เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม


[ 20 ต.ค. 2563 ] - [ 18267 ] LINE it!

ชาดก 500 ชาติ

เกสวชาดก-ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
  
        ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภโภชนแห่งผู้คุ้นเคยกันจึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้
อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้ชอบถวายทานแด่พระภิกษุเป็นนิจ ที่เรือนของอานาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น มีภัตตาหารเตรียมไว้สำหรับถวายภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ
เปรียบเสมือนบ่อน้ำของภิกษุสงฆ์ เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ คราคล่ำด้วยหมู่ฤาษีผู้แสวงบุญ
 
อานาถบิณฑิกเศรษฐีได้ถวายถัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำทุกวัน
 
อานาถบิณฑิกเศรษฐีได้ถวายถัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำทุกวัน
 
        “ ข้าขอน้อมถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ” อยู่มาวันหนึ่งพระราชาทรงกระทำประทักษิณพระนครอยู่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์
ในบ้านของอานาบิณฑิกเศรษฐี “ ที่บ้านอานาถบิณฑิกเศรษฐีมีงานอะไรกันรึ ถึงได้มีพระสงฆ์มากมายขนาดนี้ ” “ อานาถบิณฑิกเศรษฐีถวายภัตตาหารแด่ภิกษุ
๕๐๐ รูป เช่นนี้เป็นประจำพระเจ้าค่ะ ” “ ดีล่ะ ถ้าอย่างนั้นเราก็อยากจะถวายภัตตาหาร ๕๐๐ รูปเป็นประจำบ้างเหมือนกัน ”
 
พระราชาสงสัยยิ่งนักที่เห็นภิกษุจำนวนมากมายังบ้านของอานาถบิณฑิกเศรษฐี
 
พระราชาสงสัยยิ่งนักที่เห็นภิกษุจำนวนมากมายังบ้านของอานาถบิณฑิกเศรษฐี
 
        พระราชารู้ว่าอานาถบิณฑิกเศรษฐีทำบุญด้วยการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ ทรงต้องการทำเช่นนั้นบ้าง จึงเสด็จไปยังวิหารเชตวัน
เพื่อนมัสการพระศาสดา “ กราบนมัสการพระศาสดา ต่อไปหม่อมฉันจะถวายภัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูปทุก ๆ วัน พระเจ้าค่ะ ” นับแต่นั้นพระราชาก็ทรงเริ่ม
ตั้งภัตตาหารแก่ภิกษุ ๕๐๐ ในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ ซึ่งภัตตาหารเหล่านั้นล้วนเป็นอาหารรสเลิศ โดยให้ข้าหลวงเป็นผู้จัดถวายอาหารรสเลิศเหล่านั้น

ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูปมารับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์แต่ก็นำภัตตาหารนั้นไปฉันที่อื่น
 
ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูปมารับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์แต่ก็นำภัตตาหารนั้นไปฉันที่อื่น
 
        “ ภัตตาหารพวกนี้ พระราชาเป็นผู้ถวาย เชิญภิกษุทั้งหลายฉันภัตตาหารเหล่านี้เถิด ” “ ขอบใจท่านมาก ถ้าอย่างนั้นเราเอาภัตตาหารนี้ไปละนะ ”
“ ท่านจะเอาภัตตาหารนี่ไปไหนรึ ” “ เราไม่คุ้นกับการฉันในรั้วในวังนะสิ ” ภิกษุทั้งหลายมารับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์แต่ไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน
ในที่นั้น ต่างก็รับเอาภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ เหล่านั้น แล้วก็ไปยังบ้านอุปัฏฐากของตน

ภิกษุได้นำอาหารที่รับมาจากในวังมอบให้แก่อุปัฏฐากของตน
 
ภิกษุได้นำอาหารที่รับมาจากในวังมอบให้แก่อุปัฏฐากของตน
 
       ให้ภัตตาหารที่ได้รับจากในวังแก่พวกอุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วพากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย “ นี่เป็นอาหารจากในวัง พวกเจ้าเอาไปกินกันเถอะ ”
“ โอ้โหอาหารนี่น่ากินทั้งนั้นเลย ลาภปากของเราแท้ ๆ ” วันหนึ่งมีผู้นำผลไม้จำนวนมากมาถวายพระราชา พระองค์จึงรับสั่งให้ข้าหลวงนำผลไม้เหล่านั้นไปถวาย
แด่ภิกษุสงฆ์ เมื่อข้าหลวงไปถึงโรงภัตตาหารก็ไม่พบเห็นภิกษุสักรูปเดียว จึงกลับไปกราบทูลพระราชา “ ที่โรงภัตตาหารไม่มีภิกษุสักรูปเลยพระเจ้าค่ะ ”
 
ข้าหลวงนำผลไม้มาถวายที่โรงภัตแต่ก็ไม่เจอภิกษุแม้แต่รูปเดียว
 
ข้าหลวงนำผลไม้มาถวายที่โรงภัตแต่ก็ไม่เจอภิกษุแม้แต่รูปเดียว
 
        “ เจ้าแน่ใจอย่างนั้นรึ หรือว่านี่ยังไม่ถึงเวลาฉันภัตตาหารกระมัง ” “ ภิกษุทั้งหลายมารับภัตตาหารแล้ว กลับไปแล้วพระเจ้าค่ะ ” พระราชาทรงทราบเรื่อง
ที่ภิกษุทั้งหลายมารับภัตตาหารในวังของพระองค์ แล้วนำไปยังบ้านของอุปัฏฐากผู้คุ้นเคย แล้วให้ภัตตาหารกับอุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐาก
เหล่านั้นถวาย “ ภิกษุเหล่านั้นรับภัตตาหารแล้ว ก็นำไปให้บ้านอุปัฏฐาก แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากถวายแทนพระเจ้าค่ะ ”
 
ข้าหลวงนำเรื่องที่ตนไม่เจอภิกษุในโรงภัตมากราบทูลต่อพระราชา
 
ข้าหลวงนำเรื่องที่ตนไม่เจอภิกษุในโรงภัตมากราบทูลต่อพระราชา
 
       “ เอ้ ภัตตาหารที่เราถวายก็เป็นอาหารรสเลิศ ทำไม่ภิกษุทั้งหลายจึงทำเช่นนั้นนะ ” เมื่อเกิดความสงสัยพระราชาจึงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระศาสดาที่พระวิหารเชตวัน
ทรงนมัสการแล้วจึงทูลถามเรื่องนั้น “ ข้าแต่องค์พระศาสดา เพราะเหตุอันใดกัน ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารที่หม่อมฉันถวายละพระเจ้าค่ะ ” “ มหาบพิตร
ธรรมดาการบริโภคโภชน มีความคุ้นเคยกันสำคัญยิ่ง เพราะในพระราชวังของพระองค์ ไม่มีผู้เข้าไปทำความคุ้นเคย แล้วให้ด้วยความสนิทสนม
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้พระราชาได้ฟัง
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้พระราชาได้ฟัง
     
        ภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตตาหารแล้วฉันในที่แห่งคนผู้มีความคุ้นเคยแก่ตน แม้บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลาย ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น เมื่อพระราชา แม้ทรงพาหมอ
ทั้ง ๕ ตระกูลไปให้กระทำยา โรคก็ไม่สงบ แต่เมื่อได้ไปยังสำนักของคนผู้คุ้นเคยกัน บริโภคยาคูลอันทำด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือย ซึ่งไม่เค็มและผัก ซึ่งราดด้วย
สักแต่ว่าน้ำเปล่า ไม่มีรสเค็ม ก็หายโรค ” ครั้นพระราชาทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาทกดังนี้
 
พระโพธิสัตย์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ นามว่า กัปปกุมาร
 
พระโพธิสัตย์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ นามว่า กัปปกุมาร
 
       ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตย์ได้บังเกิดในตระกลูพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ นามว่า กัปปกุมาร “ กัปปกุมารลูกพ่อ
ดูสิ นับวันเจ้าช่างน่ารักน่าเอ็นดูเหลือเกิน อืม ” เมื่อกัปปกุมารเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักศิลา ภายหลังได้บวชเป็นฤาษีและเป็นศิษย์เอกของ
เกสวดาบส ซึ่งมีศิษย์ ๕๐๐ รูป อัธยาศัยใจคอของกัปปดาบสนั้นเป็นที่ถูกใจของเกสวดาบส ทำให้ดาบสทั้งสองสนิทสนมคุ้นเคยกันยิ่งนัก
 
กัปปกุมารออกบวชเป็นฤาษีและได้เป็นศิษย์เอกของเกสวดาบส
 
กัปปกุมารออกบวชเป็นฤาษีและได้เป็นศิษย์เอกของเกสวดาบส
 
        “ ฮะฮ่า ดีเลย กัปปดาบส นิสัยเจ้าถูกใจข้านัก ต่อไปเจ้าจะเป็นศิษย์เอกของเรา ” วันหนึ่งเกสวดาบสได้พาดาบสทั้งหลายเข้าไปในเมืองเพื่อขออาหาร เมื่อเดินทาง
มาถึงพาราณสีแล้วจึงพักอยู่ในพระราชอุทยาน “ คืนนี้เราจะพักกันที่นี่ พรุ่งนี้เราจะเข้าไปในเมืองกัน ” “ ขอรับอาจารย์ ” วันรุ่งขึ้นดาบสทั้งหลายก็เข้าไปสู่พระนคร
เพื่อขออาหาร เมื่อไปถึงประตูพระราชวัง พระราชาทรงเห็นดาบสเหล่านั้น จึงให้ข้าหลวงไปนิมนต์มา แล้วถวายภัตตาหารให้ฉันภายในพระราชนิเวศน์

เกสวดาบสได้พาเหล่าศิษย์เข้ามาในเมืองเพื่อขออาหาร
 
เกสวดาบสได้พาเหล่าศิษย์เข้ามาในเมืองเพื่อขออาหาร
  
        และทรงอาราธนาให้พักอยู่ในพระราชอุทยานในช่วงฤดูฝน “ เชิญพวกท่าน ฉันอาหารที่เราจัดถวายเถิด ” “ ของพระทัยพระเจ้าค่ะ ” “ นี่ก็เข้าหน้าฝนแล้ว
เชิญพวกท่านพักอยู่ในพระราชอุทยานตลอดน่าฝนนี้เถิด ” ครั้นเมื่อล่วงกาลฤดูฝนแล้ว เกสวดาบสได้ทูลอำลาพระราชากลับไปยังหิมวันตประเทศ พระราชา
ทรงของให้เกสวดาบสพักอยู่ต่อ ให้ส่งดาบสอื่น ๆ กลับไปยังหิมวันตประเทศก่อน “ ท่านเป็นผู้เฒ่าอายุมากแล้ว เชิญพักอยู่ที่นี่ต่อเถิด ”
 
พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่เกสวดาบสและเหล่าศิษย์    

พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่เกสวดาบสและเหล่าศิษย์
 
        “ ก็ดีเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นฝากท่านกัปปดาบสช่วยดูและศิษย์คนอื่น ๆ ของเราด้วย ” กัปปดาบสเดินทางกลับไปยังหิมวันตประเทศพร้อมกับดาบสทั้งหลาย
ฝ่ายเกสวดาบสนั้นเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รู้สึกรำคาญใจ คิดถึงผู้ที่คุ้นเคยกันไม่เป็นอันหลับนอน “ ตอนนี้กัปปดาบสกับดาบสอื่น ๆ จะเป็นอย่างไรบ้างนะ
ข้าอยากพบเขาจริง ๆ ”

พระราชาได้อาราธนาให้เกสวดาบสพักอยู่ในพระราชนิเวศน์ต่อไปในช่วงฤดูฝน
 
พระราชาได้อาราธนาให้เกสวดาบสพักอยู่ในพระราชนิเวศน์ต่อไปในช่วงฤดูฝน
  
        เมื่อเกสวดาบสคิดถึงสหายจนนอนไม่หลับ นานเข้าก็ล้มป่วย เกิดทุกขเวทนาเป็นอย่างยิ่ง พระราชาทรงพาแพทย์มาทำการรักษาถึง ๕ คน ก็ไม่สามารถ
รักษาให้หายได้ “ ท่านหมออาการของเกสวดาบสเป็นอย่างไรบ้าง ” “ หม่อมฉันไม่รู้สาเหตุของโรค จึงไม่สามารถรักษาได้พระเจ้าค่ะ ”

เกสวดาบสได้ล้มป่วยลงเหตุเพราะคิดถึงกัปปดาบสและเหล่าศิษย์ของตน
 
เกสวดาบสได้ล้มป่วยลงเหตุเพราะคิดถึงกัปปดาบสและเหล่าศิษย์ของตน
 
        พระราชาทรงถามเกสวดาบสถึงสาเหตุที่ทำให้ล้มป่วย เกสวดาบสบอกสาเหตุทั้งหมด แล้วจึงทูลขอให้ส่งตนกลับไปยังหิมวันตประเทศ “ พระองค์ทรงอยาก
ให้หม่อมฉันตาย หรืออยากให้หายจากโรคพระเจ้าค่ะ ” “ เราอยากให้ท่านหายจากโรคแน่นอน” “ ถ้าเช่นนั้นโปรดส่งหม่อมฉันกลับไปยังหิมวันตประเทศเถิด ”
“ ถ้าเช่นนั้นเราจะทำตามประสงค์ของท่านก็แล้วกัน ”
 
หมอได้แจ้งให้พระราชาทรงทราบว่าตนไม่สามารถรักษาเกสวดาบสให้หายจากโรคได้
 
หมอได้แจ้งให้พระราชาทรงทราบว่าตนไม่สามารถรักษาเกสวดาบสให้หายจากโรคได้
 
        เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกสวดาบสล้มป่วยแล้ว พระราชาทรงให้นารทอำมาตย์ตามไปส่งเกสวดาบสยังหิมวันตประเทศพร้อมกับพวกกับพวกพรานป่า
“ นารทอำมาตย์ ท่านจงไปส่งท่านดาบสยังหิมวันตประเทศเถิด ” “ พระเจ้าค่ะ ” นารทอำมาตย์นำเกสวดาบสไปส่งยังหิมวันตประเทศแล้วจึงกลับมา
ฝ่ายเกสวดาบสเมื่อพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรคทางใจก็สงบ ความรำคาญใจก็ระงับไป

พระราชาได้ดูแลและสอบถามอาการป่วยของเกสวดาบส
 
พระราชาได้ดูแลและสอบถามอาการป่วยของเกสวดาบส
 
        ลำดับนั้นกัปปดาบสได้ให้ยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยพร้อมกับผักต้มแก่เกสวดาบส โรคของเกสวดาบสก็ทุเลาลงทันที “ ท่านฉันอาหารเหล่านี้
เสียก่อนเถิด ” “ ขอบใจท่านมาก เราคิดถึงที่นี่เหลือเกิน ” ฝ่ายนารทอำมาตย์นั้นเมื่อกลับมาถึงพระนครพระราชาก็ทรงส่งไปดูอาการของเกสวดาบสอีกครั้ง
ด้วยความเป็นห่วง “ ท่านอำมาตย์ เรารู้สึกเป็นห่วงเกสวดาบสเหลือเกิน ท่านช่วยไปยังหิมวันประเทศอีกครั้ง และก็กลับมาส่งข่าวแก่เราด้วยเถิด ”
 
เกสวดาบสกลับมายังหิมวันตประเทศและได้รับการดูแลจากกัปปดาบสจนหายป่วย
 
เกสวดาบสกลับมายังหิมวันตประเทศและได้รับการดูแลจากกัปปดาบสจนหายป่วย
 
       “ พระเจ้าค่ะ ” เมื่อนารทอำมาตย์ไปถึงหิมวันตประเทศแล้ว สอบถามอาการของเกสวดาบส แล้วก็พบว่าเกสวดาบสนั้นหายจากโรคแล้ว “ เป็นอย่างไรละ
ท่านดาบส ดูท่าทางท่านสดชื่นขึ้นมากเลยนะ ” “ ขอบใจท่านมากที่เป็นห่วง เราหายจากโรคร้ายนั่นแล้วละ ” “ ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้า
พาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้
 
พระราชาได้ให้นารทอำมาตย์ตามไปดูอาการป่วยของเกสวดายังหิมวันตประเทศอีกครั้ง
 
พระราชาได้ให้นารทอำมาตย์ตามไปดูอาการป่วยของเกสวดายังหิมวันตประเทศอีกครั้ง
 
        แล้วนี้กัปปดาบสทำให้ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ” “ กัปปดาบสทำให้เรายินดีอยู่อย่างนี้ จึงให้เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้าง และลูกเดือยอันระคนด้วยผัก
ที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น พยาธิในร่างกายของเราก็สงบระงับเพราะข้าวยาคูลนั้น เราเป็นผู้หายโรคแล้ว ” “ ทำไมท่านถึงพอใจข้าวฟ้างและลูกเดือย
มากกว่าอาหารที่พระราชาถวายละ ”

นารทอำมาตย์ได้สอบถามถึงเหตุที่ทำให้เกสวดาบสหายป่วยได้อย่างน่าอัศจรรย์
 
นารทอำมาตย์ได้สอบถามถึงเหตุที่ทำให้เกสวดาบสหายป่วยได้อย่างน่าอัศจรรย์
 
        “ อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใด การบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม ” นารทอำมาตย์
ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงเดินทางกลับไปกราบทูลพระราชาตามที่เกสวดาบสบอกกล่าว พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า
 
 
 
พระราชาในครั้งนั้น ได้กำเนิดเป็น พระอานนท์
นารทอำมาตย์ กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
เกสวดาบส กำเนิดเป็น พวกมหาพรหม
กัปปดาบส เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภทอันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท

อุจฉังคชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงผู้มีใจรักพี่รักน้องอุจฉังคชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงผู้มีใจรักพี่รักน้อง

ขรัสสรชาดก ชาดกว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้งขรัสสรชาดก ชาดกว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

นิทานชาดก 500 ชาติ