มาเลเซียหนึ่งในประชาคมอาเซียน


[ 25 เม.ย. 2557 ] - [ 18292 ] LINE it!

มาเลเซียหนึ่งในประชาคมอาเซียน

 เราคืออาเซียน  มาเลเซีย


 เราคืออาเซียน  มาเลเซีย

ความเป็นเอกภาพคือพลัง (Bersekutu Bertambah Mutu )
 
      คือ คำขวัญประจำชาติของมาเลเซีย ประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยี การรวมความแตกต่างสู่การเป็นประเทศอุสาหกรรมใหม่ หรือ Nlc ( Newlylndustrialized country )  และเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน
 
 
มาเลเซีย (Malaysia) คือชื่อทางการของประเทศ เมืองหลวง คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และมีปุตราจายาเป็นเมืองราชการซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2538 ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากร 28.73 ล้านคน 
 
มาเลเซีย (Malaysia) คือชื่อทางการของประเทศ เมืองหลวง คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์
เมืองราชการ  คือเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการของประเทศ  เช่น  ทำเนียบรัฐบาล  อาคารรัฐสภา  สำนักงานของรัฐ  และกระทรวงต่างๆ
 
 
 
     ตราแผ่นดินของมาเลเซียเป็นรูปเสือสองตัวยืนบนแถบแพรหันหน้าหากันประคองโล่ซึ่งมีจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉกอยู่ด้านบน เสือสองตัวนี้หมายถึงกำลังและความกล้าหาญ บนโล่ปรากฏสัญลักษณ์แทนรัฐทั้ง 13 ของมาเลเซียและดอกชบา อันเป็นดอกไม้ประจำชาติ จันทร์เสี้ยวเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม และดาว 14 แฉก (ดาราสหพันธ์) แทนดินแดนทั้ง 14 (13 รัฐกับรัฐบาลกลาง) ส่วนในแถบแพรด้านล่างแสดงคำขวัญของประเทศเป็นตัวอักษรโรมันและอักษรยาวี มีความหมายว่า ‘ความเป็นเอกภาพคือพลัง’ ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมลายาในช่องที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ
 
ตราแผ่นดินของมาเลเซีย
 
ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกบุหงารายา ( Bunga Raya ) หรือที่คนไทยเรียกว่า ดอกชบา
 
 

คำว่า  "มาเลเซีย"  เดิมเคยใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะ

 
 
 
พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
ดาว 14 แฉก หรือ ดาราสหพันธ์  หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐทั้งหมด
 
สีเหลือง คือ สีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
สีน้ำเงิน หมายถึง  ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้ว  ที่กว้างเท่ากัน หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐและรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
 
วันชาติ
 
     วันชาติของประเทศมาเลเซียตรงกับ วันที่ 31 สิงหาคม  ซึ่งจะมีเทศกาลก่อนถึงวันชาติที่เรียกว่า “เมอร์เดกาอีฟ” ( Merdeka Eve ) มีการแสดงมากมาย และปิดท้ายด้วยการนับถอยหลังขณะเชิญธงชาติขึ้นลู่ยอดเสาตอนเที่ยงคืน ท่ามกลางเสียงโห่ร้องอย่างภาคภูมิใจ “เมอร์เดกา” แปลว่า อิสรภาพ
 
 
 
     คงเคยได้ยินสมญานามเรียกประเทศมาเลเซียเช่นนี้เวลาที่มีการแข่งขันกีฬา ที่เรียกว่า “เสือเหลือง” ( หมายถึง เสือโคร่ง )  ก็เพราะเป็นสัตว์ประจำชาติของมาเลเซีย
 
ทำเลที่ตั้ง 
 
      ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร  ระหว่างละติจูด 1-7 องศา เหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 100-119 องศาตะวันออก  ประกอบด้วยดินแดน  2  ส่วนซึ่งมีทะเลจีนใต้กั้นกลาง
  1. มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู  ร้อยละ  70  ของพื้นที่เป็นป่าไม้  ภูเขา  และหนองบึง  บริเวณชายฝั่งตะวันตกซึ่งติดกับมหาสุมทรtropical Rain Forastอินเดียและช่องแคบมะละกาเป็นพื้นที่ราบ  ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึงและป่าโกงกาง
  2. มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา  มีที่ราบสูงอยู่ตอนใน  และมีที่ราบชายฝั่งทะเล  

 

     มาเลเซียตะวันตก  มีอาณาเขตติดกับประเทศไทย  มีพรมแดนร่วมกันยาง  506  กิโลเมตร

     มาเลเซียตะวันออก  มีอาณาเขตติดกับประเทศอินโดนีเซีย  มีพรมแดนร่วมกันยาว  1,782  กิโลเมตร  และประเทศบรูไน  มีพรมแดนร่วมกันยาว 381  กิโลเมตร  

 

    เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียในคาบสมุทรมลายูประกอบด้วยเทือกเขาบินดังเทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ส่วนในเกาะบอร์เนียวมีเทือกเขากีนาบาลูซึ่งเป็นหนึ่งในภูเขาที่สูงที่สุดมากในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ในคาบสมุทรมลายยูมี แม่น้ำ สายสำคัญได้แก่แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัด แม่น้ำปาหัน แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลัง และแม่น้ำกลัง ส่วนบนเกาะบอร์เนียวมีมีแม่น้ำราจัง แม่น้ำมาและมาน้ำกีนาบาตังอัน เป็นเส้นเลือดสำคัญ
 
 
     ประเทศมาเลเซียอยู่ในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีฝนตกชุกตลอดปีโดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้  มีลมมรสุม 2 ลูก คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหมือ (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน –เมษายน ) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม)  
     
     มาเลเซียจึงมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical Rain Forest) อากาศร้อนอบอุ่นและชื้นตลอดปี ลักษณะคล้ายอากาศทางภาคใต้ของไทย อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
 
 
     พื้นที่ประมาณร้อยละ  70  ของประเทศปกคลุมด้วยพื้นที่เขตร้อน  พรรณไม้ที่สำคัญของประเทศ  คือต้นสัก  พืชเศรษฐกิจ  ได้แก่ยางพารา  มะพร้าว  ปาล์มน้ำมัน  ใบชา  ข้าว เป็นต้น นอกจากนี้มาเลเซียยังเป็นประเทศที่ผลิตดีบุกได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำมันปีโตรเลียม ก๊าชธรรมชาติและถ่านหินที่สำคัญอีกด้วย
     
     ด้วยพื้นที่ตั้งติดทะเล มาเลเซียจึงอุดมด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ อาชีพประมงจึงเป็นอาชีพสำคัญของชาวมาเลเซีย

ชวนคิด
 
    ขนาดพื้นที่ของประเทศมาเลเซียคิดเป็นพื้นที่ประมาณ  64  เปอร์เซ็นต์ของประเทศไทย  หรือเท่ากับพื้นที่ภาคเหนือบวกกับภาคอีสาน
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว