วัดสำแล


[ 30 ต.ค. 2556 ] - [ 18275 ] LINE it!

ไปวัด ไปวา

วัดสำแล

วัดสำแล
เรียบเรียงมาจากรายการ ไปวัด ไปวา ที่ออกอากาศทางช่อง DMC


วัดสำแลแลงามสามโลกเลื่อง เป็นอารามอร่ามเรืองล้ำความหมาย
มอญพลัดบ้านท่านโอบอุ้มคุ้มอันตราย  ตราบชีพวายใจจงรักมั่นภักดี
เจ้าแผ่นดินทรงเมตตาให้อาศัย  บ้านเมืองไทยผ่องผุดพุทธวิถี
ได้สร้างวักวิหารการเจดีย์  อุ่นชีวีอุ่นเมตตาการุณย์ธรรม

 

วัดสำแล

วัดสำแล

วัดสำแล

 

วัดสำแล

ชาวมอญที่อพยพมาเมื่อครั้งต้นรัตนโกสินทร์ร่วมกันสร้างขึ้น


     วัดสำแลเป็นวัดรามัญตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านกระแชงอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่เศษ ชาวมอญที่อพยพมาเมื่อครั้งต้นรัตนโกสินทร์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ต่อมาในราวพุทธศักราช ๒๔๑๒ ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ วัดมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ต่อมาได้รับการบูรณะเป็นอย่างดีโดยเจ้านายชั้นสูงและถวายเป็นวัดธรรมยุทธ อุโบสถหลังเดิมหันหน้าเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นโบสถ์มหาอุตม์ด้านหลังไม่มีประตู  ขนาดของโบสถ์มีความกระทัตรัดหน้าบรรณตอนบนสลักลายสีทองบนพื้นขาว แกะสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ลักษณะช้างรูปแบบสมจริงมีพระอินทร์ประทับนั่งบนบุษบกเหนือกระพองช้าง ตอกแต่งด้วยลายดอกบุนนาค กรอบด้านล่างเป็นซุ้มพระบัญชรมีพระพุทธรูปอยู่ภายในกรอบหน้าต่างและประตูทางเข้าแกะลายเรียบง่ายแต่ฝีมือชั้นครูความโดดเด่นของโบสถ์เก่าอีกประการหนึ่ง คือ ตัวโบสถ์จะผายเล็กน้อย รับกับเสาหน้ามุกแต่ละต้นซึ่งเป็นลักษณะโคนใหญ่ปลายเรียว มีใบสีมาตั้งอยู่บนฐานกลีบบัวไม่มีซุ้ม โบสถ์หลังนี้ปัจจุบันมีอายุกว่าร้อยปี สภาพชำรุดทรุดโทรมแล้วแต่ยังคงงดงามด้วยศิลปะการก่อสร้างทางวัดจึงได้บูรณะไว้เป็นอนุสรณ์

วัดสำแล

วัดสำแล

อุโบสถหลังใหม่ซึ่งอยู่ข้างอุโบสถหลังเก่า

     มีหมู่เจดีย์มอญอยู่หนาอุโบสถเก่า ประกอบด้วยเจดีย์ประธานรายล้อมด้วยเจดีย์บริวารหลายมหาเจดีย์ชเวดากอง ศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังมีขนาดกว้างใหญ่ ที่แนวผนังแต่ละช่องเสาไม้ จะประดิษฐ์เป็นซุ้มบัญชรทางวัดได้นำรูปพุทธประวัติใส่กรอบติดไว้ให้ชมกัน ภายในศาลาการเปรียญนี้ยังใช้งานได้ดี มีตู้พระไตรปิฎกแบบมอญและพระพุทธรูปพร้อมทั้งรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาสตั้งประดิษฐานอยู่ มีหอระฆังอายุกว่า ๘๐ ปี ตั้งอยู่หน้าศาลาการเปรียญจารึกปีที่สร้างว่าสร้างปีพุทธศักราช ๒๔๘๗ บูรณะพุทธศักราช ๒๕๔๖ เมื่อการประปามาขอใช้สถานที่ด้านข้างบริเวณวัดเนื้อที่ ๑ ไร่เศษเป็นที่ทำการประปาให้กับคนในย่านนี้ เนื้อที่ตรงนั้นเป็นที่ตั้งของวิหารเก่า ซึ่งตั้งคู่เคียงกับอุโบสถเก่าแต่สภาพชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว

วัดสำแล

วัดสำแล

พระประธานเป็นพระพุทธชินราชจำลอง

     ทางวัดจึงได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖-๒๕๕๐ ทั้งนี้ได้มีคุณสมบูรณ์ เตชะมงคลจิตร นักธุรกิจที่มีบ้านอยู่ติดวัดได้เป็นหลักในการก่อสร้างจนกระทั่งโบสถ์เสร็จเรียบร้อย พื้นอุโบสถยกขึ้นบนเนินดินปูหญ้าอย่างสวยงาม มีบันไดทางขึ้นที่หัวบันไดมีรูปสิงห์แกะสลักด้วยหินข้างละตัว อุโบสถเป็นอาคารทรงไทยหลังคามุงกระเบื้อง ซ้อน ๒ ชั้น มีปีกนกลาดลงด้านละ ๒ ตับ ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าบรรณด้านหน้าเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ด้านหลังเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มทรงมงกุฎฝีมือประณีตงดงาม ภายในอุโบสถแต่งผนังเรียบง่ายด้วยลายไทยอันประณีต ที่ผนังมีเรื่องราวพุทธประวัติใส่กรอบไว้ให้ศึกษา พระประธานเป็นพระพุทธชินราชจำลองที่มีความงดงามมากบนฐานชุกชี อุโบสถหลังปัจจุบันได้หันหน้ากลับทางกับอุโบสถหลังเก่า โดยหันหน้ามาทางถนนเลียบคลองประปาซึ่งเป็นทางสัญจรในปัจจุบัน

รับชมวิดีโอ

 

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วัดโพธิ์ชัยวัดโพธิ์ชัย

วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)

วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหารวัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา