7 องค์กรชาวพุทธเดินหน้าลุย - ส.ส.ร.รับลูกแปรญัตติ 26 เม.ย.


[ 23 เม.ย. 2550 ] - [ 18258 ] LINE it!

แฟ้มภาพ
       7 องค์กรชาวพุทธเดินหน้าบรรจุพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญให้เป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ ส.ส.ร.บางกลุ่มรับลูกรวบรวมรายชื่อขอแปรญัตติ วันที่ 26 เม.ย.นี้
       
       
       วันนี้ (23 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. 7 องค์กรชาวพุทธ ได้แก่ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย คณะสงฆ์อนัมนิกาย องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก นายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาสังคมสงเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เข้ายื่นหนังสือต่อ นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อเสนอให้ ส.ส.ร.รวบรวมรายชื่อเพื่อแปรญัตติต่อที่ประชุม ส.ส.รให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติลงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งหากมีการบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจะทำให้เกิดการปฏิบัติได้มากขึ้น
       
       โดย นายพิเชียร กล่าวว่า ขณะนี้มีการรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ร.ได้ครบเกือบ 10 คนแล้ว อาทิ นายประดิษฐ์ เหลืออร่าม และนายเศวต ทินกูล ซึ่งในวันที่ 26 เม.ย.นี้จะนำรายชื่อเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อแปรญัตติ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเรื่องนี้ควรมีการเจรจาด้วยเหตุผลมากกว่าที่จะใช้กำลังคนมากดดันโดยการชุมนุม
       
       “ที่ผมมารับหน้าที่ในการเสนอเข้าเข้าสู่ที่ประชุมผมไม่ต้องการชื่อเสียง และสิ่งตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีผู้ใดจะเสนอญัตติแทนผมๆ ก็ยินดี และไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวครั้งนี้จะอย่างใด เพราะผมเองก็ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มอำนาจเก่า” นายพิเชียร กล่าว
       
       ทั้งนี้ หาก ส.ส.ร.ไม่มีการบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า เรื่องของความจริงถ้าไม่ระบุก็เป็นความจริงอยู่ แต่หากเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ต้องรับผิดชอบ ซึ่งถ้ามีโอกาสก็อยากทำความจริงให้เป็นที่ปรากฏ อย่างไรก็ตาม มติของที่ประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีเสียงเป็นเอกฉันท์ให้มีการบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งในจำนวนคณะกรรมาธิการทั้ง 13 คน ประกอบไปด้วย กรรมาธิการนับถือศาสนาพุทธ 7 คน ส่วนอีก 6 คน นับถือศาสนาคริสตร์และอิสลาม
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความแตกแยกระหว่างศาสนาหรือไม่ พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า เรื่องศาสนาเป็นเพียงความแตกต่างไม่ใช่การแตกแยก เหมือนดอกไม้หลายสีที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานกฎระเบียบในสังคม ส่วนจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในศาสนาอื่นหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคกัน
       
       “ความเสมอภาคนั้นต้องดูว่าสถานะว่าผู้ใหญ่เป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าเด็กกับผู้ใหญ่จะต้องตัวโตเท่ากัน แต่ว่าต้องทำหน้าที่ต่างกัน ดังนั้น คำว่าเสมอภาคหรือคำเหลื่อมล้ำนั้น คนที่เป็นผู้บริหารประเทศต้องทำให้ถูกต้อง” พระธรรมโกศาจารย์ กล่าว
      
 
 
 
 
 
ที่มา-


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยัน

ติวเข้มเคลื่อนกองทัพธรรมสู่ ร.ร.ทั่วประเทศ พร้อมขยายผลให้เด็กได้สอบนักธรรมติวเข้มเคลื่อนกองทัพธรรมสู่ ร.ร.ทั่วประเทศ พร้อมขยายผลให้เด็กได้สอบนักธรรม

จีนถอดรหัสพันธุกรรมพบยีนลดความเสี่ยงมะเร็งจีนถอดรหัสพันธุกรรมพบยีนลดความเสี่ยงมะเร็ง



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

DMC NEWS