หยุดให้เงินขอทาน สู่การแจ้งเบาะแส เพื่อหยุดธุรกิจบาป


[ 7 ส.ค. 2549 ] - [ 18256 ] LINE it!

              ต้องยอมรับปรากฏการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมานานของสภาพสังคมปัจจุบัน ในเรื่องที่ว่า... เพราะอานุภาพของความจน และข้อแตกต่างทางด้านเงื่อนไข เป็นเหตุส่งผลให้ สองข้างทางบนบาทวิถี ที่สัญจรผ่านไปมานั้นดาษดื่นไปด้วย ประติมากรรมที่เดินได้ อย่าง“ เด็กขอทาน”
       
       นอกจากนี้ยังปฎิเสธไม่ได้อีกว่าตามประสาคนไทยใจดี ส่วนใหญ่ ต้องเคยหยิบยื่น เศษเงิน แม้เพียงเล็กน้อยให้กับขอทานเหล่านั้นด้วยความสงสาร ด้วยเหตุดังกล่าวส่งผลให้จำนวนขอทานมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และกระจายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเพิ่มความหลากหลายในรูปแบบธุรกิจขอทานที่แยบยลผิดแผก
ไปกว่าเดิม นี่คือ ทีท่าที่ส่อให้เห็นว่า
       ปรากฏการณ์นี้อาจจะไม่มีวันหมดสิ้น
       
       หลังเปิดเวทีถกเครียดปัญหาธุรกิจเด็กขอทานของทาง มูลนิธิกระจกเงาโดยการสนับสุนนขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเวทีเสวนา “แนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กในธุรกิจขอทาน และการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน” ผลจากการระดมความคิดเห็นจากข้อมูลและผู้เกี่ยวข้อง ได้บทสรุปของทางออกที่เหมาะสมที่สุดคือ “หยุดให้เงินแก่ขอทานเด็ดขาด”
       
       ทั้งนี้นาย วรเชษฐ์ เขียวจันทร์ หัวหน้าโครงการรณรงค์ ยุติธุรกิจขอทาน เปิดเผยว่า ต้องปรับความเข้าใจของสังคมให้เข้าใจ ถึงการทำบุญให้กับขอทานนั้น ส่งผลให้เกิดธุรกิจขอทานของเหล่ามิจฉาชีพ ฉะนั้นจึงควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริจาคเป็นการแจ้งเบาะแส เพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประสานงานความร่วมมือ
       
       “องค์ความรู้ในเรื่องของการดำเนินการติดต่อขอความช่วยเหลือ
เมื่อพบเจอบุคคล
ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจขอทานดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนับว่าสังคมส่วนใหญ่ยังขาดในจุดตรงนี้อยู่ จึงยังเข้าใจความหมายของความช่วยเหลือพวกขอทานอย่างผิดๆ” วรเชษฐ์กล่าว

              ด้าน "ตาล-อาภา จันทร์โชติ"
       
       นักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชนปีที่ 4 มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี สาวน้อยคนหนึ่งผู้สนใจและติดตามความเคลื่อนไหวในทุกองค์กรที่ร่วมกระทำการยุติปัญหาธุรกิจขอทานมาตลอด ทำให้เธอเข้าใจลักษณะของวิธีการช่วยเหลือขอทานแม้อาจจะยังทำใจไม่ไดที่จะไม่ให้เงิน แต่ก็ยืนยันจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไข ตอนนี้เธอทำหน้าที่ในด้านข้อมูลของงานวิจัยที่ทำอยู่ในเรื่อง การค้ามนุษย์ เธอหวังว่างานวิจัยของเธอจะสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมได้ ตัวหนูเองเคยคลุกคลีอยู่กับเด็กทั้งที่เป็นขอทาน หรือ เด็กที่มีปัญหาจากสภาพสังคมมาช่วงหนึ่ง เพราะตาลเองได้ฝึกงานอยู่ที่ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน มูลนิธิ คุณพ่อเลย์ ที่พัทยากลาง ตอนนั้นทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่เห็นกันจนเป็นภาพชินตานั้น คือปัญหาที่แทบจะมองไม่เห็นทางแก้ไข        
       เนื่องจากเราไม่มีความรู้ทางด้านนี้ตามหลักนิสัยคนไทย หากมองเห็นขอทาน สิ่งที่จะช่วยเหลือ ก็คือการให้เงินแล้วจบ แต่หากจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง เราก็สามารถบอกได้ว่าเราช่วยได้จริงหรือเปล่า เด็กจะเป็นอันตรายหรือไม่หากเราช่วยเหลือไปด้วยการให้ทาน เพราะเด็กที่มาขอทานมีทั้งที่สมัครใจมา และเป็นขบวนการบังคับให้เด็กมาเป็นขอทานก็มี
       
       แถบพัทยาที่เคยได้ลงพื้นที่ก็จะมีอยู่มาก แต่พัฒนาระบบการขอทานได้แยบยลกว่าเดิม จากที่ขอเงินเฉยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นให้เด็กขายท๊อฟฟี่ ของที่ระลึก หรืออะไรต่างๆ ที่เขาสามารถจะบวกเงินเพิ่มได้ เป็นการขายแกมขอเสียมากกว่า และก็ยังมีผู้ให้อยู่ แต่สิ่งที่น่ากลัวของละแวกแถบที่ท่องเที่ยวอย่างพัทยานั้นก็มี
       
       พวกที่แฝงการขายบริการทางเพศ หากวันไหนขายไม่ได้ ขอไม่ได้ ก็เป็นการขายบริการทางเพศ แบบคนซื้อคนขายจะรู้กัน และจะมีอยู่ตลอด 24 ชม.เลยก็ว่าได้”
       
       ตาลบอกตัวเธอเองนั้นมองว่าส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ่นนั้นมาจากปัญหาครอบครัว ปัญหาการเงิน การแก้ไขปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ และบวกกับการทำความเข้าใจ ว่าบุญของการให้เงินกับบุคคลเหล่านี้จะเป็นบาป       
       "ตั้งแต่ไปฝึกงาน หรือทำวิจัยในเรื่องของการค้ามนุษย์ มันทำให้ได้เห็นข้อเท็จจริงของสังคมอีกด้านหนึ่ง แต่ทุกวันนี้เมื่อไหร่ที่เดินผ่านขอทาน แล้วไม่ได้ให้เขา ก็ยังรู้สึกผิดอยู่ที่ไม่ช่วยเหลือเขา เลยทำให้ตาลเห็นว่านี่มันไม่ใช่ปัญหาเล็กที่แก้ไขนิดหน่อยแล้วจะหมดไป แต่มันเป็นปัญหาด้านความรู้สึกต่อสังคม
       
       ตาลว่าทุกฝ่ายก็คงต้องช่วยกันอย่างจริงจัง ในฐานะวัยรุ่นที่เป็นนักศึกษา พวกเราก็เป็นกลุ่มหนึ่งบนท้องถนนและเป็นส่วนหนึ่งในสังคม ที่มักจะเห็นขอทานเข้ามาปะปนหารายได้อยู่กันจนชินตาทุกวัน ตรงนี้ที่ตาลก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่อยากจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไปหรืออย่างน้อยก็ลดลง งานวิจัยก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสังเกตการณ์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไข เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็หวังไว้ว่าน่าจะเป็นข้อมูลให้กับ ผู้ที่สนใจ ในปัญหานี้
       
       นอกจากนั้นตัวตาลเองก็จะใส่ใจแบบเคร่งครัดมากขึ้น ไม่แอบช่วยเหลือ จะพยายามใจแข็ง เพื่อเปลี่ยนแนวทางการช่วยเหลือจากการให้เงิน เป็นการแจ้งเบาะแส หรือสังเกตุการณ์ต่างๆ และส่งต่อยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพราะเราก็คงทนเห็นเขานั่งขอทานอีกต่อไปไม่ได้ เพราะเราคงช่วยเหลือเขาได้ไม่ทุกวัน ต้องช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับสังคม เพื่อปรับให้ชีวิตพวกเขามีคุณภาพมากกว่านี้ "
       
       ตาลยังยืนยันทิ้งท้ายเสียงหนัก ไว้ว่ายังไงตาลก็จะขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเหลือสังคมในปัญหานี้ ถึงแม้จะทำได้ไม่มากก็ตาม แต่ก็จะไม่ละเลย....
       
       ....แน่นอนที่สุด การให้ที่ยั่งยืน อย่างการแจ้งเบาะแสต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นได้มากกว่าการให้ด้วยความสงสาร ทั้งนี้เพื่อร่วมมือกันฉุดให้พวกเขาหลุดพ้นจากพันธการของธุรกิจบาป
 
ที่มา-



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วธ.คัดค้าน ชื่อ 'ถุงยาง' ทอม ดันดี ชี้ไม่เหมาะวธ.คัดค้าน ชื่อ 'ถุงยาง' ทอม ดันดี ชี้ไม่เหมาะ

คาดอีก 5 ปี เด็กปวช.-ป.ตรี 2 ล. วิ่งวุ่นหางาน-อาชีพต่ำกว่าวุฒิคาดอีก 5 ปี เด็กปวช.-ป.ตรี 2 ล. วิ่งวุ่นหางาน-อาชีพต่ำกว่าวุฒิ

รำลึก 61 ปีนางาซากิ ญี่ปุ่นวอนทำลายนิวเคลียร์รำลึก 61 ปีนางาซากิ ญี่ปุ่นวอนทำลายนิวเคลียร์



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

DMC NEWS