขะผู้เข้มงวด นางกวางได้ขอความเมตตาให้ตนได้คลอดลูกกวางก่อนแล้วค่อยไปตาย แต่พญาสาขะผู้ระเบียบจัดไม่ยินยอม “ได้โปรดเถอะท่านพญาสาขะ ได้โปรดเลื่อนวันให้ข้าด้วย
 
พระเจ้าพรหมทัตได้สอบถามถึงสาเหตุ ที่พญากวางต้องยอมตายแทนนางกวาง
 
พระเจ้าพรหมทัตได้สอบถามถึงสาเหตุที่พญากวางต้องยอมตายแทนนางกวาง
  
    ขอข้าได้คลอดลูกน้อยออกมาก่อนเถิด” “ไม่ได้กฎก็ย่อมเป็นกฎ ถ้าข้าเลื่อนให้เจ้าได้ กวางตัวอื่นๆ ก็ต้องมาขอเลื่อนข้าเช่นกัน” เมื่อกวางท้องแก่สิ้นหนทาง จึงซมซานหนีออกจากฝูงมาขอความช่วยเหลือต่อพญากวางนิโครธะ “ท่านพญานิโครธะ โปรดช่วยข้าด้วย ข้าขอให้คลอดลูกน้อยปลอดภัยเท่านั้น
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ปล่อยพญากวางกลับคืนสู่ป่า และรับปากว่าจะไม่ฆ่าสัตว์อีกต่อไป
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ปล่อยพญากวางกลับคืนสู่ป่าและรับปากว่าจะไม่ฆ่าสัตว์อีกต่อไป
 
    หลังจากนั้นข้าจะยอมเสียสละชีวิต” “เอาเถิดเรารับปากเจ้า เรื่องนี้จะจบลงโดยไม่มีใครต้องเสียชีวิตลงแน่” วิธีแห่งพระโพธิ์สัตว์นั้นคือสละชีวิตเพื่อก่อการบุญได้เสมอ พญากวางนิโครธะ แม้ได้รับยกเว้นความตายแล้วก็ยังยอมพลีชีพแทนกวางแม่ลูก ด้วยบารมีอันสูงส่งเหตุเช่นนี้ทำให้พระเจ้าพรหมทัตต้องเสด็จมาหาด้วยพระองค์เอง
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงตั้งพระทัยที่จะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอีกต่อไป
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงตั้งพระทัยที่จะรักษาศีล 5
 
    “เหตุใดเจ้าต้องยอมสละชีวิตเจ้าละ ในเมื่อเราสละชีวิตเจ้าไว้แล้ว” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด ก็ทรงสลดพระทัย “พญากวางเป็นสัตว์เดรัจฉาน ยังกรุณามีเมตตาต่อผู้อื่นถึงเพียงนี้ เอาเถิด ต่อไปเราขอยกเลิกการฆ่าสัตว์ทั้งสี่เท้า สองเท้า ทั้งหมู่นกหมู่ปลา” พระราชาพรหมทัตทรงพระราชทานชีวิตพญากวางให้กลับสู่ป่า
  
นางกวางได้สอนลูกให้คบหา และรับใช้ต่อพญากวางนิโครธะ
 
นางกวางได้สอนลูกให้คบหาและรับใช้ต่อพญากวางนิโครธะ
 
     แล้วตั้งพระทัยรักษาศีล 5 ต่อไป ต่อมาเมื่อนางกวางคลอดลูกกวางแล้ว ก็เลี้ยงดูจนแข็งแรง นางสั่งสอนให้ลูกคบหารับใช้ต่อพญากวางนิโครธะ ตั้งแต่บัดนั้น นางบอกใครต่อใครว่า ความตายในสำนักพญานิโครธะประเสริฐกว่ามีชีวิตอยู่ในสำนักของพญาสาขะผู้ไร้น้ำใจนั้น
 
นิโคระธะเมวะ เสเวยยะ นะ สาขะมุปะสังเส นิโคระธัสมึ
มะตัง เสยโย ยัญเจ สาขัสมิ ชีวิตัง
 
ในพุทธกาลครั้งนั้น พญากวางสาขะ กำเนิดเป็น พระเทวทัต
บริวารของพญาสาขะ กำเนิดเป็น บริวารพระเทวทัต
แม่กวาง กำเนิด เป็นภิกษุณีผู้นี้
 
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
มุณิกชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอายุยืนมุณิกชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอายุยืน

นิทานคุณธรรม นิทานชาดก นิทานธรรมะ คลิปวิดีโอและภาพประกอบนิทานคุณธรรม นิทานชาดก นิทานธรรมะ คลิปวิดีโอและภาพประกอบ

อินทสมานโคตตชาดก ชาดกว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษอินทสมานโคตตชาดก ชาดกว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

นิทานชาดก 500 ชาติ