โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2


[ 21 มี.ค. 2565 ] - [ 18398 ] LINE it!

มินิซีรี่ย์
โทษภัยของการลักขโมย

โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      สภาพสังคมที่วุ่นวายในปัจจุบัน ทุกชีวิตแทบจะมีลมหายใจอยู่บนเส้นทางแห่งการแก่งแย่ง แข่งขัน ช่วงชิง ขวักไขว่ เสาะแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนามาครอบครอง แต่ทว่า การได้สิ่งเหล่านั้นมาด้วยความโลภ อยากได้มาเป็นของๆ ตนโดยมิชอบธรรมแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการลักขโมยซึ่งเป็นการผิดศีล 5 ข้อที่ 2 คือมีเจตนาจะขโมยสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มาเป็นของตนได้สำเร็จ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น มีอยู่หลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะคือ 


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

1. ลักทรัพย์ คือการเอาถือเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่รู้ ไม่เห็น มี 3 ลักษณะ ได้แก่ เมื่อเจ้าของเขาเผลอก็หยิบเอาสิ่งของนั้นไป เรียกว่า “ขโมย” ส่วนในเวลาสงัด ได้แอบเข้าไปในเรือน แล้วหยิบเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า “ย่องเบา” และเมื่องัดหรือเจาะประตูที่ปิดอยู่ แล้วถือเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า “ตัดช่อง”
 
2. ฉก คือการชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ ในขณะที่กำลังเผลอ ที่เรียกว่า “ตีชิงวิ่งราว” 

3. กรรโชก คือ การขู่โดยใช้อำนาจให้เจ้าของทรัพย์ตกใจกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์ ที่เรียกว่า “จี้” ในปัจจุบันนี้ 

4. ปล้น คือการยกพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปใช้อาวุธเข้าข่มขู่เจ้าของทรัพย์ แล้วแย่งชิงทรัพย์ไป 

5. ตู่ คือการอ้างหลักฐานพยานเท็จเพื่อหักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งตนไม่ได้เป็นเจ้าของ 

6. ฉ้อ หรือ โกง คือการโกงเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปซึ่ง ๆ หน้า โดยส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินที่เจ้าของฝากให้ดูแล เช่น โกงของฝาก โกงที่ดิน เป็นต้น

7. หลอก คือ การพูดจาปั้นเรื่อง หลอกลวงให้เจ้าของทรัพย์หลงเชื่อ แล้วจึงถือเอาทรัพย์ของเขาไป 

8.  ลวง คือการใช้เล่ห์แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เจ้าของทรัพย์หลงเชื่อ แล้วเอาทรัพย์ไป เช่น โกงตาชั่ง เป็นต้น

9. ปลอม คือ  การทำหรือการใช้ของปลอมให้เห็นว่าเป็นของแท้ เช่น ธนบัตรปลอม เป็นต้น 

10. ตระบัตย์ คือ การยืมของคนอื่นมาใช้ แล้วไม่ยอมส่งคืน ยึดเอาเสียดื้อ ๆ เช่น กู้หนี้แล้วไม่ใช้คืน

11. เบียดบัง คือ การงุบงิบเก็บทรัพย์เกินความเป็นจริง กินเศษกินเลย เช่น เก็บเงินค่าเช่าได้มาก แต่ให้เจ้าของเพียงแต่น้อย ๆ 

12. สับเปลี่ยน คือ การแอบสลับเอาของที่ไม่ดีของตน ไปเปลี่ยนเอาของที่ดีของผู้อื่นมา ซึ่งมีค่าสูงกว่า 

13. ลักลอบ คือ การหลบหนีภาษีของหลวง หรือลอบนำสิ่งที่ต้องห้าม เช่น เหล้าเถื่อน ค้าของหนีภาษี

14. ยักยอก คือการยักเอาทรัพย์ของคนที่ถูกริบไว้ ยักยอกภาษี ยักยอกทรัพย์ที่ถูกฟ้องล้มละลายไว้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตมาเป็นของตน

     และนอกจากพฤติกรรมข้างต้นดังกล่าวแล้ว ยังมีกรณีที่บุคคล แม้ไม่ได้เข้าไปยึดทรัพย์ของผู้อื่นโดยตรง แต่ถ้ากระทำโดยมีส่วนร่วม ศีลข้อที่ 2 ก็จะมัวหมอง ด่างพร้อยไปทันที นั่นคือ ให้การสนับสนุนพวกโจร


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

ปอกลอก คือ การคบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ มุ่งหมายจะเอาทรัพย์สมบัติของเขาฝ่ายเดียว

รับสินบน คือ การถือเอาทรัพย์ที่เขาให้เพื่อช่วยทำธุระให้แก่เขาในทางที่ผิด 

ผลาญ คือ การทำลายทรัพย์ของผู้อื่นให้เสียหาย

หยิบฉวย คือ การถือวิสาสะเกินขอบเขต


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      องค์ประกอบของการทำผิดศีลข้อ 2 ต้องประกอบด้วยองค์ 5 ประการคือ 
 
1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน 
 
2. รู้ว่าทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
3. มีเจตนาคิดที่จะลักทรัพย์หรือสิ่งของนั้น 
 
4. พยายามลักทรัพย์นั้น 
 
5. ได้ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมาด้วยความพยายาม

      โดยสรุปของการทำผิดศีลข้อ 2 นี้ อยู่ที่เจตนาจะลักของผู้อื่นในทางทุจริต โดยมีความตั้งใจที่จะยึดเอามาเป็นของตนให้ได้ ถ้าทำครบองค์ 5 ประการก็ถือว่าผิดศีลทันที


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

       ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 2 ก่อนที่จะละจากโลกนี้ไปนั้น ได้มีภาพกรรมนิมิตที่ตนเคยทำมานั้น มาฉายปรากฏให้เห็น จิตจะเศร้าหมองไม่ผ่องใส ย่อมไปบังเกิดในนรกทันที ตัวอย่างเช่น พวกที่เคยโกงเงินหลวง ก็จะถูกนายนิรยบาลจับใส่ถุงเงินขนาดใหญ่ แล้วนายนิรยบาลก็ปิดปากถุงไว้แน่นหนามิให้สัตว์นรกหนีออกมาได้


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

       จากนั้นก็เหวี่ยงถุงเงินทุ่มลงกับพื้นอย่างเต็มแรง เหวี่ยงไปมาหลายรอบ จนกระทั่งสัตว์นรกที่อยู่ในถุงเงินนั้นแหลกเละ ร่างกายละลายไปกับเงินในถุง ตายเกิดตายเกิดนับครั้งไม่ถ้วน ส่วนพวกที่เคยโกงที่ดินของคนอื่นมาเป็นเจ้าของนั้น สัตว์นรกจะถูกแผ่นดินขนาดใหญ่ที่ร้อนระอุ ตกทับใส่ร่าง จนร่างกายแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสนับครั้งไม่ถ้วน 


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

       บางพวกที่ชอบรับสินบน ก็จะถูกนายนิรยบาลใช้มีดอันคมกริบกรีดท้องจนเห็นกระดูกสันหลัง จากนั้นนายนิรยบาลก็จะตักเหล็กร้อน ๆ ที่มีลักษณะกลมแบน คล้าย ๆ เงินเหรียญมายัดใส่ท้องจนเต็ม เหล็กร้อนในท้องนั้นก็จะเผาไหม้ละลายร่างของสัตว์นรก ทำให้ได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส และแหลกเละไปในที่สุด เมื่อพ้นกรรมจากสัตว์นรกย่อมเกิดเป็นเปรต มีลักษณะลำตัวเป็นเหมือนแผ่นหินที่มีความร้อน มีขา 2 ขายืนรองรับแผ่นหินนั้นไว้ เพราะเศษกรรมที่ชอบไปขโมยของสงฆ์


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      เปรตบางพวกเคยมีวิบากกรรมไปขโมยของกินที่เขาจะนำมาถวายพระ เมื่อเศษกรรมเบาบางก็จะเกิดมาเป็นเปรตกินขี้ เมื่อพ้นกรรมจากเปรตก็มาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นหนอนชอบชอนไชน้ำเลือดน้ำหนองเป็นเวลายาวนาน และโทษเบาที่สุดเมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์จะเกิดเป็นคนยากจน เป็นคนอดอยาก ไม่ได้สมบัติตามที่ตนต้องการ ทำธุรกิจการงานใดก็จะถูกโกงได้ง่าย ทรัพย์สินย่อมพินาศไปเพราะภัยต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น แถมยังเป็นโรคจิตทางประสาท เช่น โรคหวาดผวา เพราะวิบากกรรมที่ชอบไปข่มขู่เจ้าของทรัพย์ให้ตกใจกลัว เป็นต้น 


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      ดังนั้น..เมื่อเราทราบถึงวิบากกรรมของการลักขโมย ซึ่งเป็นการผิดศีลข้อที่ 2 แล้วนั้น ก็ควรหักดิบเลิกพฤติกรรมที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้นให้หมด แล้วหันมาประกอบสัมมาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพในทางสุจริต โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน และเพื่อให้ปลอดภัยในทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขตลอดไป ทั้งในภพชาตินี้ และในภพชาติหน้า ตราบกระทั่งเข้าสู่นิพพาน
 

 
บทความที่เกี่ยวข้อง



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วิบากกรรมปาณาติบาตวิบากกรรมปาณาติบาต

โทษภัยของการพนันโทษภัยของการพนัน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรม