การปกครองเมืองของประเทศมาเลเซีย


[ 27 เม.ย. 2557 ] - [ 18287 ] LINE it!

การปกครองเมืองของประเทศมาเลเซีย

การปกครองเมืองของประเทศมาเลเซีย

     ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ 2500 เมื่อครั้งก่อตั้งประเทศใช้ชื่อประเทศว่า “สหพันธรัฐมลายู” ต่อมาในปี พ.ศ.2508 สิงคโปร์จึงได้แยกตัวออกไปเป็นประเทศสิงคโปร์

     ประเทศมาเลเซียมีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ  มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมีมุขมนตรีแห่งรัฐหรือสุลต่านเป็นหัวหน้ารัฐบาลท้องถิ่น

     ประมุขของประเทศมาเลเซียองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลฮาอัดซามซาห์ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 14 ของมาเลเซีย

     ตำแหน่งประมุขของประเทศมาเลเซียคือพระราชาธิบดี เรียกว่า “ยังดี เปอร์ตวนอากง ”มีความหมายว่าผู้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้า มาจากการเลือกตั้งผู้ปกครองรัฐ (สุลต่าน) แห่ง (ยะโฮร์  ตรังกานูปาหัง  สลังงอร์  เกดะส์  กลันตัน  เนกรีเซมบีลัน  เประ  และปะลิส)  ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นดำรงตำแหน่งโดยมีวาระ 5ปี ชายาของสุลต่านที่รับตำแหน่งนี้เรียกว่า “รายา  ประไหมสุหรี่  อากง”

     รัฐที่ไม่สุลต่านปกครอง  ได้แก่ ปินัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก

     สหพันธรัฐ  คือ  การรวมกันของของรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไป  มีรัฐบาล  2  ระดับ  คือ  รัฐบาลของแต่ละรัฐ  (เรียกว่า  รัฐบาลท้องถิ่น)  และรัฐบาลสหพันธรัฐ  (หรือรัฐบาลกลาง)

     มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ (states) และ 3 ดินแดนสหพันธ์  (federal territories) โดยแต่ละรัฐจะมีเมืองหลวงของตนเอง

มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก

รัฐกลันตัน     เมืองหลวง    โกตาบารู

รัฐเกดะห์       เมืองหลวง    ไทรบุรี (อลอร์สตาร์

รัฐตรังกานุ    เมืองหลวง    กังลาตรังกานู

รัฐเนกรีเซมบีลีน      เมืองหลวง    เสเรมบัน

รัฐปะหัง        เมืองหลวง    กวนตัง

รัฐปะลิส        เมืองหลวง    กางาร์

รัฐปีนัง           เมืองหลวง    จอร์จทาวน์

รัฐเประ          เมืองหลวง    อีโปะห์

รัฐมะละกา    เมืองหลวง    มะละกา

รัฐยะโฮร์        เมืองหลวง    ยะโฮร์บาห์รู

รัฐสลังงอร์    เมืองหลวง    ชาห์อาลัน


    

 

รัฐกลันตัน     เมืองหลวง    โกตาบารู

รัฐเกดะห์       เมืองหลวง    ไทรบุรี (อลอร์สตาร์

รัฐตรังกานุ    เมืองหลวง    กังลาตรังกานู

รัฐเนกรีเซมบีลีน      เมืองหลวง    เสเรมบัน

รัฐปะหัง        เมืองหลวง    กวนตัง

รัฐปะลิส        เมืองหลวง    กางาร์

รัฐปีนัง           เมืองหลวง    จอร์จทาวน์

รัฐเประ          เมืองหลวง    อีโปะห์

รัฐมะละกา    เมืองหลวง    มะละกา

รัฐยะโฮร์        เมืองหลวง    ยะโฮร์บาห์รู

รัฐสลังงอร์    เมืองหลวง    ชาห์อาลัน

     รัฐชาบาห์      เมืองหลวง    โกตากีนาบาลู

     รัฐซาราวัก     เมืองหลวง    กูชิง

     กรุงกัวลาลัมเปอร์

     เมืองปุตราจายา

     เกาะลาบวน  เมืองหลวง    วิตอเรีย

     ระบบการเมืองของมาเลเซียเป็นรูปแบบ ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา  (Parliamentary Democracy) เช่นเดียวกับประเทศไทย ศูนย์กลางอำนาจการปกครองของประเทศมาเลเซียอยู่ที่รัฐบาล สหพันธรัฐ หรอ รัฐบาลกลาง (Federal Government)ซึ่งถือเป็นรัฐบาลแห่งชาติ เป็นตัวแทนของประเทศในการดำเนินความสัมพันธ์กันประเทศอื่น และมีหน้าที่ดูแลเรื่องสำคัญๆ เช่น การคลังการป้องกันประเทศ ความมั่นคง ตุลาการ เป็นต้น ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐจะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ ศาสนา ประเพณี สังคม การคมนาคมภายในรัฐ ฯลฯ ทั้งนี้แต่ละรัฐจะมีสภาแห่งรัฐที่มาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปี

     โครงสร้างการเมืองการปกครองของมาเลเซียแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้ 

ฝ่ายบริหาร 

     ฝ่ายบริหารประกอบด้วยหัวหน้ารัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ

ฝ่ายนิติบัญญัติ

     ระบบการปกครองเป็นแบบรัฐสภา (Parliamentary System) ประกอบด้วย

     1)  สภาผู้แทนราษฎร จำนวน 219 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี

     2) วุฒิสภา จำนวน 70 คน โดย 44 คนจากการสรรหาและแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี อีก 26 คนเลือกโดยสภานิติบัญญัติของทั้ง 13 รัฐ มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี

ฝ่ายตุลาการ

     เนื่องจากมาเลเซียเคยเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน จึงใช้กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ตามแบบประเทศอังกฤษ สถาบันตุลาการทั้งประเทศ (ยกเว้นศาลอิสลาม) อยู่ภายใต้ระบบสหพันธรัฐ ประมุขของรัฐเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

     กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) คือ ระบบกฎหมายที่ไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร มีกำเนิดและวิวัฒนาการจารประเทศอังกฤษ โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณาประเทศที่ในระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น

     สำหรับประเทศไทยใช้ ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) หรือระบบกฎหมายลายลายลักษณ์ ซึ่งมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหาข้อกฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากประมวลกฎหมายก่อนหากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไปและกฎหมายจารีตประเพณี

     กฎหมายอิสลามหรือกฎหมายซารีอะห์ เป็นกฎหมายที่กำหนดการปฏิบัติ ข้อห้าม การพิพากษาคดี บนพื้นฐานคัมภีร์อัลกุรอานตามหลักศาสนาอิสลาม

     วันหยุดสำคัญของมาเลเซียแบ่งเป็นวันหยุดประจำชาติ (National Holiday) กำหนดให้หยุดเหมือนกันทั่วประเทศและวันหยุดประจำรัฐ  (State  Holiday)ซึ่งแต่ละรัฐกำหนดวันสำคัญไว้แตกต่างกัน หารวันหยุดใดตรงกับวันอาทิตย์กำหนดให้หยุดชนเชยในวันถัดไป นอกจากนี้เกิดของประมุขในแต่ละรัฐก็นับเป็นวันหยุดประจำรัฐนั้นด้วย

      พรรคอัมโน  (UMNO:  United  Malays  National  Organization)  เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียและคุณค่าอิสลาม

     ประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 และมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง คือ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู นอกจากนี้ยังมีสถานกงสุลประจำกะลังกาวีด้วย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในไทย ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย และสถานกงสุลใหญ่ มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว