อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล


[ 11 ธ.ค. 2564 ] - [ 18269 ] LINE it!

ชาดก 500 ชาติ

อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี
  
       ครั้งหนึ่งในพุทธกาลสมัย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธ พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ในนครสาวัตถี สมัยนั้นพระพุทธศาสนาได้แผ่ขจรขจายเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา จึงมีชาวบ้านถวายตัวเป็นสาวก บวชเป็นพระภิกษุเป็นจำนวนมาก
 
ชาวบ้านต่างมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนากันเป็นจำนวนมาก
 
ชาวบ้านต่างมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนากันเป็นจำนวนมาก
 
       “ เราไปถวายตัวเป็นศิษย์พระบรมศาสดากันดีกว่า ค้นหาความสุขมานานแล้ว แต่ไม่เจอสักที ” “ ข้าก็เห็นเอาแต่กินกับนอน ยังสุขไม่พออีกเหรอ ”
“ ข้าหมายถึงความสุขทางใจต่างหาก ข้าว่าเจ้าอย่ามัวแต่พูดอยู่เลย รีบออกเดินทางไปพระเชตะวันกันดีกว่า เดี๋ยวจะสายเอา ”

ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้ว่าจ้างให้นายติตถวานิกช่วยพายเรือไปส่งตนอีกฟากของแม่น้ำ
 
ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้ว่าจ้างให้นายติตถวานิกช่วยพายเรือไปส่งตนอีกฟากของแม่น้ำ
 
        ในกาลนั้นยังมีพระภิกษุชาวชนบทรูปหนึ่ง เดินทางด้วยความตั้งใจว่าจะทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เมื่อมาถึงท่าน้ำ ชายฝั่งแม่น้ำ
อัจจิรวดีก็ได้พบกับนายติตถวานิก ซึ่งเป็นคนแจวเรือข้ามฟาก นายติตถวานิกผู้นี้ เขาเป็นคนโง่ไม่รู้อะไร ไม่รู้แม้แต่คุณของพระรัตนตรัย
แห่งองค์พระศาสดาเป็นต้น ไม่รู้คุณของบุคคลอื่น ๆ ด้วยเป็นคนดุร้ายหยาบคาย หุนหันพลันแล่น

นายติตถวานิกทำเรือโครงเพื่อเป็นการกลั่นแกล้งภิกษุหนุ่ม
 
นายติตถวานิกทำเรือโครงเพื่อเป็นการกลั่นแกล้งภิกษุหนุ่ม
 
       “ อุบาสก อาตมาประสงค์จักข้ามไปฟากโน้น ขอโยมช่วยพายเรือพาอาตมาไปเถิด ” “ โอ้ย ตอนนี้เป็นเวลาพักผ่อนของข้าแล้ว ข้าคงพาท่าน
ไปไม่ได้หรอก ขอให้ท่านรออยู่บนฝั่งก่อนก็แล้วกัน ” “ ดูก่อนอุบาสก ท่านจะให้อาตมาอยู่ ณ ที่แห่งใดเล่า ขอจงรับอาตมาไปส่งด้วยเถิดนะ ”

ภิกษุหนุ่มถึงฝั่งแต่บาตรและจีวรเปียกชุ่มไปด้วยน้ำ
 
ภิกษุหนุ่มถึงฝั่งแต่บาตรและจีวรเปียกชุ่มไปด้วยน้ำ
 
        “ เอ๊ะ ท่านนี่พูดไม่รู้เรื่องหรืออย่างไร ก็มันเป็นเวลาพักผ่อนของข้า เหนื่อยมาทั้งวันแล้วนะเนี่ย อยากไปก็รอก่อนสิ ” “ ดูก่อนเถิดอุบาสก
ผู้เจริญ อาตมานี้มีความประสงค์จะอุปัฏฐากพระบรมศาสดาในวันนี้ ช่วยไปส่งอาตมาด้วยเถอะนะ ” “ นั้นมันก็เรื่องของท่าน ข้าไม่สนหรอก ”
“ ท่านอุบาสกผู้เจริญ หากท่านไม่ส่งอาตมาข้ามฝากไป ไม่เช่นนั้นอาตมาคงไปรับการอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไม่ทันแน่ ๆ ได้โปรดเถิดนะท่าน ”
 
ภิกษุหนุ่มมาถึงพระเชตวันแต่ก็ไม่ทันเวลาที่จะเข้าไปรับการอุปัฏฐากพระบรมศาสดา
 
ภิกษุหนุ่มมาถึงพระเชตวันแต่ก็ไม่ทันเวลาที่จะเข้าไปรับการอุปัฏฐากพระบรมศาสดา
 
      นายติตถวานิกเมื่อได้ยินคำของภิกษุร้องขอ ก็รู้สึกหงุดหงิดขึ้นในใจบันดาลความโกรธเข้า จึงคิดแกล้งหลอกภิกษุให้เสียเวลา โดยไม่เคารพยำเกรง
ต่อเพศสมณะของภิกษุเลยแม้แต่น้อย “ อ่ะ อ่ะ ก็ได้ๆ ในเมื่อท่านขอร้องข้าถึงขนาดนี้แล้ว ข้าจะจัดให้ เดี๋ยวจะหาว่าข้าแล้งน้ำใจ มา ๆ มา ตามข้ามา
เดี๋ยวข้าจะพาไปส่ง ” “ อาตมาต้องขอขอบใจอุบาสกมากนะ ” (...อยากข้ามนักใช่ไหม เดี๋ยวก็ได้รู้)
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถามภิกษุหนุ่มถึงสาเหตุที่มาถึงล่าช้า
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถามภิกษุหนุ่มถึงสาเหตุที่มาถึงล่าช้า
 
       “ นั่งดี ๆ ละท่าน เดี๋ยวตกน้ำตกท่าไปจะหาว่าข้าไม่เตือนไม่ได้นะ ”  เมื่อภิกษุผู้นั้นลงเรือ แทนที่นายนายติตถวานิกจะพายเรือข้ามไปส่ง
แต่กลับพายเรือไปข้างล่าง ทันใดนั้นเองเขาก็แกล้งทำให้เรือส่าย ทำเรือโคลงไปเครงมา ทำให้บาตรและจีวรของภิกษุท่านนั้นเปียกน้ำ
ไปถึงฝั่งโดยลำบาก “ อุบาสก บาตรและจีวรของอาตมาชุ่มไปด้วยน้ำหมดเลย "
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี
     
        “ ก็เตือนแล้วว่านั่งให้ดี ๆ เป็นไงละท่าน ฮะ ฮะ ฮ่า อยากให้เรามาส่งดีนัก ดี สมน้ำหน้า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” “ แต่ถึงอย่างไรก็ขอบใจที่ส่งเราจนถึงฝั่ง
นะท่าน อาตมาจะรีบไปละนะ ” “ ไม่เป็นไรหรอกท่าน ยังไงก็ไปไม่ทันหรอก ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” 
ต่อมา เมื่อภิกษุมาถึงยังพระเชตะวันมหาวิหาร ก็ไม่ทัน
ได้โอกาสอุปัฏฐากจากองค์ศาสดาดังที่ตั้งใจไว้ “ เฮ้อ มาไม่ทันอุปัฏฐากเสียแล้วหรือเรา ”
 
ฤาษีพระโพธิสัตว์ออกจากป่าหิมพานต์มาโปรดชาวบ้านในเมืองพาราณสี
 
ฤาษีพระโพธิสัตว์ออกจากป่าหิมพานต์มาโปรดชาวบ้านในเมืองพาราณสี
 
        เช้าวันรุ่งขึ้นภิกษุจึงไปเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อขออุปัฏฐาก พระองค์ตรัสถามว่า “ เธอมาถึงเมื่อไหร่หรือ ” “ เมื่อวานนี้พระเจ้าข้า ” “ แล้วเหตุไฉนเล่า
จึงมาที่อุปัฏฐากในวันนี้ ” “ ข้าแต่องค์พระศาสดา เดิมทีก็ตั้งใจที่จะอุปัฏฐากตั้งแต่เมื่อวานพระเจ้าค่ะ แต่ว่า อืม ” เมื่อภิกษุกราบทูลเล่าเหตุการณ์
แด่องค์พระศาสดาทรงทราบ เมื่อทรงสดับเรื่องราวทั้งหมดแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสแก่ภิกษุผู้นั้นว่า
 
ชาวบ้านทั้งหลายต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาในตัวของพระฤาษี
 
ชาวบ้านทั้งหลายต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาในตัวของพระฤาษี
 
       “ ดูก่อนภิกษุ มิใช่เพียงแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน นายนายติตถวานิกผู้นี้ ก็ดุร้าย หยาบคายเหมือนกัน อนึ่งเขาไม่ได้ทำให้เธอลำบาก
แต่ในชาติปัจจุบันนี้ แม้ในชาติก่อนก็ได้ทำให้บัณฑิตลำบากมาแล้วเหมือนกัน ” พระพุทธองค์จึงทรงนำเอาเรื่องอาวาริยชาดกมาสาทกให้ฟัง ดังนี้
ในอดีตกาล ณ นครพาราณสี ครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่นั้น

พระเจ้าพรหมทัตเสด็จผ่านมาเห็นพระฤาษีกำลังสอนธรรมะให้กับบรรดาชาวบ้าน
 
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จผ่านมาเห็นพระฤาษีกำลังสอนธรรมะให้กับบรรดาชาวบ้าน
  
        มีพระโพธิสัตว์ซึ่งกำเนิดในสกุลพราหมณ์ บวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน จึงคิดอยากจะเดินทางออกไปจาริก
โปรดญาติโยม จึงเข้าไปภิกขาจารในเมืองพาราณสี “ เดินทางมาตั้งไกล ช่างเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน เอ้ ที่นี่สงสัยจะเป็นเมืองพาราณสีแน่ ๆ เลย ”
พระฤาษีได้พร่ำสอนชาวเมืองจนเป็นที่เคารพอย่างยิ่ง “ พระฤาษีผู้นี้นั่งบำเพ็ญอย่างสงบช่างน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ”
 
พระเจ้าพรหมทัตได้นิมนต์พระฤาษีเข้าไปพักในพระราชอุทยาน    

พระเจ้าพรหมทัตได้นิมนต์พระฤาษีเข้าไปพักในพระราชอุทยาน
 
        “ ใช่ พวกเราเข้าไปกราบนมัสการท่านกันเถิด ” รุ่งขึ้นพระฤาษีจึงเข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกษา พระเจ้าพรหมทัตเห็นท่านมีกิริยาสำรวมก็บังเกิด
จิตศรัทธาเลื่อมใสในทันที จึงทรงนิมนต์พระฤาษีให้จำพรรษาในสวนหลวงเพื่อถวายทาน “ ข้าแต่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าขอนิมนต์ท่านไปจำพรรษา
ในอุทยานของเราเถิด ” “ ขอให้จำเริญเถิดมหาบพิตร ”
 
พระฤาษีได้ให้โอวาทแก่พระเจ้าพรหมทัต
 
พระฤาษีได้ให้โอวาทแก่พระเจ้าพรหมทัต

       พระราชาแห่งพาราณสีเสด็จไปฟังธรรมวันละครั้ง พระฤาษีมักจะให้โอวาทแด่พระองค์เป็นประจำว่า “ มหาบพิตรผู้เจริญ พระองค์ทรงเป็น
พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระราชานั้น มิควรมีอคติ ๔ อย่างด้วยกัน พระองค์ควรเป็นผู้ไม่ประมาท สมบูรณ์ด้วยขันติ มีเมตตากรุณา
ครองราชย์โดยธรรม ที่สำคัญพระองค์อย่าทรงโกรธเป็นอันขาด ไม่ว่าจะในที่ใด ๆ จะเป็นในบ้าน ในป่า หรือที่ลุ่มที่ดอนก็ตาม

พระฤาษีได้จำพรรษาอยู่ในเมืองพาราณสี
 
พระฤาษีได้จำพรรษาอยู่ในเมืองพาราณสี
 
       หากทำได้พระองค์ก็จะทรงเป็นพระราชาอันเป็นที่รักของเหล่าทวยราชตลอดไป ” “ สาธุ ” พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่ง พระองค์จึงถวายหมู่บ้านชั้นดี
ที่เก็บเงินส่วยภาษีได้ปีละ ๑ แสนกหาปนะให้แด่พระฤาษี ๑ ตำบล แต่ฤาษีก็หาได้รับไม่เพราะถือเป็นกิเลส เวลาผ่านไปพระฤาษีออกภิกขาจาร
อยู่ในเมืองพาราณสีและจำพรรษาอยู่ในอุทยานนาน ๑๒ ปี


พระฤาษีได้ฝากคนสวนไปกราบทูลลาพระเจ้าพรหมทัต
 
พระฤาษีได้ฝากคนสวนไปกราบทูลลาพระเจ้าพรหมทัต
       
       ต่อมาวันหนึ่งพระฤาษีจึงคิดจะภิกขาจารออกเดินทางไปโปรดญาติโยมยังสถานที่อื่นบ้าง “ นี่เราออกมาโปรดญาติโยมในเมืองพาราณสีนานถึง ๑๒ ปี
แล้วหรือนี่ เห็นทีต้องเดินทางออกไปโปรดญาติโยมที่อื่นบ้างแล้วหล่ะ ” เมื่อคิดได้ดังนั้น พระฤาษีออกเดินทางโดยไม่ได้เข้าเฝ้าทูลลาพระเจ้าพรหมทัต
ด้วยตนเอง เพียงฝากกับคนเฝ้าสวนหลวงไปกราบทูลให้ทรงทราบ
 
นายอาวาริปิตาได้แจวเรือมาส่งลูกค้ายังท่าน้ำ
 
นายอาวาริปิตาได้แจวเรือมาส่งลูกค้ายังท่าน้ำ
 
        “ บัดนี้ อาตมาจะออกเดินทางไปโปรดญาติโยมที่อื่น อาตมาขอฝากโยมกราบทูลลาพระราชา และฝากกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ
ที่มิได้กราบทูลด้วยตนเองนะโยมนะ ” “ ได้ขอรับ มิต้องเป็นห่วง ผมจะกราบทูลให้พระคุณเจ้าเอง ขอให้พระคุณเจ้าเดินทางโดยสวัสดิภาพเถิด
ขอรับ ” “ ขอบใจท่านมาก อาตมาไปละนะ 
 
นายอาวาริปิตาชอบทุบตีทำร้ายผู้คนที่ไม่ยอมจ่ายเงินจำนวนมากตามที่ตนเรียกร้อง
 
นายอาวาริปิตาชอบทุบตีทำร้ายผู้คนที่ไม่ยอมจ่ายเงินจำนวนมากตามที่ตนเรียกร้อง
 
       ขณะเดียวกัน ณ ท่าเรือข้ามฝากริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีนายแจวเรือนายหนึ่งนามว่า อาวาริปิตา นายแจวเรืออาวาริผู้นี้ เป็นคนโง่เขลา มีนิสัยดุร้าย
ชอบใช้กำลัง นิสัยไม่ดีอีกอย่างหนึ่งของนายอาวาริปิตาก็คือ มักไปส่งคนข้ามฝาก แล้วค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาเงินตามใจชอบแต่ภายหลัง
 
พระฤาษีได้ว่าจ้างนายอาวาริปิตาให้แจวเรือไปส่งตนยังอีกฝั่งของแม่น้ำ
 
พระฤาษีได้ว่าจ้างนายอาวาริปิตาให้แจวเรือไปส่งตนยังอีกฝั่งของแม่น้ำ
 
       เมื่อลูกค้าไม่ให้ก็มักจะมีเรื่องทะเลาะชกต่อย และขู่เอาเงินค่าจ้างจากผู้โดยสารอยู่เป็นประจำ “ เอาเจ้านะ ถึงฝั่งแล้ว เอาเงินมาเลย ๒๐๐
จ่ายมาซะดี ๆ ” “ เฮ้ย พายเรือมาส่งแค่นี้ คิดตั้ง ๒๐๐ เลยหรือท่าน อย่างนี้มันโกงกันนี่น่า ” “ เอ้อ มากง มาโกงอะไรกันนี่ ก็ก่อนขึ้นเรือ
เจ้าไม่ได้ถามข้านี่นา ว่าค่าจ้างเท่าไหร่ ช่วยไม่ได้ ไม่อยากมีเรื่องก็จ่ายข้ามาสะดี ๆ ”
 
นายอาวาริปิตาแจวเรือไปส่งพระฤาษีอีกฝั่งของแม่น้ำ
 
นายอาวาริปิตาแจวเรือไปส่งพระฤาษีอีกฝั่งของแม่น้ำ

        “ ไม่ ไม่ ไม่ ข้าไม่จ่าย เจ้ามันขี้โกง โก่งราคานี่นา ” “ ก็ได้ ไม่จ่ายใช่ไหม เดี๋ยวเจอไม้พายเข้าไป รับรองต้องจ่ายแน่ ๆ ฮะ ฮ่า ไม่ให้ใช่ไหม
นี่แน่ะ ๆ ” “ โอ้ย ๆ พอแล้ว อย่าทำอะไรข้าเลย เจ้าอยากได้เงินก็เอาไปเถิด โอ้ย ข้ากลัวแล้ว ” “ ให้ดี ๆ ตั้งแต่แรก ก็ไม่ต้องเจ็บตัวแบบนี้
สมน้ำหน้า ” เมื่อพระฤาษีเดินทางมาถึงท่าน้ำเรือข้ามฟาก ก็ได้พบกับนายอาวาริปิตา จึงขอใช้บริการเรือจ้างของเขา

นายอาวาริปิตาได้ตบตีพระฤาษีด้วยเหตุที่ตนไม่ได้รับเงินค่าจ้าง
 
นายอาวาริปิตาได้ตบตีพระฤาษีด้วยเหตุที่ตนไม่ได้รับเงินค่าจ้าง

       “ โยม อาตมาขอข้ามไปฟากโน้นหน่อยจะได้หรือไม่ ” “ ได้น่า ได้อยู่ท่านฤาษี ว่าแต่ท่านจะให้ค่าจ้างเรือข้าเท่าไหร่ละ ” “ โยม อาตมา
จะให้ของดีที่ทำให้ร่ำรวยทรัพย์แก่ท่าน ” (เฮ้ย ของดีที่จะทำให้ร่ำรวยทรัพย์ นี่มันอะไรกันว่ะ สงสัยจะเป็นของวิเศษแน่ ๆ เลย รวยแล้วเรา)

ภรรยานายอาวาริปิตาได้มาเห็นสามีของตนกำลังตบตีพระฤาษี

ภรรยานายอาวาริปิตาได้มาเห็นสามีของตนกำลังตบตีพระฤาษี
 
       “ ก็ได้ท่าน ก็ได้ท่าน เดี๋ยวข้าจะไปส่ง นี่เห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงศีลหรอกนะ ไม่ได้เห็นแก่ของดงของดีอะไรเลยจริง ๆ ไม่ได้โกหกเลยนะเนี่ย ”
นายแจวเรืออาวาริปิตา พาพระฤาษีข้ามฟากไป พอถึงฝั่งที่หมายแล้ว จึงเอ่ยทวงถามของดีที่จะทำให้รวยทรัพย์ที่พระฤาษีใช้เป็นค่าจ้าง
ซึ่งแท้ที่จริงของดีที่ว่าก็คือ ธรรมโอวาทนั่นเอง
 
นายอาวาริปิตาตบตีภรรยาของตนเหตุที่เข้ามาห้ามไม่ให้ทำร้ายพระฤาษี
 
นายอาวาริปิตาตบตีภรรยาของตนเหตุที่เข้ามาห้ามไม่ให้ทำร้ายพระฤาษี
 
       “ ท่านฤาษี ข้าพาท่านมาถึงฝั่งแล้ว ไหนล่ะของดีที่ท่านจะให้ข้า ” “ โยมมักไปส่งคนข้ามฝาก แล้วค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาตามใจชอบแต่ภายหลัง
หากแต่โยมลองขอค่าจ้างกับคนที่ยังไม่ข้ามฟากไปฝั่งโน้นก่อน เพราะจิตใจของคนที่ข้ามฟากแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ข้ามฟากต่างกัน และอีกประการ
หนึ่งนะโยม ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ
 
ภรรยานายอาวาริปิตาถูกตบตีจนแท้งลูก
 
ภรรยานายอาวาริปิตาถูกตบตีจนแท้งลูก
 
       ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ”
“ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการ
เงินเท่านั้น ” “ โยม นอกจากธรรมโอวาทนี้แล้ว อาตมาไม่มีอย่างอื่นจะให้หรอกนะ ”
 
นายอาวาริปิตาถูกชาวบ้านจับตัวหลังจากที่ได้ทำร้ายฤาษีและภรรยาของตน
 
นายอาวาริปิตาถูกชาวบ้านจับตัวหลังจากที่ได้ทำร้ายฤาษีและภรรยาของตน
 
      “ เมื่อท่านไม่มีเงินแล้ว มาลงเรือข้าทำไม หะ ถ้าไม่มีเงินละก็ท่านเจ็บตัวแน่ ” ด้วยความโกรธ นายอาวาริปิตาผลักพระฤาษีล้มลง แล้วลงไปนั่งทับอก
พร้อมทั้งตบปากพระฤาษีอย่างดุร้าย ไม่มีความยำเกรงต่อเพศสมณะแต่อย่างใด “ ไม่จ่ายใช่ไหม นี่แน่ะ ๆ ตบฤาษีโว้ย ” “ อย่าทำอาตมาเลย โยม อย่า ”
ในขณะนั้นเองภรรยาของเขาซึ่งกำลังท้องแก่ได้ถืออาหารมาส่งให้นายอาวาริปิตา
 
นายอาวาริปิตาถูกไต่สวนความผิดโดยพระเจ้าพรหมทัต
 
นายอาวาริปิตาถูกไต่สวนความผิดโดยพระเจ้าพรหมทัต
 
       พลันเมื่อเห็นพระฤาษีนางก็จำได้จึงร้องห้ามบอกสามีของตน (เอ๊ะ นั่นท่านฤาษีที่ประจำอยู่ที่ราชสำนักนี่) “ หยุดนะพี่ อย่าตีท่านฤาษีนะ ” ไม่มีอะไร
มาหยุดยั้งความโกรธของเขาได้ ด้วยแรงโทสะ นายอาวาริปิตาจึงลุกขึ้นตบภรรยาอย่างแรง ถาดข้าวแตกกระจาย พร้อมกับเสียงร้องอย่างเจ็บปวดของ
ภรรยา ที่ร่างเซถลาล้มลงกระแทกพื้นดินจนลูกน้อยในท้องทะลักออกมาทันที “ โอ้ย โอ้ย ลูกแม่ โอ้ย โอ้ย ”
 
 
นายอาวาริปิตาถูกลงโทษด้วยการขังคุกตลอดชีวิต
 
นายอาวาริปิตาถูกลงโทษด้วยการขังคุกตลอดชีวิต
 
       ขณะเดียวกันชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้น ผ่านทางมาเห็น จึงช่วยกันจับตัวนายอาวาริปิตามัดเขาไว้ เพราะนึกว่าเขาเป็นโจรฆ่าคนตาย “ เฮ้ย ๆ พวกเรา
ช่วยกันจับไอ้ตัวโจร ๕๐๐ เร็ว ” “ คนอะไรใจดำอำมหิต ฆ่าได้แม้กระทั่งหญิงท้องแก่ ช่างโหดเหี้ยมผิดมนุษย์มนาจริงๆ ช่วยกันจับไปส่งพระเจ้าพรหมทัต
ให้ลงโทษกันเร็ว ๆ ” “ เสร็จข้าล่ะ เจ้าฆาตกรเอ๋ย คราวนี้ล่ะแก ติดคุกหัวโตแน่แก ” “ เฮ้ย ปล่อยข้านะ เฮ้ย บอกให้ปล่อย ”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
 
       “ ข้าแต่พระราชา ข้าพเจ้าคุมตัวฆาตกรใจโฉด มาให้พระองค์ทรงวินิจฉัยโทษ มันผู้นี้ต้องคดีฆ่าหญิงท้องแกตายพระเจ้าค่ะ ” “ หา เจ้าช่างใจโฉด
โหดเหี้ยมจริง ทหารเอาตัวมันไปคุมขังตลอดชีวิต ” “ พะยะค่ะ ” “ หม่อมฉันผิดไปแล้ว ประฝ  ทานอภัยโทษให้หม่อมฉันเถิด ” “ มานี่ไปกับข้า จะดิ้น
ไปทำไม ขังลืมสะเลย ไม่ต้องให้เห็นเดือนเห็นตะวันสะเลยนี่ ” “ ปล่อยข้า ปล่อยข้า ข้าไม่ผิดนะโว้ย ข้าไม่ผิด ปล่อย ”
       
       พระพุทธองค์เมื่อตรัส
อดีตนิทานอาวาริยชาดกจบแล้ว ได้ตรัสให้โอวาทภิกษุว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะให้โอวาท ควรให้แก่คนที่เหมาะสม ไม่ควร
ให้แก่คนที่ไม่เหมาะสม ดังฤาษีให้โอวาทแก่พระราชาได้อยู่บ้านชั้นดี แต่ให้โอวาทแก่คนแจวเรือจ้าง กลับถูกตบปากฉันนั้น ”
 
 
ในพุทธกาลต่อมา
นายแจวเรืออาวาริยปิตา กำเนิดเป็น คนแจวเรือติตถวานิก
พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
พระฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า


รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ลิตตชาดก ชาดกว่าด้วยลูกสกาอาบยาพิษลิตตชาดก ชาดกว่าด้วยลูกสกาอาบยาพิษ

สัพพาทาฐิชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้สัพพาทาฐิชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้

สีหจัมมชาดก ชาดกว่าด้วยลาห่มหนังสิงโตสีหจัมมชาดก ชาดกว่าด้วยลาห่มหนังสิงโต



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

นิทานชาดก 500 ชาติ