ความสว่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[ 20 ต.ค. 2555 ] - [ 18265 ] LINE it!

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
ณ ป่าประดู่ลาย 
 
 
ความสว่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
  
       หิ่งห้อยนั้น ส่งแสงสว่างอยู่ชั่วเวลาพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว หิ่งห้อยนั้นก็อับแสงและไม่สว่างได้เลย พวกเดียรถีย์สว่างเหมือนหิ่งห้อยนั้น ตราบเท่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเมื่อใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้นพวกเดียรถีย์และแม้สาวกของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมไม่หมดจด พวกเดียรถีย์มีทิฏฐิชั่ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

อุปปัชชันติสูตร เล่ม 44 หน้า 654


เมื่อความบากบั่นมีอยู่
บัญฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย
เหมือนคนมีจักษุ เว้นทางอันไม่เรียนร้อย ฉะนั้น
 
ขุททกนิกาย อุทาน

 
 
อายตนนิพพาน

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั่งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
 
ปฐมาปรินิพพานสูตร เล่ม 44 หน้า 711


ธรรมระงับความอาฆาต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน?
 
คือ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด

1. พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น
2. พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น
3. พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น
4. พึงถึงการไม่นึก ไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น
5. พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน

ให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านนี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จัดทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น

ปฐมอาฆาตวินยสูตร เล่ม 36 หน้า 337

 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้ชนะความโกรธผู้ชนะความโกรธ

ผู้ให้คือผู้ชนะผู้ให้คือผู้ชนะ

ทานของสัตบุรุษทานของสัตบุรุษ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก