โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล


[ 25 ก.ย. 2563 ] - [ 18275 ] LINE it!

ชาดก 500 ชาติ

กาสาวชาดก-ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์

พระธรรมกถึกรีบเดินเข้าห้องน้ำเพื่อไปทำธุระส่วนตัว

พระธรรมกถึกรีบเดินเข้าห้องน้ำเพื่อไปทำธุระส่วนตัว
  
        ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเมืองโกสัมพี ประทับอยู่ ณ โคสิตาราม ทรงปรารภเหล่าภิกษุที่ทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี
จึงตรัสเรื่องนี้ คราวนั้นภิกษุ 2 รูป คือ พระวินัยธรและพระธรรมกถึกอยู่ในอาวาสเดียวกัน วันหนึ่งพระธรรมกถึกถ่ายอุจจาระเหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะแล้วก็ออกไป
 
พระวินัยธรมาเจอน้ำเหลือทิ้งไว้ในภาชนะหลังจากที่พระธรรมกถึกเพิ่งคล้อยหลังไป
 
พระวินัยธรมาเจอน้ำเหลือทิ้งไว้ในภาชนะหลังจากที่พระธรรมกถึกเพิ่งคล้อยหลังไป
 
        “ ไม่ไหวแล้ว ๆ ข้าศึกบุกมาประชิดประตูเมืองแล้ว ” เมื่อพระธรรมกถึกไปแล้ว พระวินัยธรเข้าไปในที่นั้นหลัง เห็นมีน้ำเหลืออยู่ในภาชนะ จึงออกมาถาม
พระธรรมกถึก “ เฮ้อ ค่อยโล่งหน่อย ” “ เมื่อกี้ท่านปลดทุกข์แล้วเหลือน้ำไว้หรือ ” “ ใช่แล้ว ข้าเหลือน้ำไว้ ” “ ท่านไม่รู้หรือว่าเป็นอาบัติ ”
 
พระวินัยธรได้อธิบายต่อพระธรรมกถึกว่าการเหลือน้ำไว้ในภาชนะเป็นอาบัติ
 
พระวินัยธรได้อธิบายต่อพระธรรมกถึกว่าการเหลือน้ำไว้ในภาชนะเป็นอาบัติ
 
        พระธรรมกถึกไม่รู้ว่าการเหลือน้ำไว้ในภาชนะนั้นเป็นอาบัติ ด้วยตนเป็นพระนักเทศน์ไม่ได้เชี่ยวชาญธรรมวินัย เหมือนพระวินัยธร “ ถ้าเป็นอาบัติ
ข้าก็จะปลงอาบัติ ” “ ถ้าท่านทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ไม่เป็นอาบัติหรอก ” เมื่อพระวินัยธรบอกเช่นนั้น พระธรรมกถึกก็เข้าใจว่า อาบัติที่ตนทำนั้น
ไม่เป็นอาบัติ

พระวินัยธรพูดกับศิษย์ของตนว่าพระธรรมกถึกทำอาบัติแล้วไม่ปลงอาบัติ
 
พระวินัยธรพูดกับศิษย์ของตนว่าพระธรรมกถึกทำอาบัติแล้วไม่ปลงอาบัติ
 
        ส่วนพระวินัยธรเมื่อกลับไปแล้วก็ได้บอกเรื่องนี้แก่ศิษย์ของตน “ พวกเจ้าอย่าเอาอย่างพระธรรมกถึกเชียวนะ ทำอาบัติแล้วไม่รู้ตัว ” “ ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้
จะมีใครเคร่งครัดเหมือนอาจารย์พวกเราอีก ” “ แหม แบบนี้มันต้องแซวกันหน่อยสะแล้ว แหะ ๆ ” 

ศิษย์ของพระวินัยธรพากันพูดล้อเลียนศิษย์ของพระธรรมกถึกที่มีพระอุปัชฌาย์ทำอาบัติ
 
ศิษย์ของพระวินัยธรพากันพูดล้อเลียนศิษย์ของพระธรรมกถึกที่มีพระอุปัชฌาย์ทำอาบัติ
 
        พวกศิษย์ของพระวินัยธรนั้น เมื่อเห็นพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกผ่านมาก็พูดจาล้อเลียนเรื่องที่พระธรรมกถึกทำอาบัติ “ อุปัชฌาย์ของพวกเจ้าทำอาบัติ
แล้วยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ ” “ พวกเจ้าอย่าทำอาบัติเหมือนอุปัชฌาย์ของพวกเจ้าละ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” “ หนอยเจ้าพวกนี้ ดูถูกอุปัชฌาย์ของเรา แบบนี้ยอมไม่ได้ ”
 
ศิษย์ของพระธรรมกถึกได้มารายงานว่าพวกตนถูกศิษย์พระวินัยธรพูดจาล้อเลียน
 
ศิษย์ของพระธรรมกถึกได้มารายงานว่าพวกตนถูกศิษย์พระวินัยธรพูดจาล้อเลียน
 
        พวกศิษย์ของพระธรรมกถึกได้ยินเช่นนั้นก็ไม่พอใจ จึงพากันไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน “ อาจารย์ ๆ  พวกศิษย์พระธรรมวินัย เอาเรื่องที่ท่านทำอาบัติ
แล้วไม่รู้ตัว ไปพูดนินทากันสนุกปากเลยละ ” “ แบบนี้ยอมไม่ได้นะอาจารย์ ” “ พระวินัยธรจะเอายังไงกันแน่ ตอนแรกบอกไม่อาบัติ พอตอนนี้บอกเป็นอาบัติ ”
 
ศิษย์ของพระวินัยธรและศิษย์พระธรรมกถึกจะมีปากเสียงกันทุกครั้งที่ได้เจอกัน
 
ศิษย์ของพระวินัยธรและศิษย์พระธรรมกถึกจะมีปากเสียงกันทุกครั้งที่ได้เจอกัน
 
        เมื่อมีโอกาสเจอพวกศิษย์ของพระวินัยธรอีก ฝ่ายพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกก็พูดจาตอบโต้บ้าง “ พวกเจ้าต้องศึกษาพระวินัยบ้างนะ ระวังจะเหมือนกับอุปัชฌาย์
ที่อาบัติแล้วยังไม่รู้ตัว ” “ พวกเจ้าก็เหมือนกัน อย่าทำตัวแบบอุปัชฌาย์เจ้าที่เป็นคนพูดเท็จละ ” “ อย่ามาพูดพล่อย ๆ นะ พวกเจ้ามาหาว่าอุปัชฌาย์พูดเท็จได้ยังไงกัน ”
 
อุบาสกและอุบาสิกาต่างแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายเหตุเพราะพระวินัยธรและพระธรรมกถึกแตกแยกกัน
 
อุบาสกและอุบาสิกาต่างแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่ายเหตุเพราะพระวินัยธรและพระธรรมกถึกแตกแยกกัน
     
        “ ทำไมจะไม่ได้ ตอนแรกบอกกับอุปัชฌาย์ข้าว่า ไม่เป็นอาบัติ แล้วกลับไปพูดกับพวกเจ้า ว่าเป็นอาบัติได้ยังไง ” ต่อแต่นั้นพระวินัยธรได้ช่อง
จึงทำอุกเขปนียกรรมยกโทษในการไม่เห็นอาบัตินั้น ตั้งแต่นั้นมาอุบาสก อุบาสิกาผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่งเป็น 2 พวก
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องราวแตกสามัคคีที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องราวแตกสามัคคีที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
 
        ทั้งภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี อารักขเทวาก็ดี กาสัฏฐกเทวดาที่เคยเห็นเคยคบกับอารักขเทวดาก็ดี ตลอดถึงพรหมโลก บรรดาที่เป็นปุถุชนได้แยกกันเป็น 2 พวก
ได้เกิดโกลาหลไปถึงภพอากนิษฐ์ “ พวกเราอย่าไปทำบุญร่วมกับพวกนับถือภิกษุที่ทำอาบัตินะ ” “ พวกข้า ก็ไม่อยากทำบุญร่วมกับพวกที่นับถือภิกษุพูดเท็จ
เหมือนกันนั้นละ ” 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ส่งภิกษุสงฆ์มาระงับเหตุแตกความสามัคคีในหมู่สงฆ์
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ส่งภิกษุสงฆ์มาระงับเหตุแตกความสามัคคีในหมู่สงฆ์
 
        เวลาต่อมาภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระตถาคต เพื่อกราบทูลเรื่องความขัดแย้งของเหล่าภิกษุนั้นให้ทรงทราบ “ ตอนนี้เกิดเรื่องใหญ่แล้วพระเจ้าค่ะ ภิกษุทั้งหลาย
ได้แบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นสองฝ่ายแล้วพระเจ้าค่ะ ” พระศาสดาได้ทรงทราบแล้ว จึงทรงส่งภิกษุไปแจ้งพุทธดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายสามัคคีกัน แต่ก็ไม่เป็นผล

ภิกษุทั้งสองฝ่ายได้นั่งแยกกันฉันภัตโดยมีอาสนะกั้นกลางเอาไว้
 
ภิกษุทั้งสองฝ่ายได้นั่งแยกกันฉันภัตโดยมีอาสนะกั้นกลางเอาไว้
  
        “ ภิกษุทั้งหลายพวกท่านจงสามัคคีกันเถิด ” “ ข้าไม่สามัคคีกับพวกพูดเท็จหรอก ” “ ข้าก็ไม่อยากดีด้วยกับพวกทำผิดพระวินัยหรอก ” พระศาสดาทรงส่งภิกษุ
ไปถึงสองครั้งด้วยกัน แต่ก็ไม่อาจทำให้เหล่าภิกษุนั้นสามัคคีกันได้ ในครั้งที่สามทรงเสด็จไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น ตรัสโทษในการยกโทษของพวกภิกษุ
ผู้ยกโทษ และในการไม่เห็นอาบัติของพวกภิกษุเหล่านี้ แล้วเสด็จหลีกไป
 
เมืองพาราณสีในการปกครองของพระเจ้าพรหมทัตซึ่งเรืองอำนาจมีเหล่าทหารมากมาย    

เมืองพาราณสีในการปกครองของพระเจ้าพรหมทัตซึ่งเรืองอำนาจมีเหล่าทหารมากมาย
 
        พระศาสดาทรงบัญญัติวัตรในโรงภัตให้ภิกษุทั้งหลายพึงนั่งในอาสนะที่มีอาสนะอื่นคั่นในระหว่างแก่ภิกษุเหล่านั้นเพื่อทำอุโบสถกรรมเป็นต้นสีมาเดียวกัน
ณ โฆสิตาราม แต่ก็ยังเกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างภิกษุอยู่เช่นเคย พระศาสดาจึงตรัสเตือนภิกษุทั้งหลาย “ อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าวรานกันเลย

พระเจ้ากาสีพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัตผู้มากด้วยราชสมบัติและไพร่พล
 
พระเจ้ากาสีพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัตผู้มากด้วยราชสมบัติและไพร่พล
  
        “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเช่นนี้เคยมีมาแล้วในเมืองพาราณสี ” เมื่อตรัสดังนั้นแล้วพระศาสดาจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาดังนี้ ในอดีตกาลพระนครพาราณสี
ได้มีพระเจ้ากาสีพระนามว่า พรหมทัต ทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่งทั้งพระราชสมบัติและไพร่พลมาก ส่วนพระเจ้าโกศลพระนามทีฆีติทรงเป็นกษัตริย์ขัดสน
มีพระราชสมบัติน้อย และมีไพร่พลน้อย
 
พระเจ้าทีฆีตีและมเหสีทรงเสด็จออกจากพระราชวังเพื่อหลบหนีทัพของพระเจ้าพรหมทัต
 
พระเจ้าทีฆีตีและมเหสีทรงเสด็จออกจากพระราชวังเพื่อหลบหนีทัพของพระเจ้าพรหมทัต
 
        ครั้งนั้นพระเจ้าพรหมทัตต้องการยึดราชสมบัติของพระเจ้าทีฆีติ เมื่อพระเจ้าทีฆีติทรงทราบ จึงหลบหนีออกจากพระนคร “ พระเจ้าพรหมทัตยกทัพมาแล้ว
เราคงไม่อาจต้านทัพไว้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรารีบหนีดีกว่า ” พระเจ้าทีฆีติและพระมเหสีเสด็จหนีออกจากพระนครไปยังพระนครพาราณสี
 
พระมเหสีได้คลอดพระโอรสพระนามทีฆาวุราชกุมาร
 
พระมเหสีได้คลอดพระโอรสพระนามทีฆาวุราชกุมาร
 
        ทรงปลอมแปลงพระองค์ไม่ให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก ครั้นต่อมาไม่นานพระมเหสีก็ทรงตั้งพระครรภ์และให้กำเนิดราชโอรสนาม ทีฆาวุ “ ทีฆาวุกุมารลูกแม่
เจ้าต้องมาลำบากต่างเมืองพร้อมกับพ่อแม่ เพราะพระเจ้าพรหมทัตแท้ ๆ เลย ” เมื่อทีฆาวุราชกุมารเจริญวัยขึ้น พระเจ้าทีฆีติทรงดำริให้พระราชกุมารหลบซ่อนตัวอยู่นอก
พระนคร ด้วยเกรงว่าพระเจ้าพรหมทัตจะส่งทหารมาเอาชีวิต

พระเจ้าทีฆีติได้ส่งราชกุมารออกไปหลบซ่อนตัวอยู่นอกพระนคร
 
พระเจ้าทีฆีติได้ส่งราชกุมารออกไปหลบซ่อนตัวอยู่นอกพระนคร
 
        “ ลูกพ่อ เจ้าจงหนีไปซ่อนตัวอยู่นอกพระนครเถิด หากพระเจ้าพรหมทัตส่งคนมาฆ่าเรา เจ้าจะได้ปลอดภัย ” ทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอกพระนครไม่นานนัก
ก็ได้ศึกษาศิลปะสำเร็จทุกสาขา เมื่อทราบข่าวว่าพระบิดาและพระมารดาถูกจับแห่ประจานรอบเมือง ก็คิดจะไปช่วย “ เสด็จพ่อเสด็จแม่ ข้าต้องช่วยพวกท่านให้ได้ ”

พระเจ้าทีฆีติและพระมเหสีถูกพระเจ้าพรหมทัตแห่ประจานรอบเมือง
 
พระเจ้าทีฆีติและพระมเหสีถูกพระเจ้าพรหมทัตแห่ประจานรอบเมือง
 
       ครั้นทีฆาวุราชกุมารเข้าไปสู่พระนครพาราณสี ก็ได้ทอดพระชนกพระชนนีถูกจับมัดอยู่ จึงเดินรี่เข้าไปหา พระเจ้าทีฆีติเห็นพระราชกุมารเสด็จพระดำเนินมาแต่ไกล
ก็ตรัสห้ามไว้ถึง 3 ครั้ง “ พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร ”
 
พระเจ้าทีฆีติได้ตรัสห้ามลูกชายให้หนีไปอย่าได้เข้ามาช่วยเหลือตน
 
พระเจ้าทีฆีติได้ตรัสห้ามลูกชายให้หนีไปอย่าได้เข้ามาช่วยเหลือตน
 
       เมื่อได้สติ ทีฆาวุราชกุมารก็หลบหนีไป ต่อมาพระราชกุมารได้ไปอาศัยอยู่ที่โรงช้างใกล้พระราชวัง คืนหนึ่งขณะที่ทีฆาวุราชกุมาร ทรงขับร้องและดีดพิณขับครอ
เสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้าง พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงสดับก็พอพระทัยรับสั่งให้ทหารเรียกตัวมาเข้าเฝ้า “ เสียงเพลงนี้ช่างไพเราะยิ่งนัก ทหารจงนำตัวผู้เล่นเพลงนี้
มาพบเราเดี๋ยวนี้ ”

ทีฆาวุราชกุมารทรงดีดพิณ ณ โรงเลี้ยงช้างซึ่งใกล้พระราชวัง
 
ทีฆาวุราชกุมารทรงดีดพิณ ณ โรงเลี้ยงช้างซึ่งใกล้พระราชวัง
 
        พระเจ้าพรหมทัตทรงพอใจทีฆาวุราชกุมาร ทรงแต่งตั้งทีฆาวุราชกุมารในตำแหน่งผู้ไว้วางพระราชหฤทัยใกล้ชิดคนสนิทภายใน “ เรารู้สึกถูกชะตากับเจ้ายิ่งนัก
ต่อไปเจ้าจงมาอยู่รับใช้เราเถิด ” “ เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าค่ะ ” อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าพรหมเสด็จไปล่าเนื้อโดยทีฆาวุราชกุมารเป็นผู้ขับราชรถ
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงแต่งตั้งทีฆาวุราชกุมารในตำแหน่งคนสนิทภายใน
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงแต่งตั้งทีฆาวุราชกุมารในตำแหน่งคนสนิทภายใน
 
        ครั้นถึงทางแยกหนึ่งทีฆาวุราชกุมารก็ขับราชรถแยกจากขบวนตามเสด็จไปอีกทางหนึ่งแล้วจึงหยุดพัก “ เจ้าจงหยุดก่อน เราเหนื่อยแล้วต้องการจะหยุดพัก ”
พระเจ้าพรหมทัตบรรทมอยู่บนตักของทีฆาวุราชกุมารครู่เดียวก็บรรทมหลับด้วยความเหนื่อยล้า ขณะนั้นทีฆาวุราชกุมารคิดถึงความหลังที่พระเจ้าพรหมทัต
 
พระเจ้าพพรหมทัตทรงเสด็จไปล่าเนื้อในป่า
 
พระเจ้าพพรหมทัตทรงเสด็จไปล่าเนื้อในป่า
 
        ปลงพระชนพระชนกพระชนนี จึงชักพระแสงขรรค์ออกจากฝักหมายจะล้างแค้น “ เจ้าคนชั่วช้า หารู้ตัวไม่ว่าเจ้ากำลังหลับอยู่บนตักของศัตรู ดีหล่ะ
วันนี้เรามีโอกาสล้างแค้นแล้ว ” ก่อนที่ทีฆาวุราชกุมารจะลงมือสังหารพระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงนึกถึงพระราชดำรัสของพระชนกจึงยั้งพระทัยไว้
เป็นอยู่อย่างนั้นถึง 3 ครั้ง
 
ทีฆาวุราชกุมารชักพระขรรค์หมายจะฆ่าพระเจ้าพรหมทัตซึ่งบรรทมหลับอยู่บนตักของตน
 
ทีฆาวุราชกุมารชักพระขรรค์หมายจะฆ่าพระเจ้าพรหมทัตซึ่งบรรทมหลับอยู่บนตักของตน
 
         (…..พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร) พระเจ้าพรหมทัตที่บรรทมหลับ
อยู่นั้นทรงสุบินว่า ถูกทีฆาวุราชกุมารฟันด้วยพระแสงขรรค์ก็สะดุ้งตื่น แล้วทรงเล่าความฝันให้ทีฆาวุราชกุมารฟัง “ เราฝันว่าถูกพระโอรสของพระเจ้าทีฆีติฟันด้วย
พระแสงขรรค์น่ากลัวจริง ๆ ”
 
ทีฆาวุราชกุมารนึกถึงคำของบิดาเลยเปลี่ยนใจไม่ฆ่าพระเจ้าพรหมทัต
 
ทีฆาวุราชกุมารนึกถึงคำของบิดาเลยเปลี่ยนใจไม่ฆ่าพระเจ้าพรหมทัต
 
        ทันใดนั้นทีฆาวุราชกุมารจับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตกาสิกราชด้วยพระหัตถ์ซ้าย ชักพระแสงขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวาแล้วได้กล่าวคำขู่แก่พระเจ้าพรหมทัต
กาสิกราช “ ข้านี่แหละ ทีฆาวุราชกุมาร โอรสของพระเจ้าทีฆีติคนนั้น พระองค์ทรงก่อความฉิบหายแก่พวกข้ามากมายนัก ”
 
 
พระเจ้าพรหมทัตฝันว่าโอรสของพระเจ้าทีฆีติจะฆ่าตน
 
พระเจ้าพรหมทัตฝันว่าโอรสของพระเจ้าทีฆีติจะฆ่าตน
 
        พระเจ้าพรหมทัตกลัวถูกปลงพระชนจึงซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาทของทีฆาวุราชกุมาร แล้วตรัสวิงวรของชีวิต “ เราผิดไปแล้ว อย่าฆ่าเราเลย
ไว้ชีวิตเราด้วยเถิด ” “ หม่อมฉันไม่อาจเอื้อมหรอกพระเจ้าค่ะ พระองค์ต่างหากควรไว้ชีวิตหม่อมฉัน ” “ ถ้าเช่นนั้นเจ้าก็จงเอาชีวิตเรา แล้วเราจะไว้ชีวิตเจ้า ”
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ร้องขอชีวิตตนต่อทีฆาวุราชกุมาร
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ร้องขอชีวิตตนต่อทีฆาวุราชกุมาร
 
       ครั้งนั้นพระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุราชกุมารต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกันได้จับพระหัตถ์กันและสาบานว่าจะไม่ทำร้ายกันอีกต่อไป ลำดับนั้นพระศาสดา
ได้ตรัสพระธรรมเทศนาจบจึงทรงให้โอวาทเหล่าภิกษุเหล่านั้น “ดูกร ภิกษุทั้งหลายขันติโสรัจจะเห็นปานนี้ได้มีแล้วแก่พระราชาเหล่านั้น ผู้ถืออาชญา
 
พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุราชกุมารได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน
 
พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุราชกุมารได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน
 
        ผู้ถือศาสตราวุธ ก็การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ จะพึงอดทนและสงบเสงี่ยมนั้นก็จะพึงงามในธรรมวินัยนี้แน่ ” พระศาสดาให้โอวาท
ถึง 3 ครั้ง แต่ภิกษุเหล่านั้นหาได้เลิกทะเลาะกันไม่ พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้หัวดื้อนักแล เราจะให้โมฆบุรุษเหล่านี้เข้าใจกันทำไม่ได้ง่ายเลย 

พระศาสดาทรงให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุถึง 3 ครั้งด้วยกัน
 
พระศาสดาทรงให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุถึง 3 ครั้งด้วยกัน
 
       ดังนี้แล้วเสด็จลุกจากพระพุทธอาสน์กลับไปครั้นเวลาเช้าหลังจากเสด็จบิณฑบาตในพระนครโกสัมพีแล้ว ก็เสด็จไปยังป่าริไรยกไพรสนประทับอยู่ ณ ที่นั้น
ตลอด 3  เดือน แล้วเสด็จไปเมืองสาวัตถีโดยไม่เสด็จมาเมืองโกสัมพีอีก พวกอุบาสกชาวเมืองโกสัมพีเห็นดังนั้นก็โทษภิกษุเหล่านั้น

หลังจบพุทธโอวาทเหล่าภิกษุก็ยังคงทะเลาะกันไม่เลิกรา
 
หลังจบพุทธโอวาทเหล่าภิกษุก็ยังคงทะเลาะกันไม่เลิกรา
 
       ทีทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไปเสีย จึงร่วมกันไม่กราบไหว้และไม่ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุเหล่านั้น “ ภิกษุเหล่านี้ทำให้พระศาสดาระอาพระทัยจนจากเมือง
ของเราไป ” “ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วยทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง”
 
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปเมืองสาวัตถีโดยไม่เสด็จกลับมาที่เมืองโกสัมพีอีก
 
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปเมืองสาวัตถีโดยไม่เสด็จกลับมาที่เมืองโกสัมพีอีก
 
        เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระศาสดา
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
 
เหล่าสาธุชนพากันงดใส่บาตรเหตุเพราะภิกษุสงฆ์ทำให้พระศาสดาต้องจากเมืองโกสัมพีไปยังเมืองอื่น
 
เหล่าสาธุชนพากันงดใส่บาตรเหตุเพราะภิกษุสงฆ์ทำให้พระศาสดาต้องจากเมืองโกสัมพีไปยังเมืองอื่น
 
 
พระราชบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระราชมารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระมหามายา
ทีฆาวุกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล

 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
กุหกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดดีได้เงินได้ทองกุหกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดดีได้เงินได้ทอง

เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยมเกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม

อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภทอันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

นิทานชาดก 500 ชาติ